วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 21, 2566

ชวนย้อนความทรงจำ ผ่านสารพัดสิ่งของในพื้นที่ชุมนุม 📣 นิทรรศการ “วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน” จากท้องถนนสู่ห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์

https://www.facebook.com/iLawClub/videos/618179473472018
iLaw was live.
15h
วงเสวนาเปิดนิทรรศการ วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน Evidences of Resistance

วงเสวนาเปิดนิทรรศการ วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน Evidences of Resistance
“วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน” จากท้องถนนสู่ห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์
ร่วมพูดคุยโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุกติ มุกดาจิตร (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ (คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ.)
อานนท์ ชวาลาวัณย์ (ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์สามัญชน)
ดำเนินรายการโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ (คณะรัฐศาสตร์ มธ.)
ณ. พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
กิจกรรมถ่ายทอดสดทางเพจ พิพิธภัณฑ์สามัญชน และ iLaw
#วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน
#EvidencesOfResistance
#พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
#พิพิธภัณฑ์สามัญชน
#Kinjaicontemporary


iLaw
15h
ชวนย้อนความทรงจำ ผ่านสารพัดสิ่งของในพื้นที่ชุมนุม
.
เวลาที่เราไปร่วมกิจกรรมในพื้นที่ชุมนุม ในหลายๆ ครั้งเราอาจจะบันทึกภาพการชุมนุมนั้นลงในความทรงจำจากสถานที่ตั้ง จากประเด็นข้อเรียกร้องของเหล่าผู้ชุมนุม จากเสียงพูดของผู้ปราศรัย หรือจากเสียงดนตรีปลุกเร้าใจ แต่อีกกิมมิคหนึ่งที่สำคัญในพื้นที่ชุมนุมที่เป็นเครื่องช่วยบันทึกความทรงจำต่อการชุมนุมนั้นๆ คือสารพัดสิ่งของที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุม ที่บรรดาผู้ชุมนุมเองจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อประกอบบรรยากาศการชุมนุม เพื่อย้ำเตือนข้อเรียกร้อง หรือเพื่อส่งสารอะไรบางอย่างให้กับคนในสังคม
.
บางครั้ง วัตถุต่างๆ ในพื้นที่ชุมนุมยังแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ การใช้อารมณ์ขันของผู้ชุมนุมในการเรียกร้อง หรือตอบโต้กับผู้มีอำนาจ นอกจากนี้ วัตถุในพื้นที่ชุมนุม ยังเป็นพยานสำคัญของความรุนแรงเกิดที่ขึ้นโดยรัฐด้วย
.
พิพิธภัณฑ์สามัญชน ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จัดงานนิทรรศการ “วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน | Evidences of Resistance” จัดแสดงสารพัดวัตถุจากพื้นที่ชุมนุม ไม่ว่าจะเป็นป้ายข้อความทั้งแบบผ้าที่เปิดให้ผู้ชุมนุมระบายความคิดข้างในลงไปบนผืนผ้า แบบเขียนมือด้วยกระดาษที่ผู้ชุมนุมเขียนเองกับมือ ภาพวาดที่สะท้อนการใช้ศิลปะเพื่อเรียกร้องทางการเมือง ธงรุ้งขนาดเล็กที่ผู้ชุมนุมถือโบกสะบัดเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศและการรับรองสิทธิอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงวัตถุอุปกรณ์ในการป้องกันอันตราย หมวกกันน็อค แว่นตา และวัตถุพยานสำคัญที่สะท้อนความรุนแรงจากรัฐที่ทำต่อผู้ชุมนุม “กระสุนยาง” เท่าที่จะเก็บรวบรวมมาได้
.
นิทรรศการจัดแสดงวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 - 15.30 น. (ปิดทำการทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 – 26 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง 112 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
https://goo.gl/maps/CcjRUisNSfxkhAHTA