วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 25, 2566

'ทนายด่าง' กฤษฎางค์ นุตจรัส เล่าเรื่องน่ารู้ของเยาวชนผู้กล้า เมื่อ 50 ปีที่แล้ว ที่ไม่กลัวเผด็จการทหาร ศาล เหมือน ตะวัน-แบม ที่ต่างต่อสู้เพื่อคนทุกคน ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน


Krisadang-Pawadee Nutcharus 
12h

วันนี้ผมว่าความอยู่ที่ศาลต่างจังหวัดศาลหนึ่ง
.
ทราบข่าวว่าแบมกับตะวันจะออกจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ไปอดข้าวที่หน้าศาลฎีกา
รู้สึกเป็นห่วงน้องทั้งสองคนที่ตัดสินใจต่อสู้ไปด้วยวิธีนี้
.
มีเวลาระหว่างรอเอกสารผมคิดถึงเรื่องๆหนึ่ง
เมื่อ 50 ปีที่แล้วเกี่ยวกับศาลและเด็กๆ
กลางเดือนธันวาคมปี 2515 ตอนที่ผมเพิ่งอายุ 15 ขวบ เผด็จการทหารถนอม-ประภาส-ณรงค์ เพิ่งก่อการรัฐประหารขึ้น ครองอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ
.
สามทรราชย์ออกกฎหมายของตัวเอง เรียกว่า"ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299"
มีเนื้อหาให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้าไปโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผู้พิพากษาและให้มีอำนาจเข้าไปแทรกแซงการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาในศาลได้
กฎหมายอัปยศฉบับนี้เรียกว่า "ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299"
.
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีและผู้บริหารศาลที่มีส่วนในการพิจารณาคดีผู้ต้องหาทางการเมืองในขณะนี้
อาจไม่รู้จัก ปว 299 ฉบับนี้ หรืออาจจะจำไม่ได้ว่าพิษภัยร้ายของเผด็จการทหารที่ผ่านปว 299 นั้น มีความชั่วร้ายในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมอย่างไร
.
เมื่อเผด็จการประกาศใช้ปว 299 ในเดือนธันวาคม 2515
เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษาล้วนโกรธแค้นที่เผด็จการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม
.
นิสิตนักศึกษามุ่งตรงไปสู่ศาลฎีกาที่สนามหลวง
แล้วชุมนุมประท้วงต่อต้าน ปว 299 อย่างรุนแรง
ทั้งที่ในขณะนั้นประเทศอยู่ในการประกาศกฎอัยการศึก ห้ามชุมนุมทางการเมืองใดๆทั้งสิ้น
.
เยาวชนในยุคนั้นชุมนุมประท้วงอยู่ในบริเวณศาลฎีกา หน้าอนุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ข้ามวันข้ามคืน
เป็นการชุมนุมประท้วงข้ามคืนครั้งแรกในยุคเผด็จการทรราช
.
เยาวชนเหล่านั้นไม่เกรงกลัว
เขามีจุดมุ่งหมายเดียว
คือต้องเลิกปว 299
ต้องรักษาไว้ซึ่งอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีของผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม
พวกเขาไม่เกรงกลัวต่อคำข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีทางกฎหมาย
และการลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลในการที่บุกเข้าไปในศาล
.
ในที่สุดเด็กและเยาวชนชนะ เผด็จการทหารยอมยกเลิกปว 299 อันอัปยศ
.
ผมคิดเปรียบเทียบเยาวชนเมื่อปี 2515 กับตะวันและแบมในวันนี้
.
เขากล้าหาญเหมือนกัน
เขามีหลักการที่ถูกต้องเหมือนกัน
และต่างยืนหยัดอยู่หน้าศาลฎีกา ท้องสนามหลวงเหมือนกัน
.
เพียงแต่เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เหล่าวีรชนเยาวชนผู้กล้าหาญต่อสู้กับเผด็จการทหารเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นอิสระของศาลยุติธรรม
แต่ในวันนี้ตะวันกับแบมกลับต้องต่อสู้กับสำนึกของผู้คนในกระบวนการยุติธรรมเองเพื่อรักษาความเป็นอิสระของตุลาการและหลักการแห่งกฎหมาย
.
แต่อดีตกับปัจจุบันมีความเหมือนกันที่ต่างต่อสู้เพื่อคนทุกคนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
.
ผมนับถือเธอ เยาวชนผู้กล้า