วันเสาร์, กรกฎาคม 28, 2561
3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง
3 ปี เขื่อนในลาวแตก 3 แห่ง สะเทือนความเชื่อมั่นของประชาชน ต่อเขื่อนที่มีอยู่และกำลังก่อสร้าง
BY ADMIN
สำนักข่าวชายขอบ
24 กรกฎาคม, 2018
เว็บไซด์ idsala ได้รายงานถึงเหตุการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เมืองปากซอง แขวงจำปาสักแตก ทำให้ประมาณน้ำมหาศาลไหลเข้าท่วมเมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือ ส่งผลต่อชีวิติทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนัก
เขื่อนเซเปียน – เซน้ำน้อย เป็นเขื่อนที่มีอ่างเก็บน้ำเขื่อมต่อกันจากหมากจัน ลงสู่เขื่อนเซเปียน และจากเขื่อนเซเปียนลงสู่เขื่อนเซน้ำน้อย และอ่างเก็บน้ำของเขื่อนเซน้ำน้อยมีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบเขื่อนดังกล่าว ด้วยเนื้อที่ 552 ตารางกิโลเมตร แต่สันเขื่อนที่แตกไม่ใช่สันกั้นอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย
โครงการเขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อย ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2013 และคาดว่าจะเสร็จในปี 2019 มีกำลังการผลิต 410 เมกะวัตต์ โดยมีเจ้าของโครงการคือ บริษัทไฟฟ้าเซเปียน-เซน้ำน้อย ภายใต้การร่วมทุนของบริษัท SK Engineering and Construction(SK E) ถือหุ้น 26 % บริษัท Korea Western Power (KOWEPO) ถือหุ้น 25 % บริษัท Generating Holding Public (RATCH) ถือหุ้น 25% และบริษัท รัฐวิสาหะกิจหุ้นลาว (LHSE) ถือหุ้น 24% มูลค่าโครงการกว่า 1,020 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ
เมื่อย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2017 ที่ผ่านมา เขื่อนน้ำอ้าว เมืองผาไซ แขวงเซียงขวาง ทีมีกำลังการผลตไฟฟ้า 15 เมกะวัตต์ แตกและทำให้น้ำท่วมเมืองท่าโทม แขวงไซยสมบูน ซึ่งได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างเช่นกัน เขื่อนดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทบ่อทองอินเตอกรุ๊ปจำกัด เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งเขื่อนแตกในช่วงที่ก่อสร้างได้ 80 %
ก่อนหน้านั้นเมือ่วันที่ 16 ธันวาคม 2016 ได้เกิดเหตุอุโมงไฟฟ้าของเขื่อนเซกะมาน 3 แตก ทำให้น้ำไหลอย่างรุนแรงที่บ้านดายรัง เมืองดากจัง แขวงเซกอง โดยเขื่อนเซกะมาน 3 มีกำลังการผลิต 250 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่เมืองดากจิง แขวงเซกอง ดำเนินการโดยบริษัท Songda ของเวียดนามเป็นผู้ก่อสร้าง โฝซึ่งเขื่อนดังกล่าวแตกในระหว่างการผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนสร้างเสร็จตั้งแต่ปี 2014
ด้วยเหตุนี้ประชาชนที่ตั้งคำถามต่อมาตรฐานในการก่อสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเพื่อความปลอดภับแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยรวมว่า หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าว นอกจากประชาชนยังต้องการคำชี้แจงถึงการคุ้มครองมาตรฐานทางเทคนิค ความปลอดภัยและความแน่นหนาของเขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้กับชุมชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามกฏหมายว่าด้วยไฟฟ้า ฉบับเลยที่ 03/สพ..ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2017 มาตราที่ 35 ระบุว่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องรับประกันความปลอดภัยของการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้าของวิศวกรรมก่อสร้างโรงไฟฟ้าเช่น เชื่อน อ่างเก็บน้ำ อ่างน้ำล้น โรงจักไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า สายจำหน่ายไฟฟ้า อุปกรณ์ และองค์ประกอบด้านไฟฟ้า รวมถึงผู้ใช้ไฟฟ้า
เพื่อรับประกันความปลอดภัยดังกล่า บุคคล นิติบุคคล หรือการจัดตั้งที่ดำเนินธุรกิจไฟฟ้าต้องสร้างระบบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินงานและการบำรุงรักษาอย่างสอดคล้องกับมาตรฐานเทคนิคไฟฟ้าของลาว และนำเสนอต่อกระทรวงพลังงานและบ่อเแร่เพื่อการพิจารณา
ดังนั้นในเรื่องของมาตรฐานทางเทคนิคของเขื่อนต่างๆในลาว ถือว่ากระทรวงพลังงานและบ่อเร่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในจุดนี้โดยตรง นอกจากนี้ผู้มีสิทธิในการอนุมัติโครงการไฟฟ้าในสปป.ลาวแบ่งออกเป็น 4 ขนาดดังนี้
1.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้ง 100 กิโลวัตต์ ลงมา เจ้าเมือง หัวหน้าเทศบาล เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของห้องการแผนงานและการลงทุนเมือง, เทศบาล โดยได้รับการเห็นดีทางด้านวิชาการของแผนกพลังงานและบ่อแร่แขวง นครหลวง
2.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งมากกว่า 100 กิโลวัตต์ ถึง 15 เมกะวัตต์ ผู้มีหน้าที่ในการพิจารณาคือ เจ้าแขวง เจ้าครองนคร เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของแผนกแผนงานและการลงทุนแขวง, นคร, โดยได้รับความเห็นดีทางด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่
3.โครงการไฟฟ้า ที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 15 เมกะวัตต์ -100 มกะวัตต์ รัฐบาลจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ตามการเสนอของกระทรวงแผนงานและการลงทุน โดยได้รับความเห็นชอบด้านวิชาการของกระทรวงพลังงานและบ่อแร่
4.โครงการไฟฟ้าที่มีกำลังติดตั้งสูงกว่า 100 เมกะวัตต์ ขึ้นไป หรือมีอ่างเก็บน้ำที่มีเนื้อที่มากกว่า 10,000 เฮกตาร์ขึ้นไป หรือมีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม สังคม และธธรรมชาติอย่างมาก คณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติตามการเสนอของรัฐบาล