วันจันทร์, ธันวาคม 04, 2566

soft power แบบ ร. 4 การแปลเพื่อชิงบัลลังก์


Thanapol Eawsakul
19h·

soft power แบบ ร. 4 การแปลเพื่อชิงบัลลังก์
......
(1)
เห็นมีดรามาเรื่องการแปลวรรณกรรมไทย และงบประมาณ soft power กันอยู่พอดี
https://www.facebook.com/thanap.../posts/7173718316028279...
เลยอยากให้เข้ากับกระแสด้วเลยขอแนะนำบทความ “พระราชศรัทธาในรัชกาลที่ 3 กับพระราชวิจารณ์ในรัชกาลที่ 4” ของสุพจน์ แจ้งเร็ว บรรณาธิการและผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในฉบับขึ้นสู่ปีที่ 45
ชื่อของสุพจน์ แจ้งเร็ว ไม่ปรากฏออกมาบ่อยในฐานะนักเขียน ผลงานเขียนชิ้นสุดท้ายในศิลปวัฒนธรรม เท่าที่จำได้ก่อนหน้านี้คือ “คดียึดพระราชทรัพย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า “ ตีพิมพ์ในศิลปวัฒนธรรม มิถุนายน 2548
บทความชิ้นนี้นิธิ เอียวศรีวงศ์นะประวัติศาสตร์ผู้ล่วงลับได้นิยามสั้นๆว่า "แสบมาก"
ในบทความล่าสุดของสุพจน์ แจ้งเร็ว ผมไม่แน่ใจว่าคนเขียนมีความมุ่งหมายและตั้งใจอย่างไร
แต่ในฐานะของคนอ่าน ผมตีความว่ามันเป็นเรื่องการสร้างความชอบธรรมการชิงบัลลังก์ ภายหลังรัชกาลที่ 3 เสียชีวิต
(2)
อย่างที่เราทราบกันดีว่าการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 3 (ครองราชย์ 21 กรกฎาคม 2367 - 2 เมษายน 2394) ในปี 2367 นั้นสร้างความหม่นหมองข้องใจให้กับรัชกาลที่ 4 ซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎอยู่ไม่น้อย
เพราะถึงแม้รัชกาลที่ 3 จะเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองเป็นอย่างสูงเพราะทำงานรับใช้รัชกาลที่ 2 มาโดยตลอด
(ผลงานแรกของรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งเป็น พระองค์เจ้าชายทับ ที่ทำสนองรัชกาลที่ 2 เมื่อขึ้นครองราชย์ (2352) ก็คือเป็นผู้นำในการตัดสิน “ฆ่าล้างโคตร”เจ้าฟ้าเหม็น - ลูกพระเจ้าตาก หลานรัชกาลที่ 1—เป็นอันว่านั้นตั้งแต่รัชกาลที่ 2 เป็นต้นมา จะไม่มี ลูกหลานพระเจ้าตากมาเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอีกต่อไป)
และพระองค์เจ้าชายทับต่อมาได้กลายมาเป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ดู
กลร้องเรียนทางการเมืองยุคโบราณ สงครามบัตรสนเท่ห์ปริศนา สู่คดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น
https://www.silpa-mag.com/history/article_29006
แต่รัชกาลที่ 3 (31 มีนาคม 2330 – 2 เมษายน 2394) เป็นเพียงแค่ลูกเจ้าจอม หรือพูดภาษาชาวบ้านคือลูกเมียน้อย คือเจ้าจอมมารดาเรียม
ส่วนรัชกาลที่ 4 (18 ตุลาคม 2347 – 1 ตุลาคม 2411) มีแม่เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี หรือพูดภาษาชาวบ้านคือลูกเมียหลวง
จะเห็นได้ว่าแม้รัชกาลที่ 3 เป็นลูกเมียน้อยแต่อายุมากกวา รัชกาลที่ 4 ถึง 17 ปี และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในหมู่ขุนนาง
ดังนั้นการขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 3 นั้นเป็นไปโดยความยินยอมพร้อมใจของบรรดาขุนนางราชสำนักโดยเฉพาะสายตระกูลบุนนาค
ขณะที่รัชกาลที่ 4 ถึงแม้คิดว่าตัวเองมีความชอบธรรมอย่างสูงที่จะขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3 ต่อจากพ่อ แต่จำเป็นต้องหลบราชภัยหนีไปบวชเพื่อรักษาชีวิตไว้
อย่างที่ทราบตลอดเวลา 27 ปีของทั้งการครองราชย์รัชกาลที่ 3 และการบวชของรัชกาลที่ 4 ไม่มีวันไหนเลยที่รัชกาลที่ 4 ซึ่งครองเพศบรรพชิตจะไม่คิดถึงการกลับมาครองราชย์
ขณะเดียวกันรัชกาลที่ 3 ก็มองว่าผู้ที่จะครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 นั้นคือลูกชายของตนเองคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอุดมรัตนราษี หรือพระองค์เจ้าอรรณพ
(3)
ในบทความของสุพจน์ แจ้งเร็ว ได้ยกเอาพระราชปรารภก่อนสวรรคตของรัชกาลที่ 3 ที่มีต่อพระยาศรีสุริยวงศ์ตอนหนึ่งว่าได้ชี้ข้อบกพร่องของบรรดาเจ้านายที่มีสิทธิ์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของราชวงศ์จักรีดังนี้
“กรมขุนเดช”เป็นคนพระกรรณเบา
“กรมขุนพิพิธ”ไม่รู้จักงาน คิดแต่จะเล่นอย่างเดียว
“ท่านฟ้าน้อย” ไม่พอใจทำราชการ รักแต่การเล่นสนุกเท่านั้น
“ท่านฟ้าใหญ่” หรือภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎที่ดูจะมีภาษีกว่าเจ้านายทั้งหลายทั้งปวงนั้นเล่า แม้มิได้พระกรรณเบา มิได้คิดแต่จะเล่น แต่กระนั้นทรงมีข้อบกพร่องอย่างยิ่งที่ทรงถืออย่างมอญ “ถ้าเป็นพระเจ้าแผ่นดินขึ้นก็จะทำให้พระสงฆ์ห่มผ้าอย่างมอญเสียหมดทั้งแผ่นดิน”
ข้อความดังกล่าวคือการอ้างถึงการตั้งธรรมยุกตินิกายของเจ้าฟ้ามงกุฎนั่นเอง
ประเด็นเรื่องศาสนาและการตีความต่าง ๆ ปรากฎอยูตตลอดในบทความนี้ เชิญชวนให้อ่านกีนได้
หลักฐานการที่เจ้าฟ้ามงกุฎ ไม่ได้เป็นที่ต้องการให้ ครองราชย์ต่อจากรัชกาลที่ 3 ได้มาปรากฎอีกครั้งจากพระราชหัตถเลขาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ถึงสยามมกุฎราชกุมารที่ว่า
"จนปลายที่สุดเมื่อตัวสวรรคต ใช่ว่าท่านรัชกาลที่ 3 จะไม่มีพระประสงค์ที่จะให้พระราชโอรสสืบสันตติวงศ์เมื่อใด”
(4)
กลับมาถึงการต่อสู้เพื่อสร้างความชอบธรรมของภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ
ในปี 2391 หรือ 3 ปีก่อนที่รัชกาลที่ 3 สวรรคต
ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้มีจดหมายภาษาอังกฤษเป็นส่วนตัวไปถึงนาย G. W .Eddy ได้อ้างสิทธิ์ในการครองราชย์ต่อจากรัชกาลที่ 3 โดยยกข้อความความหมายแห่งพระนามของพระองค์ขึ้นมาอธิบายพระสหายอเมริกันว่า
“ ...‘Mongkut’ means Crown. The name “Chau Fa Mongkut’ means The High Prince of the Crown’ or ‘His Royal Highness the Crown Prince’”
ซึ่งต่อมาหม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนีทรงแปลความออกมาเป็นภาษาไทยว่า
“มงกุฎแปลว่าเคราน์ นามซึ่งเรียกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ จึ่งแปลว่า “เจ้านายทรงยศสูงแห่งมงกุฎ” หรือ “เจ้าฟ้าผู้เป็นรัชทายาท”
สุพจน์ แจ้งเร็ว ในฐานะผู้เขียนบทความได้วิจารณ์ว่า
มีข้อพึงพิจารณา จริงอยู่ มงกุฎแปลว่า “crown” แต่การที่ทรงอ้างว่าพระนามของพระองค์แปลว่า ‘His Royal Highness the Crown Prince’ หรือมกุฎราชกุมาร หรือผู้เป็นรัชทายาทนั้นบอกถึงพระราชประสงค์ของพระองค์มากกว่าจะเป็นเพียงแค่ความหมายตามธรรมดา ประการหนึ่งที่เราต้องไม่ลืมก็คือว่าพระนาม “มงกุฎ” มิได้เป็นของใหม่แต่ประการใด ดังในสมัยอยุธยาเจ้านายหญิงก็ใช้ไปนานเช่นนี้มีให้เห็นเป็นตัวอย่างซึ่งจะให้ความหมายว่าเป็นรัชทายาทสืบต่อนั้นย่อมไม่ได้
หากพระนามมงกุฎจะแปลเอาว่าผู้เป็นรัชทายาท แล้วพระนามอย่าง “ฉัตร” อย่าง “กษัตริย์” เล่า?
เราต้องไม่ลืมอีกด้วยว่าในเวลานั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ราชสำนักไทยยังไม่มีและไม่รู้จักตำแหน่ง “ เคราน์ปริ๊นซ์” หรือ”มกุฎราชกุมาร”
อันเป็นตำแหน่งรัชทายาทที่สถาปนาขึ้นภายหลังต่อมาอีกนาน ตามแบบราชสำนักตะวันตกด้วย เหตุผลในการที่ทรงอ้างเช่นนั้นมีเพียงประการเดียวเท่านั้นนั่นก็คือต้องทรงอ้างผ่านสิ่งที่ชาวตะวันตกรู้จักดีและเข้าใจดี ซึ่งเป็นทางลัดและชัดเจนที่สุดโดยอาศัยพระนามของพระองค์ที่เอื้อให้แปลไปโดยนัยเช่นนั้นในภาษาอังกฤษได้” (หน้า 58-59)
ไม่เพียงเท่านั้นหลังจากจดหมายดังกล่าว 3 ปีต่อมาในวันที่ 24 มีนาคม 2393 (หรือปี 2394 นับตามปีปัจจุบัน)
1 วันก่อนที่ขุนนางตระกูลบุนนาคจะไปเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์ที่วัดบวรนิเวศ
(แปลว่าขุนนางตระกุลบุนนาคคือ king maker อย่างแท้จริงเพราะเลือกกษัตริย์รัชกาลที่ 4 ก่อนรัชกาลที่ 3 เสียชีวิต)
เจ้าฟ้ามงกุฎได้ให้ “หมอยอน”หรือนายเรเวอร์เรนต์ ยอห์น เทเลอร์ โยนส์ ตัวแทนสำนักพิมพ์สิงคโปร์ พรีเพรส เข้าเฝ้าและทรงแถลงข่าวว่า
“ตลอดเวลา 27 ปีที่ผ่านมานั้น พระองค์ทรงอยู่ในสถานะที่จำต้องนิ่ง ทรงยอมให้พระเชษฐาธิราชขึ้นครองราชบัลลังก์”
นี่เป็นการปล่อยข่าวให้ชาวต่างชาติรับรู้ก่อนที่จะมาเปลี่ยนแปลงในสยามก่อนที่ในหลวงรัชกาลที่ 3 สวรรคต ก่อนที่เจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งสวยอำนาจขึ้นครองราชย์สืบต่อเอง
และเป็นไปตามคาดทันทีที่รัชกาลที่ 3 สวรรคตหนังสือพิมพ์สิงคโปร์ พรีเพรส ก็ลงข่าวนี้ได้ทันเวลาพอดี
(5)
ไหน ๆ ก็พูดเรื่อง soft power กันเยอะแล้ว ผมว่าประวัติศาสตร์ไทยมีเกณ้ดอีกเยอะที่จะเอาผลิตเป็นหนัง ละคร
แบบที่หนังสือ Anna and the King of Siam เป็นนวนิยายที่เขียนโดยมาร์กาเร็ต แลนดอน นักเขียนชาวอเมริกัน ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2487 (ค.ศ. 1944) โดยดัดแปลงมาจากหนังสืออัตชีวประวัติของนางแอนนา ลีโอโนเวนส์ 2 เล่ม คือ "The English Governess at the Siamese Court" และ "The Romance of the Harem"
หนังสือเล่มนี้ได้นำไปผลิตเป็นละครเวที และหนังที่โด่งดังไปทั่วโลก
และทีน่าแปลกคือหนังเหล่านี้ยังคงถูกแบนในประเทศไทยนี่แหละ