วันพุธ, กรกฎาคม 04, 2561

สังคมควรปฏิบัติต่อเด็กๆ ทีมหมูป่าอย่างไร ควรถูกลงโทษหรือควรเชิดชู





เด็กควรถูกลงโทษหรือควรเชิดชู

คำตอบคือไม่ทั้งสองอย่าง แต่ปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะผู้รอดชีวิตจากอุบัติภัย

จากข้อมูลพอประมวลได้ว่า

1 เด็กอายุ 11-16 เหล่านี้ คงเคยมาเที่ยวถ้ำหลวงจนพอมีความชำนาญ
ครั้งนี้แม้จะมีป้ายประกาศไม่ให้เที่ยวถ้ำช่วงเดือนกค.เป็นต้นไป
เด็กจึงเข้าถ้ำช่วงปลายมิถุนา เข้าใจว่าน้ำยังไม่มา
แต่เมื่อเข้าไปแล้ว จึงรู้ว่าน้ำเพิ่มระดับอย่างรวดเร็ว ออกไม่ได้ จนต้องมุ่งหน้าขึ้นที่สูง

2. เด็กซุกซนตามปกติ แต่คงไม่ได้ทำอะไรนอกลู่นอกทางจนเกินไป. เพียงแต่ความไม่รู้ว่า น้ำในถ้ำช่วงหน้าฝนน่ากลัวเพียงใด

3 เด็กมีจิตใจเข้มแข็งมาก ใช้ไฟฉายทีละอัน ดื่มน้ำจากหยดน้ำจากถ้ำ

4 เด็กอยู่ในถ้ำสิบวัน ในความมืดมิดและหิวโหย คงเป็นบทลงโทษสุดยอดแล้ว

5. ขณะเดียวกันก็ไม่ควรปฏิบัติต่อเด็กราววีรบุรุษรอดชีวิตจากการผจญภัย มอบเงิน ทุนการศึกษา มอบรางวัล จากบรรดาหน่วยงาน บริษัท ผู้อยาก
โหนกระแส

พวกเขาคือผู้ประสบภัยพิบัติ ปฏิบัติต่อเขาเช่นเดียวกับผู้ประสบภัยรายอื่นดีกว่าครับ


Vanchai Tantivitayapitak

...





ผมสงสารเด็กๆ และโค้ชที่ติดถ้ำเป็นสิบวันนะครับ และดีใจที่พวกเค้ารอดออกมาได้ แต่พร้อมๆ กันไป พวกเค้าไม่ใช่ฮีโร่หรือผู้เสียสละอะไร เค้าเองคือกลุ่มคนที่ไม่เคารพกติกาและโค้ชที่อาจจะดูเสียสละให้เด็กกินเสบียงอาหารที่พกเข้าไปนั้น ก็เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่รู้จักคิดคนหนึ่งที่พาคณะนักเรียนไปเสี่ยงชีวิต (literally) พวกเขาไม่ใช่คนที่ควรได้รับการยกย่องเชิดชูอะไร
.
เราควรดีใจที่เค้ารอดตาย หากเจ็บป่วยก็รักษาทั้งทางกายและใจ แต่เมื่อดีแล้ว ก็ควรตักเตือน อธิบายให้ชัด ส่วนโค้ชที่เป็นคนดูแล (เป็นอย่างน้อยที่สุด) ก็ต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดนลงโทษอะไรก็ว่าไป พวกเขาไม่ใช่คนที่ควรได้รับรางวัล เงินชดเชยเพื่อการรักษาพวกเขา ก็ไม่ควรจะมากเกินไปกว่าสวัสดิการที่มนุษย์คนหนึ่งๆ พึงได้รับโดยเสมอภาคกันยามเจ็บป่วย
.
คำชมเชย ควรตกอยู่กับทีมกู้ภัย ทีมแพทย์และคนที่ช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่ในฐานะฮีโร่ แต่ควรจะเป็นในฐานะ "มืออาชีพ" ที่เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องนี้ (ซึ่งน่าเสียดายประเทศไทยไม่มี "มืออาชีพ" ด้านนี้โดยตรงนัก ซึ่งมันบ่งชี้ว่าประเทศนี้ขาดการเตรียมพร้อมเพียงใด เลยต้องเอาตัวรอดผ่าน "ความเสียสละ" อะไรไปแทน)
.
ส่วนเงินชดเชยต่างๆ นั้น ควรนำมาให้กับคนอย่างคุณจันทร์ ใจจันทรานี่ครับ ที่เสียสละที่ดิน ข้าวที่ปลูกต่างๆ ของตนรับน้ำจากถ้ำให้เข้าไปช่วยเด็กได้ ความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับลุงคือสิ่งที่พึงได้รับการชดเชย และหากจะนับว่ามีใครเป็นฮีโร่ ก็คงจะเป็นคนแบบลุงคนนี้ ไม่ใช่หมอผีงี่เง่าอะไร ผมไม่บอกว่าทีมกู้ภัยเป็นฮีโร่ ไม่ใช่เพราะไม่เคารพขอบคุณพวกเขา ผมนับถือพวกเขา แต่อย่างที่บอกไป ประเทศเราควรมีการเตรียมพร้อม และควรมีองค์กรที่เตรียมการรับมือกับวิกฤติและการกู้ภัยในฐานะ "มืออาชีพ" ไม่ใช่ในฐานะฮีโร่อะไรน่ะครับ
.
#จะบ่นจนกว่างานจะเสร็จ #จงร่วมกันลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ที่มา FB
Kritdikorn Wongswangpanich