วันพุธ, กันยายน 16, 2558

International Day of Democracy มาร์ก เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษ ออกแถลงการณ์ สนับสนุนประชาธิปไตยในไทย เรียกร้องให้มีการคืนประชาธิปไตยโดยเร็ว





ที่มา FB

บรรจบ ขุมทอง



แถลงการณ์ตบหน้าสั่งสอนโจรกบฎฉาดใหญ่!!!

นายมาร์ก เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษ
ประจำประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์
ผ่านทางเว็ปไซด์ของสถานทูตฯ ระบุว่า

วันที่ 15 กันยายนของทุกปี
เป็นวันประชาธิปไตยสากลของสหประชาชาติ
และบรรดาชาติสมาชิก

หลังการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว
อังกฤษและสมาชิกอื่น ๆ ในประชาคมนานาชาติ
รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ

ได้เรียกร้องให้มีการคืนประชาธิปไตยโดยเร็ว

แต่ถึงบัดนี้
ประชาธิปไตยกลับดูห่างไกลออกไปกว่าเดิม
ประชาธิปไตยมีข้อดีอย่างไร
เราไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยเพราะ
ต้องการบังคับใช้ระบบการเมืองแบบตะวันตกกับใคร แต่เราสนับสนุนประชาธิปไตยเพราะ

ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนำมาซึ่ง
ประโยชน์มากมายต่างหาก

ในระบอบประชาธิปไตย
ทุกคนล้วนมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกัน
ในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง
หรือแม้กระทั่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้น
ประชาธิปไตยจึงมอบอำนาจในระดับหนึ่ง
ให้ประชาชนในการตัดสินใจต่าง ๆ
ที่มีผลต่อชีวิตของพวกเขา หากประชาชนสามารถมีส่วนร่วม
ในการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและยุติธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติ
และเป็นไปตามกำหนดเวลา ก็มีโอกาสน้อยลง
ที่พวกเขาจะหันไปใช้ความรุนแรง
เพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งหรือเพื่อแสดงความคิดเห็น

ที่ใดที่ค่านิยมประชาธิปไตยได้รับการเชิดชู
ที่นั่นย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง
และความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงต่าง ๆ
ย่อมมีน้อยที่สุด

ในระบอบประชาธิปไตย
ประชาชนมีสิทธิ์เลือกผู้นำได้เอง ดังนั้น รัฐบาลประชาธิปไตยจึงต้องตอบสนองความต้องการ
และความคาดหวังของประชาชน
หากอยากได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง

ในประเทศที่ไร้ประชาธิปไตย เป็นการง่ายที่รัฐบาลจะให้ความสนใจ
กับประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะบริหารประเทศ
เพื่อประโยชน์ของพลเมือง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยทำให้เกิด
การแบ่งสรรปันส่วนทรัพยากร
และการเข้าถึงอำนาจอย่างเป็นธรรมมากกว่า

รัฐบาลประชาธิปไตยถูกกำหนดให้ต้องมีความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง
ต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
และการกระทำของตน เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสในการคอร์รัปชันจึงลดลง นอกจากนี้

ประชาธิปไตยยังกำหนดให้รัฐบาล
ต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม

ซึ่งหมายความว่ากฎหมายจะมีผลต่อทุกคน
อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เว้นแม้แต่ต่อรัฐบาลเอง หลักนิติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะขณะที่หลักนี้เคารพความต้องการของเสียงข้างมาก แต่ก็ยังปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกบุคคลและกลุ่มเสียงข้างน้อยด้วย

ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เพียงการมีรัฐธรรมนูญที่เหมาะสม เรื่องนี้ชาวอังกฤษเข้าใจดี เพราะเราเองไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยซ้ำ สิ่งที่เรามีคือรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ประมวลไว้และไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญ ๆ มากกว่า

ยกตัวอย่างเช่นนักการเมือง หลายคนเอาแต่โทษนักการเมือง
และพรรคการเมืองว่าเป็นต้นตอของปัญหา
ทั้งหลายในประเทศ นักการเมืองนั้นมีทั้งดีและไม่ดี เช่นเดียวกับที่ในสังคมย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดี แต่พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในระบอบประชาธิปไตย พรรคเป็นผู้นำประเด็นต่าง ๆ ที่เราห่วงใยไปแปรเป็นนโยบายสาธารณะ พรรคเป็นผู้ฝึกอบรมผู้นำทางการเมือง พรรคช่วยทำให้ตัวเลือกในการเลือกตั้งง่ายขึ้นสำหรับผู้ลงคะแนน พรรคช่วยให้ข้อมูลกับผู้เลือกตั้ง และเมื่อตกเป็นฝ่ายค้าน พรรคการเมืองก็เป็นผู้สังเกตการณ์และตรวจสอบการทำงานของพรรครัฐบาล แน่นอนว่าเพื่อให้ระบบทั้งหมดนี้ทำงานได้ดี พรรคการเมืองจำเป็นต้องรักษาความเชื่อมโยงใกล้ชิดกับชุมชน และคอยฟังเสียงของประชาชนเสมอ นอกจากนี้พรรคการเมืองยังต้องให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ให้ทุกคนเข้าถึง และพรรคต้องสะท้อนสังคมในวงกว้าง

สาระสำคัญของวันประชาธิปไตยสากลของสหประชาชาติในปีนี้คือ “พื้นที่เพื่อประชาสังคม” องค์ประกอบของประชาสังคม (เช่น สื่อเสรี องค์กรการกุศล เอ็นจีโอ องค์กรศาสนา รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ) ล้วนมีบทบาทสำคัญในความเป็นประชาธิปไตย ประชาสังคมเป็นเกราะสำคัญช่วยป้องกันอำนาจรัฐที่มากเกินไป เมื่อประชาสังคมเข้มแข็งเพียงพอก็จะสามารถควบคุมรัฐบาลให้มีความรับผิดชอบ และดูแลให้พลเมืองได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อพวกเขา เพราะเหตุนี้ เราจึงเป็นกังวลเมื่อรัฐบาลต่าง ๆ สร้างข้อจำกัดเพื่อควบคุมกิจกรรมของประชาสังคม การจำกัดเสรีภาพการแสดงออกเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนประการหนึ่ง ในประเทศไทย การจำกัดเสรีภาพการแสดงออกในรูปแบบที่น่ากังวลเป็นพิเศษคือการใช้กฎหมายอาญาหมิ่นประมาทเพื่อสร้างความกลัวและป้องกันไม่ให้ประชาชนแสดงความกังวลแม้จะเป็นไปโดยสมเหตุสมผลเกี่ยวกับการกระทำผิดและการใช้อำนาจโดยมิชอบ

เมื่อกลางปีผมได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับการที่อังกฤษได้ฉลองครบรอบ 800 ปีกฎบัตรแมกนา คาร์ตา สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้จากการฉลองครั้งนั้นคือ ประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมต้องใช้เวลานานในการหยั่งรากลึก พวกเราในอังกฤษเองก็ยังคงพยายามอยู่อย่างต่อเนื่อง ในอังกฤษเรามีการถกเถียงอภิปรายกันอย่างเต็มที่เปิดเผย ในประเด็นต่าง ๆ เช่น เรื่องสมาชิกภาพของสภาขุนนาง ซึ่งก็คือวุฒิสภาของอังกฤษที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เรายังอภิปรายกันว่าเราควรจะนำระบบเลือกตั้งแบบไหนมาใช้ เรื่องการกระจายอำนาจไปสู่พื้นที่อื่น ๆ ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น การปฏิรูปเป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้น ระบบการเมืองต่าง ๆ ควรวิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่องเพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้น ๆ

สิ่งสำคัญคือการมีพื้นที่สำหรับการถกเถียงและคัดค้าน ขณะที่ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญกันอีกครั้งเช่นนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการอภิปรายอย่างเต็มที่และเสรีในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประชาธิปไตย


ooo




Source: http://blogs.fco.gov.uk/markkent/2015/09/15/international-day-of-democracy/


On 15 September each year the UN and its member countries observe the International Day of Democracy.

Following last year’s military coup in Thailand the UK and other members of the international community, including the Secretary-General of the UN, called for the early restoration of democracy. That seems even further away now than it did then. But what’s so great about democracy? We don’t support it because we want to impose a western, political system on everyone. We do so because a genuinely democratic system brings with it tremendous benefits.

In a democracy, everyone has equal right and opportunity to participate in the political process, and even stand for election. So democracy gives people some control over the decisions that affect their lives. People are less likely to resort to violence to resolve their differences or make their voices heard if they can participate in credible, fair elections, which allow for the peaceful and periodic transfer of power. Where democratic values are upheld, prosperity flourishes, and the risk of instability is minimised.

In a democracy, the people get to choose their leaders. So democratic governments have to respond to people’s needs and aspirations if they want to get re-elected. In countries where there is no democracy it is all too easy for governments to focus on their own self-interest, rather than governing in the interests of their citizens. So democracies provide fairer distribution of resources and access to power.

Democratic governments are accountable. Officials and politicians are answerable for their decisions and actions. This reduces the opportunity for corruption. Democracy also subjects governments to the rule of law, which means the law treats everyone, including the government, equally. Rule of law is important because, while it respects the will of the majority, it also protects the fundamental rights of individuals and minority groups.

Democracy isn’t just about having the right Constitution. We in the UK should know that – we don’t have a written Constitution at all: we have an uncodified and unwritten constitution. But it is dependent on some key players.

Take political parties, for example. Many people blame politicians and political parties for whatever they think is wrong with their country. There are good politicians and there are bad politicians, just like in any part of society. But political parties play a key role in a democracy. They take the issues we care about, and turn them into public policy. They train political leaders. They simplify the choices for voters at election time. They help inform the electorate. And, when in opposition, political parties monitor and challenge the performance of the ruling party. Of course, for all this to work, political parties must ensure they retain a strong link with the community, and keep listening to the people. And they need to be inclusive, and accessible to all citizens, and reflect broader society.

This year, the UN’s theme of International Day of Democracy is “Space for Civil Society”. The components of civil society – including a free press, charities, NGOs, religious organisations and international bodies such as the UN – all have a key role to play in a democracy. Civil society is an important safeguard against excessive state power. When strong enough, it holds governments to account, and ensures citizens are adequately informed about the issues that affect them. That is why we are concerned when governments put barriers in place to constrain the activities of civil society. Restrictions on freedom of expression are a clear example. In Thailand, a particularly worrying manifestation is the use of criminal defamation laws to instil fear and prevent people from raising legitimate concerns about wrongdoing and the abuse of power.

I blogged earlier this year about UK celebrations to mark the 800th anniversary of the Magna Carta. One of the lessons from that anniversary is that democracy and the rule of law take time to take root. We in the UK are still working on it. There is healthy and open debate in the UK about issues such as membership of the House of Lords, which is the UK’s unelected upper chamber; about which voting system should be used in our elections; about devolution of power to other parts of the UK. Reform is a never-ending process. Political systems should continue to evolve to reflect changes in the society around them.

The important thing is that there is space for debate, and opposition. As Thailand once again begins the process of agreeing a new Constitution I hope there will be a full and free public debate on the implications for democracy.