Romadon Panjor - รอมฎอน ปันจอร์
13h
·
รายงานข่าวล่าสุด รัฐบาลเศรษฐา #ต่ออายุ การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในชายแดนใต้ 1 เดือน นี่เป็นครั้งที่กรอบเวลาลดลงจากที่ทำกันมาประจำ 3 เดือน เหลือเพียง 1 เดือนครับ รายงานข่าวที่อื่นแจ้งว่าในระหว่างนี้ กบฉ. หรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (ที่เปลี่ยนหัวเป็นสมศักดิ์) จะทำการศึกษาเพื่อทบทวนการบังคับใช้
ส่วนโฆษกรัฐบาลนั้น ไม่กล้าที่จะแถลงเรื่องนี้ตอนนักข่าวถามในการแถลงข่าว บอกเพียงว่า #รอฝ่ายความมั่นคงแถลง ในอีกวันสองวัน
ตกลงรัฐบาลนี้ #ไม่แยแส หรือ #ไม่กล้าแตะ เรื่องสำคัญอย่างไฟใต้ครับ ช่วยประเมินหน่อย
.....
·
รายงานข่าวล่าสุด รัฐบาลเศรษฐา #ต่ออายุ การบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในชายแดนใต้ 1 เดือน นี่เป็นครั้งที่กรอบเวลาลดลงจากที่ทำกันมาประจำ 3 เดือน เหลือเพียง 1 เดือนครับ รายงานข่าวที่อื่นแจ้งว่าในระหว่างนี้ กบฉ. หรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน (ที่เปลี่ยนหัวเป็นสมศักดิ์) จะทำการศึกษาเพื่อทบทวนการบังคับใช้
ส่วนโฆษกรัฐบาลนั้น ไม่กล้าที่จะแถลงเรื่องนี้ตอนนักข่าวถามในการแถลงข่าว บอกเพียงว่า #รอฝ่ายความมั่นคงแถลง ในอีกวันสองวัน
ตกลงรัฐบาลนี้ #ไม่แยแส หรือ #ไม่กล้าแตะ เรื่องสำคัญอย่างไฟใต้ครับ ช่วยประเมินหน่อย
จะต่อ 3 เดือนก็กลัวโดนด่า จะไม่ต่อก็กลัวทหารลงโทษ อะต่อทีละเดือนละกันหยวนๆ
— Nokkaew_P (@N_poonsawat) September 18, 2023
.....
·
มีข่าวว่าการลดกรอบเวลาการขยายหรือต่ออายุการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในชายแดนใต้/ปาตานีเหลือ 1 เดือน (ซึ่งแตกต่างไปจากแบบแผนเดิมที่ต่ออายุ 3 เดือน) เพื่อให้มีเวลาสำหรับ #หน่วยงาน ในการเตรียมความพร้อมใน #การเปลี่ยนผ่าน สู่การยกเลิกการประกาศ #สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง #ทุกอำเภอ
หากข่าวที่ว่านี้เป็นจริง วันแรกที่จะไม่มีการบังคับใช้น่าจะตกอยู่ที่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 นับเป็นการยุติ #ความฉุกเฉิน ที่ต่อเนื่องมา 18 ปีกว่า ๆ (อย่างน้อย ๆ ก็ในทางกฎหมาย)
บรรดากลไกและมาตรการด้านความมั่นคงต่าง ๆ จะได้รับการยกเลิกหรือทบทวนหรือไม่ ต้องติดตามดูครับ ทั้งพวกศูนย์ซักถามตามค่ายทหารและที่ตั้งทางทหารต่าง ๆ หรือบรรดาด่านตรวจความมั่นคงที่กระจายตัวเกลื่อนกลาดอยู่เต็มพื้นที่
ทิศทางหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร? ปัญหาของชายแดนใต้คือเจ้าหน้าที่มีการ์ดหลายใบ มีกฎหมายพิเศษซ้ำซ้อนหลายฉบับหลายขยัก จากคำให้สัมภาษณ์ของคีย์แมนของรัฐบาลเศรษฐา (รัฐมนตรีทวีจากประชาชาตินั่นแหละ) ดูเหมือนจะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ เข้ามาทดแทน เหมือนกับ 4 อำเภอของสงขลา
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า #กฎอัยการศึก ซึ่งให้อำนาจทหารที่ไร้การตรวจสอบมากกว่าก็ยังคงมีอยู่คลุมพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) คำถามก็คือว่า #กฎอัยการศึก จะยกเลิกด้วยหรือไม่? จะยกเลิกเมื่อไหร่?
วันนี้ในที่ประชุม ได้ยินว่า #นายกเศรษฐา ก็เกริ่นถึงเรื่องกฎอัยการศึกด้วย
ว่ากันตรง ๆ หากนี่คือมูฟของ #รัฐบาลพลเรือน ที่ประสงค์จะทำจริง ก็ต้องชื่นชมและสนับสนุน ถือเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกที่ทรงพลังอย่างมาก แม้ว่าทางทหารและตำรวจบางส่วนอาจจะเริ่มกังขาและคับข้องใจ
คงต้องติดตามปฏิกริยาของหน่วยปฏิบัติอย่างใกล้ชิดถึงใกล้ชิดที่สุดครับ หนึ่งเดือนหลังจากนี้คือเวลาวัดใจ คนถือปืนของรัฐในพื้นที่จะตอบสนองต่อทิศทางใหม่นี้อย่างไร? บรรดางานข่างกรองที่ตักตวงและใช้ประโยชน์จาก #ศูนย์ซักถาม จะเอาอย่างไร? ปฏิบัติการปิดล้อมและตรวจค้นจะสวิชต์มาใช้ #กฎอัยการศึก แบบทื่อ ๆ ตรง ๆ หรือไม่?
แน่นอนว่าคงต้องพิจารณาและติดตามความเคลื่อนไหวของ #บีอาร์เอ็น และบรรดากลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ในพื้นที่ด้วย ผมขอเสนอว่าในช่วงเวลาวัดใจเช่นนี้ บรรดา #โอเปอราซี ทางทหารควรต้องยุติลง เพื่อไม่ให้เป็น #เงื่อนไข ที่จะทำให้ #การลดความเป็นปรปักษ์ เช่นนี้ประสบกับอุปสรรคขัดขวาง
อย่างน้อย ๆ ก็เห็นแก่การรักษาชีวิตของผู้คนพลเรือนที่ #เสี่ยง จะเกิดขึ้นจากการรุกในทางการเมืองเช่นนี้
ผมไม่แน่ใจว่า #รัฐบาลเศรษฐา คำนวณและใคร่ครวญเรื่องนี้มาอย่างดีหรือไม่ แต่คิดในทางบวก นี่คือมูฟสำคัญและมีส่วนส่งสัญญาณสันติภาพให้ทุกตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งต้องปรับตัวไปในทิศทางใหม่ ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสันติภาพต่อไป
หวังว่าผมจะไม่ได้ประเมินผิดครับ
มาร่วมกัน #นับถอยหลัง ครับทุกท่าน!
มีข่าวว่าการลดกรอบเวลาการขยายหรือต่ออายุการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในชายแดนใต้/ปาตานีเหลือ 1 เดือน (ซึ่งแตกต่างไปจากแบบแผนเดิมที่ต่ออายุ 3 เดือน) เพื่อให้มีเวลาสำหรับ #หน่วยงาน ในการเตรียมความพร้อมใน #การเปลี่ยนผ่าน สู่การยกเลิกการประกาศ #สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง #ทุกอำเภอ
หากข่าวที่ว่านี้เป็นจริง วันแรกที่จะไม่มีการบังคับใช้น่าจะตกอยู่ที่วันที่ 20 ตุลาคม 2566 นับเป็นการยุติ #ความฉุกเฉิน ที่ต่อเนื่องมา 18 ปีกว่า ๆ (อย่างน้อย ๆ ก็ในทางกฎหมาย)
บรรดากลไกและมาตรการด้านความมั่นคงต่าง ๆ จะได้รับการยกเลิกหรือทบทวนหรือไม่ ต้องติดตามดูครับ ทั้งพวกศูนย์ซักถามตามค่ายทหารและที่ตั้งทางทหารต่าง ๆ หรือบรรดาด่านตรวจความมั่นคงที่กระจายตัวเกลื่อนกลาดอยู่เต็มพื้นที่
ทิศทางหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร? ปัญหาของชายแดนใต้คือเจ้าหน้าที่มีการ์ดหลายใบ มีกฎหมายพิเศษซ้ำซ้อนหลายฉบับหลายขยัก จากคำให้สัมภาษณ์ของคีย์แมนของรัฐบาลเศรษฐา (รัฐมนตรีทวีจากประชาชาตินั่นแหละ) ดูเหมือนจะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ เข้ามาทดแทน เหมือนกับ 4 อำเภอของสงขลา
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า #กฎอัยการศึก ซึ่งให้อำนาจทหารที่ไร้การตรวจสอบมากกว่าก็ยังคงมีอยู่คลุมพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) คำถามก็คือว่า #กฎอัยการศึก จะยกเลิกด้วยหรือไม่? จะยกเลิกเมื่อไหร่?
วันนี้ในที่ประชุม ได้ยินว่า #นายกเศรษฐา ก็เกริ่นถึงเรื่องกฎอัยการศึกด้วย
ว่ากันตรง ๆ หากนี่คือมูฟของ #รัฐบาลพลเรือน ที่ประสงค์จะทำจริง ก็ต้องชื่นชมและสนับสนุน ถือเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกที่ทรงพลังอย่างมาก แม้ว่าทางทหารและตำรวจบางส่วนอาจจะเริ่มกังขาและคับข้องใจ
คงต้องติดตามปฏิกริยาของหน่วยปฏิบัติอย่างใกล้ชิดถึงใกล้ชิดที่สุดครับ หนึ่งเดือนหลังจากนี้คือเวลาวัดใจ คนถือปืนของรัฐในพื้นที่จะตอบสนองต่อทิศทางใหม่นี้อย่างไร? บรรดางานข่างกรองที่ตักตวงและใช้ประโยชน์จาก #ศูนย์ซักถาม จะเอาอย่างไร? ปฏิบัติการปิดล้อมและตรวจค้นจะสวิชต์มาใช้ #กฎอัยการศึก แบบทื่อ ๆ ตรง ๆ หรือไม่?
แน่นอนว่าคงต้องพิจารณาและติดตามความเคลื่อนไหวของ #บีอาร์เอ็น และบรรดากลุ่มติดอาวุธอื่น ๆ ในพื้นที่ด้วย ผมขอเสนอว่าในช่วงเวลาวัดใจเช่นนี้ บรรดา #โอเปอราซี ทางทหารควรต้องยุติลง เพื่อไม่ให้เป็น #เงื่อนไข ที่จะทำให้ #การลดความเป็นปรปักษ์ เช่นนี้ประสบกับอุปสรรคขัดขวาง
อย่างน้อย ๆ ก็เห็นแก่การรักษาชีวิตของผู้คนพลเรือนที่ #เสี่ยง จะเกิดขึ้นจากการรุกในทางการเมืองเช่นนี้
ผมไม่แน่ใจว่า #รัฐบาลเศรษฐา คำนวณและใคร่ครวญเรื่องนี้มาอย่างดีหรือไม่ แต่คิดในทางบวก นี่คือมูฟสำคัญและมีส่วนส่งสัญญาณสันติภาพให้ทุกตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งต้องปรับตัวไปในทิศทางใหม่ ๆ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสันติภาพต่อไป
หวังว่าผมจะไม่ได้ประเมินผิดครับ
มาร่วมกัน #นับถอยหลัง ครับทุกท่าน!