วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 24, 2566

จับตา คดีแรกที่ราษฎรฟ้องกลับ ยืนยันเสรีภาพการชุมนุม พลเอกประยุทธ จันทรโอชา เป็นจำเลย นัดฟังคำพิพากษา 14 มีนาคม 2566


Suchart Sawadsri
10h
นี่เรียกว่าเป็นคดีแรกที่ราษฎรฟ้องกลับ ยืนยันเสรีภาพการชุมนุม
พลเอกประยุทธ จันทรโอชา เป็นจำเลย
นัดฟังคำพิพากษา 14 มีนาคม 2566
( ใกล้เคียงกับที่มีข่าวว่าประยุทธจะประกาศยุบสภา 15 มีนาคม )

ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
11h
+++ คดีเพิกถอนข้อกำหนดฯ ขัดขวงการชุมนุม ที่ รุ้ง ปนัสยา กับพวก 4 ราย เป็นโจทก์ ฟ้องพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยโจทก์ทั้งสี่ ยืนยันเสรีภาพการชุมนุม พ.ร.บ โรคติดต่อฯควบคุมโควิด-19 ได้ การออกข้อกำหนดขัดขวางเสรีภาพการชุมนุม ลดทอนคุณค่าสังคมประชาธิปไตย มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง มุ่งคุกคามและปิดปากประชาชนผู้เห็นต่างทางการเมือง +++
---------------------------------------------------
ศาลแพ่ง รัชดา นัดฟังคำพิพากษา
14 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น.
.
คดีนี้ศาลนัดสืบพยานโจทก์ 21-22 กุมภาพันธ์ 2566
และสืบพยานจำเลย 23 กุมภาพันธ์ 2566
.
โจทก์อ้างพยานทั้งสิ้น 5 ปาก
จำเลยอ้างพยานทั้งสิ้น 3 ปาก
.
ในส่วนสืบพยานโจทก์ โจทก์ได้ยืนยันการออกข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 15 ข้อ 3 เรื่องห้ามการชุมนุม และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบฯ ฉบับที่ 12 (ตามคำฟ้อง) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนทำให้ไม่อาจเข้าร่วมกิจกรรมใด ๆ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการสูญเสียโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวาระสำคัญ และไม่ได้มีโอกาสใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในฐานะพลเมืองต่อประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง และถือได้ว่าข้อกำหนด (ตามคำฟ้อง) เป็นการออกมาเพื่อคุกคามและปิดปากประชาชนไม่ให้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง และเป็นการลดทอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในสังคมประชาธิปไตย
---------------------------------------------------
พยานผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของโจทก์เบิกความ : กล่าวโดยย่อ คือ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 1 ข้อ 5 ฉบับที่ 15 ข้อ 3 สร้างข้อจำกัดเสรีภาพโดย #ไม่จำเป็น #ไม่ได้สัดส่วน #เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่มีดุลยพินิจอย่างกว้างโดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์ควบคุมหรือตรวจสอบดุลยพินิจที่ชัดเจนจนนำไปสู่การใช้อำนาจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่
.
การที่รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 และขยายระยะเวลาการบังคับใช้เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้องกับหลักความจำเป็น เพราะบรรดากฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้นก็เพียงพอแล้วที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ โดยไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพากลไกกฎหมายฉุกเฉินเลย
.
นอกจากนั้น พระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้กับการจัดการโรคระบาดเป็นการเฉพาะ กฎหมายฉบับนี้ #เน้นไปที่การแก้ไขเหตุฉุกเฉินด้านความมั่นคงทางการทหารและการเมืองมากว่าที่จะเน้นไปที่การแก้ไขเหตุฉุกเฉินที่เกี่ยวกับด้านสาธารณสุข โดยจะเห็นได้จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและปลัดกระทรวงสาธารณสุข มิได้เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม มาตรา 6 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ
.
ทั้งนี้รัฐบาลสามารถใช้กฎหมายในระดับปรกติทั่วไปจัดการปัญหาโควิด 19 ได้ เช่น พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะเพื่อป้องกันและแก้ไขการแพร่กระจายของโรคติดต่อที่รุนแรงและก่อให้เกิดโรคระบาดมากผิดปรกติ
.
โดยในหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติฉบับนี้แสดงชัดว่ากฎหมายฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและข้อกำหนดของกฎอนามัยระหว่างประเทศ รัฐบาลจึงไม่อาจอ้างความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายฉุกเฉินเพื่อป้องกันและจัดการการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดังนั้น การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยพลการจึงเป็นการพรากสิทธิและเสรีภาพที่พลเมืองพึงมีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการทำลายหลักการกระทำของรัฐต้องความชอบด้วยกฎหมาย (ultra vires) ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
---------------------------------------------------
พยานผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของโจทก์เบิกความ : กล่าวโดยย่อ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีบทบาทที่เพียงพอและครอบคลุมยิ่งในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในการเฝ้าระวังสถานการณ์ของโรค การป้องกัน ควบคุม สอบสวนโรค อย่างทันสถานการณ์และเป็นระบบทั้งประเทศ มีการกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามไว้อยู่แล้ว โดยหากพิจารณาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมโดยสงบแล้วนั้น หากพบว่ามีเหตุการณ์อันอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะในการชุมนุม ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคโควิด-19 แพร่ออกไป ก็มีการกำหนดโทษในมาตรา 51 ไว้แล้ว หรือหากพบว่ามีผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 เข้าไปในสถานที่ชุมนุม ก็สามารถสั่งห้ามได้ และหากฝ่าฝืนก็มีการกำหนดโทษในมาตรา 52 ไว้แล้ว
.
โดยพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ยังได้ระบุไว้ครบถ้วนแล้วว่า ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอํานาจเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และระบุว่าเมื่อผู้ต้องหาได้ชําระเงินค่าปรับตามจํานวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
.
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ไม่มีมาตราใดที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมีความสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulation หรือ IHR) อันเป็นข้อตกลงที่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย ในบรรดาประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การอนามัยโลก ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพและภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุข ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบในการปฏิบัติตามเมื่อวันที่15 มิถุนายน 2550
.
โดยกฎอนามัยระหว่างประเทศมุ่งหวังให้เกิดมาตรการป้องกันที่สำคัญเพื่อปกป้องสิทธิของบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาข้อมูลส่วนบุคคล การให้ความยินยอมโดยได้รับการบอกกล่าวอย่างรอบด้าน และการไม่เลือกปฏิบัติ ในการใช้มาตรการด้านสุขภาพภายใต้กฎระเบียบนี้
.
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ยังมีมาตรา 48 ที่ระบุให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็น หากมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลเองหรือทรัพย์สินของบุคคลนั้น จากการดําเนินการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรค
.
การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น #ชี้ให้เห็นถึงความไม่ไว้วางใจประชาชน และการมุ่งใช้มาตรการขู่ให้กลัว (fear-based approach) เพื่อบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แทนที่จะใช้มาตรการบอกเล่าองค์ความรู้แท้จริงที่มีอยู่ (fact-based approach) และสนับสนุนให้ประชาชนตัดสินใจเลือกใช้มาตรการป้องกันต่างๆ ได้อย่างเป็นอิสระเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนเหล่านั้นแล้ว (informed decision making) อันจะเห็นได้ชัดเจนจากเนื้อความของข้อกำหนดฯ และประกาศฯ ฉบับต่างๆ ที่อ้างอิงถึงพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ที่กล่าวอ้างถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่มีแนวโน้มจะรุนแรง #และกล่าวโทษประชาชนว่าละเลยการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค รวมถึงกล่าวโทษผู้ติดเชื้อว่ามีการปกปิดข้อมูล ทั้งที่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนบางส่วนไม่ยินดีปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรค และการที่ผู้ติดเชื้อบางส่วนตัดสินใจปกปิดข้อมูล มีเหตุมาจากการที่ประชาชนเข้าไม่ถึงข้อมูล หรือไม่มีความเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง จึงไม่สามารถตัดสินใจได้โดยอิสระบนฐานความเข้าใจที่แท้จริง รวมถึงการตีตราและเลือกปฏิบัติที่รุนแรงในสังคมอันเกิดจากการใช้มาตรการขู่ให้กลัวของภาครัฐเอง จากความล้มเหลวของภาครัฐในการจัดหาวัคซีนและวางแผนการกระจายวัคซีนได้อย่างสมเหตุสมผลตามลำดับความสำคัญและตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงไม่สามารถวางแนวทางการดูแลรักษาที่ปฏิบัติได้จริงและปรับเปลี่ยนได้ทันท่วงที ตามองค์ความรู้ เทคโนโลยี และสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อันนำไปสู่ความล้มเหลวของระบบสาธารณสุขที่จะรองรับผู้ป่วยได้ในเวลานั้น
---------------------------------------------------
อ่านก่อนหน้าได้ที่ :
.
สรุปคำฟ้อง : https://shorturl.asia/zAgOk
.
สรุปคำเบิกความในชั้นไต่สวนฉุกเฉิน : https://shorturl.asia/zAgOk
Cr ภาพ : BBC, thestandard,the101