วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 28, 2566

หาม “ตะวัน-แบม” กลางดึก ออกจากเต็นท์ที่ปักหลักเดิม ด้วยเหตุผลว่าเจ้าของเดิมที่ให้ยืมใช้ มีความประสงค์ขอคืนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักหลัก ทำให้กลุ่มเพื่อนตะวัน-แบม ได้ตัดสินใจคืนของทั้งหมด และหามทั้งสองคนออกจากเต็นท์เดิม เพื่อย้ายไปพักยังเต็นท์ชั่วคราว


ไข่แมวชีส
4h
หาม “ตะวัน-แบม” กลางดึก เหตุย้ายเต็นท์ที่พักชั่วคราว แพทย์เผย แบม เริ่มมีภาวะตับอักเสบ-เลือดเป็นกรด ด้าน “ธนาธร-ช่อ-เบญจา” เข้าเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัว
เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2566 เวลา 21.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศมี่หน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนินใน การปักหลักอดอาหารประท้วง ของ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ นักกิจกรรมอิสระที่มำการอดอาหารประท้วงด้านหน้าศาลฎีกา เข้าสู่คืนที่ 5 นั้น
บรรยากาศในคืนนี้ ทางกลุ่มเพื่อน “ตะวัน-แบม” ได้มีการย้ายนักกิจกรรมทั้งสองคน ออกจากเต็นท์ที่ปักหลักเดิม ด้วยเหตุผลว่าเจ้าของเดิมที่ให้ยืมใช้ มีความประสงค์ขอคืนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักหลัก ทำให้กลุ่มเพื่อนตะวัน-แบม ได้ตัดสินใจคืนของทั้งหมด และหามทั้งสองคนออกจากเต็นท์เดิม เพื่อย้ายไปพักยังเต็นท์ชั่วคราว ซึ่งผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเต็นท์หลังใหม่ จะกลับมาติดตั้งอีกครั้งภายในคืนนี้ซึ่งเป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม
ทั้งนี้เมื่อเวลา 21.00 น. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นางสาวพรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เดินทางมาเยี่ยม และ ให้กำลังใจครอบครัวของ ตะวัน และ แบม ด้วย
ด้านเฟซบุ๊กของนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ได้เปิดเผยคำชี้แจงประจำวันที่ 27 ก.พ.2566 ความตอนหนึ่งระบุว่า “ในวันนี้ ทนายความได้รับแจ้งจากผู้ดูแลของตะวันและแบมว่าทั้งสองคนมีอาการเหนื่อยล้าลงกว่าเดิมจากเมื่อตอนออกจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์มาก โดยแบมนอนเฉยๆ ไม่พูดคุยกับใคร ขณะมีคนเข้าไปวัดความดัน ส่วนตะวันยังพูดได้โต้ตอบได้ แต่จากการสอบถามอาการว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ตะวันและแบมได้บอกว่าเธอ ไม่อยากให้สนใจอาการของพวกเธอเท่าไหร่นัก
แต่อยากเชิญชวนให้ทุกคนที่เห็นด้วยว่าประเทศไทยต้องมีหลักประกันเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา ติดตามผลคำสั่งประกันของ "ต๊ะ" หรือคทาธร เยาวชนที่เป็นหนึ่งในผู้ต้องขังทางการเมืองที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุด ซึ่งขณะนี้กำลังรอผลการสืบเสาะและคำสั่งของศาลอาญาอยู่ และติดตามการยื่นประกันถิรนัยและชัยพรในวันพรุ่งนี้โดยศูนย์ทนายความเพื่อ
สิทธิมนุษยชน”
“ทนายความยังได้รับแจ้งรายงานผลเลือดของทั้งสองว่า ทั้งคู่มีศีโตนในเลือดสูง มีภาวะเลือดเป็นกรดซึ่งเป็นภาวะอันตรายทางการแพทย์ และน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะค่าผลเลือดของแบมปรากฎว่า แบมมีภาวะตับอักเสบ และแพทย์ได้แจ้งว่าตับของแบมเริ่มไม่ดีแล้ว นอกจากนี้ แพทย์ยังยืนยันว่าทั้งคู่ควรที่จะต้องกลับโรงพยาบาลทันที เนื่องจากในสถานการณ์ที่อดอาหารมานานมากเช่นนี้ หากมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้น ไม่มีใครทราบว่าจะสามารถรักษาชีวิตของทั้งสองคนไว้ได้หรือไม่” เอกสารคำชี้แจงอาการประจำวันที่ 27 ก.พ. 2566 ระบุ
สำหรับกำหนดการในวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) เวลา 15.00 น. ที่ บริเวณพระแม่ธรณีบีบมวยผม พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม พร้อมทีมแพทย์จาก รพ.ตร., กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล รพ.ตร. และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จะเข้าไปตรวจร่างกาย "ตะวัน-แบม" เนื่องจากอดอาหารเป็นระยะเวลา 5 วัน และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย
ข้อมูลโดยสำนักข่าวราษฎร


สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
7h
“ชาญวิทย์-พนัส” 2 อาจารย์ธรรมศาสตร์ ร่วมยืนหยุดขัง ให้กำลังใจ “ตะวัน-แบม” ด้านตำรวจโร่ปิดหมาย ขอให้ผู้ชุมนุมปลดป้ายหมิ่นศาลออก ขีดเส้นตาย 7 โมงเช้า วันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) หากยังเฉย จ่อสั่งยุติการชุมนุม
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ชนะสงคราม ได้นำหมายคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 11 วรรคสอง ระบุว่า ตามที่มีหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ลงวันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เรียกร้องการประกันตัวให้นักโทษการเมือง ระยะเวลาการชุมนุม 124 วัน ซึ่งผู้รับแจ้งได้รับ เลขรับที่ ตช. 0015 (บก.น.1) 10/402 ลงวันที่ 27 มกราคม 2566 เรื่อง สรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะ แจ้งให้กับนางสาวอรัญญิกา จังหวะ นั้นปรากฎว่าเป็นการชุมนุมที่อาจขัดต่อมาตรา 8 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ให้ท่านจัดการแก้ไขการชุมนุมสาธารณะให้ถูกต้อง
พบว่าท่านไม่ควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมให้อยู่บริเวณทางเท้าหน้า
ศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจร โดยพบว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมลงมาบริเวณผิวจราจร มีรถผู้ชุมนุมจอดในที่ห้ามจอดและกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับความเดือดร้อน และพบว่าป้ายมีข้อมูลหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย จึงให้นางสาวอรัญญิกา จังหวะ แก้ไขให้กลุ่มผู้ชุมนุมปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่ง โดยให้กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมาอยู่บริเวณทางเท้าหน้าศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจรและให้นำรถที่จอดในที่ห้ามจอดและจอดกีดขวางทางและให้นำป้ายที่มีข้อความหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่น
ออกจากบริเวณดังกล่าวภายในเวลา 07.00 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นับแต่เวลาที่ท่านได้รับคำสั่งนี้
หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ผู้รับแจ้งมีอำนาจสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะได้ (ลงชื่อ) พันตำรวจเอกเสนาะ พูนเพชร ผู้กำกับการ (สอบสวน)ฯ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 รักษาราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ่านประกาศดังกล่าวให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมทราบแล้ว ทางผู้ชุมนุมแสดงอาการไม่พอใจ ต่างกล่าวตะโกนต่อว่า ชูนิ้วกลาง หรือ พยายามไม่ให้ตำรวจปิดหมายให้แก้ไขการชุมนุมดังกล่าว
ต่อมาเวลา 17.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนกว่า 100 คน มาร่วมทำกิจกรรม ยืน หยุด ขัง ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาร่วมกิจกรรม และให้กำลังใจ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ ด้วย
ภาพโดย แมวส้ม
#สำนักข่าวราษฎร #RatsadonNews #ตะวันแบม #ศาลฎีกา #ยืนหยุดขัง #พลเมืองโต้กลับ