ฮิวแมนไรท์วอทช์ ออกแถลงการณ์
ต้านรายชื่อกสม.ชุดล่าสุด
ฮิวแมนไรท์วอทช์ออกแถลงการณ์ต่อต้านการคัดเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทยครั้งล่าสุดที่มีคนที่สนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโจ่งแจ้งรวมอยู่ในนั้นด้วย อีกทั้งยังเสนอให้การคัดเลือกเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีหลักการที่ชัดเจนกว่านี้
24 ก.ค. 2558 องค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติไทยปฏิเสธผู้ได้รับเสนอชื่อเป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย (กสม.)เนื่องจากระบบการคัดเลือกไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล อีกทั้งยังเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อระบุให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีความน่าเชื่อถือ เป็นอิสระ และตรวจสอบได้ รวมถึงมีขั้นตอนการคัดเลือกที่โปร่งใส เปิดให้มีการตรวจสอบจากสาธารณะ และการมีส่วนร่วมในวงกว้าง
หลังจากที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในไทยประกาศผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการจำนวน 7 คน เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วยผู้พิพากษาอาวุโสและประธานรัฐสภา พิจารณาคัดเลือกจากผู้สมัครจำนวน 121 คนโดยไม่มีหลักการพิจารณาหรือข้อมูลการพิจารณาเปิดเผยต่อสาธารณะ มีเพียงผู้สมัครรายเดียวเท่านั้นที่มีบันทึกประวัติให้เห้นต่อสาธารณะเกี่ยวกับการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน แต่กมีอีกหนึ่งรายที่สนับสนุนการปราบปรามเสรีภาพขั้นพื้นฐานและต่อต้านหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างเปิดเผย
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอทชืแผนกเอเชียกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังต้องการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่มีความน่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้นเพื่อระบุถึงปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เลวร้ายลงกว่าเดิมภายใต้การปกครองของทหาร การคัดเลือกคนที่ไม่มีประสบการณ์และผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งเป็นการจงใจทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนกลายเป็นสถาบันที่อ่อนแอและไม่มีอำนาจใดๆ
แถลงการณ์ของฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุอีกว่าในกลุ่มผู้ได้รับคัดเลือก 7 คน มีหนึ่งในนั้นเป็นผู้นำกลุ่มรอยัลลิสต์แบบสุดโต่ง นอกจากนั้นเป็นกลุ่มที่มีประวัติทำงานเกี่ยวข้องในทางตุลาการ มีเพียงคนเดียวเท่านั้นคืออังคณา นีละไพจิตร ที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชนและรณรงค์ต่อต้านการอุ้มหาย การทารุณกรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากรัฐ
ฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุว่า
บวร ยสินทร เป็นผู้ที่ต่อต้านเสรีภาพ
ในการแสดงออกและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด จากที่เขาอ้างใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในเชิงก้าวร้าวหลายครั้ง
คณะอนุกรรมการในการประเมินสถานะฯ ของคณะกรรมการประสานงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (International Coordinating Committee on National Human Rights Institutions: ICC) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 2536 เพื่อทำให้สถาบันด้านสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเข้มแข็งขึนเคยออกรายงานเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2557 ที่ผ่านมาระบุถึงปัญหาของคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนของไทยว่ามักจะมีแต่คนจากในสภาบันกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนด้านสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน หรือทำหน้าช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หรือภาคประชาสังคมใดๆ
รายงานของ ICC ยังตั้งคำถามถึงความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของกสม. จากการที่สมาชิกองค์กรแสดงออกในการเลือกข้างทางการเมืองอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นปัญหาจากกระบวนการคัดเลือกและความสามารถในการทำงาน ทำให้มีการลดระดับสถานะกสม.จาก A เป็น B ทำให้กสม.ไม่สามารถเสนอความเห็นในที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
หลักการปารีส (Paris Principles) หรือในชื่อเต็มคือหลักการเกี่ยวกับสภานะของสถาบันแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้รับการรับรองจากสภายูเอ็นในปี 2536 ระบุว่า สถาบันแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชนไม่ว่าจะมาจากการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งก็ตามจะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปในลักษณะที่พวกเขาจะเป้นตัวแทนของกลุ่มพลเมืองที่มีความหลากหลายในสังคม และมีส่วนร่วมในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
อดัมส์ยังเรียกร้องให้สนช. ปฏิเสธการคัดเลือกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนไทยในครั้งนี้และให้มีการคัดเลือกใหม่ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดแบบเดิมเกิดขึ้นอีกครั้งจึงควรให้มีระบบการคัดเลือกที่โปร่งใส ที่จะเป็นการทำให้แน่ใจว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนไทยจะมีความน่าเชื่อถือ มีความเป็นอิสระ และมีประสิทธิภาพ
https://www.hrw.org/…/thailand-reject-rights-commission-nom…
JULY 24, 2015
Thailand: Reject Rights Commission Nominees
Faulty, Secret Process Selected Unqualified Candidates
(New York) – Thailand’s national assembly should reject the nominees for the National Human Rights Commission (NHRC), whose selection process did not meet international standards, Human Rights Watch said today. Upcoming revisions to the Thai constitution should ensure that the NHRC is credible, independent, and accountable, and that its commissioners are chosen in a transparent manner, open to public scrutiny and broad-based participation.
On July 21, 2015, the NHRC’s website announced the nominations for the seven-member commission. The selection committee, consisting of senior judges and the national assembly president, reviewed 121 candidates without public input and by applying unknown criteria. Only one of the candidates has a public record of working on human rights, and one has publicly supported repression of fundamental freedoms and opposed universal human rights principles.
“Now more than ever, Thailand needs credible and committed human rights commissioners to address the worsening crisis under military rule,” said Brad Adams, Asia director. “Choosing inexperienced and unqualified people seems intended to make the National Human Rights Commission a weak and toothless institution.”
The seven nominees are Baworn Yasinthorn, a leader of the ultra-royalist movement Citizen Volunteers for Defense of the Three Institutes (Nation, Religion, and Monarchy); Chatsuda Chandeeying, a school owner and an associate judge of Samut Prakarn province’s juvenile and family court; Prakayrat Tonteerawong, a board member of the Thai Women Empowerment Funds and an associate judge of Nonthaburi province’s juvenile and family court; Wat Tingsamid, a former supreme court judge; Supachai Thanomsap, a medical doctor at Ramathibodi Hospital; Surachet Satidniramai, the acting permanent secretary of the Public Health Ministry; and Angkhana Neelaphaijit, a well-known human rights defender who has campaigned against enforced disappearance, torture, and other state-sanctioned abuses.
Now more than ever, Thailand needs credible and committed human rights commissioners to address the worsening crisis under military rule. Choosing inexperienced and unqualified people seems intended to make the National Human Rights Commission a weak and toothless institution.
Brad Adams
Asia director