วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 24, 2566

จ๊อดเสื้อคับ รัฐประหารโค่นน้าชาติสามช่าส์ด้วยข้อหา"ไม่จงรักภักดีสถาบันฯ" - 5 ปริศนา 32 ปี รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534


Thanapol Eawsakul
6h

5 ปริศนา
32 ปี รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
...........................
1.
ชาติชาย ชุณหะวัณ ทราบเรื่องรัฐประหารหรือไม่
หรือทราบแล้วก็ยัง “เดิน(ทางไปหาในหลวง ร. 9) เข้าถ้ำเสือ”
เพื่อให้ถูกรัฐประหาร
นัยตั้งแต่รัฐบาลชาติชายชนะเลือกตั้งปี 2531 ข่าวคราวการรัฐประหารมีมาโดยตลอด โดยเฉพาะในคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2534 เวลาเที่ยงคืนได้มีการเตรียมการรับมือการต่อต้านรัฐประหารแล้ว (เช่นเดียวกับรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ) แต่ในเช้าวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ชาติชาย ชุฯหะวัณ ก็ยังเดินเข้าถสือ คือไปขึ้นเครื่องบินที่ บน,6 ดอนเมือง เพื่อจะไปเข้าเฝ้าในหลวง ร. 9 โดยนำอาทิตย์ กำลังเอก หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย ไปถวายสัตย์เพื่อรับตำแหน่ง รมช. กลาโหม จนถูกจับกุมตัวและรัฐประหารในที่สุด
คำถามคือชาติชายทราบหรือไม่ ว่าจะมีการทำรัฐประหาร แล้วถ้าทราบทำไมยังไปอีก หรือชาติชายมั่นใจว่า ภารกิจไปเข้าเฝ้าในหลวง จะคุ้มครองตัวเองได้ หรือนี่เป็นแผนสมคบกัน “ล่อเสือเข้าถ้ำ”
2.
กรณีลอบสังหารในหลวงภูมิพล และราชินีสิริกิตต์ มีจริงหรือไม่
รัฐบาลชาติชายมีใครเกี่ยวข้องบ้าง หรือเป็นเรื่องเท็จ
หนึ่งในเหตุผลของการรัฐประหาร คือรัฐบาลชาติชาย “บิดเบือนคดีวันลอบสังหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์” ในวันรัฐประหารมีการเปิดตัว ได้เผยแพร่ภาพคำสารภาพของ พ.อ.บุลศักดิ์ โพธิเจริญ ส.ส.สิงห์บุรี พรรคพลังธรรม หนึ่งในผู้ต้องหาร่วมกับ พล.ต.มนูญ ในคดีลอบสังหาร โดย พ.อ.บุลศักดิ์ยอมรับความผิดที่ก่อขึ้น แต่หลังจากนั้น ในปี 2537 อดีตหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีลอบสังหาร ได้โต้ตอบว่า คำสารภาพของ พ.อ.บุลศักดิ์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในช่วง รสช. เป็นการสร้างหลักฐานเท็จหลอกลวงประชาชน
https://www.isranews.org/cont.../item/17511-assassin-pm.html
คำถามคือตกลงแล้ว ลอบสังหารในหลวงภูมิพล และราชินีสิริกิตต์ มีจริงหรือไม่ ถ้าไม่มีจริง ทำไมราชสำนักไม่มีการพยายามเอาผิดกับคณะรัฐประหารที่สร้างเรื่องขึ้นมา
3.
สุจินดา คราประยูร ได้ติดต่ออานันท์ ก่อนหรือไม่
ถ้าไม่ใช่อานันท์แล้วจะเป็นใคร
โลกในปี 2534 (1991) ในวันเวลาที่สงครามเย็นยุติ สหรัฐอเมริกาคือผู้กำหนดความเป็นไปของสังคมโลก ขณะที่การรัฐประหารกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมในมุมมองอเมริกา ดังนั้นการรัฐประหาร 2534 จึงจำเป็นต้องเป็นคนที่อเมริกายอมรับ ชื่อของอานันท์ ปันยารชุน อดีตเอกอัคราชทูตไทยประจำวอชิงตัน ที่มีความสนิทสนมกับสุจินดา และก็ได้ผล รัฐบาลรัฐประหารได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา แต่มีระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป
คำถามคือมีการติดต่อานันท์มาก่อนหน้านั้นหรือไม่
คำถามต่อไปคือ ถ้าไม่ใช่อานันท์ ปันยารชุน แล้วเป็นใครที่คุณสมบัติครบ
ตามนั้น ชื่อของอาสา สารสิน เอกอัครราชทูตไทยประจำวอชิงตัน (2528 – 2531) คือหนึ่งในตัวเลือก และในรัฐบาลอานัน์ อาสามารับตำแหน่ง รมว.ต่างประเทศ
4.
ทำไมต้องเอาสุนทร คงสมพงษ์ จปร. 1 ขึ้นมาแล้วเป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร (ในนาม) แต่หักหลัง ชวลิต ยงใจยุทธ
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ (1 สิงหาคม 2474 – 2 สิงหาคม 2542) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ตำแหน่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อ รัฐประหารในปี พ.ศ. 2534 แต่อำนาจสูงสุดอยู่ที่สุจินดา คราประยูร (ผบ.ทบ.) และสุนทร ก็เป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับชวลิต ยงใจยุทธ ผบ.ทบ. ก่อนหน้าสุจินดา คราประยูร ที่ออกจากตำแหน่งก่อนเกษียณเพื่อเปิดโอกาสให้กับ สุจินดา และผองเพื่อน จปร.5 ได้ขึ้นมา แต่กลายเป็นว่าคณะรัฐประหารกลับหักหลัง ชวลิต ยงใจยุทธ มีความปรารถนาเป้นนายกรัฐมนตรีมาก 16 ตุลาคม พ.ศ. 2533 พรรคความหวังไหม่ ได้มีการจัดประชุมใหญ่เลือก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นหัวหน้า แต่ไม่นานก็เกิดรับประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 แต่กลายเป็นว่าคณะรัฐประหาร ทั้งเรื่องการออกแบบรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งที่กีดกันชวลิต รวมทั้งการตั้งพรรคสามัคคีธรรมขึ้นมาเพื่อสืบทอดอำนาจอีกด้วย
คำถามคือ ถ้าคณะรัฐประหารตั้งใจอย่างนั้นตั้งแต่ต้นทำไมสุจินดา คราประยุรไม่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหารเสียเอง
5. สุจินดา คราประยูร อยากเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐประหาร 2534 หรือไม่
วาทะ จำเป็นต้อง “เสียสัตย์เพื่อชาติ” เป็นจริงแค่ไหน
สุจินดา คราประยูร ผบ.ทบ. ที่เป็นหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2534 ตัวจริง แต่ได้แสดงตัวมาตลอดว่าไม่สนใจในอำนาจ ไม่รับแม้แต่ตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2534 แล้วมอบตำแหน่งให้กับสุนทร คงสมพงษ์ ขณะที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็มอบให้กับอานันท์ ปันยารชุน คนอย่างสุจินดาประเมินออกว่าการรับตำแหน่งในเวลานั้นจะต้องถูกต่อต้านอย่างมาก และคาดการณ์ถูกเมื่อมีการประท้วงการร่างรัฐธรรมนูญ 2534 สุจินดาก็ประกาศว่า จะไม่ลงมาเน่นการเมืองในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อลดความกดดันจากมวลชน (แม้ว่าต่อมาสุนทร คงสมพงษ์จะพูดประโยคในตำนานเรื่องนายกรัฐมนตรีหลังเลือกตั้ง 2534ว่า “ถ้าสุไม่เอา ก็ให้เต้”) แต่กระนั้นคณะรัฐประหาร 2534 ก็ยังสร้างความไม่ไว้วางใจคือการตั้งพรรคสามัคคีธรรม โดยฐิติ นาครทรรพ คนสนิทของเกษตร โรจนนิล ผบ.ทอ. เป็นคนนำเนินการ จนกระทั่งหลังเลือกตั้ง 22 มีนาคม 2535 พรรคสามัคคีธรรมมาเป็นอันดับ 1 สามารดจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่หัวหน้าพรรคคือณรงค์ วงษ์วรรณ มีคดีแบล็คลิสต์ จึงส่งผลให้สุจินดา ครประยูร มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 7 เมษายน 2535 ภายใต้วาทะ จำเป็นต้อง “เสียสัตย์เพื่อชาติ” และตามมาด้วการประท้วงตั้งแต่วันแรกเช่นกัน
คำถามก็คือ สุจินดา คราประยูร อยากเป็นนายกรัฐมนตรีตั้งแต่รัฐประหาร 2534 ตั้งแต่ต้น มีการตั้งพรรคเพื่อสืบทอดอำนาจ หรือจำเป็นต้อง “เสียสัตย์เพื่อชาติ” จริง ๆ เพราะคาดการณ์ไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าจะเกิดความรุนแรง
.....

บีบีซีไทย - BBC Thai
23h

23 ก.พ. 2566 ครบรอบ 32 ปี รัฐประหารโดย "นายพลเสื้อคับ"
.
ครบรอบ 32 ปี เหตุการณ์รัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ภายใต้การนำของ พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
.
ทหารพร้อมอาวุธครบมือ ได้รับคำสั่งให้เข้าจับกุมตัว พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ในระหว่างนำ พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี และ รมช.กลาโหม ไปเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ. เชียงใหม่ ในเวลาราว 11.00 น. ของวันที่ 23 ก.พ. 2534
.
ปฏิบัติการยึดอำนาจเกิดขึ้นบนเครื่องบินซี-130 ขณะกำลังจะเคลื่อนตัวออกจากกองบิน 6 กองทัพอากาศ ทว่าเครื่องเคลื่อนไปได้ไม่ไกล ทุกคนก็รู้สึกเหมือน "นักบินแตะเบรก แล้วเลี้ยวกลับไปที่กองทัพอากาศ"
.
"มีทหารอากาศที่เป็นคนแปลกหน้าสำหรับพวกเรา ไม่ต่ำกว่า 4 นาย ลุกขึ้นชักอาวุธปืนออกมาจี้ แล้วบอกให้พวกเราทุกคนอยู่ในความสงบ ไม่มีใครเจ็บตัว เป็นการยึดเครื่องบินด้วยความสงบ โดยมีการวางแผนให้ทุกคนยืนคุมกันเป็นจุด ๆ เป็นลักษณะฟันปลาให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในเครื่องได้หมด เมื่อทุกคนอยู่ในลักษณะความสงบ เครื่องบินก็เลี้ยวเข้าไปจอด แล้วเขาก็เริ่มแยกท่านชาติชายออกไป แล้วก็แยก พล.อ. อาทิตย์ ออกไป..." ปานปรีย์ พหิทธานุกร หลานเขยของ พล.อ. ชาติชาย ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เลขานุการ พล.อ. ชาติชาย เล่านาทีรัฐประหารปี 2534 ผ่านหนังสือ "ฉะ แฉ ฉาว นักการเมืองไทย" สำนักพิมพ์มติชน
.
รสช. ออกแถลงการณ์ยึดอำนาจการปกครองประเทศ โดยอ้างเหตุผล 5 ข้อ ในจำนวนนี้คือ “พฤติการณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวง” “รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา” และ “การบิดเบือนคดีล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์”
.
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรัฐประหาร 23 ก.พ. 2534 เพิ่มเติมได้ที่นี่
.
ผู้สื่อข่าวสายทำเนียบฯ เล่านาทีถูก “ถูกจี้บนเครื่องบินพร้อมนายกรัฐมนตรี”
https://bbc.in/3xGQPuC
.
เปิดบันทึกรัฐบาลอังกฤษว่าด้วยรัฐประหาร รสช. หลังปิดลับกว่า 2 ทศวรรษ
https://bbc.in/3lYnN7e
.
ย้อนรอยการยึดอำนาจในไทย-เทียบรัฐประหารเมียนมา ผ่านสายตาทีมงานบ้านพิษณุโลก
https://bbc.in/3xKmlIo
.
จากพ่อสู่ลูก "คงสมพงษ์" ที่ยืนยง "ปกป้องราชบัลลังก์"
https://bbc.in/3xJlVBP
.
มองสัมพันธ์ ทักษิณ-บิ๊กจ๊อด ผ่านรายงานการตรวจสอบทรัพย์สิน 3.9 พันล้านบาท
https://bbc.in/3ZfEUzR