วันอาทิตย์, มิถุนายน 14, 2563

รื้ออนุสาวรีย์ในยุโรป-สหรัฐฯ กับประวัติค้าทาส-เหยียดผิว - ส่วนในไทยไล่รื้อสิ่งทรงจำประชาธิปไตย




รื้ออนุสาวรีย์ในยุโรป-สหรัฐฯ กับประวัติค้าทาส-เหยียดผิว
.
หลังความเคลื่อนไหวแบล็กไลฟส์แมทเทอร์ (Black Lives Matter) กระจายไปทั่วโลก มีคนออกมาทำลายอนุสาวรีย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ติด ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ท่ามกลางการถกเถียงว่าสัญลักษณ์แห่งบาดแผลในอดีตควรถูกลบออกไปโดยสิ้นเชิงเพื่อฝังกลบ หรือควรเป็นเครื่องย้ำความทรงจำไม่พึงประสงค์ให้เป็นที่จดจำตลอดไป อนุสาวรีย์ถูกสร้างเพื่อจดจำเชิดชูความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ไม่สอดรับกับค่านิยมในสังคมปัจจุบันแล้ว
.
.
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
.
เป็นนักสำรวจชาวอิตาลี ผู้มีชีวิตช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นที่รู้จักในฐานะนักสำรวจผู้ค้นพบ"โลกใหม่"ซึ่งเปิดทางให้บรรดาชาติมหาอำนาจยุโรปเข้าไปล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกาซึ่งเป็นชนวนเหตุไปสู่การค้าทาสและกดขี่ชนพื้นเมือง
.
.
วินสตัน เชอร์ชิลล์
.
เป็นฮีโรสงครามที่นำอังกฤษรอดพ้นจากเงื้อมมือของนาซี แต่เชอร์ชิลก็พูดเหยียดไว้หลายชนชาติด้วยกัน ไม่ว่าจะเคยบอกว่าเขาเกลียดคนตาตี่ไว้ของเปีย ว่าคนอินเดียว่าเป็นคคนป่าเถื่อนอันดับสองรองจากคนเยอรมัน หรือกล่าวว่าเขาเชื่อว่าคนดำมีความสามารถด้อยกว่าคนขาว รองประธานาธิบดีอเมริกาในสมัยนั้นบันทึกไว้ว่าเชอร์ชิลเคยบอกเขาว่าไม่เสียใจเลยที่คิดว่าคนแองโกลแซกซอน (คนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกา) ดีที่สุดในโลกเพราะเราเหนื่อว่าจริง ๆ เพราะมีมรดกอันยาวนานสั่งสมมาหลายร้อยปี ความคิดเห็นของเชอร์ชิลในสมัยนั้นถือว่าไม่แปลก เพราะเขาเติบโตมาในช่วงที่จักรวรรดิอังกฤษเกรียงไกร แต่เมื่อเวลาผ่านไปอังกฤษมีความหลากหลายมากขึ้น มีการรื้อสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ส่วนตัวของเชอร์ชิลก็ย่อมหนีไม่พ้นถูกรื้อสร้างใหม่โดยสังคมปัจจุบันเช่นเดียวกัน
.
.
สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย
.
สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียขึ้นครองราช 4 ปีหลังอังกฤษออกกฎหมายเลิกทาส แต่ตลอดรชสมัยมีการขยายจักรวรรดิอังกฤษออกไปอย่างกว้างขวางโดยดำรงนโยบายแบบจักรวรรดินิยม นโยบายแบบนี้ทำให้อังกฤษกลายเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในสายตาผู้ถูกกดทับมองว่าเธอเป็นสัญลักษณ์ของการล่าอาณานิคมที่แสวงหาประโยชน์จากดินแดนอื่น
.
.
เลโอโปลด์ ที่ 2
.
สมเด็จพระราชาธิบดีเลโอโปลด์ที่ 2 ทรงปกครองเบลเยียมจากปี 1865 ถึง 1909 และถูกจดจำมากที่สุดจากการเข้าไปยึดสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกเป็นอาณานิคมด้วยความโหดเหี้ยม ระหว่างปี 1885 ถึง 1908 กษัตริย์ประเทศยุโรปที่เล็กที่สุดประเทศหนึ่งองค์นี้ทรงยึดคองโก ซึ่งรู้จักกันในตอนนั้นว่า "รัฐอิสระคองโก" พระองค์ทรงเปลี่ยนประเทศให้เป็นเหมือนค่ายกักกันขนาดใหญ่ ทำรายได้จากการค้ายาง แรงงานที่ขัดขืนจะถูกยิง และว่ากันว่าทหารของพระองค์ได้รับคำสั่งให้ตัดเก็บมือของคนที่ถูกยิงมาด้วย โดยรวมแล้ว คาดว่ามีชาวคองโกเสียชีวิตภายใต้การกดขี่รุนแรงนี้ราว 10 ล้านคน และพระองค์ก็ยังทรงนำชาวคองโกบางส่วนมาให้อยู่ในสวนสัตว์มนุษย์ในเบลเยียมด้วย
.
.
เอ็ดเวิร์ค คอลสตัน
.
เป็นพ่อค้าทาสในศตวรรษที่ 17 ระหว่างปี 1672-1689 เรือของเขาขนส่งคนแอฟริกากว่า 80,000 คนสู่ทวีปอเมริกาจนร่ำรวยมหาศาล พอเสียชีวิตเขาอุทิศเงินให้การกุศาลทำให้ชื่อของงเขาถูกจารึกตามที่ต่าง ๆ ในเมืองบริสทอล ไม่ว่าจะเป็นถนนหรืออาคารต่าง ๆ
.
.
อ้างอิง :

https://www.bbc.com/thai/international-52998916

https://www.bbc.com/news/world-52963352

www.facebook.com/workpointTODAY/posts/1314834385552503

https://www.thesun.co.uk/…/edward-colston-statue-toppled-b…/

https://www.mirror.co.uk/…/statue-queen-victoria-slave-owne…

https://www.businessinsider.com.au/anti-racism-protesters-i…

https://www.posttoday.com/world/625811
.
.
#MOREMOVE
ooo




ฆาตกรนอนกรนอยู่หนใด
ประเทศนี้อยู่ไหนในแผนที่
แม้แต่หมุดคณะราษฎร์ที่ชาติมี
ยังถูกผีหน้าใสไล่ลักเอา

อภิวัฒน์สยามยามย่ำรุ่ง
ปักหมุดหมายกลางกรุงมุ่งบอกเล่า-
ว่าบ้านนี้ทั้งผองเป็นของเรา
ทุกคนเท่าเทียมกันแต่นั้นมา 

ปลดแอกจากพวกเจ้าเฝ้ากดขี่
ผันภาษีสู่รัฐผู้จัดหา
บริหารครั้งใหม่ใช้สภา
ไม่ให้เจ้าเข้ามาขี่หลังคน 

หมุดจึงมีความหมายหลายประการ
หนึ่ง คือรัฐบาลที่เริ่มต้น
สอง คืออำนาจทั้งผองของมวลชน
สาม คือดลใจเราว่า “ข้าเป็นไท” 

จริงอยู่ว่าประวัติศาสตร์อาจถูกลบ
จริงอยู่ว่าจุดจบอาจเกิดใหม่
แต่ไม่จริงว่ายิ่งลบยิ่งจบไป
มีแต่ยิ่งจุดไฟให้ลุกโชน 

มันขโมยหมุดไปได้แค่หมุด
ไม่อาจหยุดซากปรักใกล้หักโค่น
ความชั่วช้าสามานย์สันดานโจร
ย่อมปูดโปนเปื้อนหมุดที่ผุดลาน 

วันนี้หมุดหน้าใสใครเคารพ ?
แม้นเป็นศพแร้งจ้องยังมองผ่าน
กลายเป็นหมุดหน้าใสใช้ประจาน
ว่าสันดานของหมุดสุดอัปรีย์

การต่อสู้ครั้งสุดท้ายได้เริ่มแล้ว
ณ วันแนวของหมุดผุดผิดที่
เมื่อไม่ยอมเป็นหมุดใหม่ในทฤษฎี
ก็อย่ามีเลยหมุด สิ้นสุดกัน !

13 มิถุนา 2563
พหลโยธิน