การอดอาหารและน้ำของ ‘ตะวัน’ กับ ‘แบม’ มันไปไกลกว่าประเด็น ‘พลีชีพเพื่อหลักการ’ แล้วละ “ไม่แปลกที่เด็กผู้หญิงสองคนอยากปลุกผู้คนที่หลับใหลให้ลุกขึ้นมา” ทิชา ณ นคร มองมุมกลับของเหรียญ “หรือพวกเราตายไปกันหมดแล้ว”
นักกิจกรรมรุ่นป้า ผอ.ศูนย์ฝึกอบรมเด็กฯ บ้านกาญจนาภิเษก บอกกับนิตยสาร ‘เวย์’ “การไม่ต่อสู้ของคนรุ่นเรา กลายเป็นภาระของคนรุ่นถัดไป” จนถึงจุดนี้ถึงได้เป็นเรื่อง ‘บ้าบอ’ ดังที่ ‘ลูกเกด’ Chonthicha Jangrew @LookkateChonth1 ว่า
“ประชาชนต้องออกมาเรียกร้องให้ผู้พิพากษาทำตามกฎหมาย” ซึ่ง ธงชัย วินิจจะกูล ชี้ให้เห็นว่ามันเป็น ‘ตลกร้าย’ สิ้นดี ที่กฎหมายเป็นแค่เครื่องมือในการกุมอำนาจรัฐ “ยามนี้มันอาจมืดมิกันหมด” อย่างที่ ‘ป้ามล’ ว่า เรื่องที่เข้าทำนองคลองธรรมหายาก
เช่นเรื่อง “ยาใจ ทะลุฟ้า ไม่ต้องถูกถอนประกัน” ซึ่ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ นำไปเล่าให้ #ตะวันกับแบม ทราบ เมื่อเขาเข้าไปเยี่ยมนักกิจกรรมหญิงทั้งสอง ให้เห็นว่าบ้านเมืองนี้ยังมีแสงสว่างรอดออกมาให้เห็น แม้มิได้เจิดจ้า ก็ยังกระพริบรำไร
เมื่อ ๒๒ มกรา ๖๖ “ศาลแขวงดุสิต #พิพากษายกฟ้อง คดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ของ #ลูกเกดชลธิชา จากการชุมนุม #ขีดเส้นตายไล่เผด็จการ พิเคราะห์แล้ว การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นการออกกฎหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพ ซึ่งย่อมทำได้
เพื่อเป็นการป้องกันและสร้างความปลอดภัยของประชาชนโดยรวม แต่ไม่ใช่เครื่องมือทางการเมือง การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวต้องเป็นไปเพื่อบังคับใช้ในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ไม่ใช่เพื่อปราบปรามผู้ชุมนุม...อย่างไร้เหตุผล”
บางคนถึงกับอุทาน “เซอร์ไพร์ส!! อะไรกันนี่ เพิ่งจะได้ยิน” ศาลไทยมี sensibility กับเขาด้วย ศาลยอมรับว่า “ระดับการป้องกันโควิดในการชุมนุมในขณะเกิดเหตุเป็นเรื่องที่รับได้ ไม่เสี่ยงต่อการแพร่โรค สถานการณ์ติดเชื้อ ณ ตอนนั้นเป็นศูนย์”
ครั้นเมื่อพยานโจทก์เบิกความว่าจำเลยใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัย ศาลเห็นว่า “ในการชุมนุมดังกล่าวมีคนร่วมเป็นจำนวนหมื่นกว่าคน ถ้าไม่มีการใช้เครื่องขยายเสียงก็ควบคุมมวลชนได้ยาก ศาลไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญ”
คดีนั้นศาลจึง #พิพากษายกฟ้อง ชลธิชา แจ้งเร็ว