วันเสาร์, พฤษภาคม 20, 2560

ปชป.จะได้เป็น ‘ข้ารองบู้ท’ ให้พล.อ.ปรายู้ธครองเมืองนานๆ

“เราไม่ปรองดองกับพวกปิดกั้นความจริง บิดพริ้วความยุติธรรม และแชเชือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน”

นั่นเป็นความหมายจากคำประกาศของญาติมิตรผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ล้อมปราบ ล่าสังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้งเมื่อปี ๒๕๕๓

อัน “ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิต ๘๔ ราย (เจ้าหน้าที่ ๑๐ ราย) และบาดเจ็บอีกกว่า ๑,๔๐๐ คน”

นอกเหนือจากนั้น อานนท์ นำภา ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๕๓ มีคนตายจากการสลายการชุมของเจ้าหน้าที่ทหาร จำนวน ๘ ศพ ทั้งหมดเหตุเกิดที่ ถนนพระราม ๔

.นายสมชาย พระสุพรรณ ๒.นายสุพรรณ์ ทุมทอง ๓.นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ ๔.นายวุฒิชัย วราคัม ๕.นายประจวบ ประจวบสุข .นายเกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล .นายสมัย ทัดแก้ว ๘.นายสุพจน์ ยะทิมา”

(ขอบคุณนิตยสาร เวย์ที่ทำกร๊าฟฟิครายชื่อผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ #19พฤษภา53 พร้อมระบุว่า “เราขออุทิศพื้นที่ให้แด่ผู้สูญเสียและญาติมิตร...เพื่อรำลึกและย้ำเตือนว่า พวกเขาเหล่านี้จะไม่ถูกลืม

ผู้กระทำผิด ผู้เกี่ยวข้อง และผู้อยู่เบื้องหลังยังคงไม่ได้รับการลงโทษ...ผู้เสียชีวิตทั้ง ๙๔ คน ยังคงไม่ได้รับความเป็นธรรม และพวกเขาไม่อาจส่งเสียงให้ใครได้ยิน...

เหล่านี้คือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันได้ว่า เป็น (อีก) ครั้งหนึ่งที่ผู้มีอำนาจในประเทศนี้ได้กระทำต่อประชาชนที่คิดต่าง-เห็นต่าง และลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ด้วยความรุนแรงปานใด”


ตามรายงานของ ศปช. หรือ ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเดือนเมษายนพฤษภาคม ๕๓ ซึ่งยืนยันว่า

“ความจริง คือหัวใจของความยุติธรรม และความปรองดอง” แม้เวลาจะล่วงเลยมา ๗ ปี เหยื่อของการสลายชุมนุมก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา ทั้งที่ปรากฏชัดว่า

“รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ-สุเทพ เทือกสุบรรณ และกองทัพ ใช้กำลังเกินกว่าเหตุและละเมิดกฎการใช้กำลังจากเบาไปหาหนักในการสลายการชุมนุม” มีการใช้กระสุนจริงไปทั้งสิ้น ๑๑๗,๙๒๓ นัด และใช้กระสุนสไนเปอร์ซุ่มยิง ๒,๑๒๐ นัด

“ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้เสียชีวิตรายใดมีอาวุธร้ายแรงที่สามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ในระยะไกลได้” โดยเฉพาะผู้ตาย ๖ รายในเขตอภัยทานวัดปทุมวนาราม ศาลวินิจฉัยว่าการเสียชีวิตของทั้ง ๖ คน เป็นผลจากการกระทำของทหาร

ข้อกล่าวอ้างที่พวกสนับสนุนรัฐบาลอภิสิทธิ์-สุเทพและคณะทหาร ว่าผู้ชุมนุมซึ่งเรียกกันว่า เสื้อแดง“เผาบ้านเผาเมือง” นั้น ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องตามศาลชั้นต้นไปแล้ว ว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงสองคนที่โดนข้อหาวางเพลิงเซ็นทรัลเวิร์ลด์ไม่ใช่ผู้กระทำ

หลังจากรัฐประหาร ๒๒ พ.ค. ๒๕๕๗ การฟ้องร้องนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพในข้อหาฆ่าคนตาย ฐานออกคำสั่ง ศอฉ. สลายการชุมนุมปื ๕๓ ถูกศาลอาญายกฟ้อง อ้างว่าเป็นการฆ่าในหน้าที่ เป็นความผิดต่อตำแหน่งงาน ให้ไปฟ้อง ปปช. เป็นผู้ชี้มูลส่งศาลอาญาแผนกคดีการเมือง

ปปช. กลับชี้ว่าไม่มีมูล อ้างว่าพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ เพราะการใช้อาวุธทำให้ประชาชนเสียชีวิตเป็นความผิดเฉพาะตัวเจ้าหน้าที่ผู้เหนี่ยวไกยิง อยากจะเอาผิดให้ไปไล่เบี้ยฟ้องรายบุคลต่อดีเอสไอเอาเอง

แล้วมาบัดนี้ ๗ ปีให้หลัง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตผู้อำนวยการ ศอฉ. หนึ่งในผู้หลุดข้อหา สั่งฆ่า ที่ราชประสงค์ ออกมาประกาศสนับสนุนให้หัวหน้าคณะรัฐประหาร ๒๕๕๗ “ดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อไป ในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ ๔-๕ ปี” อ้างว่าตนมองไม่เห็น คนนอก อื่นๆ ที่เหมาะสม


ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ คนนี้เคยดำรงตำแหน่งรอง ผบ.ทบ. และเป็นผู้ช่วย ผอ. ศอฉ. ที่สั่งใช้กระสุนจริงเข้าสลายการชุมนุม ราชประสงค์ ๕๓
นักการเมืองอีกคนจากพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่ทหารช่วยตั้งในค่าย ราบ ๑๑ ที่สั่งฆ่าประชาชนตามหน้าที่เมื่อปี ๕๓ นายถาวร เสนเนียม หนึ่งในแกนนำ กปปส. พวกเป่านกหวีดปิดประเทศสร้างสถานการณ์คุกรุ่นเรียกทหารมายึดอำนาจ

เขาขานรับเสริมปฏิบัติการสร้างนั่งห้างให้ประยุทธ์อยู่ยาวอีกอย่างน้อยสี่ซ้าห้าปี อ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ปี ๒๕๖๐ กำหนดให้ต้องมีนายกฯ คนนอกอยู่แล้ว ในเมื่อ คสช. มีเสียงวุฒิสภาแต่งตั้ง ๒๕๐ คน ต้องการเสียงจาก ส.ส. ของพรรคการเมืองอีกเพียง ๑๒๖ เสียงก็เป็นผู้ตั้งรัฐบาลได้แล้ว

นายถาวรจึงสนับสนุนข้อเสนอของนายสุเทพให้ผลักดัน พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ ต่อไปอีก พร้อมทั้งช่วยผลักดันให้ กปปส.กลับเข้าพรรคประชาธิปัตย์ “สู่การเมือง” อีกครั้ง ดังที่นายสุเทพพูดไว้

ปชป. จะได้เป็น ข้ารองบู้ท ให้พล.อ.ปรายู้ธครองเมืองนานๆ