มิถุนายน 2559 นายกรัฐมนตรีกำชับหลายหน่วยงาน พัฒนา 'รุกขกร' ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลต้นไม้ในเมืองให้ปลอดภัยและสวยงาม ผ่านไปแล้วเกือบ 1 ปี ยังมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่หลายคนโทษว่าต้นไม้เป็นสาเหตุสำคัญ โศกนาฏกรรมในซอยชิดลมอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่และกับใครก็ได้ หากระบบบริหารจัดการต้นไม้ใหญ่ ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรยังไม่ก้าวไปไหน วอยซ์ทีวีพูดคุยกับนักวิชาการวนศาสตร์ ผู้เห็นความสำคัญของต้นไม้ในเมือง มากกว่าการให้ก๊าซออกซิเจน แต่ช่วยเยียวยาจิตใจที่เคร่งเครียด
'ต้นไม้ในเมือง' มากกว่าให้ออกซิเจน คือช่วยเยียวยาจิตใจ
By ชยากรณ์ กำโชค
17 พฤษภาคม 2560
Voice TV
อาจารย์ฟิล์ม นักวิชาการหนุ่ม คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรฯ อดีตข้าราชการกรมป่าไม้
“ถ้าคุณบอกว่า โห..ต้นไม้อันตราย ทำให้คนตาย ตัดมันทิ้งซิ ผมก็จะบอกให้คุณหยุดขับรถยนต์ซิ เดินเอา จะได้ไม่เป็นอันตราย” วาทะของ ดร.พรเทพ นักวิชาการคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บอก “วอยซ์ทีวี” หนักแน่นว่า ต้นไม้ในเมืองไม่ใช่วัตถุอันตราย แต่ปัญหาเกิดจากการบริหารจัดการของรัฐ โดยขาดองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญ
“ที่ผ่านมาเราใช้คนงานไปตัดแต่ง ซึ่งไม่ได้ใช้ความรู้วนศาสตร์ หรือรุกขกรรมอย่างถ่องแท้ พอตัดปุ๊บ...ไม่จบ ปัญหาเกิดขึ้นตามมามากมาย ทัศนอุจาด ต้นไม้ตาย โรคเกิดขึ้น การร่วงหล่นที่เกิดจากการตัดแต่งที่ผิดวิธี หน่วยงานรัฐต้องมุ่งเน้นให้เกิดคนที่รับผิดชอบต่อต้นไม้ ที่มีความรู้จริง ในทุกองค์กร ทั้ง กทม. เทศบาล อบต. อย่างน้อยสักคนก็ยังดี”
แม้ไร้พายุพัดกระหน่ำ แต่สภาพที่ป่วยเต็มที่ เป็นเหตุให้ไม้ตระกูลไทรอายุประมาณ 30 ปี ในพื้นที่อาคารอัลม่าลิงค์ ซอยชิดลม ล้มพาดสายสื่อสาร ดึงให้เสาโทรคมนาคมในย่านใจกลางเมืองหล่นทับ ณัชชาพัชร์ สมเจษ หญิงวัย 25 ปี เสียชีวิตทันทีบนรถจักรยานยนต์ ทันทีที่ทราบข่าว อาจารย์พรเทพ เหมือนพงษ์ เดินทางไปที่เกิดเหตุ แม้ไม่ทันเห็นร่องรอยของเหตุการณ์อันน่ากลัว หรือแม้แต่ “ต้นแพะรับบาป” หากสภาพตอที่หลงเหลือ บอกสถานการณ์ของต้นไม้ที่โตในกรุงเทพฯอย่างอาภัพ
“อย่างแรก กลิ่นเน่าชัดเจนมาก ระบบราก โดยเฉพาะรากที่หยั่งลงในแนวนิ่ง ค่อนข้างเสียหายจากการเน่า จากการแช่น้ำ ทำให้ระบบรากในแนวดิ่ง ที่ทำหน้าที่ยึดลำต้น เสียหาย อย่างที่สอง รากที่แผ่ไปด้านข้าง ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบของคอนกรีตและพื้นถนน ซึ่งเป็นกรอบเล็กๆเท่านั้นนั้น ต้นไม้ขนาดใหญ่ ผมเห็นจากภาพ มันสูงมากกว่า 20 เมตร แต่มีพื้นที่รากแค่ 2X2 มันน้อยมากที่เค้าจะยืนต้นใหญ่ขนาดนี้ได้ เค้ายืนต้นใหญ่ได้นานขนาดนี้ เค้าเก่งมากแล้ว เมื่อทนไม่ได้ก็ต้องล้มลง”
“จากข้อมูลที่ผมได้รับคือต้นไม้ขึ้นก่อนตึก คือปลูกไว้แล้วตึกขึ้นทีหลัง พอวันหนึ่งตึกโตเร็วกว่าต้นไม้แล้วโตแข่งกัน ตึกขึ้นบัง ต้นไม้ต้องการแสง ต้นไม้ต้องการแสงแต่โดนดึกบัง มันย่อมเบนออกเพื่อหาแสง พอเบนออกนานเข้า มันเกิดการเอน เอนออก เอนออก พอจุดสมดุลมันเสียไปจุดสมดุลเสีย เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นไม้ล้มลง”
ภาพจาก Google Street View ที่แสดงให้เห็นว่า ต้นไม้เอนตัวไปทางถนน
ประสบการณ์จากการเป็นข้าราชการกรมป่าไม้กว่า 10 ปี ก่อนเป็นอาจารย์สอนภาควิชาวนวัฒนวิทยา ม.เกษตรฯ การันตีความรักที่มีต้นต่อไม้ ทั้งต้นไม้ในป่าและต้นไม้ในเมือง แต่อาจารย์พรเทพบอกว่า ต้นไม้นับหมื่นนับแสนต้นในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องดูแลมากกว่า เพราะกระทบกับคนโดยตรง เขาเปรียบเทียบง่ายๆว่า ถ้าต้นไม้ใหญ่ล้มในป่าเขาใหญ่ ไม่อันตราย แต่ถ้าต้นไม้ใหญ่ล้มในซอยสีลม อันตราย เพราะแจ็กพอตอาจหล่นใส่คนขี่มอเตอร์ไซค์ หรือคนเดินผ่านเมื่อไหร่ก็ได้
ภาครัฐจึงจำเป็นต้องบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ไปพร้อมกับส่งเสริมให้เติบโตเพื่อความรื่นรมย์ของคน นักวิชาการบอกว่า ยิ่งเมืองได้รับการพัฒนา คนยิ่งโหยหาสีเขียวของต้นไม้ เพราะช่วยเยียวยาสภาพจิตใจท่ามกลางความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน ปัจจุบัน คนสิงคโปร์มีพื้นที่สีเขียวเป็นของตัวเอง 70 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน ในขณะที่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 3 ตารางเมตรต่อคน นอกจากปริมาณที่ต่างกันลิบ ยังมีการบริหารจัดการที่เรายังไม่เทียบไม่ติด
“เขามีข้อมูลรายต้นเลย ชื่อต้นอะไร ขนาดเท่าไหร่ มีกี่กิ่ง กิ่งไหนเป็นอันตราย สมควรตัดกิ่ง ซ้าย ขวา ล่างบน แต่เราไม่มีข้อมูลตรงนี้ เราไม่เคยไปอะไรกับมัน เป็นสิ่งที่เราขาด”
“การมีพื้นที่สีเขียว ต้องควบคู่การบริหารจัดการ ไม่ใช่ปล่อยปละ ปละ ละ เลย ให้มันขึ้นตามมีตามเกิด ล้ม หาย ร่วง หลนตามยถากรรม ผลมันก็จะเกิดกับคนกรุงเทพฯ อย่างที่เห็น”
อาจารย์พรเทพ บอกว่า ต้นไม้ในเมืองให้มากกว่าอากาศบริสุทธิ์ แต่ช่วยเยียวยาจิตใจคนเมืองผู้เคร่งเครียด
“ต้นไม้ในเมืองคือทุกอย่าง ฟังก์ชันของต้นไม้เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตั้งแต่ตื่นนอน แน่นอนเราเรียนมาว่า ผลิตออกซิเจน ฟอกอากาศ กักเก็บมลภาวะ ช่วยผลิตน้ำ ช่วยการหมุนเวียนแร่ธาตุ นั่นคือสิ่งที่เค้าสนับสนุนชีวิตมนุษย์ ช่วยสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความรื่นรมย์ โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ในเมือง ที่เคร่งครียดกับการงาน เราโหยหาสีเขียว เราอยากเห็นอะไรเขียวๆ สเปซโล่งๆ มองไปบนต้นไม้เราผ่อนคลาย จิตใจเราโหยหาสิ่งเหล่านี้ คนเมืองทั่วโลกเป็นแบบนี้ ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ มันเป็นสิ่งที่เยียวยาจิตใจ สำคัญกว่าออกซิเจน ไม่มีต้นไม้ออกซิเจนก็มี แต่ต้นไม้เยียวยาจิตใจคนเมืองอย่างเรา”
ก่อนเกิดโศกนาฏกรรมในซอยสีลม พรเทพเปิดเผยว่า คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดตั้ง “เครือข่ายรุกขกรแห่งประเทศไทย” เพื่อพัฒนาศักยภาพคนดูแลต้นไม้โดยเฉพาะในองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งให้ความรู้มากกว่าการตัดต้นไม้ แต่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านผังเมือง สถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อสร้าง “รุกขกร” ผู้ทำให้ต้นไม้ในเมืองยืนต้นอย่างสวยงาม และไม่สร้างผลกระทบกับคน อย่างจริงจังเสียที
นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า เรื่องต้นไม้ไม่ใช่เรื่องเล็ก นาทีที่ 16.10
อาจารย์ฟิล์ม นักวิชาการหนุ่ม คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรฯ อดีตข้าราชการกรมป่าไม้
“ถ้าคุณบอกว่า โห..ต้นไม้อันตราย ทำให้คนตาย ตัดมันทิ้งซิ ผมก็จะบอกให้คุณหยุดขับรถยนต์ซิ เดินเอา จะได้ไม่เป็นอันตราย” วาทะของ ดร.พรเทพ นักวิชาการคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่บอก “วอยซ์ทีวี” หนักแน่นว่า ต้นไม้ในเมืองไม่ใช่วัตถุอันตราย แต่ปัญหาเกิดจากการบริหารจัดการของรัฐ โดยขาดองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญ
“ที่ผ่านมาเราใช้คนงานไปตัดแต่ง ซึ่งไม่ได้ใช้ความรู้วนศาสตร์ หรือรุกขกรรมอย่างถ่องแท้ พอตัดปุ๊บ...ไม่จบ ปัญหาเกิดขึ้นตามมามากมาย ทัศนอุจาด ต้นไม้ตาย โรคเกิดขึ้น การร่วงหล่นที่เกิดจากการตัดแต่งที่ผิดวิธี หน่วยงานรัฐต้องมุ่งเน้นให้เกิดคนที่รับผิดชอบต่อต้นไม้ ที่มีความรู้จริง ในทุกองค์กร ทั้ง กทม. เทศบาล อบต. อย่างน้อยสักคนก็ยังดี”
ต้นไม้ใหญ่หน้า #เซ็นทรัลชิดลม ล้มเกี่ยวเสาไฟฟ้า ทับคนขับรถมอเตอร์ไซค์เสียชีวิตทันที 1 ราย #VoiceNews pic.twitter.com/dL5a3QhJqx— Joe Chonlawit (@JoeChonlawit) May 13, 2017
แม้ไร้พายุพัดกระหน่ำ แต่สภาพที่ป่วยเต็มที่ เป็นเหตุให้ไม้ตระกูลไทรอายุประมาณ 30 ปี ในพื้นที่อาคารอัลม่าลิงค์ ซอยชิดลม ล้มพาดสายสื่อสาร ดึงให้เสาโทรคมนาคมในย่านใจกลางเมืองหล่นทับ ณัชชาพัชร์ สมเจษ หญิงวัย 25 ปี เสียชีวิตทันทีบนรถจักรยานยนต์ ทันทีที่ทราบข่าว อาจารย์พรเทพ เหมือนพงษ์ เดินทางไปที่เกิดเหตุ แม้ไม่ทันเห็นร่องรอยของเหตุการณ์อันน่ากลัว หรือแม้แต่ “ต้นแพะรับบาป” หากสภาพตอที่หลงเหลือ บอกสถานการณ์ของต้นไม้ที่โตในกรุงเทพฯอย่างอาภัพ
“อย่างแรก กลิ่นเน่าชัดเจนมาก ระบบราก โดยเฉพาะรากที่หยั่งลงในแนวนิ่ง ค่อนข้างเสียหายจากการเน่า จากการแช่น้ำ ทำให้ระบบรากในแนวดิ่ง ที่ทำหน้าที่ยึดลำต้น เสียหาย อย่างที่สอง รากที่แผ่ไปด้านข้าง ก็ถูกจำกัดด้วยกรอบของคอนกรีตและพื้นถนน ซึ่งเป็นกรอบเล็กๆเท่านั้นนั้น ต้นไม้ขนาดใหญ่ ผมเห็นจากภาพ มันสูงมากกว่า 20 เมตร แต่มีพื้นที่รากแค่ 2X2 มันน้อยมากที่เค้าจะยืนต้นใหญ่ขนาดนี้ได้ เค้ายืนต้นใหญ่ได้นานขนาดนี้ เค้าเก่งมากแล้ว เมื่อทนไม่ได้ก็ต้องล้มลง”
“จากข้อมูลที่ผมได้รับคือต้นไม้ขึ้นก่อนตึก คือปลูกไว้แล้วตึกขึ้นทีหลัง พอวันหนึ่งตึกโตเร็วกว่าต้นไม้แล้วโตแข่งกัน ตึกขึ้นบัง ต้นไม้ต้องการแสง ต้นไม้ต้องการแสงแต่โดนดึกบัง มันย่อมเบนออกเพื่อหาแสง พอเบนออกนานเข้า มันเกิดการเอน เอนออก เอนออก พอจุดสมดุลมันเสียไปจุดสมดุลเสีย เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ต้นไม้ล้มลง”
ภาพจาก Google Street View ที่แสดงให้เห็นว่า ต้นไม้เอนตัวไปทางถนน
ประสบการณ์จากการเป็นข้าราชการกรมป่าไม้กว่า 10 ปี ก่อนเป็นอาจารย์สอนภาควิชาวนวัฒนวิทยา ม.เกษตรฯ การันตีความรักที่มีต้นต่อไม้ ทั้งต้นไม้ในป่าและต้นไม้ในเมือง แต่อาจารย์พรเทพบอกว่า ต้นไม้นับหมื่นนับแสนต้นในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องดูแลมากกว่า เพราะกระทบกับคนโดยตรง เขาเปรียบเทียบง่ายๆว่า ถ้าต้นไม้ใหญ่ล้มในป่าเขาใหญ่ ไม่อันตราย แต่ถ้าต้นไม้ใหญ่ล้มในซอยสีลม อันตราย เพราะแจ็กพอตอาจหล่นใส่คนขี่มอเตอร์ไซค์ หรือคนเดินผ่านเมื่อไหร่ก็ได้
ภาครัฐจึงจำเป็นต้องบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย ไปพร้อมกับส่งเสริมให้เติบโตเพื่อความรื่นรมย์ของคน นักวิชาการบอกว่า ยิ่งเมืองได้รับการพัฒนา คนยิ่งโหยหาสีเขียวของต้นไม้ เพราะช่วยเยียวยาสภาพจิตใจท่ามกลางความเคร่งเครียดในชีวิตประจำวัน ปัจจุบัน คนสิงคโปร์มีพื้นที่สีเขียวเป็นของตัวเอง 70 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน ในขณะที่คนกรุงเทพฯ มีเพียง 3 ตารางเมตรต่อคน นอกจากปริมาณที่ต่างกันลิบ ยังมีการบริหารจัดการที่เรายังไม่เทียบไม่ติด
“เขามีข้อมูลรายต้นเลย ชื่อต้นอะไร ขนาดเท่าไหร่ มีกี่กิ่ง กิ่งไหนเป็นอันตราย สมควรตัดกิ่ง ซ้าย ขวา ล่างบน แต่เราไม่มีข้อมูลตรงนี้ เราไม่เคยไปอะไรกับมัน เป็นสิ่งที่เราขาด”
“การมีพื้นที่สีเขียว ต้องควบคู่การบริหารจัดการ ไม่ใช่ปล่อยปละ ปละ ละ เลย ให้มันขึ้นตามมีตามเกิด ล้ม หาย ร่วง หลนตามยถากรรม ผลมันก็จะเกิดกับคนกรุงเทพฯ อย่างที่เห็น”
อาจารย์พรเทพ บอกว่า ต้นไม้ในเมืองให้มากกว่าอากาศบริสุทธิ์ แต่ช่วยเยียวยาจิตใจคนเมืองผู้เคร่งเครียด
“ต้นไม้ในเมืองคือทุกอย่าง ฟังก์ชันของต้นไม้เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ตั้งแต่ตื่นนอน แน่นอนเราเรียนมาว่า ผลิตออกซิเจน ฟอกอากาศ กักเก็บมลภาวะ ช่วยผลิตน้ำ ช่วยการหมุนเวียนแร่ธาตุ นั่นคือสิ่งที่เค้าสนับสนุนชีวิตมนุษย์ ช่วยสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ให้ความรื่นรมย์ โดยเฉพาะชีวิตมนุษย์ในเมือง ที่เคร่งครียดกับการงาน เราโหยหาสีเขียว เราอยากเห็นอะไรเขียวๆ สเปซโล่งๆ มองไปบนต้นไม้เราผ่อนคลาย จิตใจเราโหยหาสิ่งเหล่านี้ คนเมืองทั่วโลกเป็นแบบนี้ ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ มันเป็นสิ่งที่เยียวยาจิตใจ สำคัญกว่าออกซิเจน ไม่มีต้นไม้ออกซิเจนก็มี แต่ต้นไม้เยียวยาจิตใจคนเมืองอย่างเรา”
ก่อนเกิดโศกนาฏกรรมในซอยสีลม พรเทพเปิดเผยว่า คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดตั้ง “เครือข่ายรุกขกรแห่งประเทศไทย” เพื่อพัฒนาศักยภาพคนดูแลต้นไม้โดยเฉพาะในองค์กรของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งให้ความรู้มากกว่าการตัดต้นไม้ แต่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านผังเมือง สถาปัตยกรรม และภูมิสถาปัตยกรรม เพื่อสร้าง “รุกขกร” ผู้ทำให้ต้นไม้ในเมืองยืนต้นอย่างสวยงาม และไม่สร้างผลกระทบกับคน อย่างจริงจังเสียที
นายกรัฐมนตรี ย้ำว่า เรื่องต้นไม้ไม่ใช่เรื่องเล็ก นาทีที่ 16.10
ย้อนไปคืนวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทน์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยกล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติในประเด็นการพัฒนาบุคลากร ผู้ทำหน้าที่ดูแลต้นไม้ในเมือง โดยฝากการบ้านให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกจังหวัด กรมทางหลวง ฯลฯ พัฒนารุกขกรหรือ “หมอต้นไม้” เพื่อปลูกป่าในเมืองให้มีคุณภาพ
น่าเสียดายที่ผ่านไปแล้วเกือบ 1 ปี รูปธรรมในการแก้ไขปัญหายังไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ในรายการคืนวันนั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
> นักวิชาการ ม.เกษตร แนะวิธีการตรวจสอบ "ต้นไม้ใหญ่" ด้วยตนเอง
> กฟน. ชี้ 'ต้นไม้ใหญ่' สาเหตุเสาคอนกรีตล้มทับคนตาย
> ต้นไม้ล้มดึงเสาไฟฟ้าโค่นย่านชิดลม ทับคนดับ 1