วันเสาร์, กรกฎาคม 18, 2558

“เรามาถึงวันนี้ได้อย่างไร” คำพูดนี้เกษตรกรต้องพูดบ้าง




“เรามาถึงวันนี้ได้อย่างไร” คำพูดนี้เกษตรกรต้องพูดบ้าง ทั้งที่

“นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง เปิดเผยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับความทุกข์ยากจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดศูนย์บริการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคพระราชทาน ในการบรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภาวะภัยแล้ง”

หากแต่คณะมนตรีขาเปื่อย ‘เหนื่อยฉิบหาย’ ของทั่นนายกฯ ลุงตู่ ก็ยังคงจัดการกับวิกฤตน้ำแล้งนี้ด้วยวิธีการบริหารอำนาจตามถนัดเช่นเคย

“ซึ่งทหาร ฝ่ายปกครองได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ว่าในช่วงวิกฤตนับตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงฝนตกในช่วงกลางหรือปลายเดือน ส.ค.นี้ ขอให้ทุกคนช่วยกันฝ่าวิกฤตไปให้ได้ และขอห้ามเกษตรกรสูบน้ำไปใช้ในภาคเกษตรและอื่นๆ เพื่อจะใช้ทำน้ำประปาสำหรับทำน้ำกินน้ำใช้ และน้ำที่ปล่อยจากเขื่อนจะไหลเข้าสู่คลองประปา จะเปิดให้ประปาท้องถิ่นของพื้นที่ 22 จังหวัดดึงไปใช้ได้ แต่ยังไม่พอสำหรับการดูแลภาคการเกษตรได้”

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าว(http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php…)

จึงปรากฏทหารในชุดลายพรางไปเดินด้อมตามท้องนาริมทางน้ำ คอยห้ามเกษตรกรไม่ให้สูบน้ำระบายเข้าไร่นา





อีกด้านหนึ่งก็ทหารลายพรางเหมือนกัน ยังคงขับฮัมวีบุกไปคุยโดยไม่มีปี่มีขลุ่ยถึงบ้านผู้ที่ทำกิจกรรมเรียกร้องความเป็นธรรม อย่างนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของกมนเกด พยาบาลอาสาสมัครที่เสียชีวิตจากกระสุนแรงสูงทหารขณะปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บในวัดปทุมวนาราม หนึ่งในหกศพวัดปทุมฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓

อย่างนี้ก็เข้าข่ายคุกคามเหมือนกัน ไม่ว่าจะคุยด้วยอาการยิ้มแย้มอย่างไร แล้วทั่นหัวโจกรัฐประหารยังมีหน้ามาบ่นอีกว่าถูกไล่ล่า เพราะการที่ไม่ประสีประสาเศรษฐกิจ

อ้าว แล้วงานนายกรัฐมนตรีนี่ไม่ใช่จำเป็นต้องจัดการให้ได้ทุกอย่างละหรือ จะถนัดหรือไม่ถนัดเรื่องไหน ไม่ใช่ข้อจำกัดสมรรถภาพ หากแต่ให้คนทำแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นแหละเป็นคุณสมบัตินายกฯ โดยเฉพาะที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ย่อมต้องแสดงความสามารถให้ประจักษ์ เพราะไม่ได้ผ่านการทดสอบด้วยคะแนนนิยมประชาชนมา

ครั้นทำท่าจะเข้าตาจน ผลงานปีกว่าออกมามีแต่ติดลบกับหลุดเป้า เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ล่าสุดตัวเลขประมาณการส่งออกที่เป็นเสาหลักความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจต้องปรับลดเหลือแค่ ๐.๔ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

(http://linkis.com/thaipbs.or.th/Tw9Q0)

ด้านต่างประเทศ failed miserably ซ้ำข้ออ้างแห่งการยึดอำนาจเพื่อสกัดการแตกแยกสร้างสมานฉันท์ในชาติกลับล้มเหลวสิ้นเชิง เพราะสกัดอยู่ฝ่ายเดียวปล่อยอีกฝ่ายลุกล้ำห้ำหั่นอย่างบิดเบี้ยวคุณธรรม

จนชักแน่ชัดว่าการปรองดองเกิดยาก หลังจากมีการชงเรื่องขออยู่ยาวแต่ก็ยังไม่เข้าตาประชาชน จึงมาถึงการงัดของเก่าขึ้นมาขัดสนิมให้เป็นรัฐบาลแห่งชาติใหม่อีก ตามด้วยข่าวใหญ่ยังไม่มีใครคอนเฟิร์ม แต่จุดพลุโดยแหล่งข่าวทหาร จุดตะไลโดยผู้ณรรมเองว่าคณะรัฐมนตรีของทั่นพากันเหนื่อยร้าไปตามๆ

“ประยุทธ์เล็งปรับคณะรัฐมนตรียกแผง โละทีมเศรษฐกิจ เปลี่ยน รมว.ต่างประเทศ...โดย รมว.ต่างประเทศ จะดึงนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกฯ มาเป็นแทน พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร”




สำหรับทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ปรากฏชื่อหลายคน ทั้ง “นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายวรพล โสคติยานุรักษ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย นายสมพล เกียรติไพบูลย์ อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ และนายอุตตม สาว นายน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ”

ข้อสำคัญจะมีการนำนักการเมืองเก่าๆ เข้ามาร่วม ครม. หลายคน ล้วนแต่จะกระตุ้นต่อมริษยาให้บรรดานักปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเต้นกันเป็นเจ้าเข้า อาทิ

“นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีต รมว.สาธารณสุข และในส่วนอดีตรัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ระหว่างประสาน”

(http://www.posttoday.com/politic/376914)
ถึงแม้ว่าการคืบไปข้างหน้าเพื่อเอาศอกนี้ จะเป็นเพียงโยนหินถามทางเรื่องอยู่ยาวอีกครั้ง แต่ว่าเท่าที่เปิดออกมาก็นำร่องไปหา ‘รัฐบาลแห่งชาติ’ ซื้อเวลาเพื่อรอจังหวะเปลี่ยนผ่าน ด้วยความหวังว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะปรับตัวของมันเองให้กระเตื้องได้ภายในสองสามปี

แต่นี่ยังคงเป็นวิธีการบริหารจัดการแบบ ‘ตาอยู่’ ซึ่งไม่รู้ซึ้งถึงปัญหา พอๆ กับขาดวิสัยทัศน์แห่งการปากกัดตีนถีบทางธุรกิจ เศรษฐกิจที่ซบเซาสำหรับพวกขุนศึกและอำมาตย์เป็นเพียงการ ‘ขาดทุนกำไร’ เท่านั้น

การเล่นบทบ่นของประยุทธ์กล่าวหาสื่อโซเชียลและนักกิจกรรมว่าก่อกวนวุ่ยวายจนตนทำงานได้ไม่เต็มที่ เป็นเพียงข้ออ้างสร้างแพะขึ้นมาให้ตนปลอดพ้นข้อครหา ไม่ต่างกว่ารัฐบาลทหารชุดหลังการยึดอำนาจเมื่อปี ๒๕๔๙ เท่านั้น

ทั้งๆ ที่พยายามอย่างยิ่งไม่ให้ ‘เสียของ’ ซ้ำรอยครั้งก่อน แต่การ ‘ไร้น้ำยา’ เหมือนกัน ทว่าเจ้าเล่ห์ยิ่งกว่าเสียจนชุมชนนานาชาติตะวันตกเอือมระอา อาจไม่เพียงนำไปสู่ความล้มเหลวอย่างครั้งก่อน หากแต่ถึงขั้น ‘ล้มละลาย’ เลยก็ได้