วันศุกร์, พฤษภาคม 05, 2560

UN Human Rights Office for South-East Asia urges the Thai Government to immediately release six people recently charged with criticising authorities





OHCHR ร้องรัฐบาลไทยยุติคุมขังโดยมิชอบ-ปล่อยตัว 6 ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงโดยทันที


ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
4 พฤษภาคม พ.ศ.2560


วันที่ 4 พฤษภาคม สำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการควบคุมตัวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยพลการและปล่อยตัว 6 ผู้ต้องหาในความผิดที่เป็นภัยต่อความมั่นคงโดยทันที

ข้อเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา นายดนัย ทิพย์สุยา อดีตนายทหารจากเชียงใหม่และนายประเวศ ประภานุกูล ทนายความสิทธิมนุษยชน ถูกจับกุมและคุมขังโดยกองทัพจากการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กที่เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยทั้งสองถูกพาตัวไปในที่ที่ไม่สามารถระบุได้ จากนั้นในวันนี้ ได้นำตัวนายดนัยและนายประเวศ พร้อมด้วยผู้ต้องหาอีก 4 คน มาแถลงข่าวที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยทั้ง 6 ถูกตั้งข้อหาในความผิด ม.112 ส่วนนายประเวศถูกตั้งข้อหาตาม ม.116 จากการวิจารณ์นายกรัฐมนตรี และทั้งหมดถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่มีคนใดเข้าถึงทนายหรือครอบครัว

นายลอเรน มิลเลน รักษาการผู้แทนประจำภูมิภาคกล่าวว่า มีความกังวลต่อใช้กฎหมายมาตรา 112 เพิ่มมากขึ้นหลังการรัฐประหารในปี 2557 โดยมีมากกว่า 70 คน ถูกคุมขังหรือถูกตัดสินว่ามีความผิด ซึ่งในกลไกด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติ ได้ย้ำตลอดว่าการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็น

ทั้งนี้ สำนักงานสิทธิมนุษยชนยูเอ็นยังได้แสดงความกังวลต่อมาใช้วิธีคุมขังและตัดขาดการติดต่อ โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่่านมา ประเทศไทยถูกทบทวนสถานการณ์โดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนโดยได้แสดงความกังวลในเรื่องบุคคลถูกจับกุมและคุมขังในที่ลับโดยไม่สามารถติดต่อทนายได้ ซึ่งที่ประชุมได้เสนอแนะให้ไทยดำเนินหลักกฎหมายและแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ooo





The United Nations Human Rights Office for South-East Asia (OHCHR) urges the Thai Government to halt the practice of arbitrary detention of political activists, and to immediately release six people recently charged with criticising authorities.

On 29 April 2017, two political activists - Mr. Danai Tibsuya, a former military officer from Chiang Mai, and Mr. Prawet Prapanukul, a Bangkok-based lawyer - were arrested and detained by the military under the lese-majeste law for criticising the King on Facebook. The two men were taken to an unknown location.

On 4 May 2017, the two activists and four other individuals were paraded at a media conference held at the Royal Thai Police's Technology Crime Suppression Division. The six individuals were charged under the lese-majeste law. Two also face a charge under the Computer Crime Act. Mr. Prawet was also charged under the sedition law reportedly for criticising the Prime Minister. The accused are currently being held at the Bangkok Remand Prison. None of the activists have been given access to legal representatives and their families.

“I am very concerned at the sharp increase in the use of the lese-majeste law after the 2014 coup, with more than 70 people detained or convicted.” said Laurent Meillan, the acting Regional Representative. He added that the UN human rights mechanisms repeatedly stated that the implementation of the law ran contrary to fundamental rights of freedom of expression and opinion.

The UN Human Rights Office is also concerned about the use of incommunicado detention. In March 2017, Thailand was reviewed by the UN Human Rights Committee which raised concerns that individuals had been arrested and detained at undisclosed places without access to lawyers. It recommended that Thailand immediately bring its legislation and practices into compliance with the International Covenant on Civil and Political Rights.



...

Related story:

SIX CHARGED IN LARGEST KNOWN SINGLE-DAY LESE MAJESTE CRACKDOWN

(http://www.khaosodenglish.com/news/crimecourtscalamity/crime-crime/2017/05/04/six-charged-largest-known-single-day-lese-majeste-crackdown/)

Thu, 2017-05-04 22:24
ที่มา ประชาไท


ทนายความเปิดเผยข้อเท็จจริงการจับกุม 6 ผู้ต้องหาโพสต์แชร์เรื่องเกี่ยวกับหมุดคณะราษฎร และโพสต์หมิ่นกษัตริย์ ทุกคนระบุถูกควบคุมตัวเช้าวันที่ 29 เม.ย. โดยทหาร-ตำรวจทั้งในและนอกเครืองแบบ ด้านทนายประเวศเผย อดอาหารประท้วงเพื่อขอโทรบอกเพื่อนทนายให้ไปว่าความแทน

4 พ.ค. 2560 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวสองผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์โพสต์ของ Somsak Jeamteerasakul เกี่ยวกับหมุดคณะราษฎรที่หายไป โดยรายหนึ่งเป็นบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ยื่นหลักทรัพย์ประกัน 790,000 บาท และอีกรายยื่นหลักทรัพย์ 900,000 บาท

โดยศาลให้เหตุผลว่า เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว จึงไม่อนุญาตให้ประกันตัว ส่วนผู้ต้องหาอีก 4 ราย คือ ประเวศ ประภานุกูล, ดนัย (สงวนนามสกุล), วรรณชัย (สงวนนามสกุล), และผู้ต้องหาที่ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่ออีก 1 คน ที่ถูกควบคุมตัวในมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และนำตัวมาฝากขังพร้อมกันเมื่อวานนี้ ยังไม่ได้ยื่นประกันตัว เพราะอยู่ระหว่างรวบรวมหลักทรัพย์ประกัน

ขณะที่ช่วงเช้าของวันนี้ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนได้เข้าไปสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบคุมตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 คนใน มทบ.11 ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ทราบว่า ทั้ง 6 คนถูกเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ควบคุมตัวในช่วงเช้าวันที่ 29 เม.ย. 2560 โดยไม่มีหมายจับ ไม่มีหมายค้น และไม่แจ้งให้ผู้ถูกควบคุมตัวทราบว่าถูกควบคุมเพราะเหตุใด ก่อนจะพาตัวไปที่ มทบ.11 โดยผู้ถูกควบคุมตัวบางรายถูกปิดตาและมีผ้าคลุมศีรษะระะหว่างเดินทางด้วย บางรายเล่าว่าถูกปิดตาทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่ทหารพาไปห้องน้ำ

ประเวศเล่าว่า เมื่อไปถึง มทบ.11 เขาถูกแยกควบคุมตัว สอบปากคำ และซักถามประวัติส่วนตัว ซึ่งประเวศให้ความร่วมมือ และยอมลงชื่อในเอกสาร เพราะคิดว่าจะได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน ระหว่างนั้นเขาขอโทรศัพท์ติดต่อบุคคลที่ไว้วางใจ แต่ไม่ได้รับอนุญาต จึงอดอาหารเพื่อประท้วงการจำกัดสิทธิดังกล่าว

ประเวศไม่ได้รับประทานอะไรอีกเลยจนถึงช่วงสายวันที่ 30 เม.ย. 2560 เขายืนยันว่าต้องการติดต่อบุคคลที่ไว้วางใจ เพื่อจัดการเรื่องนัดหมายคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ ทหารจึงอนุญาตให้ประเวศใช้โทรศัพท์ โดยจะต้องเปิดลำโพงให้ทหารได้ยินด้วย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: ยังติดต่อทนายประเวศไม่ได้ หลังโทรบอกเพื่อนทนายว่าถูก คสช. เรียกตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย.)

ขณะที่ผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่น ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อบุคคลภายนอก ทำให้ญาติและทนายความไม่อาจทราบชะตากรรมระหว่างถูกควบคุมตัว กระทั่งพนักงานสอบสวนจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เข้าไปสอบปากคำที่ มทบ.11 ในวันที่ 3 พ.ค. 2560 จึงอนุญาตให้ผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 6 คนติดต่อญาติได้ ก่อนจะนำตัวไปขออำนาจศาลอาญาฝากขังผู้ต้องหาไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพระหว่างวันที่ 3-14 พ.ค. 2560

ทั้งนี้ ประเวศและดนัยถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 ส่วนวรรณชัย และผู้ต้องหาที่ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่ออีก 3 คน ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการแชร์โพสต์เกี่ยวกับหมุดคณะราษฎร