วันพุธ, กรกฎาคม 04, 2561

“ประยุทธ์” ยืนยันไม่เกี่ยวข้องพรรคพลังประชารัฐ (คำพูด "ชายชาติทหาร"นะโว๊ย 🤣🤣🤣)




https://www.youtube.com/watch?v=F0sD9D_YxSo&feature=youtu.be

Tonight Thailand -“ประยุทธ์” ยืนยันไม่เกี่ยวข้องพรรคพลังประชารัฐ

VOICE TV 21
Published on Jul 3, 2018

Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/TonightThail... 

พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันไม่เกี่ยวข้องกับพรรคประชารัฐ ระบุแค่จองชื่อยังไม่เป็นพรรค ส่วนนโยบายไทยนิยมและโครงการประชารัฐ มีมานานแล้ว

...

ฉเวงสัก ดิศเรศตรกุล คำพูด "ชายชาติทหาร"นะโว๊ย ครับ🤣🤣🤣

ตะวัน วงศ์ขวัญเมือง ไม่เกี่ยวข้องวันนี้..
แต่เกี่ยวข้องวันหน้า..
หมาเลยน่ะท่าน

ooo





ใครเป็นใคร ในสามมิตร

สมศักดิ์ เทพสุทิน เริ่มต้นชีวิตในสนามการเมืองระดับชาติจากการได้รับเรื่องตั้งเป็น ส.ส. สุโขทัย ตั้งแต่ปี 2526 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกในสมัยรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร ต่อมาในยุครัฐบาลชวน หลักภัย รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และรัฐบาลชวนสอง ก่อนย้ายมาสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี 2544 ซึ่งถือเป็นคนสำคัญของพรรคไทยรักไทยในเวลานั้นเพราะตลอดระยะเวลาของรัฐบาลทักษิณ 1 และ 2 ไม่มีช่วงเวลาไหนเลยที่เข้าไม่ได้ดำรงในระดับรัฐมนตรี

สมศักดิ์ และสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นแกนนำกลุ่มทางการเมืองในพรรคไทยรักไทย ที่ชื่อว่ากลุ่มวังน้ำยม ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สูงของไทยรักไทยในเวลานั้น มี ส.ส. สังกัดอยู่ในกลุ่มนี้ราว 120 คน

หลังการรัฐประหาร 2549 สมศักดิ์และกลุ่มวังน้ำยมได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย ไปจัดตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อว่า "กลุ่มมัชฌิมา" ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบพรรค ก่อนจะกลับมาใหม่ใต้ร่มพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งมีอนงค์วรรณ เทพสุทิน ภรรยาเป็นหัวหน้าพรรค แต่ที่สุดแล้วก็ถูกตัดสินยุบพรรคอีกครั้ง พร้อมกับพรรคชาติไทย และพรรคพลังประชาชน ทำให้ ส.ส. ในกลุ่มของของสมศักดิ์ ได้ย้ายมาร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มเพื่อนเนวิน ในนามพรรคภูมิใจไทย

แต่ในการเลือกตั้งปี 2557 ซึ่งถูกตัดสินเป็นโมฆะไป เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 16 ต่อมาในปี 2561 เขาระบุจะไม่ทำการยืนยันสมาชิกกับพรรคเพื่อไทย และได้ประกาศเข้าร่วมงานกับ พรรคพลังประชารัฐ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อกลุ่มการเมืองของตนจากกลุ่ม วังน้ำยม หรือ มัชฌิมา เป็น กลุ่มสามมิตร

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคไทยรักไทย และเป็นแกนนำกลุ่มวังน้ำยม ร่วมกับสมศักดิ์ เทพสุทิน ในสมัยที่เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ประสบปัญหาในคดีการจัดซื้อและติดตั้งเครื่องตรวจจับระเบิด (CTX 9000) และการก่อสร้างระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็สิ้นสุดลง ในปี 2555 หลัง ป.ป.ช. มีมติสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากมีพยานหลักฐานไม่เพียงพอ

ในปี 2550 จากกรณียุบพรรคไทยรักไทย เขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เข้าร่วมแถลงข่าวเปิดตัวพรรคภูมิใจไทยในปี 2552 ก่อนจะกลับมาเป็นหัวหน้ากลุ่มสามมิตรซึ่งประกาศร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐในปีนี้

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้รับการขนานนามว่าเป็นขุนพลคนสำคัญในรัฐบาลทักษิณ เขาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบพรรค จากนั้นได้ร่วมก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

หลังการรัฐประหารปี 2557 เขารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดูแลรับผิดชอบเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ท่ามกลางกระแสข่าวความขัดแย้งกับหม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จนกระทั่งในเดือน ส.ค. 2558 ดร.สมคิด จึงได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และปรับให้หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี ต่อมาปี 2561 มีกระแสข่าวต่อเนื่องว่า เขาเป็นอีกหนึ่งคนสำคัญในของกลุ่มสามมิตร

ภิรมย์ พลวิเศษ อดีต ส.ส. นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน

อนุชา นาคาศัย อดีต ส.ส. พรรคไทยรักไทย และเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี จากกรณียุบพรรค ต่อมาได้สนับสนุนพรรคภูใจไทย ซึ่งมีพรทิวา นาคาศัย ภรรยา เป็นเลขาธิการพรรค

ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอดีต สส. เลย พรรคเพื่อไทย และเป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พรรคพลังประชาชน

เปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ภรรยาของปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข เป็นอดีต ส.ส. เลย ในสังกัดพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

วันชัย บุษบา อดีต ส.ส. เลย ได้รับเลือกตั้งในปี 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้ดำรงสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำสวย 2 สมัย และเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ก่อนจะลาออกมาเข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติ

จำลอง ครุฑขุนทด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ก่อหน้าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2523 ต่อมาได้ย้ายไปสังกัดพรรคปวงชนชาวไทย ในระหว่างปี พ.ศ. 2531-2535 และย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ซึ่งต่อมาได้มีการยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย

เขาเคย เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติที่เวทีสะพานผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2553

สุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือ แรมโบ้อีสาน อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง อดีต ส.ส. สังกัดพรรคไทยรักไทย เขาเคยเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่ม นปช. จนกระทั่งรัฐบาลสั่งการปฏิบัติการณ์กระชับวงล้อมในวันที่ 12 พ.ค. 2553 และแกนนำ นปช. ประกาศสลายการชุมนุมไปเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 ที่สี่แยกราชประสงค์

สมคิด บาลไธสง เป็นอดีต ส.ส. หนองคาย หลายสมัย เคยสังกัดหลายพรรคการเมือง อาทิ พรรคความหวังใหม่ พรรคพลังธรรม พรรคไทยรักไทย พรรคชาติไทย พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย

เวียง วรเชษฐ์ อดีต ส.ส. ร้อยเอ็ด 4 สมัย และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ก่อนหน้านี้เคยสังกัดพรรคชาติประชาธิปไตย พรรคกิจประชาสังคม พรรคความหวังใหม่

น.พ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ เริ่มงานการเมืองระดับชาติโดยเป็น ส.ส.ขอนแก่น ในสังกัดพรรคความหวังใหม่ เมื่อพรรคความใหม่ควบรวมกับพรรคไทยรักไทย เขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ ต่อมาได้เข้าร่วมกับพรรคภูมิใจไทยหลังการรัฐประหาร 2557

ส่วนหนึ่งของข่าวจาก ประชาไท
https://prachatai.com/journal/2018/07/77682

‘กลุ่มสามมิตร’ คือใคร? 'ประวิตร' ชี้หนุน 'ประยุทธ์' นั่งนายกก็เรื่องของเขา