วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 21, 2566

เสนอแบบนี้ เป็นคนไทยหรือเปล่า 🤭


Nithiwat Wannasiri
7h
·


เห็นว่าเป็นไวรัลไปแล้ว ที่แม่บ้านคณะนิติศาสตร์มข.ได้รับเชิญให้ขึ้นเวทีแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่เรียนจบ
ชื่นชมแม่บ้านที่กล้าหาญพูดได้จากใจจริง ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นตัวแทนของชนชั้นรากฐานของสังคมอุปถัมภ์ที่ยัง “มองขึ้นไป” ยังคนอีกชนชั้นหนึ่ง อวยพรให้ได้เจริญก้าวหน้าเป็น “เจ้าคนนายคน”
ดีที่วันนี้สังคมเริ่มเปลี่ยนภาษา ที่สะท้อนแนวคิดที่กำลังเปลี่ยนไป ให้เกียรติ “คนระดับล่าง” ไม่ใช่ “อีแจ๋ว” หรือ “คนใช้” แต่เป็น “ผู้ช่วยแม่บ้าน” ไม่เรียก “ยาม” แต่เรียก “รภป.”
ดีที่คณะนิติศาสตร์ มข. ให้แม่บ้านขึ้นไปพูดบนเวทีแสดงความยินดีกับนักศึกษา
ขอให้นักศึกษาที่จบไป ไม่ว่าจะเป็นทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา หรือหน้าที่ใดไม่ว่าราชการหรือเอกชน ให้เกียรติ “ชาวบ้าน” โดยเฉพาะคนยากคนจน คนไร้เส้นสายชายขอบ และไม่ทำตัวเป็น “เจ้าคนนายคน”
 
#บทเรียนให้สาธารณสุข
คิดถึงเรื่องที่คุณหมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เล่าให้ฟังว่า ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้ตรวจการจากกระทรวงไปเยี่ยม ผอ.เรียกประชุมข้าราชการ ลูกจ้างมาต้อนรับและร่วมประชุม ผู้ตรวจฯ มองเห็น “แม่บ้าน” เลยถามว่า “วิสัยทัศน์” ของโรงพยาบาลนี้คืออะไร แม่บ้านอึกๆ อักๆ ตอบไม่ได้ ทำให้ผอ.รู้สึกขายหน้า
เมื่อผู้ตรวจกลับไป ผอ.ก็ดุแม่บ้านว่า ต่อไปให้จำวิสัยทัศน์ให้ได้ แม่บ้าน (สวน) ตอบว่า “มันยาวโพดค้า ท่านผอ.”
เป็นคำตอบที่ถูกต้อง เพราะวิสัยทัศน์ของหน่วยงานหลายแห่งไปเอาวัตถุประสงค์ หรือพันธกิจ ที่ยาวหลายประโยคหลายบรรทัดมาทำวิสัยทัศน์ ซึ่งไม่ใช่ การเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี ต้องสั้น กระชับ และ “โดนใจ” ทุกคนในหน่วยงานจำได้ ไม่ว่าระดับไหน ไปถึงแม่บ้าน และผู้คนทั่วไป
เช่น "เพื่อศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมทางกฎหมาย" (วิสัยทัศน์คณะนิติศาสตร์) "รักษาคน ไม่รักษาแต่โรค" (วิสัยทัศน์โรงพยาบาล)
เสรี พพ 18 ธ.ค. 23