ภาพจาก ประชาชาติธุรกิจ
Atukkit Sawangsuk
1d
2566 ปีเลือกตั้ง
มีความหมาย 2 เพดาน
แค่เปลี่ยนประยุทธ์ หรือเปลี่ยนกลับสู่ประชาธิปไตย
ถ้าคิดแค่เปลี่ยนประยุทธ์ เปลี่ยนรัฐบาล
จะสู้กันมาทำไม ตั้ง 8 ปี
:
ความต้องการสูงสุดของอำนาจอนุรักษ์ที่คุมประเทศอยู่ตอนนี้
คือต้องการดำรงสถานะต่อไปอย่างราบรื่น โดยมีรัฐบาลจากเลือกตั้ง ที่ไม่แตะต้องโครงสร้าง เพดานเสรีภาพประชาธิปไตย ซึ่งถูกกดต่ำ จากรัฐประหาร 2557 รัฐธรรมนูญ 2560
พูดอีกอย่างคือเป็นรัฐบาลเลือกตั้งในระบอบกึ่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่สยบยอม สวามิภักดิ์ ยอมรับอำนาจเลือกตั้งที่น้อยลง
:
การสร้างบรรยากาศเลือกตั้ง ให้รู้สึกเหมือนเลือกตั้งปกติ
ไม่มีขั้ว สลายขั้ว เลือกตั้งแล้ว พรรคไหนจะจับมือกับพรรคไหนก็ได้
จึงเป็นการสร้างบรรยากาศสามานย์
ลวงล่อประชาชนให้เชื่อว่า เลือกตั้งแล้ว=ได้ประชาธิปไตย
ทั้งที่ตัวโครงสร้าง ตัวระบอบ มันไม่ใช่
.....
ในวิถีการเมืองประชาธิปไตยปกติ
พรรคร่วมฝ่ายค้านที่จับมือกันวิพากษ์วิจารณ์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ เปิดโปงพรรคร่วมรัฐบาล
เมื่อถึงคราวเลือกตั้ง แม้ไม่มีข้อผูกมัด
แต่โดยสปิริต โดยความคาดหวังของประชาชน
ย่อมหวังให้จัดตั้งรัฐบาลกับพรรคฝ่ายค้านด้วยกันก่อน
เว้นแต่ตกลงกันไม่ได้ แนวคิดแนวนโยบายแตกต่างจนไม่ลงตัว จึงข้ามไปตั้งรัฐบาลกับพรรคฝ่ายตรงข้าม
:
ในวิถีการเมืองที่ต่อสู้กันระหว่างรัฐประหารสืบทอดอำนาจ กับฝ่ายประชาธิปไตย ยิ่งเป็นสถานการณ์ที่เข้มข้นเด่นชัด สะท้อนถึงจุดยืน
โดยสปิริตของพรรคฝ่ายประชาธิปไตย
โดยความคาดหวังของมวลชนประชาธิปไตย
ยิ่งต้องการให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยจับมือกันตั้งรัฐบาลก่อน
ต้องการให้พรรคฝ่ายประชาธิปไตยให้คำมั่น ว่าจะเลือกร่วมรัฐบาลกับฝ่ายประชาธิปไตยด้วยกันก่อน
ถ้าตกลงกันไม่ได้ค่อยข้ามขั้ว ไม่ใช่ข้ามขั้วทันที
(เหมือนหลังพฤษภา 35 กระแสบีบให้ประชาธิปัตย์ ความหวังใหม่ พลังธรรม "พรรคเทพ" จับมือกัน)
:
การบอกว่ารอดูผลเลือกตั้งก่อน แล้วค่อยคิดว่าจะร่วมรัฐบาลกับใคร
แม้ฟังเหมือนมีเหตุผล อ้างเสียงประชาชนจากเลือกตั้ง
แต่ก็เท่ากับสลายขั้วสืบทอดอำนาจ Vs ประชาธิปไตย
แล้วยังจะเรียกตัวเองว่าพรรคฝ่ายประชาธิปไตยได้อย่างไร
ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่นักการเมืองจากเลือกตั้งผสมพันธุ์เป็นรัฐบาล