เมื่อปรากฏข่าวความเสียหายมากมายจากการที่เขื่อน ‘เซเปียน-เซน้ำน้อย’ ส่วนที่เป็นคันดินปิดช่องเขา (Saddle Dam) แตก นอกจากชาวลาวที่อยู่อาศัยแถบเมืองสะหนามไซ
เขตอัตตะปือ (ห่างจากเมืองปากเซ ๘๖ ก.ม.) ได้รับภัยพิบัติหนักแล้ว
วันนี้ (๒๖ ก.ค.) ขณะที่มีรายงานว่าระดับน้ำที่สะหนามไซลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่มวลน้ำกลับไหลล้นเข้าไปในประเทศกัมพูชา ๑๗ หมู่บ้านในจังหวัดสตึงเตรง
ซึ่งอยู่ห่างออกไป ๑๘๗ ก.ม.
“นายแกว
วี โฆษกคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติแห่งชาติกัมพูชา กล่าวว่า
เจ้าหน้าที่ได้อพยพประชาชน ๑,๒๘๙ ครัวเรือน ราว ๕,๖๐๐ คนจาก ๔ เขตเทศบาล สู่สถานที่ปลอดภัย”
พลันก็มีแถลงการณ์ของกลุ่มประชาสังคม ๒๑ องค์กร เมื่อวาน
(๒๕ ก.ค.) เรียกร้องต่อบริษัทไทยที่ร่วมทุนก่อสร้างแสดงความรับผิดชอบ
“ในฐานะประชาชนไทยอันประกอบด้วย เครือข่ายองค์กรชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง
องค์กรพัฒนาเอกชน นิสิต นักศึกษาและนักวิชาการ”
แถลงการณ์อ้างความเสียใจต่อการที่ “เกิดน้ำท่วมฉับพลันใน ๖ หมู่บ้านและประชาชนกว่า ๖,๐๐๐ คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย
มีผู้สูญหายอย่างน้อย ๒๐๐
คนและพบว่าเสียชีวิตแล้ว
๕๐ คน”
ปฏิกิริยาจากบริษัทราชบุรีโฮลดิ้ง ซึ่งเป็น ๑ ใน ๔
ผู้ร่วมทุน (๒๕%) กลับ “ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับการผลิตไฟฟ้าตามกำหนดการ แทนที่จะแสดงความห่วงใยหรือแถลงถึงมาตรการช่วยเหลือหลังเขื่อนแตก
แต่บริษัทกลับเงียบในประเด็นเหล่านี้”
แถลงการณ์ระบุพร้อมทั้งเรียกร้อง “ให้บริษัทไทยแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยการเร่งชดเชยและเยียวยาชุมชนจากการสูญเสียครั้งนี้”
กับเสนอแนะ “ว่า
ควรมีการพัฒนากลไกเพื่อให้การชดใช้ค่าเสียหาย หรือการชดเชยย้อนหลังสำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานจากเขื่อนที่มีอยู่แล้ว” ตามหลักการและแนวทางของคณะกรรมการเขื่อนโลก
แม้นว่ารัฐบาลไทยผ่านทางกระทรวงพลังงานมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตนำเครื่องมือไปช่วยเหลือ
สปป.ลาว แล้ว และนายกฯ คสช. ยังได้แถลงมอบเงินช่วยเหลือจำนวนตั้ง ๕ ล้านบาทแก่ลาวด้วย
เสียงวิพากษ์ที่ว่าไทยควรจะเข้าไปช่วยอย่างเต็มที่จึงยังมีอยู่อึงมี่
ดูจากโพสต์ของ อจ.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ที่ว่า “ทุนไทยเกี่ยวข้องกับเขื่อนที่แตกในลาวอย่างไร
แม้เขื่อนนั้นไม่ใช่ของไทย ๑๐๐% แต่ ๑.เป็นผู้ร่วมลงทุน ๒๕% หรือหนึ่งในสี่ ๒.เป็นผู้ให้กู้ ๑๐๐% ๓.เป็นผู้รับซื้อไฟที่ผลิตจากเขื่อนนี้
๙๐% ๔.เป็นผู้รับผิดชอบทำรายงาน EIA” แล้วถึงบางอ้อ
เพิ่มเติมจาก ‘พระสนิทวงศ์ @Psanitwong’ เมื่อ Jul 24 ได้ความว่า “ผู้พัฒนาโครงการนี้คือ บ.ไฟฟ้า
เซเปียน-เซน้ำน้อย จก. เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติ 4 แห่ง 1. SK Engineering and Construction (ถือหุ้น 26%)
2. Korea Western Power (ถือหุ้น 25%)
3. บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (ถือหุ้น 25%) 4.Lao Holding State Enterprise (ถือหุ้น 24%)”
พระสนิทวงศ์ให้รายละเอียดด้วยว่า “โครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยนี้
เป็นโครงการแบบ BOT
(build-operate-transfer) มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า ๔๑๐ เมกะวัตต์” โดย ๓๗๐ เมกะวัตต์ จากจำนวนนั้นจำหน่ายให้กับ กฟผ.
มีสัญญาซื้อขายกัน ๒๗ ปี
ที่เหลืออีก ๔๐ เมกะวัตต์ ส่งกลับไปใช้ภายใน สปป.ลาว และมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปีนี้ (๒๕๖๑)
ขณะเกิดเขื่อนแตกยังไม่ได้เริ่มเดินเครื่องผลิต
(ดู Project
Update: 410-MW Xe-Pian Xe-Namnoy ที่ https://www.hydroworld.com/articles/2015/11/us-1-02-billion-410-mw-xe-pian-xe-namnoy-hydroelectric-project-includes-3-dams.html)
ฉะนี้ บริษัทมหาชนจำกัด ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง
จึงเป็นที่สนใจของ ‘มหาชน’ มีคนเข้าไปดูสมรรถนะจากเว็บไซ้ท์ทางการของบริษัทได้ไม่ทันไร
ก็ปิดหน้าเว็บไปเสียแล้ว แต่กระนั้น VoteNoจ้า @iamasiam14 ทันแค้ปเจอร์บางส่วนมาให้ดูกัน
ถึงแม้ว่า “เข้าไปดูรายละเอียดโครงการไม่ได้แล้ว #เขื่อนลาวแตก” ดูจากหน้าเว็บ ‘Team Group’ ก็ยังพอได้เห็นว่าบริษัทไทยเป็นผู้ “ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม...ควบคุมงานก่อสร้าง”
ตัวเขื่อนหลักเป็น “หินถม” ส่วนทางระบายน้ำ “เป็นคอนกรีต มีความสูง ๔๘ เมตร ยาว
๑,๓๐๐ เมตร”
ไม่แน่ใจว่าเมื่อถึงเวลาต้องชดเชยและเยียวยา
ข้อเรียกร้องของกลุ่ม ๒๑ องค์กร เรื่อง “ต้องให้ชุมชนได้เข้าถึงกระบวนการพูดคุยเกี่ยวการชดเชยและเยียวยาอย่างเหมาะสมและเร็วที่สุด”
จะเกิดขึ้นหรือไม่