ตรวจรายชื่อพรรคการเมืองที่ออกตัวเป็น 'กองหนุนลุงตู่' แล้วพบว่า บางพรรคมีแต่คนหน้าคุ้น ไม่ว่าจะเป็นคนที่เคยทำงานกับคสช. บ้าง ไม่ก็ออกมาเชียร์คสช. บ่อยๆ— iLaw Club (@iLawclub) July 20, 2018
อยากรู้มีพรรคอะไรบ้าง ดูเลยที่ https://t.co/BxAezikapg pic.twitter.com/BerGtet3Y2
ตรวจแถวพรรคการเมือง ใครเป็นพรรค 'กองหนุน' พล.อ.ประยุทธ์
19 ก.ค. 2561
โดย iLaw
เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้อยู่ในอำนาจมามากกว่า 4 ปี ประกาศว่า การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ส่งผลให้พรรคการเมืองหลายพรรคเริ่มเดินหน้าทำกิจกรรมทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้ง ต่างก็ค่อยๆ เริ่มประชุมพรรควางตัวผู้นำทางการเมือง ในขณะที่พรรคการเมืองเก่ายังขยับตัวไม่ได้ตามประกาศคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช.
อย่างไรก็ดี มีพรรคการเมืองอย่างน้อย 9 พรรค ที่เปิดตัวแสดงจุดยืนเป็นกองหนุนให้กับ พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ได้แก่
พรรคพลังประชารัฐ: พรรคสามมิตร (อดีตนักการเมืองเก่า)
พรรคพลังประชารัฐ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญเป็นกลุ่มสาม ส. หรือ สามมิตร ได้แก่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรและเลขาธิการพรรคไทยรักไทย อดีตประธานกรรมการบริษัทซัมมิทอิเล็กโทรนิค คอมโพเน้นท์,บริษัทซัมมิทแอดวานซ์ แมททีเรียล จำกัด ที่เรียกได้ว่าเป็นถังเงินถังทองเลยก็ว่าได้
สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา อดีตรัฐมนตรี 4 กระทรวง และแกนนำ กลุ่มวังน้ำยม กลุ่ม ส.ส. ที่เคยสังกัดใน พรรคไทยรักไทยนอกจากนี้ยังเป็น อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม
และอีก ส. ที่ยังไม่เปิดเผยตัว แต่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคนี้คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557
นอกจากนี้ ด้านผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคนอื่นๆ ก็ประกอบไปด้วยอดีตนักการเมืองจากขั้วการเมืองเก่าตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าจะเป็น อนุชา นาคาศัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท พรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย หรือ สุชาติ ตันเจริญ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทย
สำหรับแนวทางของพรรค สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ก็ออกตัวยืนยันชัดเจนว่า สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แน่นอน เพราะอยากเห็นความต่อเนื่อง พรรคพลังประชารัฐจึงเป็นพรรคสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
พรรครวมพลังประชาชาติไทย: พรรครวมพล กปปส.
พรรครวมพลังประชาชาติไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการ กปปส.
ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการคณะปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ประกอบไปด้วย อดีตกลุ่ม กปปส. อย่างน้อย 7 คน เช่น สุริยะใส กตะศิลา เป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.จักษ์ พันธ์ชูเพชร นักวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปท.) เป็นต้น
สำหรับแนวทางของพรรคคือ สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในช่วงแรกนายสุเทพมีท่าทีชัดเจน แต่ช่วงหลังเริ่มเงียบๆลง
พรรคประชาชนปฏิรูป: พรรครวมพลทหาร
พรรคประชาชนปฏิรูป แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค และผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น
สำหรับสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ประกอบไปด้วย ทหารและข้าราชการ เช่น พลเอกลือพงศ์ โชติวิทยากาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย พลเอก จิระศักดิ์ บุตรเนียร อดีตประธานสโมสรมุกดาหารลำโขง รองเลขาธิการพรรค นายธนพัฒน์ สุขเกษม คณะทำงานเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูป โฆษกพรรค
สำหรับแนวทางของพรรคค่อนข้างจะชัดเจนว่าสนับสนุน พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี โดย ไพบูลย์ ประกาศสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง เพราะความซื่อสัตย์สุจริตและมีความสามารถที่ ตอนนี้ยังไม่มีใครมีคุณสมบัติเปรียบเทียบกับพลเอกประยุทธ์แล้วเหมาะสมกว่า
พรรคพลังชาติไทย
พรรคพลังชาติไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานด้านการปฏิรูปประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายทหารประจำสำนักงานปลัดกลาโหม เป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเป็นผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น
สำหรับแนวทางของพรรค พล.ต.ทรงกลด ให้สัมภาษณ์แบบแบ่งรับแบ่งสู่ว่า นายกฯ ประยุทธ์เป็นคนดี แต่จะยอมรับให้เป็นนายกฯ คนนอกได้ก็ต่อเมื่อ 1.ประชาชนเอาด้วย 2.ต้องมีอุดมการณ์ทำเพื่อชาติ และประชาชน 3.ต้องดี เก่ง กล้า 4.เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีความจริงใจกับพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ ถ้าประชาชนเอาด้วยตนก็พร้อมที่จะสนับสนุน
พรรคเห็นแก่ตัว-พรรคเห็นแก่ชาติ
พรรคเห็นแก่ชาติ เดิมก่อตั้งโดยใช้ชื่อพรรคเห็นแก่ตัว เนื่องจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมองว่าไม่เหมาะสมจึงส่งหนังสือแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อพรรคเห็นแก่ตัว และให้ไปดำเนินการแก้ไขใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 และดำเนินการเปลี่ยนชื่อพรรคเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561
มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ กริช ตรรกบุตร อดีต ส.ส.พรรคมาตุภูมิ ส่วนแนวทางของพรรค กริช กล่าวว่า เรื่องการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ แต่ทางพรรคต้องการคนที่ทำเพื่อประเทศและประชาชน และไม่มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเช่นนั้นหรือไม่ จึงต้องรอดูท่าทีก่อน
พรรคพลังธรรมใหม่
พรรคพลังธรรมใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล อดีตเลขาธิการ พรรคพลังธรรม สำหรับแนวทางของพรรค มีจุดยืนเพื่อนำประเทศไทยให้หลุดพ้นจากวิกฤตความขัดแย้งและความแตกแยก รวมถึงคอร์รัปชั่นโกงกินทุกรัฐบาล นำประเทศไปสู่สังคมธรรมาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก และพรรคจะมีคณะธรรมาภิบาลเพื่อให้ระบบตรวจสอบการทุจริตอย่างเข้มแข็ง ขณะเดียวกันพร้อมสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ถ้าต้องมีนายกฯ คนนอก
พรรคทางเลือกใหม่
พรรคทางเลือกใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ ราเชนทร์ ตระกูลเวียง อดีตประธาน กปปส. จังหวัดนนทบุรี เป็นหัวหน้าพรรคและผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น สำหรับแนวทางของพรรค ราเชนทร์กล่าวว่า ไม่ขัดข้องหากต้องสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นผู้นำอีกครั้ง
พรรคไทยธรรม
พรรคไทยธรรม แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ อโณทัย ดวงดารา เคยได้รับรางวัลนาคราช บุคคลดีเด่นแห่งปีประจำพุทธศักราช 2556 งานประกาศรางวัลเกียรติคุณคนของแผ่นดินตามรอยพระยุคลบาท เป็นพรรคน้องใหม่ที่รวมเอานักวิชาการ หมอ และทหาร ที่จะมาร่วมหนุนพลเอกประยุทธ์
สำหรับแนวทางของพรรค อโณทัย กล่าวว่า พร้อมที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก เพราะที่ผ่านมาผลงานการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี โครงการไทยนิยมยั่งยืน เป็นโมเดลในการทำงานให้แก่คนรุ่นใหม่ รวมถึงการออกกฎระเบียบในการปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นระบบระเบียบ
พรรคพลังพลเมืองไทย
พรรคพลังพลเมืองไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
สำหรับแนวทางของพรรค สัมพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่สนับสนุนบุคคลใดเป็นนายก แต่มีในใจหลายคน ซึ่งต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริงใจ และทำงานเพื่อส่วนรวม และไม่ปิดทางนายกรัฐมนตรีคนนอก รวมถึงชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ด้วย แต่พล.อ.ประยุทธ์ต้องตัดสินใจให้ชัดเจนว่าพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปหรือไม่ พร้อมกันนี้ก็ยินดีทำงานร่วมกับทุกพรรค เป็นโซ่ข้อกลางในการลดความขัดแย้งในสังคม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
จบแล้ว คสช.! การเลือกตั้งเปิดพื้นที่ให้คนใหม่ คนเก่าปรับตัว ประชาชนมีตัวเลือก
เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้อยู่ในอำนาจมามากกว่า 4 ปี ประกาศว่า การเลือกตั้งเกิดขึ้นไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ส่งผลให้พรรคการเมืองหลายพรรคเริ่มเดินหน้าทำกิจกรรมทางการเมือง โดยเฉพาะพรรคการเมืองใหม่ที่เพิ่งจัดตั้ง ต่างก็ค่อยๆ เริ่มประชุมพรรควางตัวผู้นำทางการเมือง ในขณะที่พรรคการเมืองเก่ายังขยับตัวไม่ได้ตามประกาศคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช.
อย่างไรก็ดี มีพรรคการเมืองอย่างน้อย 9 พรรค ที่เปิดตัวแสดงจุดยืนเป็นกองหนุนให้กับ พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ได้แก่
พรรคพลังประชารัฐ: พรรคสามมิตร (อดีตนักการเมืองเก่า)
พรรคพลังประชารัฐ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญเป็นกลุ่มสาม ส. หรือ สามมิตร ได้แก่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในสมัยรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตรและเลขาธิการพรรคไทยรักไทย อดีตประธานกรรมการบริษัทซัมมิทอิเล็กโทรนิค คอมโพเน้นท์,บริษัทซัมมิทแอดวานซ์ แมททีเรียล จำกัด ที่เรียกได้ว่าเป็นถังเงินถังทองเลยก็ว่าได้
สมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา อดีตรัฐมนตรี 4 กระทรวง และแกนนำ กลุ่มวังน้ำยม กลุ่ม ส.ส. ที่เคยสังกัดใน พรรคไทยรักไทยนอกจากนี้ยังเป็น อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม
และอีก ส. ที่ยังไม่เปิดเผยตัว แต่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคนี้คือ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ปัจจุบันเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กรรมการในคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ดูแลด้านเศรษฐกิจ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเคย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย และยังเป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและอดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 122/2557
นอกจากนี้ ด้านผู้ร่วมก่อตั้งพรรคคนอื่นๆ ก็ประกอบไปด้วยอดีตนักการเมืองจากขั้วการเมืองเก่าตั้งแต่สมัยพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าจะเป็น อนุชา นาคาศัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชัยนาท พรรคไทยรักไทย และอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย หรือ สุชาติ ตันเจริญ อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติไทย และพรรคไทยรักไทย
สำหรับแนวทางของพรรค สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ก็ออกตัวยืนยันชัดเจนว่า สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา แน่นอน เพราะอยากเห็นความต่อเนื่อง พรรคพลังประชารัฐจึงเป็นพรรคสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย
พรรครวมพลังประชาชาติไทย: พรรครวมพล กปปส.
พรรครวมพลังประชาชาติไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการ กปปส.
ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานกรรมการคณะปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ประกอบไปด้วย อดีตกลุ่ม กปปส. อย่างน้อย 7 คน เช่น สุริยะใส กตะศิลา เป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต รศ.จักษ์ พันธ์ชูเพชร นักวิชาการมหาวิทยาลัยนเรศวร และ ประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปท.) เป็นต้น
สำหรับแนวทางของพรรคคือ สนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในช่วงแรกนายสุเทพมีท่าทีชัดเจน แต่ช่วงหลังเริ่มเงียบๆลง
พรรคประชาชนปฏิรูป: พรรครวมพลทหาร
พรรคประชาชนปฏิรูป แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ ไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค และผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น
สำหรับสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรค ประกอบไปด้วย ทหารและข้าราชการ เช่น พลเอกลือพงศ์ โชติวิทยากาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย พลเอก จิระศักดิ์ บุตรเนียร อดีตประธานสโมสรมุกดาหารลำโขง รองเลขาธิการพรรค นายธนพัฒน์ สุขเกษม คณะทำงานเครือข่ายประชาชนเพื่อการปฏิรูป โฆษกพรรค
สำหรับแนวทางของพรรคค่อนข้างจะชัดเจนว่าสนับสนุน พลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี โดย ไพบูลย์ ประกาศสนับสนุน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง เพราะความซื่อสัตย์สุจริตและมีความสามารถที่ ตอนนี้ยังไม่มีใครมีคุณสมบัติเปรียบเทียบกับพลเอกประยุทธ์แล้วเหมาะสมกว่า
พรรคพลังชาติไทย
พรรคพลังชาติไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานด้านการปฏิรูปประเทศของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายทหารประจำสำนักงานปลัดกลาโหม เป็นหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และเป็นผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น
สำหรับแนวทางของพรรค พล.ต.ทรงกลด ให้สัมภาษณ์แบบแบ่งรับแบ่งสู่ว่า นายกฯ ประยุทธ์เป็นคนดี แต่จะยอมรับให้เป็นนายกฯ คนนอกได้ก็ต่อเมื่อ 1.ประชาชนเอาด้วย 2.ต้องมีอุดมการณ์ทำเพื่อชาติ และประชาชน 3.ต้องดี เก่ง กล้า 4.เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีความจริงใจกับพี่น้องประชาชนและประเทศชาติ ถ้าประชาชนเอาด้วยตนก็พร้อมที่จะสนับสนุน
พรรคเห็นแก่ตัว-พรรคเห็นแก่ชาติ
พรรคเห็นแก่ชาติ เดิมก่อตั้งโดยใช้ชื่อพรรคเห็นแก่ตัว เนื่องจากนายทะเบียนพรรคการเมืองมองว่าไม่เหมาะสมจึงส่งหนังสือแจ้งว่าไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อพรรคเห็นแก่ตัว และให้ไปดำเนินการแก้ไขใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 และดำเนินการเปลี่ยนชื่อพรรคเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2561
มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ กริช ตรรกบุตร อดีต ส.ส.พรรคมาตุภูมิ ส่วนแนวทางของพรรค กริช กล่าวว่า เรื่องการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ แต่ทางพรรคต้องการคนที่ทำเพื่อประเทศและประชาชน และไม่มั่นใจว่า พล.อ.ประยุทธ์ เป็นเช่นนั้นหรือไม่ จึงต้องรอดูท่าทีก่อน
พรรคพลังธรรมใหม่
พรรคพลังธรรมใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ นายแพทย์ระวี มาศฉมาดล อดีตเลขาธิการ พรรคพลังธรรม สำหรับแนวทางของพรรค มีจุดยืนเพื่อนำประเทศไทยให้หลุดพ้นจากวิกฤตความขัดแย้งและความแตกแยก รวมถึงคอร์รัปชั่นโกงกินทุกรัฐบาล นำประเทศไปสู่สังคมธรรมาธิปไตย ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก และพรรคจะมีคณะธรรมาภิบาลเพื่อให้ระบบตรวจสอบการทุจริตอย่างเข้มแข็ง ขณะเดียวกันพร้อมสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ ถ้าต้องมีนายกฯ คนนอก
พรรคทางเลือกใหม่
พรรคทางเลือกใหม่ แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ ราเชนทร์ ตระกูลเวียง อดีตประธาน กปปส. จังหวัดนนทบุรี เป็นหัวหน้าพรรคและผู้ก่อตั้งพรรคขึ้น สำหรับแนวทางของพรรค ราเชนทร์กล่าวว่า ไม่ขัดข้องหากต้องสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นผู้นำอีกครั้ง
พรรคไทยธรรม
พรรคไทยธรรม แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ อโณทัย ดวงดารา เคยได้รับรางวัลนาคราช บุคคลดีเด่นแห่งปีประจำพุทธศักราช 2556 งานประกาศรางวัลเกียรติคุณคนของแผ่นดินตามรอยพระยุคลบาท เป็นพรรคน้องใหม่ที่รวมเอานักวิชาการ หมอ และทหาร ที่จะมาร่วมหนุนพลเอกประยุทธ์
สำหรับแนวทางของพรรค อโณทัย กล่าวว่า พร้อมที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก เพราะที่ผ่านมาผลงานการบริหารประเทศของรัฐบาล คสช. อาทิ ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี โครงการไทยนิยมยั่งยืน เป็นโมเดลในการทำงานให้แก่คนรุ่นใหม่ รวมถึงการออกกฎระเบียบในการปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นระบบระเบียบ
พรรคพลังพลเมืองไทย
พรรคพลังพลเมืองไทย แจ้งจดทะเบียนจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 มีแกนนำคนสำคัญได้แก่ สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
สำหรับแนวทางของพรรค สัมพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่สนับสนุนบุคคลใดเป็นนายก แต่มีในใจหลายคน ซึ่งต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม จริงใจ และทำงานเพื่อส่วนรวม และไม่ปิดทางนายกรัฐมนตรีคนนอก รวมถึงชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ด้วย แต่พล.อ.ประยุทธ์ต้องตัดสินใจให้ชัดเจนว่าพร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปหรือไม่ พร้อมกันนี้ก็ยินดีทำงานร่วมกับทุกพรรค เป็นโซ่ข้อกลางในการลดความขัดแย้งในสังคม
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
จบแล้ว คสช.! การเลือกตั้งเปิดพื้นที่ให้คนใหม่ คนเก่าปรับตัว ประชาชนมีตัวเลือก