เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ ยื่นหนังสือ “ปิยะสกล” ขอประชาชนมีส่วนร่วมแก้ กม.บัตรทอง
ภาพจาก มติชน
ไม่ยกเลิก 30 บาทก็จริง แต่กำลังจะแก้กฎหมายลดสิทธิประชาชนแทน
Mon, 2017-05-29 22:48
ที่มา ประชาไท
โดย ประสาร ประดิษฐโสภณ
เครือข่ายนักสื่อสารชุมชน
นับตั้งแต่ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุขและประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ดบัตรทอง) ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขกฎหมายบัตรทองหรือ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาต พ.ศ.2545 ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 ข่าวความคืบหน้าของการแก้ไขปรากฎผ่านสื่อน้อยมาก นั่นเพราะคณะกรรมการฯ ชุดนี้ทราบดีว่าหากเปิดเผยความเคลื่อนไหวของการแก้ไขจะเกิดแรงต่อต้านที่รุนแรงตามมาก และทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาล คสช.ต่อสิทธิ 30 บาทเสียหาย จึงทำให้ช่วงที่ผ่านมาประชาชนรับรู้ความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายบัตรทองที่เกี่ยวพันโดยตรงกับประชาชนน้อยมาก
กระทั่งไฟท์บังคับเมื่อคณะกรรมการฯ ต้องรายงานเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกว่าบอร์ดบัตรทอง (แม้สื่อจะเรียกว่าบอร์ด สปสช. แต่ในฐานะประชาชนเห็นว่านี่ไม่ใช่บอร์ดของสำนักงานแต่เป็นบอร์ดที่เป็นตัวแทนของประชาชน)
ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่าบอร์ดบัตรทองนั้นถ่ายทอดสดให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจร่วมรับฟังด้วย วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นวันประชุมบอร์ด มีวาระรายงานความก้าวหน้าเรื่องแก้ไขกฎหมายบัตรทองให้บอร์ดบัตรทองรับทราบ สื่อที่รอคอยเรื่องนี้มานานจึงรายงานทันทีว่ามีประเด็นใดบ้างที่ถูกแก้ไข และนั่นอาจจะเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่ประชาชนได้รับรู้ว่าจะเกิดอะไรบ้างกับกฎหมายบัตรทองนี้
การแก้ไขกฎหมายบัตรทองนี้ตั้งเป้าให้เสร็จภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่าร่างแรกมีหน้าตาอย่างไร มีประเด็นใดบ้างที่ถูกปรับเปลี่ยน และจะส่งผลกระทบด้านบวกหรือลบกับประชาชนอย่างไร
ท่ามกลางกระแสข่าวล้มบัตรทอง ยกเลิก 30 บาทที่ถาโถมมาเป็นระยๆ ตั้งแต่มีรัฐบาล คสช.นั้น ได้ทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจว่ารัฐบาลจะทำให้สิทธิ 30 บาทดีขึ้นได้อย่างไร ข้อกังขาของประชาชนคือ ไม่ยกเลิก 30 บาท แต่กำลังจะทำให้ 30 บาทแย่ลงด้วยการลิดรอนสิทธิของประชาชน และเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายที่ทำอย่างปกปิด ก็ทำให้ความระแวงนี้ขยายวงกว้าง
ร่างกฎหมายที่กำลังแก้ไขอยู่นี้มีประเด็นที่ลิดรอนสิทธิประชาชนเต็มๆ 2 ประการ นั่นคือ
1.เพิกเฉยการแก้ไขกฎหมายให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาที่จำเป็น
นับตั้งแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามา ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาจำเป็นแต่มีราคาแพง ด้วยหลักการบริหารจัดการที่บอร์ดบัตรทองให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยารวมได้ แต่เรื่องนี้ถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ให้บริการมาโดยตลอด แม้จะมีการพิสูจน์ว่าประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดงบประมาณซื้อยาลงได้ถึง 50-80% ก็ตาม ล่าสุดคือการมีคำสั่งจาก คตร.ห้ามไม่ให้ สปสช.ทำหน้าที่นี้ โดยบอกว่ากฎหมายไม่อนุญาตให้ทำได้ แต่ปรากฎว่าเมื่อสั่งห้ามไปแล้ว โรงพยาบาลและผู้ป่วยได้รับความเดือดร้อน คสช.จึงกลับลำด้วยการออกคำสั่งมาตรา 44 ให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาได้
และเมื่อ รมว.สาธารณสุขตั้งคณะกรรมการแก้ไขกฎหมาย โดยหลักการเมื่อประชาชนได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ แต่กฎหมายไม่ระบุให้ทำได้ ก็ควรแก้ไขกฎหมายให้ทำได้ เรื่องก็จบ ผู้ป่วยได้ประโยชน์ โรงพยาบาลทำงานได้เต็มที่ ไม่ต้องพะวงเรื่องการบริหารจัดการยาว่าจะมีพอให้ผู้ป่วยหรือไม่
แต่เรื่องไม่เป็นเช่นนั้น คณะกรรมการแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ได้แก้ไขให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาได้ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ควรทำไม่ใช่แค่ซื้อยา แต่ต้องมีการจัดระบบให้ รพ.มียาใช้ ผู้ป่วยเข้าถึงยา
การทำหน้าที่จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่ สปสช.ทำหน้าที่นี้โดยซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมมาตั้งแต่ ปี 2553 นั้น ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ซื้อเท่านั้น แต่มีการบริหารจัดการเพื่อให้ รพ.มียาและเวชภัณฑ์นั้นใช้และเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาในทุกสถานการณ์ โดยดำเนินการในรูปแบบ VMI หรือการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกับองค์การเภสัชกรรม
การจัดหายาระดับประเทศ (Central procurement) นอกจากจะทำให้สามารถต่อรองราคาลงได้ 50-80% และยังมีการจัดระบบการขนส่งยาที่เหมาะสม ถึงแม้ในพื้นที่ห่างไกล หรือในช่วงสถานการณ์พิเศษ เช่น ภัยพิบัติ น้ำท่วม ลดภาระหน่วยบริการในการจัดหาและสำรองยาและที่สำคัญ คือทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นในเวลาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนทุกครั้งคือ กรณีน้ำท่วม ผู้ป่วยล้างไตในพื้นที่น้ำท่วมไม่เคยขาดน้ำยาล้างไต เพราะมีการบริหารจัดระบบขนส่งยารองรับ ต่างกันกับกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาล ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ โรงพยาบาลยังมีปัญหาแม้กระทั่งน้ำเกลือที่ใช้กับผู้ป่วย แต่ละโรงพยาบาลต้องจัดการขอยืมน้ำเกลือกันเอง มีบ้างไม่มีบ้างก็ทำกันไปตามยถากรรม ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่ไม่เคยมีการแก้ไข
หรือเมื่อเร็วๆ นี้ HRIG (อิมมูโนโกลบุลินที่ให้กับผู้ป่วยภายหลังการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ เมื่อร่วมกับการให้วัคซีน) ขาดแคลนทั่วประเทศ เจ้าภาพอย่าง สธ.ก็ไม่จัดการเรื่องนี้ ปล่อยให้แต่ละโรงพยาบาลเผชิญชะตากรรมวิ่งยืมยากันเอง เมื่อยืมไม่ได้ก็ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปอีกโรงพยาบาลหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ยังไม่มียา นั่นหมายความต้องปล่อยคนไข้ไปตามยถากรรมทั้งที่เป็นระบบที่สามารถบริหารจัดการได้
ล่าสุดมียาหลายตัวขาด ก็ยังไม่สามารถจัดซื้อมาได้ ปล่อยให้โรงพยาบาลแก้ไขกันเอง ทั้งที่หากจัดระบบแบบที่ สปสช.ทำกับกลุ่มยาที่จัดซื้อ ก็แก้ปัญหาได้แล้ว
แบบนี้จะเชื่อใจได้อย่างไรว่าจะดีไม่น้อยไปกว่าเดิม และอีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปีงบประมาณ 2560 เริ่มปีงบประมาณใหม่ 2561 แล้ว สธ.วางแผนเรื่องนี้ไว้อย่างไร จองยาไว้แล้วหรือยัง ประมาณการขั้นต่ำในการซื้อไว้หรือยัง ถ้ายังไม่ทำ รับรองได้ว่าปี 2561 โรงพยาบาลและผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนยาแน่นอน
เรื่องพวกนี้คนนอกกระทรวงสาธารณสุขไม่เคยรู้ว่าบริหารจัดการกันอย่างไร คนทำงานที่อยู่หน้างานจริงๆ ไม่มีใครกล้าออกมาพูด เพราะกลัวผลกระทบ แม้ รมว.สาธารณสุขจะยืนยันว่าในปี 2561 ที่จะให้ สธ.ทำหน้าที่นี้แทน ผู้ป่วยจะต้องได้รับบริการเท่าเดิมหรือดีกว่า แต่จะมีอะไรการันตีได้ ในเมื่อทุกวันนี้ สธ.ยังไม่เคยแก้ปัญหายาและเวชภัณฑ์ที่ยังมีปัญหาอยู่
น่ากังขาว่า ในเมื่ออยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายบัตรทอง ทำไมจึงไม่แก้ให้ สปสช.ทำหน้าที่นี้ได้ทั้งที่เป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วว่า รพ.และประชาชนได้รับประโยชน์จริงๆ แต่กลับไปแก้ไขเรื่องอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อลิดรอนสิทธิประชาชน เพราะมองว่า 30 บาทคือภาระ ทั้งที่องค์การอนามัยโลกและประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชน เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน มองว่านี่คือการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติ
เมื่อมองว่าเป็นภาระ รัฐบาลจึงต้องการลดภาระนี้ด้วยการลิดรอนสิทธิประชาชน โดยทำในเรื่องที่ 2 คือ
2.เปลี่ยนบอร์ดที่เป็นตัวแทนประชาชน เป็นบอร์ดที่ลิดรอนสิทธิประชาชนแทน
การเปลี่ยนบอร์ดบัตรทองที่มีเจตนารมณ์สำคัญให้ทำหน้าที่เป็นบอร์ดของประชาชนให้กลายเป็นบอร์ดของตัวแทนผู้ให้บริการไปแทน ด้วยข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขและตัวแทนวิชาชีพใน 2 ประเด็นสำคัญคือ 1.เพิ่มผู้แทนโรงพยาบาลแต่ละระดับและแต่ละสังกัดอีกรวมเป็น 7 คนเข้าไปในในบอร์ด และ 2.ให้ปลัด สธ.เป็นรองประธานบอร์ดบัตรทอง ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่วนใหญ่กลายเป็นมติ ขณะที่เสียงของกรรมการจากภาคประชาชน 2 คนที่เป็นเสียงข้างน้อยไม่ได้รับความสำคัญ ทั้งที่เรื่องนี้ควรพิจารณากันบนหลักการที่ถูกต้อง ไม่ใช่การใช้เสียงส่วนมาก
จากสถานการณ์นี้ก็สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า แต่ละกลุ่มเสนอผลประโยชน์เพื่อกลุ่มของตัวเอง จงใจละเลยประโยชน์ของประชาชนโดยรวม
ถ้าเปรียบเทียบกับบริษัท กรรมการในบอร์ดคือตัวแทนของผู้ถือหุ้น บอร์ดบัตรทอง กรรมการก็คือตัวแทนของประชาชน บอร์ดบัตรทองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กรรมการที่เป็นตัวแทนประชาชนมีแค่ 5 คน และอีก 4 คนที่เป็นตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตามโครงสร้างก็จะถูกปรับเหลือ 3 ที่เหลือเป็นหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข และผู้ทรงคุณวุฒิ แค่สัดส่วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันการจะพิจารณาทำอะไรเพื่อประชาชนก็ยากเย็นแสนเข็ญอยู่แล้ว เพราะจะถูกขัดขวางโดยตัวแทนของวิชาชีพ การยิ่งเพิ่มให้มีกรรมการที่เป็นตัวแทนโรงพยาบาลก็ทำให้บอร์ดนี้หลุดจากการเป็นตัวแทนของประชาชน และกลายเป็นตัวแทนของเจ้าของโรงพยาบาลและผู้ให้บริการไปเสีย ซึ่งนี่คือการบ่อนทำลายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทางอ้อม และลิดรอนสิทธิประชาชนไปเรื่อยๆ
ขณะที่การให้ปลัด สธ.ทำหน้าที่เป็นบอร์ดบัตรทอง ก็เป็นเรื่องผิดหลักการแบ่งแยกผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการอย่างยิ่ง
บอร์ดบัตรทองที่ควรจะเป็นปากเสียงแทนประชาชน กำลังจะถูกทำให้กลายเป็นปากเสียงของโรงพยาบาลแทน หากปล่อยให้เกิดการแก้ไขเรื่องนี้ สิทธิประชาชนในระบบ 30 บาทจะด้อยไปเรื่อยๆ เพราะตัวแทนโรงพยาบาลย่อมต้องนึกถึงผลประโยชน์ของโรงพยาบาลเป็นอันดับแรก ผลประโยชน์นั้นมีตั้งแต่ โรงพยาบาลให้บริการไม่ไหว งบประมาณน้อย ขอให้บริการแค่นี้ เป็นต้น
โดย ประสาร ประดิษฐโสภณ
เครือข่ายนักสื่อสารชุมชน
นับตั้งแต่ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สาธารณสุขและประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ดบัตรทอง) ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขกฎหมายบัตรทองหรือ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาต พ.ศ.2545 ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 ข่าวความคืบหน้าของการแก้ไขปรากฎผ่านสื่อน้อยมาก นั่นเพราะคณะกรรมการฯ ชุดนี้ทราบดีว่าหากเปิดเผยความเคลื่อนไหวของการแก้ไขจะเกิดแรงต่อต้านที่รุนแรงตามมาก และทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาล คสช.ต่อสิทธิ 30 บาทเสียหาย จึงทำให้ช่วงที่ผ่านมาประชาชนรับรู้ความคืบหน้าการแก้ไขกฎหมายบัตรทองที่เกี่ยวพันโดยตรงกับประชาชนน้อยมาก
กระทั่งไฟท์บังคับเมื่อคณะกรรมการฯ ต้องรายงานเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งต่อไปนี้จะขอเรียกว่าบอร์ดบัตรทอง (แม้สื่อจะเรียกว่าบอร์ด สปสช. แต่ในฐานะประชาชนเห็นว่านี่ไม่ใช่บอร์ดของสำนักงานแต่เป็นบอร์ดที่เป็นตัวแทนของประชาชน)
ทั้งนี้เป็นที่รู้กันดีว่าบอร์ดบัตรทองนั้นถ่ายทอดสดให้สื่อมวลชนและประชาชนที่สนใจร่วมรับฟังด้วย วันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นวันประชุมบอร์ด มีวาระรายงานความก้าวหน้าเรื่องแก้ไขกฎหมายบัตรทองให้บอร์ดบัตรทองรับทราบ สื่อที่รอคอยเรื่องนี้มานานจึงรายงานทันทีว่ามีประเด็นใดบ้างที่ถูกแก้ไข และนั่นอาจจะเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือนที่ประชาชนได้รับรู้ว่าจะเกิดอะไรบ้างกับกฎหมายบัตรทองนี้
การแก้ไขกฎหมายบัตรทองนี้ตั้งเป้าให้เสร็จภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการเปิดเผยว่าร่างแรกมีหน้าตาอย่างไร มีประเด็นใดบ้างที่ถูกปรับเปลี่ยน และจะส่งผลกระทบด้านบวกหรือลบกับประชาชนอย่างไร
ท่ามกลางกระแสข่าวล้มบัตรทอง ยกเลิก 30 บาทที่ถาโถมมาเป็นระยๆ ตั้งแต่มีรัฐบาล คสช.นั้น ได้ทำให้ประชาชนไม่ไว้ใจว่ารัฐบาลจะทำให้สิทธิ 30 บาทดีขึ้นได้อย่างไร ข้อกังขาของประชาชนคือ ไม่ยกเลิก 30 บาท แต่กำลังจะทำให้ 30 บาทแย่ลงด้วยการลิดรอนสิทธิของประชาชน และเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายที่ทำอย่างปกปิด ก็ทำให้ความระแวงนี้ขยายวงกว้าง
ร่างกฎหมายที่กำลังแก้ไขอยู่นี้มีประเด็นที่ลิดรอนสิทธิประชาชนเต็มๆ 2 ประการ นั่นคือ
1.เพิกเฉยการแก้ไขกฎหมายให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาที่จำเป็น
นับตั้งแต่มีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามา ผู้ป่วยได้เข้าถึงยาจำเป็นแต่มีราคาแพง ด้วยหลักการบริหารจัดการที่บอร์ดบัตรทองให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยารวมได้ แต่เรื่องนี้ถูกต่อต้านจากกลุ่มผู้ให้บริการมาโดยตลอด แม้จะมีการพิสูจน์ว่าประชาชนได้รับผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดงบประมาณซื้อยาลงได้ถึง 50-80% ก็ตาม ล่าสุดคือการมีคำสั่งจาก คตร.ห้ามไม่ให้ สปสช.ทำหน้าที่นี้ โดยบอกว่ากฎหมายไม่อนุญาตให้ทำได้ แต่ปรากฎว่าเมื่อสั่งห้ามไปแล้ว โรงพยาบาลและผู้ป่วยได้รับความเดือดร้อน คสช.จึงกลับลำด้วยการออกคำสั่งมาตรา 44 ให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาได้
และเมื่อ รมว.สาธารณสุขตั้งคณะกรรมการแก้ไขกฎหมาย โดยหลักการเมื่อประชาชนได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ แต่กฎหมายไม่ระบุให้ทำได้ ก็ควรแก้ไขกฎหมายให้ทำได้ เรื่องก็จบ ผู้ป่วยได้ประโยชน์ โรงพยาบาลทำงานได้เต็มที่ ไม่ต้องพะวงเรื่องการบริหารจัดการยาว่าจะมีพอให้ผู้ป่วยหรือไม่
แต่เรื่องไม่เป็นเช่นนั้น คณะกรรมการแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ได้แก้ไขให้ สปสช.ทำหน้าที่จัดซื้อยาได้ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ควรทำไม่ใช่แค่ซื้อยา แต่ต้องมีการจัดระบบให้ รพ.มียาใช้ ผู้ป่วยเข้าถึงยา
การทำหน้าที่จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ที่ สปสช.ทำหน้าที่นี้โดยซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรมมาตั้งแต่ ปี 2553 นั้น ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ซื้อเท่านั้น แต่มีการบริหารจัดการเพื่อให้ รพ.มียาและเวชภัณฑ์นั้นใช้และเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาในทุกสถานการณ์ โดยดำเนินการในรูปแบบ VMI หรือการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกับองค์การเภสัชกรรม
การจัดหายาระดับประเทศ (Central procurement) นอกจากจะทำให้สามารถต่อรองราคาลงได้ 50-80% และยังมีการจัดระบบการขนส่งยาที่เหมาะสม ถึงแม้ในพื้นที่ห่างไกล หรือในช่วงสถานการณ์พิเศษ เช่น ภัยพิบัติ น้ำท่วม ลดภาระหน่วยบริการในการจัดหาและสำรองยาและที่สำคัญ คือทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาจำเป็นในเวลาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนทุกครั้งคือ กรณีน้ำท่วม ผู้ป่วยล้างไตในพื้นที่น้ำท่วมไม่เคยขาดน้ำยาล้างไต เพราะมีการบริหารจัดระบบขนส่งยารองรับ ต่างกันกับกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาล ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ โรงพยาบาลยังมีปัญหาแม้กระทั่งน้ำเกลือที่ใช้กับผู้ป่วย แต่ละโรงพยาบาลต้องจัดการขอยืมน้ำเกลือกันเอง มีบ้างไม่มีบ้างก็ทำกันไปตามยถากรรม ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่ไม่เคยมีการแก้ไข
หรือเมื่อเร็วๆ นี้ HRIG (อิมมูโนโกลบุลินที่ให้กับผู้ป่วยภายหลังการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า พบว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ เมื่อร่วมกับการให้วัคซีน) ขาดแคลนทั่วประเทศ เจ้าภาพอย่าง สธ.ก็ไม่จัดการเรื่องนี้ ปล่อยให้แต่ละโรงพยาบาลเผชิญชะตากรรมวิ่งยืมยากันเอง เมื่อยืมไม่ได้ก็ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปอีกโรงพยาบาลหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ยังไม่มียา นั่นหมายความต้องปล่อยคนไข้ไปตามยถากรรมทั้งที่เป็นระบบที่สามารถบริหารจัดการได้
ล่าสุดมียาหลายตัวขาด ก็ยังไม่สามารถจัดซื้อมาได้ ปล่อยให้โรงพยาบาลแก้ไขกันเอง ทั้งที่หากจัดระบบแบบที่ สปสช.ทำกับกลุ่มยาที่จัดซื้อ ก็แก้ปัญหาได้แล้ว
แบบนี้จะเชื่อใจได้อย่างไรว่าจะดีไม่น้อยไปกว่าเดิม และอีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปีงบประมาณ 2560 เริ่มปีงบประมาณใหม่ 2561 แล้ว สธ.วางแผนเรื่องนี้ไว้อย่างไร จองยาไว้แล้วหรือยัง ประมาณการขั้นต่ำในการซื้อไว้หรือยัง ถ้ายังไม่ทำ รับรองได้ว่าปี 2561 โรงพยาบาลและผู้ป่วยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนยาแน่นอน
เรื่องพวกนี้คนนอกกระทรวงสาธารณสุขไม่เคยรู้ว่าบริหารจัดการกันอย่างไร คนทำงานที่อยู่หน้างานจริงๆ ไม่มีใครกล้าออกมาพูด เพราะกลัวผลกระทบ แม้ รมว.สาธารณสุขจะยืนยันว่าในปี 2561 ที่จะให้ สธ.ทำหน้าที่นี้แทน ผู้ป่วยจะต้องได้รับบริการเท่าเดิมหรือดีกว่า แต่จะมีอะไรการันตีได้ ในเมื่อทุกวันนี้ สธ.ยังไม่เคยแก้ปัญหายาและเวชภัณฑ์ที่ยังมีปัญหาอยู่
น่ากังขาว่า ในเมื่ออยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายบัตรทอง ทำไมจึงไม่แก้ให้ สปสช.ทำหน้าที่นี้ได้ทั้งที่เป็นเรื่องที่พิสูจน์แล้วว่า รพ.และประชาชนได้รับประโยชน์จริงๆ แต่กลับไปแก้ไขเรื่องอื่นที่มีเป้าหมายเพื่อลิดรอนสิทธิประชาชน เพราะมองว่า 30 บาทคือภาระ ทั้งที่องค์การอนามัยโลกและประเทศที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้ประชาชน เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน มองว่านี่คือการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติ
เมื่อมองว่าเป็นภาระ รัฐบาลจึงต้องการลดภาระนี้ด้วยการลิดรอนสิทธิประชาชน โดยทำในเรื่องที่ 2 คือ
2.เปลี่ยนบอร์ดที่เป็นตัวแทนประชาชน เป็นบอร์ดที่ลิดรอนสิทธิประชาชนแทน
การเปลี่ยนบอร์ดบัตรทองที่มีเจตนารมณ์สำคัญให้ทำหน้าที่เป็นบอร์ดของประชาชนให้กลายเป็นบอร์ดของตัวแทนผู้ให้บริการไปแทน ด้วยข้อเสนอจากกระทรวงสาธารณสุขและตัวแทนวิชาชีพใน 2 ประเด็นสำคัญคือ 1.เพิ่มผู้แทนโรงพยาบาลแต่ละระดับและแต่ละสังกัดอีกรวมเป็น 7 คนเข้าไปในในบอร์ด และ 2.ให้ปลัด สธ.เป็นรองประธานบอร์ดบัตรทอง ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่วนใหญ่กลายเป็นมติ ขณะที่เสียงของกรรมการจากภาคประชาชน 2 คนที่เป็นเสียงข้างน้อยไม่ได้รับความสำคัญ ทั้งที่เรื่องนี้ควรพิจารณากันบนหลักการที่ถูกต้อง ไม่ใช่การใช้เสียงส่วนมาก
จากสถานการณ์นี้ก็สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า แต่ละกลุ่มเสนอผลประโยชน์เพื่อกลุ่มของตัวเอง จงใจละเลยประโยชน์ของประชาชนโดยรวม
ถ้าเปรียบเทียบกับบริษัท กรรมการในบอร์ดคือตัวแทนของผู้ถือหุ้น บอร์ดบัตรทอง กรรมการก็คือตัวแทนของประชาชน บอร์ดบัตรทองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กรรมการที่เป็นตัวแทนประชาชนมีแค่ 5 คน และอีก 4 คนที่เป็นตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งตามโครงสร้างก็จะถูกปรับเหลือ 3 ที่เหลือเป็นหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบวิชาชีพสาธารณสุข และผู้ทรงคุณวุฒิ แค่สัดส่วนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันการจะพิจารณาทำอะไรเพื่อประชาชนก็ยากเย็นแสนเข็ญอยู่แล้ว เพราะจะถูกขัดขวางโดยตัวแทนของวิชาชีพ การยิ่งเพิ่มให้มีกรรมการที่เป็นตัวแทนโรงพยาบาลก็ทำให้บอร์ดนี้หลุดจากการเป็นตัวแทนของประชาชน และกลายเป็นตัวแทนของเจ้าของโรงพยาบาลและผู้ให้บริการไปเสีย ซึ่งนี่คือการบ่อนทำลายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทางอ้อม และลิดรอนสิทธิประชาชนไปเรื่อยๆ
ขณะที่การให้ปลัด สธ.ทำหน้าที่เป็นบอร์ดบัตรทอง ก็เป็นเรื่องผิดหลักการแบ่งแยกผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการอย่างยิ่ง
บอร์ดบัตรทองที่ควรจะเป็นปากเสียงแทนประชาชน กำลังจะถูกทำให้กลายเป็นปากเสียงของโรงพยาบาลแทน หากปล่อยให้เกิดการแก้ไขเรื่องนี้ สิทธิประชาชนในระบบ 30 บาทจะด้อยไปเรื่อยๆ เพราะตัวแทนโรงพยาบาลย่อมต้องนึกถึงผลประโยชน์ของโรงพยาบาลเป็นอันดับแรก ผลประโยชน์นั้นมีตั้งแต่ โรงพยาบาลให้บริการไม่ไหว งบประมาณน้อย ขอให้บริการแค่นี้ เป็นต้น
และนี่คือหายนะครั้งสำคัญของระบบ 30 บาท การแก้ไขกฎหมายบัตรทองเป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวพันกับชีวิตของประชาชน แต่กลับอยู่ในมือของคนไม่กี่กลุ่ม และกีดกันการมีส่วนร่วมของประชาชน สิ่งที่ต้องจับตาและเฝ้าระวังคือ การจัดประชาพิจารณ์แก้กฎหมายบัตรทองที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น จะเป็นเพียงแค่พิธีกรรมเพื่อเป็นตราประทับให้กฎหมายบัตรทองฉบับลดสิทธิประชาชนนี้หรือไม่.
ooo
ฟังเสียงผู้ใช้สิทธิบัตรทอง ก่อนรัฐจะปรับปรุง
ที่มา คมชัดลึก
ปัจจุบันมีผู้ใช้สิทธิบัตรทองราว 49 ล้านคน!!! เมื่อรัฐบาลจะมีแนวนโยบายในการปรับปรุงบัตรทองไปในทิศทางไหนจึงจำเป็นต้องฟังเสียงจากผู้ใช้สิทธิด้วย
ตลอด 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2545 ที่ประเทศไทยมี “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” หรือที่เรียกกันในยุคแรกว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ก่อนที่ปัจจุบันจะเปลี่ยนชื่อเล่นเป็น “บัตรทอง” ได้เพิ่มการเข้าถึงสิทธิรักษาพยาบาลให้แก่คนไข้จำนวนมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้สิทธิบัตรทองราว 49 ล้านคน!!! เมื่อรัฐบาลจะมีแนวนโยบายในการปรับปรุงบัตรทองไปในทิศทางไหนจึงจำเป็นต้องฟังเสียงจากผู้ใช้สิทธิด้วย
เอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ ดีไซเนอร์อิสระ อายุ 41 ปี ผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย หนึ่งในผู้ใช้สิทธิบัตรทอง บอกว่า โรคฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่าย เกิดจากกรรมพันธุ์ในลูกชาย และเป็นตั้งแต่เกิด จะมีอาการเลือดออกในข้อซ้ำซาก หากไม่ได้รับยาเลือดจะออกไม่หยุด
เมื่อ 20 ปีก่อนตอนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพฯให้คนไทย คนไข้โรคนี้ก็ต้องขวนขวายหายาเอง ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพง ขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้มากนัก การเข้าถึงการรักษาจึงมีน้อย จนเมื่อ 10 ปีก่อนหลังมีหลักประกันสุขภาพฯ วันหนึ่ง นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในเวลานั้น ได้มาร่วมงานวันฮีโมฟีเลีย และบอกว่า“จะพยายามช่วยให้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียได้รับสิทธิการรักษาจากหลักประกันสุขภาพฯ”
เอกวัฒน์ เล่าว่า จากนั้นมาคนไข้ในสิทธิบัตรทองจึงได้รับการตรวจวินิจฉัยและได้รับยามาใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง เป็นการเปลี่ยนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคนี้อย่างมาก เนื่องจากคนไข้โรคนี้หากกระแทกโดนอะไรนิดหน่อยก็ต้องไปรอแพทย์ตรวจและรับยาบางครั้งใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมง แต่ในช่วงเวลานั้นเลือดก็จะออกตลอดเวลา
เมื่อโรคนี้เข้าสู่สิทธิบัตรทอง คนไข้จะได้รับยาจากแพทย์มาไว้ที่บ้าน เมื่อมีอาการเลือดออกก็สามารถฉีดยาได้เองตั้งแต่เลือดเริ่มออกน้อยๆ เพราะหากเลือดออกมากก็จะยิ่งต้องใช้ยาปริมาณมากขึ้น จึงควรรีบฉีดยาตั้งแต่เลือดยังออกไม่มาก ปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เป็นศูนย์สั่งจ่ายยาฮีโมฟีเลียให้คนไข้สิทธิบัตรทองได้ 49 แห่งทั่วประเทศ โดยเมื่อคนไข้ไปพบแพทย์ก็ได้รับยามาไว้ที่บ้าน บางคนรับ 3 เดือนครั้ง แต่บางคนก็รับบ่อยทุก 1 เดือนขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
“เมื่อระบบจัดให้คนไข้มียาใช้ที่บ้านได้บวกกับคนไข้ไม่ต้องเสียค่ายาเอง โดยปัจจุบันบัตรทองจ่ายให้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นรุนแรงเดือนละราว 3 หมื่นบาทต่อคน หากเทียบกับต่างประเทศอาจจะไม่มาก แต่ช่วยประคับประคองชีวิตคนไข้ให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวัน ทำกิจกรรมต่างๆ และทำงานได้ จากการเข้าถึงบริการการรักษาในสิทธิบัตรทอง” เอกวัฒน์ กล่าวด้วยความตื้นตัน
การปรับปรุงระบบบัตรทอง เอกวัฒน์ มองว่า หากมีการปรับให้ดีขึ้นและไม่กระทบกับสิทธิของคนไข้ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ดี ในส่วนของโรคฮีโมฟีเลียได้รับการเพิ่มสิทธิประโยชน์และงบประมาณทุกปี แต่ที่สำคัญ อยากให้มีการเพิ่มสิทธิให้แก่ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียกลุ่มหนึ่งที่เมื่อใช้ยาที่ได้ตามสิทธิแล้วร่างกายสร้างแอนติบอดีขึ้นมา จึงไม่สามารถใช้ยาชนิดนั้นได้ จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นที่มีราคาแพงขึ้นกว่ายาเดิมถึง 3 เท่า แม้สิทธิบัตรทองพยายามช่วยตรงจุดนี้แต่ยังไม่ครอบคลุมเต็มที่
ไม่ต่างจาก สุภาวดี เชื้อสิงห์โต อายุ 59 ปี ผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งใช้สิทธิบัตรทองเช่นเดียวกัน เล่าว่า เดิมที่บ้านมีอาชีพรับเหมาก่อสร้างและทำทัวร์ แต่หลังจากสามีเสียชีวิตก็ไม่ได้มีอาชีพอะไร อาศัยเงินที่พอมีเก็บอยู่ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งบ้านตั้งอยู่ใน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงมีสิทธิรักษาพยาบาลบัตรทองอยู่ที่โรงพยาบาลปากเกร็ด ช่วงเวลาหนึ่งส่งต่อไปเข้ารับบริการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ตอนนั้นอายุ 46 ปี มีอาการหายใจดังฟี้ดๆ เมื่อตรวจสุขภาพประจำปีแพทย์จึงส่งตรวจหัวใจ และรับยามารับประทานเรื่อยๆ เป็นเวลา 1 ปี
แต่เพราะโรงพยาบาลรามาฯ ค่อนข้างไกลจากบ้าน ทำให้เหนื่อยเมื่อต้องเดินทางไปโรงพยาบาล จึงขอย้ายมาเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอยู่บริเวณแยกแครายแทน โดยใช้สิทธิบัตรทองเช่นเดิม เนื่องจากมีหนังสือส่งตัวจากโรงพยาบาลปากเกร็ดที่เป็นโรงพยาบาลตามสิทธิ์ เมื่อมารักษาที่นี่แพทย์บอกว่าต้องผ่าตัด เนื่องจากลิ้นหัวใจรั่ว ก็เข้าคิวรอผ่าตัดเป็นเวลา 1 ปี
สุภาวดีบอกว่า เมื่อทราบว่าต้องผ่าตัดก็เข้าไปสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายกับเจ้าหน้าที่ เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองควรเตรียมความพร้อมอย่างไร ต้องจ่ายส่วนต่างเท่าไหร่ ในใจก็กังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะไม่ได้มีเงินเก็บมากมายอะไรนัก แต่เจ้าหน้าที่บอก 3.8 แสนบาท แต่โชคดีได้รับแจ้งว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ครอบคลุมตามสิทธิบัตรทอง คนไข้จึงไม่ต้องจ่ายเงินเอง
“ก่อนเข้าไปถามเรื่องค่าใช้จ่ายก็กังวลนิดหน่อย คิดว่าจะอยู่จะไปจะได้รักษาหรือไม่ก็ตอนนี้ เพราะลำพังตัวเองคงไม่มีปัญญาหาเงินจำนวนหลายแสนมาเป็นค่าผ่าตัด ต้องตายแน่ถ้าไม่มีเงินจากบัตรทองมาช่วยเหลือ เมื่อบัตรทองดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายจึงเหมือนช่วยคนไข้ตายแล้วให้เกิดใหม่” สุภาวดีสะท้อนถึงบัตรทอง
หลังจากสุภาวดีเข้ารับการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจแล้ว ต้องกินยาละลายลิ่มเลือดเป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นแพทย์นัดติดตามอาการทุก 6 เดือน โดยทุกครั้งที่เข้าใช้บริการก็ยังคงใช้สิทธิบัตรทอง ทุกวันนี้สุภาวดีเป็นจิตอาสาบริการคนไข้ที่โรงพยาบาล เช่น สระผม ตัดผม และร้องเพลง
สุภาวดี มีข้อเสนอต่อการปรับปรุงบัตรทองว่า ได้รับการฝากมาจากเพื่อนๆ ที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจหลายๆ คนว่า อยากให้พิจารณาเรื่องการส่งตัวกลับไปรักษายังโรงพยาบาลตามสิทธิหลังเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลที่ถูกส่งตัวมา เนื่องจากบางครั้งยาที่ได้จากโรงพยาบาลที่ผ่าตัดจะไม่เหมือนกับยาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ ทำให้คนไข้ไม่มีความต่อเนื่องในการได้ยาเดิม บางคนมีอาการเหนื่อยมากขึ้นเมื่อได้ยาใหม่จากโรงพยาบาลตามสิทธิ จึงอยากให้แก้ตรงจุดนี้ให้คนไข้สามารถไปรับยาจากโรงพยาบาลที่ผ่าตัดได้ไม่ต้องกลับมารับยาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ
นี่เป็นเสียงสะท้อนหนึ่งจากผู้ใช้บริการสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้คนไข้ได้เข้าถึงการรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย
ติดตามซีรีส์บัตรทอง ตอน 2 บัตรทอง...ผลกระทบต่อระบบสาธารณสุข
จาก คมชัดลึก