วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 05, 2566

บาส จำเลย 112 โทษ 28 ปี อดอาหารร่วมทาง #ตะวันแบม

'บัสบาส' มงคล ถิระโคตร (ภาพโดย แมวส้ม)

วิดีโอไม่มีเสียง
https://www.facebook.com/iLawClub/videos/572827441417894
iLaw
Yesterday
บาส จำเลย 112 โทษ 28 ปี อดอาหารร่วมทาง #ตะวันแบม

3 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นการอดอหารเข้าวันที่ 4 ของบาส มงคล จำเลยคดี #มาตรา112 เจ้าของสถิติโทษจำคุกสูงสุดในยุคนี้ คือ 28 ปี ซึ่งศาลจังหวัดเชียงรายเพิ่งพิพากษาไปเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 แต่ศาลยังอนุญาตให้บาสได้สิทธิประกันตัวระหว่างการขอต่อสู้คดีต่อในชั้นอุทธรณ์ ช่วงเวลาเดียวกับที่ศาลพิพากษาคดีของบาส มีนักกิจกรรมอีกสองคนที่อดอาหารและอดน้ำอยู่ในเรือนจำ คือ ทานตะวัน หรือตะวัน และอรวรรณ หรือแบม บาสจึงต้องการแสดงออกร่วมกับทั้งสองคน
.
บาสเดินทางมาถึงหน้าศาลอาญา และเริ่มอดอาหารตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2566 โดยยังกินน้ำเปล่าเป็นหลัก และกินเกลือแร่สปอนเซอร์บ้าง เมื่อรู้สึกว่าร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งบาสมีความตั้งใจที่จะอดอาหารเพื่อให้คนภายนอกได้เห็นว่า สภาพของคนที่กำลังอดอาหารเป็นอย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายได้บ้าง โดยบาสเพียงต้องการร่วมทางกับตะวันและแบม แต่ไม่ได้มีความตั้งใจจะเอาชีวิตของตัวเองเข้าเดิมพัน โดยประกาศสนับสนุนข้อเรียกร้องทั้งสามข้อของตะวันและแบม ซึ่งบาสเข้าใจว่าอาจจะไม่บรรลุผลในเร็ววันเพียงแต่เบื้องต้นต้องการให้สังคมสนใจปัญหาของผู้ต้องขังทางการเมืองที่ไม่ได้รับสิทธิประกันตัวมากขึ้น
.
ดูข้อมูลคดีมาตรา112 ของบาส จากการโพสเฟซบุ๊กถึง 27 โพส ได้ทาง https://freedom.ilaw.or.th/th/case/979
ทำความเข้าใจ ตะวันและแบม กับข้อเรียกร้องของพวกเขาให้มากขึ้นทาง http://ilaw.or.th/node/6360
.
"อย่างน้อยเราได้มาทำตรงนี้ อดอาหาร อาจจะมียกระดับ คนที่ผ่านไปผ่านมาก็จะได้เห็นสภาพร่างกายเราด้วยว่า คนข้างในที่อดข้าวอดน้ำมันเป็นยังไงด้วย ท้ายที่สุด เหนือเรื่องการเมืองมันเป็นเรื่องของชีวิต สังคมไทยเราให้คุณค่าของชีวิตน้อยเกินไป ผมอยากให้ตระหนักถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์กัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ฝั่งไหนชอบอะไร เรื่องนี้มันเป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์ที่ยังเป็นเยาวชนอยู่ ช่วยตระหนักและเห็นใจกันนะครับ" บาสกล่าว
.....
ความสำคัญของ Hunger Strikes

We recall a recent book on the history of hunger strikes, Refusal to Eat A Century of Prison Hunger Strikes by Nayan Shah. Its promotional material states:

The power of the hunger strike lies in its utter simplicity. The ability to choose to forego eating is universally accessible, even to those living under conditions of maximal constraint, as in the prisons of apartheid South Africa, Israeli prisons for Palestinian prisoners, and the detention camp at Guantánamo Bay. It is a weapon of the weak, potentially open to all. By choosing to hunger strike, a prisoner wields a last-resort personal power that communicates viscerally, in a way that is undeniable—especially when broadcast over prison barricades through media and to movements outside.

It is an expression of exasperation, often when other means of protest and negotiation are closed or unavailable. It is often a last-ditch effort for change.

ที่มา เพจ
Free Thai Political Prisoners