EPA
ตำรวจอยู่ระหว่างหาเครื่องมือเอาผิดบุคคลที่เข้าไป "ส่อง" เว็บหมิ่นสถาบันฯ แม้ไม่กดแชร์ หรือไลค์ ก็ตาม
เอาผิด “จอมส่อง” เพจหมิ่นสถาบันฯ ไม่ง่าย
23 พฤษภาคม 2017
ที่มา BBC Thai
ปฏิบัติการปิดกั้นเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ปอท.ทุ่มงบ 28 ล้านบาทซื้อระบบวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์ค หลังตำรวจประกาศหาช่องดำเนินคดี ม.112 กับคนที่ชอบเข้าไป "ส่อง" เว็บหมิ่นสถาบันฯ แม้ไม่กดแชร์-ไลค์ ขณะที่นายกสมาคมเน็ตฯ ชี้เอาผิดไม่ง่ายเพราะปัญหาเทคนิคเยอะ
เว็บไซด์บางกอกโพสต์รายงานข่าว โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ระบุว่าตำรวจกำลังหาช่องทางเอาผิดบุคคลที่เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายหมิ่นสถาบัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้พวกเขาจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ ทั้งแสดงความคิดเห็น (โพสต์) แบ่งบันเนื้อหา (แชร์) หรือกดถูกใจ (ไลค์) ก็ตาม
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดจากข้อจำกัดของตำรวจในการติดตามผู้ผลิตเนื้อหาที่ผิดกฎหมายซึ่งโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก และยูทิวบ์
พล.ต.ท.ฐิติราชบอกด้วยว่า คดีหมิ่นสถาบันเกี่ยวข้องกับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ผลิตเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ผู้ชมที่แสดงความคิดเห็น แชร์ หรือกดไลค์ และผู้อ่านที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ใดๆ แต่เข้าไป "ส่อง" เฉยๆ
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
สำหรับกลุ่มแรกผู้ผลิตได้หลบหนีไปต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่รัฐมีทรัพยากรจำกัดในการนำตัวคนกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แม้พยายามติดตามตัว แต่คนเหล่านี้มักอ้างว่าถูกตั้งข้อหาด้วยแรงจูงใจทางการเมือง ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ เมื่อมีการดำเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มที่แชร์ข้อความผิดกฎหมาย หลายคนอ้างว่าพวกเขาทำโดยไม่รู้ตัว ตำรวจกำลังเดินหน้าต่อไปจัดการกลุ่มที่ 3 เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
"กลุ่มที่ 3 เพียงแค่ติดตามและดู พวกเขาไม่ได้คอมเมนท์ ตำรวจกำลังหาเครื่องมือเพื่อที่จะระบุว่าคนเหล่านี้เป็นใคร และทำไมจึงชอบเข้าไปดูเนื้อหาเหล่านั้น" พล.ต.ท.ฐิติราชกล่าวกับบางกอกโพสต์
พร้อมระบุว่า "การดูโพสต์ที่มีเนื้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นสถาบัน อาจเข้าข่ายกระทำผิด"
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นตำรวจจะยังไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายต่อคนกลุ่มนี้ "ตำรวจจะแค่ติดต่อไป เข้าไปคุย และตักเตือนก่อน" โดยตำรวจจะคัดกรองว่าใครมีศักยภาพในการทำผิด และในการสอบสวนก็จะดูเป็นกรณีๆ ไป สำหรับสาเหตุที่ต้องตรวจสอบกลุ่มที่ 3 ก็เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่หลุดเข้าไปในกลุ่มที่ 2
ผบ.สอบสวนกลางบอกว่า ขณะนี้เฟซบุ๊ก และยูทิวบ์ ให้ความร่วมมืออย่างดีในการปิดกั้นวิดีโอที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย หากมาตรการเหล่านี้ได้ผล ก็ไม่จำเป็นที่ตำรวจต้องเดินหน้าตามหาบุคคลในกลุ่มที่ 2 และ 3 เนื่องจากเนื้อหาถูกปิดกั้นตั้งทางแล้ว ทำให้กลุ่มคน 2 กลุ่มหลังไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาหมิ่นสถาบันได้
เอาผิด “จอมส่อง” เพจหมิ่นสถาบันฯ ไม่ง่าย
23 พฤษภาคม 2017
ที่มา BBC Thai
ปฏิบัติการปิดกั้นเว็บไซต์หมิ่นสถาบันฯ ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุด ปอท.ทุ่มงบ 28 ล้านบาทซื้อระบบวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์ค หลังตำรวจประกาศหาช่องดำเนินคดี ม.112 กับคนที่ชอบเข้าไป "ส่อง" เว็บหมิ่นสถาบันฯ แม้ไม่กดแชร์-ไลค์ ขณะที่นายกสมาคมเน็ตฯ ชี้เอาผิดไม่ง่ายเพราะปัญหาเทคนิคเยอะ
เว็บไซด์บางกอกโพสต์รายงานข่าว โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ระบุว่าตำรวจกำลังหาช่องทางเอาผิดบุคคลที่เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายหมิ่นสถาบัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้พวกเขาจะไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ ทั้งแสดงความคิดเห็น (โพสต์) แบ่งบันเนื้อหา (แชร์) หรือกดถูกใจ (ไลค์) ก็ตาม
ความเคลื่อนไหวนี้เกิดจากข้อจำกัดของตำรวจในการติดตามผู้ผลิตเนื้อหาที่ผิดกฎหมายซึ่งโพสต์บนโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊ก และยูทิวบ์
พล.ต.ท.ฐิติราชบอกด้วยว่า คดีหมิ่นสถาบันเกี่ยวข้องกับบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ผลิตเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ผู้ชมที่แสดงความคิดเห็น แชร์ หรือกดไลค์ และผู้อ่านที่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ใดๆ แต่เข้าไป "ส่อง" เฉยๆ
WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
สำหรับกลุ่มแรกผู้ผลิตได้หลบหนีไปต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่รัฐมีทรัพยากรจำกัดในการนำตัวคนกลุ่มนี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แม้พยายามติดตามตัว แต่คนเหล่านี้มักอ้างว่าถูกตั้งข้อหาด้วยแรงจูงใจทางการเมือง ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ เมื่อมีการดำเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มที่แชร์ข้อความผิดกฎหมาย หลายคนอ้างว่าพวกเขาทำโดยไม่รู้ตัว ตำรวจกำลังเดินหน้าต่อไปจัดการกลุ่มที่ 3 เพื่อไม่ให้เกิดการกระทำซ้ำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย
"กลุ่มที่ 3 เพียงแค่ติดตามและดู พวกเขาไม่ได้คอมเมนท์ ตำรวจกำลังหาเครื่องมือเพื่อที่จะระบุว่าคนเหล่านี้เป็นใคร และทำไมจึงชอบเข้าไปดูเนื้อหาเหล่านั้น" พล.ต.ท.ฐิติราชกล่าวกับบางกอกโพสต์
พร้อมระบุว่า "การดูโพสต์ที่มีเนื้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นสถาบัน อาจเข้าข่ายกระทำผิด"
อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นตำรวจจะยังไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายต่อคนกลุ่มนี้ "ตำรวจจะแค่ติดต่อไป เข้าไปคุย และตักเตือนก่อน" โดยตำรวจจะคัดกรองว่าใครมีศักยภาพในการทำผิด และในการสอบสวนก็จะดูเป็นกรณีๆ ไป สำหรับสาเหตุที่ต้องตรวจสอบกลุ่มที่ 3 ก็เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะไม่หลุดเข้าไปในกลุ่มที่ 2
ผบ.สอบสวนกลางบอกว่า ขณะนี้เฟซบุ๊ก และยูทิวบ์ ให้ความร่วมมืออย่างดีในการปิดกั้นวิดีโอที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย หากมาตรการเหล่านี้ได้ผล ก็ไม่จำเป็นที่ตำรวจต้องเดินหน้าตามหาบุคคลในกลุ่มที่ 2 และ 3 เนื่องจากเนื้อหาถูกปิดกั้นตั้งทางแล้ว ทำให้กลุ่มคน 2 กลุ่มหลังไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาหมิ่นสถาบันได้
GETTY IMAGES
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตัวแทน 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Tispa) ได้หารือร่วมกัน ได้ข้อสรุปว่าจะส่งหมายศาลจำนวน 131 หมาย ให้เฟซบุ๊ก เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก 131 ยูอาร์แอล การกระทำเข้าข่ายกระทำการผิดกฎหมายไทย ซึ่งเฟซบุ๊กแจ้งว่าพร้อมให้ความร่วมมือในการปิดเพจเหล่านี้ เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการของกฎหมายไทย
ขณะที่บ่ายวันนี้ (23 พ.ค.) นายเจฟฟ์ เพน กรรมการผู้อำนวยการ สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (The Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีตัวแทนเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ ยาฮู อยู่ด้วย จะเข้าหารือกับสำนักงาน กสทช. เรื่องสร้างความเข้าใจและหาทางออกเกี่ยวกับนโยบายการปิดกั้นทางอินเทอร์เน็ต
ขณะที่บ่ายวันนี้ (23 พ.ค.) นายเจฟฟ์ เพน กรรมการผู้อำนวยการ สหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (The Asia Internet Coalition) ซึ่งเป็นสมาคมที่มีตัวแทนเฟซบุ๊ก กูเกิ้ล ทวิตเตอร์ ยาฮู อยู่ด้วย จะเข้าหารือกับสำนักงาน กสทช. เรื่องสร้างความเข้าใจและหาทางออกเกี่ยวกับนโยบายการปิดกั้นทางอินเทอร์เน็ต
ชี้เอาผิด "จอมส่อง" ไม่ง่ายแบบ "บิ๊กบราเธอร์"
นางมรกต กุลธรรมโยธิน นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Tispa) เปิดเผยบีบีซีไทยว่า แม้ทางเทคนิคสามารถทำได้ทุกอย่าง แต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเอาผิดกับผู้ที่เข้าไปติดตามหรือสอดส่องเว็บผิดกฎหมาย เพราะเวลาของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องก็ไม่ตรงกันทุกวินาที แม้มีระบบเชื่อมโยงเวลา (Synchronize time) ตั้งเวลาคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามเวลามาตรฐาน หรือเลขรหัสประจำคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนเครือข่าย (IP Addressหรือ Internet Protocol Address เปรียบได้กับบ้านเลขที่ ซึ่งบอกว่าข้อมูลนี้ส่งมาจากเครื่องไหนและเล่นอยู่ที่ไหน) ก็เปลี่ยนแปลงตลอด พอออกจากระบบแล้วเข้าใช้งานใหม่ IP Addressก็เปลี่ยนไปแล้ว นอกจากนี้หากผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแค่เข้าไป "ส่อง" ระบบจะเก็บข้อมูลไว้ในประวัติการเข้าเว็บ (History website) ต่างจากการกดไลค์ ที่จะเก็บข้อมูลไว้ในระบบผู้ให้บริการ (Server) ดังนั้นจึงเป็นเรื่องซับซ้อนมากๆ ในการจะเอาผิดคนที่เข้าไปสอดส่องเพจต่างๆ
"ถ้าท่าน (ตำรวจ) ขยันขนาดนั้น ท่านก็ทำได้ แต่มันไม่ใช่ 'บิ๊กบราเธอร์' ที่จะทำกันง่ายๆ ไม่อย่างนั้นตำรวจไทยคงไม่ปวดหัวกับเรื่องนี้ มากกว่าการไล่จับโจรตัวเป็นๆ" นางมรกตกล่าว
NICOLAS ASFOURI/AFP/GETTY IMAGES
ผู้ดำเนินกิจกรรม "เลือกตั้งที่ลัก" เมื่อปี 2558 เคยใช้นวนิยาย "1984" เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ต่อต้านระบอบเผด็จ
สำหรับ "บิ๊กบราเธอร์" ปรากฏอยู่ใน "1984" นวนิยายดังของ จอร์จ โอเวลล์ ที่มีเนื้อหาเสียดสีระบอบการปกครองแบบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ โดยเนื้อเรื่องในนวนิยายดังกล่าว รัฐโอชันเนียได้ตั้ง "กระทรวงแห่งความจริง" (Ministry of Truth) เพื่อสร้าง "ความจริงประดิษฐ์" ขึ้นมา และยังมีกฎหมายให้ประชาชนเปิดโทรทัศน์ไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้รัฐคอยสอดส่องพฤติกรรมผ่านซีซีทีวีแบบพิเศษ โดยคำขวัญที่ชาวโอชันเนียต้องจำให้ขึ้นใจคือ "Big Brother is watching you" หรือ พี่เบิ้มกำลังจับตาพวกแกอยู่
นักวิชาการข้องใจ รธน.อนุญาตให้ทำได้หรือไม่
ด้านผศ.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ให้ความเห็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐเริ่มเข้ามาตรวจสอบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้าไปอ่านโพสต์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ว่า เป็นการละเมิดสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ซึ่งรัฐควรต้องพิจารณาว่าคุ้มหรือไม่ แทนที่รัฐบาลจะมุ่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้สังคม กลับมุ่งไปข่มขู่คุกคาม เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
"การบอกว่าเพียงแค่เข้าไปดูก็ผิด ผู้ใช้อำนาจต้องขบคิดว่าในทางกฎหมาย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอนุญาตให้ทำขนาดนั้นหรือไม่ ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่ไม่น่ามีอำนาจขนาดนั้น" นายบัณฑิตกล่าว
เช่นเดียวกับยาสุฮิโตะ อาซามิ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยโฮเซ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวระหว่างเฟซบุ๊กไลฟ์กับบีบีซีไทยในวาระครบรอบ 3 ปีรัฐประหารวานนี้ (22 พ.ค.) ว่า เมื่อ 2-3 วันก่อน นายทหารระดับสูงบอกว่าแค่ติดตามดูเฟซบุ๊คของรศ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็อาจจะดำเนินคดี ใช้คำว่า "อาจจะ" ในสายตาคนญี่ปุ่นก็รู้สึกแปลกใจ ถ้าจะบอกว่าดำเนินคดี เห็นด้วยไม่เห็นด้วย ก็แล้วแต่ ก็มีความแน่นอน
"แต่บอกว่า 'อาจจะ' ก็เหมือนกับว่าใช้กฎหมายโดยไม่มีหลักเกณฑ์ อยากจะจับเมื่อไหร่ก็จะจับ ถ้าเห็นว่าไม่สะดวกที่จะจับ ก็ไม่จับ ซึ่งทำให้นักธุรกิจ คือนักธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ติดตามเฟซบุ๊กอาจารย์สมศักดิ์นะฮะ นี่แค่เป็นตัวอย่าง อะไรก็แล้วแต่ ไม่มีความแน่นอน" อาจารย์อาซามิกล่าว
ปอท. ซื้อระบบวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียลฯ 28ล.
บีบีซีไทยได้ติดต่อไปยัง พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์ โชคชัย ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เพื่อสอบถามถึงแนวทางในการเอาผิดประชาชนที่เข้าไปติดตามหรือสอดส่องเว็บหมิ่นผิดกฎหมาย แต่ พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์บอกเพียงว่า ยังไม่ทราบรายละเอียด และขอให้สอบถามจากผู้บังคับบัญชา
PETER MACDIARMID/GETTY IMAGES FOR SOMERSET HOUSE
อย่างไรก็ตาม ปอท.ได้จัดทำโครงการ "จัดทำศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ" เป็นโครงการรวมทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบจัดเก็บข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ภายใต้งบประมาณ 128.4 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของชาติ มูลค่า 28.4 ล้านบาทรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้มี มีประกาศกำหนดราคากลางทางเว็บไซด์ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.2560 มี พล.ต.ต.ศุภเศรษฐ์เป็นประธานกรรมการร่างขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) นั่นเอง
ในร่างทีโออาร์ได้กำหนด "คุณลักษณะเฉพาะ" ของระบบจัดเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์ค ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล จะมีความสามารถในการค้นหาข้อมูลชั้นสูง เช่น ค้นจากคำคล้าย คำพ้องเสียง หรือการพิมพ์ผิด ค้นหาจากพฤติกรรมการแชร์ข้อมูล ที่สำคัญคือการค้นหาความสัมพันธ์ของผู้ใช้งานและสร้างกราฟความสัมพันธ์ได้
นอกจากนี้ยังสามารถรวม (Merge) ผู้ใช้ งานโซเชียลเน็ตเวิร์คที่ต่างกัน เช่น ใช้อีเมล์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หรือเนื้อหาใกล้เคียงกัน เจ้าหน้าที่ยังสามารถติดตามเหตุการณ์ที่เกิดในโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่น การติดตามการโพสต์ ทวีต วีดิโอของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จากนั้นจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ กรณีทวีต จะแสดงข้อมูลรีทวีต, กรณียูทิวป์ แสดงคอมเมนท์ที่เกี่ยวข้อง กรณีโพสต์ในเฟซบุ๊กและอินสตราแกรม จะแสดงคอมเมนท์และไลค์ อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าระบบนี้จะเริ่มใช้งานเมื่อไร
8 เดือนหลังสวรรคต กับความพยายามสกัดเว็บหมิ่นสถาบันฯ
- 22 ต.ค.2559 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เชิญผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล ซึ่งดูแลเว็บไซด์ยูทิวบ์ประจำภูมิภาคเอเชียเข้าพบ หารือแนวทางแก้ปัญหาเว็บไซด์หมิ่นสถาบันฯ พร้อมทวงถามเรื่องการลบข้อมูลไม่เหมาะสมที่อยู่ระบบ ได้ข้อสรุปให้ตั้ง "ทีมเฉพาะกิจ" ที่ประเทศสหรัฐฯ ตั้งแต่ 22 ต.ค.2559 เฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง
- 27 ต.ค. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เชิญผู้บริหารระดับสูงของไลน์และเฟซบุ๊กเข้าพบ หารือแนวทางป้องกันและปราบปรามการโพสต์ข้อความหมิ่นสถาบันฯ ทั้งนี้ ไลน์จะตกลงใจให้ตั้ง "ชุดพิเศษ" ขึ้นมาเกาะติดเรื่องนี้
- 1 พ.ย.2559 ตั้ง "ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบก"โดยเปลี่ยนจากศูนย์เทคโนโลยีทางทหารเดิม หน้าที่หลักคือการติดตามการแสดงความคิดเห็นทั้งในและนอกประเทศที่เกี่ยวกับสถาบันฯ
- 2 พ.ย.2559 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าได้ประสานงานกับเฟซบุ๊กขอให้ปิดเพจที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันฯ โดยพบว่าในเดือน ต.ค. 2559 มีข้อความเข้าข่ายไม่เหมาะสม 1,300 ยูอาร์แอล (1-12 ต.ค.2559 จำนวน 100 ยูอาร์แอล และ 13-31 ต.ค.2559 จำนวน 1,200 ยูอาร์แอล) จึงใช้อำนาจ คสช. ปิดไปแล้ว 200 ยูอาร์แอล และใช้อำนาจศาลปิด 700 ยูอาร์แอล พร้อมระบุ เว็บไซต์ที่มียูอาร์แอลหมิ่น สถาบันมากที่สุดคือยูทิวบ์ อย่างไรก็ตามยูทิวบ์ยอมปิดกั้นเนื้อหาไม่เหมาะสมสูงที่สุด
- 12 เม.ย.2560 กระทรวงดีอี ออกประกาศกระทรวงเรื่องการงดเว้นการติดต่อกับ 3 บุคคลบนสื่ออินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, นายแอนดริว แม็กเกรเกอร์ มาร์แชล
- 11 พ.ค.2560 ศูนย์ไซเบอร์กองทัพบกเผย ตั้งแต่เดือน ต.ค.2559 ถึงปัจจุบัน ตรวจพบเว็บไซต์เข้าข่ายหมิ่นสถาบันฯ จำนวน 820 รายการ แบ่งเป็น เฟซบุ๊ก 365 รายการ ยูทิวบ์ 450 รายการ และทวิตเตอร์ 5 รายการ จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปิดกั้นเว็บไซด์หมิ่นสถาบันฯ ไปแล้ว 435 รายการ ขณะที่ยังมีเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นมาใหม่ ล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย.มี 120 รายการ แยกเป็นกลุ่มและบุคคลที่กระทำความผิดที่อยู่ต่างประเทศ 7 ราย และยังไม่ทราบแหล่งที่มาของผู้กระทำ 18 ราย
- 16 พ.ค.2560 ตัวแทน กสทช. ดีอี และสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย ประชุมร่วมกัน ได้ข้อสรุปให้ส่งหมายศาลแจ้งเฟซบุ๊กปิดกั้นเนื้อหาผิดกฎหมายที่อยู่ในระบบของเฟซบุ๊ก จำนวน 131 ยูอาร์แอล เบื้องต้นศาลอนุมัติหมายให้แล้ว 34 ยูอาร์แอล ที่เหลืออีก 97 ยูอาร์แอลอยู่ระหว่างดำเนินการ ทำให้เฟซบุ๊กยังไม่สามารถถอดเนื้อหาเหล่านี้ออกจากระบบได้ เพราะเอกสารยังไม่ครบถ้วน
- 23 พ.ค.2560 เลขาธิการ กสทช. หารือสหพันธ์อินเทอร์เน็ตแห่งเอเชีย (The Asia Internet Coalition) เกี่ยวกับการดำเนินการปิดกั้นเนื้อหาผิดกฎหมาย
เพิ่มเติม: ไทยยังไม่ปิดเฟซบุ๊ก แม้เลย "เส้นตาย" กำจัด "ภาพหมิ่นฯ"
ไทยขู่ดำเนินคดีเฟซบุ๊กหากไม่ถอดเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง
ทบ. ปิด 435 เว็บหมิ่นสถาบันฯ ใน 7 เดือน