วันอาทิตย์, กรกฎาคม 29, 2561

เขื่อนลาวแตก : รัฐมนตรีพลังงานลาว ชี้เขื่อนแตกเพราะก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน + ทุนไทยที่ไปสร้างเขื่อนผลิตไฟในลาว



GETTY IMAGESคำบรรยายภาพร้านค้าของหญิงชาวลาวผู้นี้ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงจากเหตุเขื่อนแตก


เขื่อนลาวแตก : รัฐมนตรีพลังงานลาว ชี้เขื่อนแตกเพราะก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน

27 กรกฎาคม 2018
ที่มา บีบีซีไทย


วันที่ 5 ของสถานการณ์เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยพังและน้ำมหาศาลพัดพาหมู่บ้านหลายแห่งเสียหาย รัฐมนตรีพลังลาวออกมาระบุว่าเขื่อนแตกเพราะก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน นอกจากนี้มวลน้ำจากลาวเข้าไปยังกัมพูชา ทำให้ต้องอพยพคนนับพันไปที่ปลอดภัย

ส่วนยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นเป็น 27 ราย และยอดสูญหายยังอยู่ที่ 131 คน

"การก่อสร้างที่ต่ำกว่ามาตรฐาน"

เมื่อวานนี้ (26) นายคำมะนี อินทิรัด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของ สปป.ลาว กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ว่าสาเหตุที่เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา ของเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อยพังลง มาจากการก่อสร้างที่่กว่ามาตรฐาน โดยที่สำนักข่าวสารประเทศลาวรายงานการแถลงดังกล่าวในช่วงเที่ยงวันนี้(27)

สำนักข่าวเวียงจันทน์ไทมส์ ยังรายงานเพิ่มเติมถึงการแถลงข่าวของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้เขื่อนแตกเกิดจากปริมาณฝนที่ตกหนัก ประกอบกับเขื่อนกั้นช่องเขาที่พังทลายลงเพิ่งมีการก่อสร้างเสร็จไม่นานจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ จึงอาจทำให้เกิดการปริแตกและขยายวงกว้างขึ้นจนพังทลายลงในที่สุด

รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานลาวยังชี้อีกว่า สาเหตุที่เป็นไปได้อีกทางหนึ่งคือ โครงสร้างของเขื่อนที่พังนั้นมีความไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ

เปิดรายงานสองบริษัทเกาหลีใต้ก่อนเกิดเหตุ



GETTY IMAGESคำบรรยายภาพชาวลาวที่อพยพหนีน้ำมาอาศัยที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ


เขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อย เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทเกาหลีใต้ 2 แห่ง, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ของไทย และวิสาหกิจของลาวแห่งหนึ่งหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ของสหรัฐฯ ระบุในวันนี้ (27) ว่ารายงานที่ออกมาจากสองบริษัทเกาหลีใต้ที่อยู่ในการร่วมทุนสร้างเขื่อน คือโคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ และ เอสเค เอ็นจิเนียริ่ง ทำให้เห็นสถานการณ์ก่อนเขื่อนจะแตก

ในรายงานที่ โคเรีย เวสเทิร์น พาวเวอร์ ส่งให้รัฐสภาเกาหลีใต้ระบุว่าเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (20) วิศวกรของบริษัทสังเกตเห็นความผิดปกติคือ โครงสร้างตรงกลางเขื่อนมีระดับน้ำสูงกว่าปกติ ไป 4 นิ้ว แต่ก็คิดว่าการที่โครงสร้าง "จมลง" ต่ำกว่าระดับน้ำในเขื่อนเช่นนี้เป็นเหตุปกติ เนื่องจากฝนที่ตกหนักติดต่อกันหลายวัน ดังนั้นวิศวกรจึงตัดสินใจที่จะเฝ้าดูสถานการณ์แทนที่จะแจ้งต่อหน่วยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหา

จนถึงวันอาทิตย์ วิศวกรพบว่ามีรอยร้าว 10 ทางด้านบนของเขื่อน และกำลังจะออกไปซ่อมแซม แต่อุปกรณ์ซ่อมแซมนั้นจะมาถึงในวันจันทร์ตอนบ่าย ซึ่งก็สายเกินไปเสียแล้ว


YE AUNG THU/AFP/GETTY IMAGES)คำบรรยายภาพแม่กับลูกในศูนย์พักพิงชั่วคราวปากซอง แขวงจำปาศักดิ์ เขื่อนเซเปียนเซน้ำน้อยแตกทำให้น้ำท่วมสูง และผู้คนจำนวนมากต้องอพยพมาอยู่ที่ศูนย์แห่งนี้


ส่วนบริษัทเอสเค เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเป็นบริษัทเกาหลีใต้อีกแห่งหนึ่งที่ร่วมทุนกัน และเป็นผู้สร้างหลักของโครงการ ระบุในแถลงการณ์ว่าในช่วง 21.00 น.ของวันอาทิตย์ ทางบริษัทพบว่าบางส่วนของด้านบนของเขื่อนพังทลายแล้ว ในคำแถลงการณ์ระบุด้วยอีกว่าบริษัทได้แจ้งความเสียหายครั้งนี้ต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และการอพยพชาวบ้านที่อยู่ใกล้ที่สุดก็เริ่มขึ้น แต่ไม่ได้แจ้งทางการแขวงอัตตะปือ จนเมื่อบ่ายวันจันทร์ถึงได้แจ้งแก่แขวงอัตตะปือไปว่าเขื่อนน่าจะพังทลายมากกว่าเดิม

ทางนิวยอร์คไทมส์ยังได้สัมภาษณ์ ศ. เอียน เบียร์ด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำในลาว ซึ่งเขาเชื่อว่าปัญหาอาจจะเกิดจากการก่อสร้างที่ผิดพลาด หรือการเก็บกักน้ำไว้ในเขื่อนมากเกินไป โดยไม่เผื่อสำหรับเวลาที่ฝนตกหนัก

"บริษัทพยายามบอกว่านี่เป็นภัยธรรมชาติ ไม่ใช่ความผิดของพวกเขา" ศ.เบียร์ดกล่าวกับนิวยอร์คไทมส์ และเสริมว่า "ผมไม่เชื่อคำอธิบายเช่นนั้นเลย"

อพยพประชาชนนับหมื่นในกัมพูชา


GETTY IMAGESคำบรรยายภาพทหารกัมพูชากำลังช่วยอพยพประชาชนในสตึงแตรงเมื่อระดับน้ำสูงขึ้น


จังหวัดสตึงแตรงของกัมพูชาที่อยู่ติดกับแขวงอัตตะปือของลาวต้องอพยพชาวบ้านราว 25,000 คนออกจากพื้นที่เมื่อมวลน้ำจากลาวไหลบ่าเข้ามา รวมกับฝนที่ยังคงตกต่อเนื่อง

"ระดับน้ำยังคงเพิ่มขึ้น ดังนั้นจำนวนชาวบ้านที่จะถูกอพยพออกไปน่าจะเพิ่มขึ้นด้วย" เมน กอง โฆษกของจังหวัดสตึงแตรงบอกว่ากับเอเอฟพี

เจ้าหน้าทหารของกัมพูชาพาชาวบ้านและรถมอเตอร์ไซค์ออกมาจากเขตน้ำท่วมทางเรือ และก็ส่งบรรดาสิ่งของบรรเทาทุกข์เข้าไปในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วเช่นกัน


ATTAPEU TODAYคำบรรยายภาพภาพประชาชนในแขวงอัตตะปือ ที่หนีระดับน้ำขึ้นมารอการช่วยเหลือบนหลังคา


คำเตือนอพยพมาล่าช้า

เอเอฟพีรายงานว่าชาวบ้านไม่น้อยกล่าวว่าพวกเขาได้รับคำเตือนให้อพยพก่อนหน้าเขื่อนแตกไม่กี่ชั่วโมง

"มันเกิดขึ้นเร็วมาก เรามีเวลาเตรียมตัวน้อยมาก" จู หินลา วัย 68 กล่าว เขามาจากหมู่บ้านหินลาดที่เสียหายอย่างหนัก "ทุกบ้านในหมู่บ้านนี้จมอยู่ใต้น้ำ คนในบ้านสี่ฉันสี่คนยังหาไม่เจอ ยังไม่รู้ว่าพวกเขาจะเป็นอย่างไร"


เขื่อนลาวแตก: ชาวไทยร่วมส่งกำลังใจถึงลาว ให้ผู้ประสบเหตุปลอดภัย
เขื่อนลาวแตก: ชุดกู้ภัยถ้ำหลวงพร้อม มุ่งสู่ลาวเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย


พิบัติภัยดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ในวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยสาเหตุสำคัญมาจากพายุฝนถล่มทำให้เขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในแขวงอัตตะปือ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศพังลง ส่งผลให้น้ำปริมาณ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตรไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่หลายหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวสารประเทศลาวของทางการ ระบุว่ามีผู้คนมากว่า 6,600 คนและยังคงมีประชาชนหลายร้อยคนสูญหาย


AFP/GETTY IMAGESคำบรรยายภาพผู้ประสบภัยต้องอาศัยกันอย่างแออัดภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวที่ทางการจัดให้ในแขวงจำปาสัก


ด้านบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นของโครงการ แถลงว่า เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา ส่วน D (Saddle Dam D) ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร และสูง 16 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย โครงการดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยดังกล่าวเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ และลงสู่ลำน้ำเซเปียน ที่อยู่ห่างจากพื้นที่เขื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร

โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน-เซน้ำน้อย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมีความก้าวหน้าประมาณร้อยละ 90 และกำหนดจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ภายใน ก.พ. 2562



ooo




อ่านบทความเต็มเรื่อง 

เขื่อนลาวแตก: กี่ทุนไทยที่ไปสร้างเขื่อนผลิตไฟในลาว

เรื่องเกี่ยวข้อง...