ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
15h ·
ศาลยกฟ้อง! คดีนักกิจกรรม NDM 13 คน ชุมนุมต้าน คสช. ปี 58 หลังต่อสู้นาน 4 ปี ชี้ชุมนุมวิจารณ์ คสช. อยู่ในกรอบสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าข่าย ม.116
.
.
วันที่ 18 ธ.ค. 2566 เวลา 10.00 น. ศาลอาญากรุงเทพใต้นัดฟังคำพิพากษาในคดีของอดีตนักศึกษา-นักกิจกรรมจากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) และดาวดิน จำนวน 13 คน ซึ่งถูกฟ้องในข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 กรณีการชุมนุมหน้า สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2558 หลังเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเมื่อกลางปี 2562 และต่อสู้คดีมากว่า 4 ปี
.
จำเลยทั้ง 13 คนที่ถูกฟ้องในคดีนี้ ได้แก่ รัฐพล ศุภโสภณ, อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์, ปกรณ์ อารีกุล, ทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์, อภิวัฒน์ สุนทรารักษ์, พายุ บุญโสภณ, ภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์, ศุภชัย ภูครองพลอย, วสันต์ เสตสิทธิ์, สุไฮมี ดูละสะ, ชลธิชา แจ้งเร็ว, พรชัย ยวนยี และสุวิชชา พิทังกร
.
ศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้นเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ไม่มีความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชีวิตของผู้ใด ตลอดจนการปราศรัยของจำเลยและผู้ชุมนุม เป็นการสลับกันขึ้นปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ คสช. ไม่ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้ง 13 คนเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย การชุมนุมดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการสร้างความรุนแรงหรือยุยงปลุกปั่นประชาชนตามฟ้องอย่างไร พิพากษายกฟ้อง
.
.
คดีนี้มี พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ (ยศขณะนั้น) เจ้าหน้าที่ทหารฝ่ายกฎหมายของ คสช. เป็นผู้กล่าวหา กรณีเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2558 มีการชุมนุมให้กำลังใจกลุ่มนักกิจกรรมและผู้ชุมนุมที่ถูกออกหมายเรียกไปดำเนินคดีจากการชุมนุมครบรอบ 1 ปี รัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2558 ทางกลุ่มนักกิจกรรมต้องการแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงในวันดังกล่าว และปฏิเสธการเข้ารายงานตัวกับตำรวจ เนื่องจากไม่ยอมรับการใช้อำนาจของ คสช. จึงไปทำกิจกรรมที่หน้า สน.ปทุมวัน
.
เมื่อกลุ่มนักศึกษาจะเดินทางเข้าแจ้งความกลับใน สน.ปทุมวัน กลับถูกปฏิเสธจากเจ้าหน้าที่ไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ สน. จึงมีการตั้งเวทีปราศรัยขึ้นบริเวณหน้าสถานีตำรวจ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่เปิดให้ผู้จะเข้าแจ้งความเท่านั้นเข้าไปใน สน. ขณะทำกิจกรรมมีการร้องเพลง มอบดอกไม้ อ่านบทกวี ดำเนินไปตลอดบ่ายถึงค่ำ
.
ต่อมามีผู้ถูกแจ้งข้อกล่าวหารวม 16 ราย และทยอยเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ที่ สน.ปทุมวัน จนครบทุกคน เมื่อช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน ปี 2562
.
ต่อมาวันที่ 4 ส.ค. 2565 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 มีคำสั่งฟ้องคดี กับจำเลยทั้ง 13 คน ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 เพียงข้อหาเดียว ซึ่งมีบรรยายฟ้องโดยสรุปว่า จำเลยทั้งหมดปราศรัยเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมต่อต้านรัฐบาล พร้อมปลุกระดมให้ประชาชนไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดความปั่นป่วน และกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่อาจก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และคดีได้มีการสืบพยานไปเมื่อเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 ก่อนศาลนัดฟังคำพิพากษาต่อมา
.
.
วันนี้ (18 ธ.ค.2566) เวลาประมาณ 09.45 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 405 จำเลย 12 ราย ทยอยเดินทางมาถึงห้องพิจารณาคดี โดยมีจำเลยที่ 12 (พรชัย) ที่ไม่ได้มาตามนัด ทำให้ศาลสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ ตลอดจนมีประชาชนและเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสวีเดนเข้าร่วมสังเกตการณ์คดีร่วมด้วย
ศาลเรียกให้จำเลยทั้งหมดลุกขึ้นแสดงตัว ก่อนเริ่มอ่านคำพิพากษาโดยสรุปว่า คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งหมดกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ โดยเมื่อพิเคราะห์จากคำเบิกความของพยานโจทก์และพยานหลักฐานของโจทก์แล้ว พบว่าการชุมนุมที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีความรุนแรง ไม่มีการเข้าสลายการชุมนุมจากเจ้าหน้าที่ หรือมีผู้ใดที่ได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินหรือชีวิต การกระทำของจำเลยทั้งหมดไม่ได้ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
.
ทั้งได้ความจากพยานโจทก์ที่เบิกความในชั้นศาล พบว่าจำเลยทั้ง 13 ราย ได้สลับหมุนเวียนกันขึ้นเวทีชั่วคราวที่บริเวณใกล้กับ สน.ปทุมวัน เพื่อปราศรัยในโอกาสครบรอบ 1 ปีของการทำรัฐประหาร ทั้งมีการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล คสช. โดยเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศเลือกตั้งโดยเร็ว
.
การกระทำของจำเลยทั้งหมด ไม่ปรากฏว่าเป็นการะละเมิดต่อกฎหมาย เนื่องจากการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากอาวุธและความรุนแรง ทั้งไม่ปรากฏว่าเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพนอกเหนือจากกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร แม้การปราศรัยจะปรากฏถ้อยคำหยาบคายและไม่สุภาพไปบ้าง แต่ก็ไม่พบว่าทำให้เกิดความเสียหายหรือสร้างความยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนก่อความกระด้างกระเดื่องในบ้านเมืองตามฟ้อง ศาลพิพากษายกฟ้อง
.
.
นอกจากคดีนี้แล้ว เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยังได้รับคำสั่งไม่ฟ้องคดีตามมาตรา 116 ของอัยการในอีกคดีหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ คดีของ “อดีต 14 นักศึกษา” กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) และดาวดิน พร้อมทั้ง ส.ศิวรักษ์-บารมี ชัยรัตน์-ทนายจูน ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ถูกกล่าวหาจากกรณีชุมนุมเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2558 โดยเป็นแสดงออกเพื่อขับไล่คณะรัฐประหารในขณะนั้น
.
คดีนี้ดำเนินมากว่า 8 ปี อัยการสูงสุดพิจารณาสั่งไม่ฟ้อง เห็นว่าเป็นเพียงการชุมนุมแสดงความคิดเห็นแตกต่างในทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนย่อมกระทำได้ ไม่เข้าข่ายตามมาตรา 116 ทั้งนี้ คดีนี้ทั้ง 14 นักศึกษาเคยถูกศาลทหารสั่งคุมขังระหว่างการสอบสวนเป็นเวลา 12 วันด้วย
.
.
อ่านบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/62386
Thanapol Eawsakul
10h·
อีก 5 เดือนจะครบ 10 ปีรัฐประหาร
แทนที่จะเอาคนทำรัฐประหารมาขึ้นศาล
แต่คนต่อต้านรัฐประหารยังต้องมาขึ้นศาลในการต่อต้านรัฐประาหารอยู่เลย
อ่านข่าว
ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีนัดอ่านคำพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายในราชอาณาจักร ของอดีตนักกิจกรรมและนักศึกษาจากกลุ่มดาวดินและขบวนการประชาธิปไตยใหม่ (NDM) จำนวน 13 ราย มูลเหตุของคดีสืบเนื่องจากการชุมนุมปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่หน้า สน.ปทุมวัน เมื่อ 24 มิถุนายน 2558
https://www.facebook.com/photo/?fbid=750880663752222&set=a.625664036273886
ถึงแม้จะเป็นข่าวดีที่มีการยกฟ้อง 13 คน แตยังมีคนที่มีคดีค้างคาอีก 4 คน
ประกอบกับเห็นภาพเก่าเมื่อ 8 ปีที่แล้ว
https://www.facebook.com/photo?fbid=681256774132702&set=a.580803887511325
เอาเข้าจริงเหตุการณ์ 24 มิถุนายน 2558 นั้นสืบเนื่องจากการชุมนุมครบ 1 ปี รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ที่หน้าหอศิลป์ กทม. และการรัฐระหาร 22 พฤษภาคม 2557 ด้วย
อีก 5 เดือนจะครบ 10 ปีรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
ราจะยังตะ้งมีคดี