บทบรรณาธิการ : ปัญหาประเทศ
26 กรกฎาคม 2561
ข่าวสด
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุ ขณะนี้ประเทศเผชิญปัญหารวม 4 ด้าน ได้แก่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเข้มแข็งและกระจายตัวดีขึ้น รัฐมีมาตรการช่วยเหลือดูแลผู้มีรายได้น้อย แต่ไทยก็ยังคงติดอันดับต้นๆ ของความเหลื่อมล้ำ คนรวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน มากกว่าคนอีกครึ่งของทั้งประเทศรวมกัน
ปัญหาผลิตภาคแรงงานที่ลดลงจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะนโยบายให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตในระยะสั้น มากกว่าการมุ่งปรับโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว
ปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขาดการแก้ปัญหาและดูแลระบบนิเวศอย่างเหมาะสม และปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งประเทศไม่ให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนระยะยาว
ถือเป็นมุมมองด้านเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ประเทศไทยเผชิญ มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา คือปัญหาทางด้านการเมืองที่ถูกตัดตอนและฉุดรั้งระบอบประชาธิปไตย เพราะเกิดเหตุรัฐประหารถึง 2 ครั้ง
การเมืองการปกครองที่กำลังพัฒนารุดหน้าเทียบเท่านานาอารยประเทศ ต้องหยุดชะงักลงด้วยอำนาจพิเศษ กว่าจะร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ และจัดเลือกตั้งก็ส่งผลทำให้ประเทศ สูญโอกาสอย่างน่าเสียดาย
สิทธิเสรีภาพของประชาชนจากที่เคยมีปากมีเสียง แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ก็ถูกจำกัดด้วยกฎหมายและประกาศของอำนาจเบ็ดเสร็จ แม้บ้านเมืองจะดูเหมือนมีความสงบ แต่ที่แท้จริงแล้วเป็นความราบคาบถูกกดทับไว้
เมื่อถึงจุดหนึ่งก็จะระเบิดขึ้นมา และบานปลายจนควบคุมไม่ได้
แม้บรรยากาศในช่วงนี้ มีความชัดเจนที่จะจัดการเลือกตั้งทั่วไปอีกครั้ง คาดว่าจะอยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า แต่สิทธิพลเมือง พรรคการเมืองซึ่งเป็นตัวแทนความคิดเห็นของประชาชนยังมีข้อจำกัด
ขณะที่กลุ่มสนับสนุนผู้มีอำนาจ สามารถเคลื่อนไหวได้โดยไม่ถูกตรวจสอบ มีการกดดัน ชักจูง และบีบคั้นให้นักการเมืองบางกลุ่มให้มาเป็นฝ่ายสนับสนุนตัวเอง
มีการทุ่มเทงบประมาณอย่างมหาศาลใน รูปแบบของโครงการประชารัฐ และโครงการอื่นๆ จนเป็นที่ครหาว่าแอบแฝงการเมือง เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการเลือกตั้งครั้งหน้า
เป็นปัญหาใหม่ทางการเมืองที่จะตามมา
ooo
4 ปีรัฐประหาร คุณเห็นอะไร ?
https://www.facebook.com/BBCThai/videos/2093921037495592/
เติมศักดิ์ กลั่นเกษร
1.เห็นขบวนการยุติธรรมตกต่ำ
2.ประเทศชาติตกต่ำ
3.เศรษฐกิจตกต่ำ
4.ภาคประชาชนยังแตกแยก
5.สังคมเสื่อม
6.จริยธรรมคุณธรรมตกต่ำ
7.สิทธิและหน้าที่พลเมืองตกต่ำ
8.ความเสมอและความเท่าเทียมตกต่ำ
9.ประชาชนแบกภาระค่าครองชีพสูงขึ้น
10.การผูกขาดทางการตลาดสูงขึ้น
11.ผู้นำมีความต้องการอยู่ในอำนาจสูงขึ้น
12.(โปรดเติมในข้อต่อไป)
2.ประเทศชาติตกต่ำ
3.เศรษฐกิจตกต่ำ
4.ภาคประชาชนยังแตกแยก
5.สังคมเสื่อม
6.จริยธรรมคุณธรรมตกต่ำ
7.สิทธิและหน้าที่พลเมืองตกต่ำ
8.ความเสมอและความเท่าเทียมตกต่ำ
9.ประชาชนแบกภาระค่าครองชีพสูงขึ้น
10.การผูกขาดทางการตลาดสูงขึ้น
11.ผู้นำมีความต้องการอยู่ในอำนาจสูงขึ้น
12.(โปรดเติมในข้อต่อไป)