วันพุธ, มกราคม 04, 2566

ภารกิจสำคัญของประชาชนในการเลือกตั้งปีนี้ จะต้องร่วมกันเรียกร้องให้ กกต. เปิดเผยผลคะแนนรายหน่วย และช่วยกันจับตาการนับคะแนน การรายงานผลคะแนนว่า ผลคะแนนที่ถูกประกาศออกมาโดย กกต. จะตรงกับคะแนนที่นับได้สดๆ หน้าหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศหรือไม่


iLaw
16h

ปี 2566 จะมีเลือกตั้ง และความท้าทายสำคัญยังอยู่ที่การรายงานคะแนน ซึ่งจะโปร่งใสและเชื่อถือได้แค่ไหน ยังขึ้นอยู่กับระบบที่กกต. จะออกแบบมาในรอบนี้
.
รู้หรือไม่ว่า ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 การรายงานผลการนับคะแนน และประกาศให้ประชาชนได้รับรู้ไม่ใช่เป็นการรายงานผล "สด" อย่างที่เข้าใจกัน แม้กกต.​ จะอธิบายว่าการรายงานผลคะแนนใช้แอพพลิเคชั่น Rapid Report เพื่อการรายงานที่รวดเร็วก็ตาม https://www.youtube.com/watch?v=K_Wv_AVC5-A&t=96s
การนับคะแนนทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่หน้าหน่วยเลือกตั้งทุกหน่วย กว่า 90,000 หน่วยทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มขึ้นพร้อมกันหลังปิดหีบเลือกตั้งในเวลา 17.00 น. โดยแต่ละหน่วยที่มาผู้มาลงคะแนนหลักหลายร้อย จะใช้เวลานับประมาณ 1-2 ชั่วโมง เสร็จเรียบร้อยและตรวจสอบความถูกต้อง โดยค่าเฉลี่ยไม่เกินเวลา 20.00-21.00 ก็จะเสร็จสิ้นการนับคะแนนและรายงานผลคะแนนได้ หากมีบางหน่วยเกิดความผิดพลาดต้องนับใหม่ก็ใช้เวลามากกว่าอีกไม่มาก และน่าจะคิดเป็นไม่เกิน 5%
ถ้าการเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยรายงานผลคะแนนทันทีที่นับเสร็จ และผลคะแนนถูกส่งตรงต่อไปยังสื่อมวลชน ภายในเวลา 20.00-21.00 น. เราก็จะรู้ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งส.ส.เกือบ 100% แล้ว
แต่ในคืนวันที่ 24 มีนาคม 2562 การรายงานผลคะแนนที่ปรากฏออกมาไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะก่อนเวลา 22.00 น. ปรากฏว่าคะแนนที่รายงานต่อสื่อมวลชนคิดเป็นประมาณ 66.51% เท่านั้น ซึ่งเป็นการรายงานเฉพาะคะแนนของผู้สมัครที่ได้อันดับ 1-3 เท่านั้น ส่วนผู้สมัครลำดับอื่นไม่มีคะแนนปรากฏเลย จนกระทั่งช่วงสายของวันถัดไปคะแนนยังค่อยๆ ถูกส่งจาก กกต. ให้กับสื่อมวลชนอีกหลักล้านคะแนน
นอกจากนี้ ยังพบว่าผลคะแนนของ 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล พัทลุง ตรัง ไม่ถูกรายงานเลยจนกระทั่งช่วงสายของวันรุ่งขึ้น ทั้งที่การนับคะแนนหน้าหน่วยเลือกตั้งของทั้ง 6 จังหวัดเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยกลับบ้าน และรายงานคะแนนไปเรียบร้อยตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ โดยไม่ปรากฏว่ามีข้อร้องเรียนให้ตรวจสอบหรือนับคะแนนใหม่ในจังหวัดเหล่านี้
แสดงให้เห็นว่า คะแนนที่ถูกรายงานโดยเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยที่นับคะแนนเสร็จแล้ว ไม่ได้ถูกส่งตรงไปยังสื่อมวลชน ให้ประชาชนได้รับรู้ตามที่ถูกอธิบาย แต่ถูกส่งไปยัง กกต. ประจำเขต, กกต. ประจำจังหวัด และ กกต.ส่วนกลางก่อน โดยมีคนที่นั่งอยู่ระหว่างทางการเดินทางของข้อมูลและ "จัดการ" เลือกข้อมูลบางอย่างที่จะนำเสนอต่อประชาชนก่อนและหลัง และยังมีอำนาจเข้าถึงหรือแก้ไขผลคะแนนได้ด้วย
ดูรายงานข้อค้นพบเรื่องนี้ได้ทาง https://ilaw.or.th/node/5504
ปัญหาต่อมาในการเลือกตั้งปี 2562 คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่เปิดเผยผลคะแนนรายหน่วยต่อสาธารณะเพื่อตรวจสอบว่า คะแนนสุดท้ายที่ถูกจัดการ แก้ไข และประกาศออกมาตรงกับคะแนนที่นับสดๆ หน้าหน่วยจริงหรือไม่ และอธิบายว่าประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารชุดนี้ได้ เพราะไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง ต้องให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิไปขอได้จาก กกต. ประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดด้วยตัวเอง ทำให้ถึงวันนี้ยังไม่มีผลคะแนนรายหน่วยที่ปรากฏต่อสาธารณะให้ประชาชนเข้าถึงได้เพื่อตรวจสอบการทำงานของ กกต. https://ilaw.or.th/node/5237
และคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คน ที่มาจากการคัดเลือกด้วยระบบของ คสช. ที่จัดการเลือกตั้งในปี 2562 ก็ยังคงเป็นชุดเดียวกับที่กำลังจะจัดการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2566 https://ilaw.or.th/node/4982
ดังนั้น จึงเป็นภารกิจสำคัญ และเป็นความท้าทายที่ประชาชนจะต้องร่วมกันเรียกร้องให้ กกต. เปิดเผยผลคะแนนรายหน่วย และช่วยกันจับตาการนับคะแนน การรายงานผลคะแนนว่า การเลือกตั้งครั้งหน้าผลคะแนนที่ถูกประกาศออกมาโดย กกต. จะตรงกับคะแนนที่นับได้สดๆ หน้าหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศหรือไม่

.....
ชวนทบทวนความวุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างการ #เลือกตั้ง62 ภายใต้การคุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ คสช. และ #มาตรา44





iLaw
1d
เข้าสู่ปี 2566 ตามปฏิทินแล้วจะต้องมีการเลือกตั้งไม่เกินเดือนพฤษภาคม นั่นทำให้บรรยากาศในปีนี้หลายคนกำลังรอคอยให้กำหนดวันเลือกตั้งเดินทางมาถึง เพื่อหวังเห็นความเปลี่ยนแปลงจากการออกไปลงคะแนน
อย่างไรก็ดี การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงยังมีกลไกจากรัฐธรรมนูญของ คสช. กำกับอยู่มาก ทั้งส.ว. ที่มีอำนาจเลือกนายกฯ อยู่ในมือ ทั้งการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ถึงวันนี้ยังไม่ชัดเจนอย่างเป็นทางการ และ กกต. ผู้คุมกฎกติกาที่ยังคงเป็นชุดเดิมที่จัดการเลือกตั้งครั้งก่อน
ชวนทบทวนความวุ่นวายที่เกิดขึ้นระหว่างการ #เลือกตั้ง62 ภายใต้การคุมอำนาจเบ็ดเสร็จของ คสช. และ #มาตรา44 มีความ "พัง" ที่ไม่อาจคาดหมายได้เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลังการเลือกตั้งอย่างไรบ้าง
ซึ่งเป้าหมายของปี 2566 คือ สิ่งเหล่านี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก
เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือที่สะท้อนได้จริงว่าประชาชนต้องการอะไร