วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 17, 2566

ยุติรัฐซ้อนรัฐ เลิกมองประชาชนเป็นศัตรู - อมรัตน์ ฉะประยุทธ์หลงยุคให้วิธีทหาร เพิ่มอำนาจ กอ.รมน.โครงสร้างอำนาจทำให้เกิดรัฐซ้อนรัฐ แนะยุบทิ้งไปเลย


Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
6h

[ ยุติรัฐซ้อนรัฐ เลิกมองประชาชนเป็นศัตรู ]
.
อมรัตน์ ฉะประยุทธ์หลงยุคให้วิธีทหาร เพิ่มอำนาจ กอ.รมน.โครงสร้างอำนาจทำให้เกิดรัฐซ้อนรัฐ แนะยุบทิ้งไปเลย

.
Amarat Chokepamitkul อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล เปิดอภิปรายตามมาตรา 152 มุ่งประ เด็นไปยังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้ดำเนินนโยบายความมั่นคงผิดพลาด ย่องคืนชีพมวลชนฝ่ายขวาอย่างไทยอาสาป้องกันชาติ พร้อมยกตัวอย่าง กอ.รมน. ที่มาในโครงสร้างอำนาจแบบรัฐซ้อนรัฐ ใช้งบประมาณแบบไม่จำก เปิดอภิปรายตามมาตรา 152 มุ่งประเด็นไปยังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ชี้ดำเนินนโยบายความมั่นคงผิดพลาด ย่องคืนชีพมวลชนฝ่ายขวาอย่างไทยอาสาป้องกันชาติ พร้อมยกตัวอย่าง กอ.รมน. ที่มาในโครงสร้างอำนาจแบบรัฐซ้อนรัฐ ใช้งบประมาณแบบไม่จำกัด
.
อมรัตน์ ชี้การรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งในปี 2549 และ 2557 ทำให้เกิดภัยเงียบที่ขยายบทบาท อำนาจและอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยกอ.รมน. ที่ปลุกขึ้นมาเหมือนซอมบี้เป็นเครื่องหมายเครื่องมือให้กองทัพควบคุมประเทศและระบบราชการภายใน
.
ในการรัฐประหารปี 2549 กอ.รมน. ขยายภารกิจจากหน่วยงานในกำกับดูแลสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นองค์กรถาวรทางกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมเป็นองค์กรที่สามารถยกเลิกได้เพียงใช้คำสั่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น
และในปี 2551 มีการปรับโครงสร้างกอ.รมน.ภายใต้พ.ร.บ.ความมั่นคงปี 51 กลับมาสอนในโครงสร้างการบริหารแผ่นดินโดยให้นายกรัฐมนตรีนั่งเป็นผอ.กอ.รมน. และยังมีกอ.รมน. ระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด ชี่แม่ทัพภาค 1-4 เป็นผอ.กอ.รมน.ภาค สามารถสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นข้าราชการพลเรือนได้ และหลังรัฐประหารปี 2557 พลเอกประยุทธ์ได้ออก ม.44 เพื่อแก้ไข พ.ร.บ. ความมั่นคงเพิ่มบอร์ดกอ.รมน.ระดับภาค โดยมีแม่ทัพภาคอยู่เหนือข้าราชการพลเรือน
.
ด้วยเหตุนี้จะส่งผลต่อไปในระยะยาว ทำให้กองทัพสามารถควบคุมและมีอำนาจเหนือรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งและมันจะอยู่ตลอดไป ซึ่งแม้วันข้างหน้าเราจะมีนายกจากรัฐบาลพลเรือนแล้วก็จะยังถูกกองทัพครอบเอาไว้ผ่านเครื่องมือสำคัญอย่างกอ.รมน.
.
โดยเฉพาะแนวคิดการจัดการความมั่นคงภายในของกองทัพ ซึ่งมีลักษณะที่ขัดแย้งกับคนไทยด้วยกันเอง ทหารเป็นผู้เล่นหลักในทุกสนามเหมาทุกบทบาทอย่างเบ็ดเสร็จ มีงบประมาณและเครื่องมือมหาศาลเหนือหน่วยงานราชการพลเรือนเข้าแทรกแซงการเมืองจนเกิด 'รัฐซ้อนรัฐ' อย่างเต็มรูปแบบ
.
ยกตัวอย่างผลงาหลงยุคของ กอ.รมน. เช่น การทวงคืนผืนป่า ทำให้ชาวบ้านถูกดำเนินคดีไปมากกว่า 40,000 คดี ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน กลุ่มชาติติพันธ์ที่อยู่กันมาหลายชั่วอายุคนก็ถูกไล่เหมือนหมาด้วยวิธีคิดแบบทหารและมองคนเป็นศัตรู กอ.รมน. ยังสถาปนาตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสเข้าไปผูกขาดประวัติศาสตร์ตามโรงเรียน
.
อมรัตน์ เสนอเพื่อความมั่นคงอย่างแท้จริง ยุบกอ.รมน. ปฏิรูปสภาความมั่นคงแห่งชาติ นำทหารแก่ออกจากตำแหน่ง ให้องค์กรของพลเรือนมีพลเรือนนั่งตำแหน่งประธาน แก้ไขกฎหมายความมั่นคง 3 ฉบับได้แก่ กฎอัยการศึก พรก ฉุกเฉิน และกฎหมายความมั่นคงมาตรา 112 116 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ รวมถึงออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กับผู้ที่ถูกคดีด้านความมั่นคงอย่าง 112 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
.
#ประชุมสภา

.....
Voice TV
7h
#สรุปอภิปรายรัฐบาลประยุทธ์ครั้งสุดท้าย #รัฐซ้อนรัฐยังอยู่
รัฐซ้อนรัฐที่ไม่จางหายแม้มีเลือกตั้ง : สงวน พงษ์มณี พรรคเพื่อไทย
พลเอกประยุทธ์ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 วันที่ 6 เม.ย. 2560 ต่อมา 21 พ.ย.2560 พลเอกประยุทธ์ออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 51/2560 แก้ไข พ.ร.บ.ความมั่นคง 2551 เพื่อเพิ่มอำนาจให้กับ กอ.รมน. เข้ามามีบทบาทในกิจการพลเรือนมากขึ้น พร้อมทั้งแก้ไขโครงสร้างการบริหารจัดการเพิ่มเติม โดยแก้ไขมาตรา 9 เพื่อให้หน่วยงานรัฐต่างๆ จัดส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปปฏิบัติหน้าที่ใน กอ.รมน.
พลเอกประยุทธ์ ยังแก้ไขมาตรา 13 โดยเพิ่มกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นั่นหมายความว่า ภายใต้สภาความมั่นคงและรัฐสภา มีรัฐสองรัฐซ้อนกันอยู่
การบริหารราชการแผนดินภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคง พบว่า ผู้ว่าทุกจังหวัด, ข้าราชการพลเรือน และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงตำรวจและอัยการต้องขึ้นตรงกับแม่ทัพภาค ทั้งที่ฝ่ายอัยการควรจะต้องถือว่าเป็นหน่วยงานอิสระในกระบวนการยุติธรรม
อีกทั้งอัยการที่ขึ้นตรงกับแม่ทัพภาค ต้องเป็นระดับอธิบดีอัยการ ซึ่งมีอาวุโสสูงสุดของภาคนั้นๆ ด้วย นี่คือโครงสร้างของรัฐพันลึก รัฐทหาร หรือที่เรียกว่า รัฐความมั่นคง
จากนั้น แม่ทัพภาคทั้งหลายก็ต้องรายงานแก่ผู้บัญชาการทหารบก สุดท้ายก็ต้องขึ้นตรงไปสู่สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยมีพลเอกประยุทธ์นั่งเป็นประธาน
หลังเลือกตั้งปี 2562 พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ใช้โครงสร้างของ กอ.รมน. มากำกับผู้เห็นต่างทางการเมือง
ข้อสังเกตสำคัญคือ คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 51/2560 ของพลเอกประยุทธ์ ในการการขยายบทบาทและอำนาจของ กอ.รมน.ในคำสั่งฉบับนี้ ชัดเจนว่า มีเจตนนาเพื่อกำกับรัฐบาลของประชาชนที่จะขึ้นรับตำแหน่งหลังการเลือกตั้งในอนาคต
กล่าวได้ว่า กอ.รมน. ซึ่งเป็นองค์กรของฝ่ายทหาร ที่เข้ามาควบคุมงานความมั่นคงของประเทศทั้งหมด ทั้งในระดับชาติ และในระดับภาค ลงไปถึงระดับจังหวัดด้วยและยังมีโครงสร้างลักษณะนี้อยู่จนปัจจุบัน
กอ.รมน. ภัยต่อระบอบประชาธิปไตย : อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล พรรคก้าวไกล
กอ.รมน. คือหน่วยงานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปราบคอมมิวนิสต์เมื่อ 50-60 ปีก่อน ด้วยวิธีคิดแบบทหาร
ผลงานของ กอ.รมน. ในอดีต เช่น เหตุการณ์ ‘ถีบลงเขาเผาลงถังแดง’ ที่จังหวัดพัทลุง มีผู้เสียชีวิตราว 3,000 คน และเหตุการณ์เผาหมู่บ้านนาทราย จังหวัดหนองคาย ปี 2517
หลังจบสงครามกับคอมมิวนิสต์ กอ.รมน. ก็ไม่มีภารกิจหลักจนแทบสิ้นสภาพ แต่ กอ.รมน. ก็สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะกองทัพไทยเข้ามาแทรกแซงการเมืองโดยใช้ กอ.รมน. เป็นตัวขับเคลื่อน จนทำให้ปัจจุบัน การบริหารราชการแผ่นดินมีลักษณะ ‘รัฐซ้อนรัฐ’
หลังรัฐประหารปี 2549 มีการเพิ่มบทบาทให้ กอ.รมน. โดยใช้ พ.ร.บ. ภัยความมั่นคง ปี 2551 โดยนำ ผบ.ทบ. / เสธ.ท.บ. รอง / เลขาฯ กอ.รมน. / แม่ทัพภาค ผอ.รมน. ภาค มาแทรกเเซงในโครงสร้างของ กอ.รมน.
มีการยกระดับ กอ.รมน. ภูมิภาคและระดับจังหวัด มีสำนักงานของ กอ.รมน. ประจำที่ศาลากลางทุกจังหวัด ชัดเจนว่า นี่คือโครงสร้างที่ถูกทำให้ทับซ้อนกับการบริหารราชการแผ่นดิน
โครงสร้างของ กอ.รมน. มีตำรวจและข้าราชการพลเรือนปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เพื่อเป็นข้ออ้างว่า ‘ได้สร้างความชอบธรรมและบูรณาการแล้ว’ ทั้งที่ตำรวจและข้าราชการพลเรือนไม่มีอำนาจใดๆ ถูกจัดอยู่ปลายแถวของโครงสร้างนี้
พลเอกประยุทธ์ ใช้อำนาจอันล้นเหลือ และการตีความภัยความมั่นคงที่คลุมเครือ เพื่อขยายขอบเขตอำนาจให้ครอบคลุมทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่อง ท่องเที่ยว กีฬา รักษาป่า รักษาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และความเห็นต่างทางการเมือง เรียกว่าเข้าไปแทรกแซงทุกเรื่องที่ไม่ใช่หน้าที่ของตน
จริงๆ แล้ว กอ.รมน. มีฐานะเทียบเท่า ‘กรม’ เท่านั้น แต่การมีอำนาจสั่งการข้าราชการพลเรือน ทำให้ กอ.รมน. มีฐานะราวกับ ‘ซูเปอร์กระทรวง’
พลเอกประยุทธ์ ใช้ กอ.รมน. เป็นเครื่องมือสอดส่อง ควบคุม ติดตาม คุกคามนักกรรมทางการเมือง และนัการเมืองฝั่งตรงข้าม
กอ.รมน. มีทั้งงบประมาณส่วนตัว กำลังพลส่วนตัว และยังมีอำนาจสั่งการเพื่อใช้งบประมาณของทุกกระทรวง ทบวง กรม เช่น หาก กอ.รมน. สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการพานักเรียนมาเข้าอบรม ก็จะใช้งบของกระทรวงศึกษาธิการ
ถึง กอ.รมน. จะมีกำลังพลและงบประมาณมากมาย แต่หน้าที่หลักของ กอ.รมน. คือการ ‘ดับไฟใต้’ ใน 3 จังหวัดชายแดน อย่างไรก็ตาม การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ชายแดนใต้ ก็ไม่เคยเบาบางลง มีแต่จะรุนแรงขึ้น
การรัฐประหารปี 2557 ของพลเอกประยุทธ์ได้มีการปรับปรุง พ.ร.บ. ภัยความมั่นคงอีกครั้ง โดยดึงอัยการจังหวัดเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างนี้ คำถามคือ อัยการที่ควรจะเป็นองค์กรอิสระ แต่พลเอกประยุทธ์กลับดึงเข้ามาในโครงสร้าง กอ.รมน. แล้วแบบนี้ หากมีคดีความสั่งฟ้อง ประชาชนจะเชื่อถือความอิสระของอัยการได้อย่างไร
โครงสร้างแบบ ‘รัฐซ้อนรัฐ’ เช่นนี้ จะส่งผลในระยะยาวต่อประเทศ แม้ในอนาคต ประเทศจะมีนายกรัฐมนตรีพลเรือนแล้วก็ตาม แต่โครงสร้างที่ถูกกองทัพครอบไว้ ก็จะตามหลอกหลอนการเมืองไทยอยู่ตลอดเวลา
งบประมาณของ กอ.รมน. ในแต่ละปี มีตัวเลขเกือบหมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้ แม้ กอ.รมน. จะมีข้าราชการในสังกัดแค่ 1,200 กว่าคน แต่กลับมีอำนาจสั่งการเรียกข้าราชการพลเรือนเข้ามาช่วยงานได้อย่างไม่จำกัด เช่นขณะนี้ มีจำนวนเกือบ 5 หมื่นคนแล้ว
สิ่งที่ตามมาคือ ‘บัญชีผี’ ยกตัวอย่างกรณีข่าวเมียน้อย ส.ว. ที่ดันมีไปช่วยราชการ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า แต่ตัวกลับอาศัยอยู่ที่ราชบุรี และได้รับเบี้ยเลี้ยงฟรีๆ ทั้งที่ไม่ได้ปฏิบัติงานจริง
กล่าวได้ว่า กอ.รมน.เป็นหน่วยงานที่อันตรายต่อระบบรัฐสภา แะการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ยกตัวอย่างความเลวร้ายของ กอ.รมน.ในยุคของพลเอกประยุทธ์ เช่น ใช้ กอ.รมน. ทวงคืนผืนป่า ทำให้ชาวบ้านถูกดำเนินคดีไปกว่า 40,000 คดี กลุ่มชาติพันธ์ถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัยเหมือนหมูหมาด้วยวิธีการทางทหาร
คสช.สั่งให้ กอ.รมน.ปฏิบัติการล้างสมอง เพื่อปูทางการเลือกตั้งปี 2562 โดยการใช้งบประมาณของ กอ.รมน.จัดชุดวิทยากร 100 ชุด ตระเวนไปกว่า 83,000 หมู่บ้าน เพื่ออบรมและปลูกฝังให้ชาวบ้าน เลือก ‘คนดี’ อย่างพลเอกประยุทธ์ เป็นนายกฯ
กอ.รมน.ใช้งบ 20 ล้านบาทจัดคอนเสิร์ตที่ห้างพารากอน เพื่อให้กลุ่มคนที่มีลักษณะตัดผมเกรียน 3 ด้าน มาร่วมสนุกสนานในคอนเสิร์ต เป็นการใช้งบประมาณที่ไม่สร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม
กอ.รมน. เข้าไปทำโครงการอบรมเยาวชนทางสายใหม่ต้านภัยยาเสพติดในโรงเรียน ให้นักเรียนเดินถือป้ายต้ายยาเสพติดบนถนนกลางแดด คำถามคือ การทำแบบนี้จะต้านยาเสพติดได้อย่างไร
กอ.รมน. ยังเข้าไปติดตามนักเรียนที่ ‘ชูสามนิ้ว’ ถึงในโรงเรียน คำถามคือ เดี๋ยวนี้ภัยความมั่นคงอยู่ในโรงเรียนหรืออย่างไร?
กอ.รมน. เข้าไปแทรกแซงการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยการสร้างวิชาประวัติศาตร์แนวใหม่ คำถามคือ ใช่หน้าที่หรือไม่?
กอ.รมน. บุกไปในร้านกาแฟแห่งหนึ่งในในตลาดบันนังสตา เพื่อเข้าไป​ยึดบอร์ดเกม​ Patani​ Colonial​ Territory​ อ้างว่าอาจหมิ่นเหม่​ผิดกฎหมาย​ โดยไม่แสดงหมายค้นใดๆ ต่อเจ้าของร้าน
กอ.รมน. ยังได้ขยายเครือข่ายมวลชนจัดตั้งกลุ่ม ‘ไทยอาสาป้องกันชาติ’ หรือ ทสปช. ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (เหมือนที่เคยทำในสมัยสงครามเย็นยุคขวาพิฆาตซ้าย) โดยงานนี้มีพลเอกประยุทธ์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มไทยอาสาป้องกันชาติ มีจำนวน 233,000 คน ที่พร้อมออกมาปลุกระดมเพื่อตอบสนองความต้องการของรัฐบาล ด้านงานวิจัยของอาจารย์ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ระบุว่า มวลชนที่ถูก กอ.รมน. จัดตั้ง มีเกือบ 6 แสนคนแล้ว
สรุปว่างานของ กอ.รมน. คือการสร้างอารมณ์ ความรู้สึก ความเข้าใจผิด และการเกลียดชังในหมู่ประชาชนใช่หรือไม่
#VoiceOnline