https://www.youtube.com/watch?v=1uim7BAsHH0
คำสัมภาษณ์ทผญ.พูนศุข พนมยงค์ ก่อนที่จะเสียชีวิตประมาณ 10 วัน
ETCPOOL
Published on May 2, 2014
อ.ปรีดีจากคำบอกเล่าของท่านผู้หญิงพูนศุข : คำสัมภาษณ์ทผญ.พูนศุข พนมยงค์ ก่อนที่จะเสียชีวิตประมาณ 10 วัน
จากเฟซบุ๊ค ครูดุษฏี พนมยงค์
สถาบันปรีดี พนมยงค์ - Pridi Banomyong Institute added a new video: 2 พ.ค. 2559 ครบรอบ 33 ปี วันคล้ายวันถึงแก่อสัญกรรม ของ "ปรีดี ...
May 2 at 5:11pm ·
2 พฤษภาคม 2526
.
.
เป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของท่านอาจารย์ "ปรีดี พนมยงค์"
.
.
ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน อดีตนายกรัฐมนตรี และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
.
ทางเราจึงขอนำช่วงชีวิต "บั้นปลาย" ของท่านอาจารย์ปรีดี ณ ประเทศฝรั่งเศส
ผ่านคำบอกเล่าของท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้ล่วงลับ
.
.
ซึ่่งมีเกร็ดชีวิตต่างๆที่น่าสนใจยิ่ง
เช่นความวิริยะอุตสาหะในการทำงานแม้ยามชราภาพ
โดยเฉพาะเรื่องราวในช่วงสั้นๆหลังการอสัญกรรม ที่ต้องตั้งคำถามกับสังคมไทยสมัยนั้น
(ท่านอาจารย์ปรีดีถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ขณะนั้นพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
.
.
.
เอามาฝากกัน
.
.
.
.
ขอขอบพระคุณ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย
.
ที่มอบโอกาสให้เราได้นำคลิปนี้ออกเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตอีกครั้งหนึ่ง
.
และขอให้ท่านทั้งหลาย จงถือนายปรีดีเป็นแบบอย่าง
.
.
"เพื่อชาติ และราษฎร" อย่างแท้จริง
.
.
.
....................................................
ด้วยความสำนึกต่อคุณประโยชน์ที่ท่านได้สละเวลาทั้งหมดในชีวิตสร้างให้กับประเทศ
.
.
ลงชื่อ ราษฎรไทย และ เจ้าหน้าที่ สถาบันปรีดี พนมยงค์
2 พฤษภาคม 2559
ooo
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ คนดี ผู้ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น
เรื่องข้างล่างเป็นส่วนหนึ่งของบทความ
May 12, 2017
(Excerpt)
ปรีดี, พูนศุข, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ปาล หน้าบ้านอองโตนี ประเทศฝรั่งเศส
คือผู้ “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น”
เมื่ออายุ 86 ปี พูนศุขเขียน ‘คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน’ ไว้ถึงการจัดการงานศพของเธอ โดยในข้อที่ 2 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น” แม้เราไม่อาจทราบได้ว่าทำไมเธอจึงคิดเช่นนั้น แต่หากจะเดา คงเพราะเธอพอใจกับสิ่งที่ได้รับมาแล้วในชีวิต ทั้งในยามสุขและยามทุกข์
สามีของเธอ ซึ่งเป็นมหาบุรุษ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้อนุชนเสมอมา เป็นบุคคลสำคัญของโลกที่องค์การยูเนสโกยกย่องเมื่อคราวครบ 100 ปีชาตกาล (2543) ได้เคยเขียนจดหมายถึงพูนศุข ในโอกาสครบรอบวันแต่งงาน ปี 2511 ว่า
“ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น น้องได้ปฏิบัติหน้าที่ภรรยาที่ดียิ่ง พร้อมด้วยความอุทิศตนเสียสละทุกอย่างเพื่อพี่และเพื่อราษฎรไทย แม้ว่าขณะนี้น้องจะได้รับความลำบากเนื่องจากความอยุติธรรมของศัตรูที่ปองร้าย แต่วันใดวันหนึ่งในภายหน้า คุณความดีของน้องก็จะต้องปรากฏขึ้นแก่มวลราษฎรไทย”
ไม่ง่ายนักที่คนส่วนมากจะเห็นความพิเศษของพูนศุข เพราะตราบจนบัดนี้ คนที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับปรีดีก็ยังมีอยู่ไม่น้อย แต่อย่างไรก็ดี พุทธภาษิตสอนเราว่า “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” และ “ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้วย่อมไม่สูญหาย”
ถ้าพูนศุขรู้อนาคตและเลือกกำหนดชีวิตของตนได้ ผู้เขียนเชื่อว่าเธอก็จะเลือกที่มีชีวิตคู่กับ ปรีดี พนมยงค์ เสมอ แม้จะต้องมีชีวิตที่ผันผวน แบบขึ้นสุดๆ และลงสุดๆ ก็ตาม เพราะอะไรเล่าจะมีคุณค่าไปกว่าการที่ได้ใช้ชีวิตเพื่อผู้อื่น และมีคู่ชีวิตที่คิดและทำแบบเดียวกับเราในเรื่องอันยากจะทำได้นี้
ทั้งปรีดีและพูนศุขมีชีวิตที่คิดถึงบ้านเมืองและผู้อื่นอยู่เสมอ ดังก่อนจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ปาล ลูกชายนั้น พูนศุขเดินทางกลับมาดูใจ ส่วนปรีดียังอยู่ที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ปรีดีได้เปรยกับนักศึกษาไทยคนหนึ่งระหว่างที่เดินเล่นด้วยกันในสวนที่ฝรั่งเศสว่า “ปาลนี่ไม่น่าอายุสั้นเลย ยังไม่ได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มกับที่เกิดมา” เธอย่อมภูมิใจที่มีสามีแบบนี้
ส่วนตัวเธอเองนั้น เมื่อนักข่าวมาสัมภาษณ์ในงานวันเกิดปีที่ 95 อันเป็นปีสุดท้ายของเธอ เขาถามว่าเธออยากได้อะไรเป็นของขวัญวันเกิด คำตอบของเธอไม่มีเรื่องสำหรับตัวเองเลย โดยตอบว่า “เป็นห่วงอนาคตของพวกเด็กๆ เพราะว่าพ่อแม่ต้องไปทำงาน เด็กก็ถูกปล่อย อยากให้พ่อแม่เอาใจใส่กับลูกให้มากๆ ใกล้ชิดลูกให้มากๆ เป็นห่วงเรื่องนี้”
พูนศุขจากโลกนี้ไปในคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของปรีดีพอดี (อนึ่ง ถ้านับอย่างเคร่งครัดก็ต้องว่าเธอถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 12 เพราะเลยเที่ยงคืนของวันที่ 11 มาแล้ว) เขาและเธอคงได้พบกันแล้ว ณ ที่ใดที่หนึ่ง และ 10 ปีที่พูนศุขจากไป เป็น 10 ปีที่เรายังคงคิดถึงชีวิตรักของสามีภรรยาคู่หนึ่งที่ประเสริฐอย่างยากจะหาคู่ใดเปรียบได้
ปรีดี–พูนศุข เมื่อแต่งงานครบ 50 ปี 16 พฤศจิกายน 2521
เธอคือคนดีคนนั้น … ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของมหาบุรุษ ปรีดี พนมยงค์ ทั้งในยามสำเร็จและล้มเหลว และเป็นสตรีผู้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยชีวิตของเธอ !
(Excerpt)
ปรีดี, พูนศุข, ป๋วย อึ๊งภากรณ์, ปาล หน้าบ้านอองโตนี ประเทศฝรั่งเศส
คือผู้ “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น”
เมื่ออายุ 86 ปี พูนศุขเขียน ‘คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน’ ไว้ถึงการจัดการงานศพของเธอ โดยในข้อที่ 2 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น” แม้เราไม่อาจทราบได้ว่าทำไมเธอจึงคิดเช่นนั้น แต่หากจะเดา คงเพราะเธอพอใจกับสิ่งที่ได้รับมาแล้วในชีวิต ทั้งในยามสุขและยามทุกข์
สามีของเธอ ซึ่งเป็นมหาบุรุษ ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้อนุชนเสมอมา เป็นบุคคลสำคัญของโลกที่องค์การยูเนสโกยกย่องเมื่อคราวครบ 100 ปีชาตกาล (2543) ได้เคยเขียนจดหมายถึงพูนศุข ในโอกาสครบรอบวันแต่งงาน ปี 2511 ว่า
“ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น น้องได้ปฏิบัติหน้าที่ภรรยาที่ดียิ่ง พร้อมด้วยความอุทิศตนเสียสละทุกอย่างเพื่อพี่และเพื่อราษฎรไทย แม้ว่าขณะนี้น้องจะได้รับความลำบากเนื่องจากความอยุติธรรมของศัตรูที่ปองร้าย แต่วันใดวันหนึ่งในภายหน้า คุณความดีของน้องก็จะต้องปรากฏขึ้นแก่มวลราษฎรไทย”
ไม่ง่ายนักที่คนส่วนมากจะเห็นความพิเศษของพูนศุข เพราะตราบจนบัดนี้ คนที่ตั้งตัวเป็นศัตรูกับปรีดีก็ยังมีอยู่ไม่น้อย แต่อย่างไรก็ดี พุทธภาษิตสอนเราว่า “ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม” และ “ผลของการที่ก่อสร้างไว้ดีแล้วย่อมไม่สูญหาย”
ถ้าพูนศุขรู้อนาคตและเลือกกำหนดชีวิตของตนได้ ผู้เขียนเชื่อว่าเธอก็จะเลือกที่มีชีวิตคู่กับ ปรีดี พนมยงค์ เสมอ แม้จะต้องมีชีวิตที่ผันผวน แบบขึ้นสุดๆ และลงสุดๆ ก็ตาม เพราะอะไรเล่าจะมีคุณค่าไปกว่าการที่ได้ใช้ชีวิตเพื่อผู้อื่น และมีคู่ชีวิตที่คิดและทำแบบเดียวกับเราในเรื่องอันยากจะทำได้นี้
ทั้งปรีดีและพูนศุขมีชีวิตที่คิดถึงบ้านเมืองและผู้อื่นอยู่เสมอ ดังก่อนจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ปาล ลูกชายนั้น พูนศุขเดินทางกลับมาดูใจ ส่วนปรีดียังอยู่ที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ปรีดีได้เปรยกับนักศึกษาไทยคนหนึ่งระหว่างที่เดินเล่นด้วยกันในสวนที่ฝรั่งเศสว่า “ปาลนี่ไม่น่าอายุสั้นเลย ยังไม่ได้มีโอกาสทำประโยชน์ให้ประเทศชาติคุ้มกับที่เกิดมา” เธอย่อมภูมิใจที่มีสามีแบบนี้
ส่วนตัวเธอเองนั้น เมื่อนักข่าวมาสัมภาษณ์ในงานวันเกิดปีที่ 95 อันเป็นปีสุดท้ายของเธอ เขาถามว่าเธออยากได้อะไรเป็นของขวัญวันเกิด คำตอบของเธอไม่มีเรื่องสำหรับตัวเองเลย โดยตอบว่า “เป็นห่วงอนาคตของพวกเด็กๆ เพราะว่าพ่อแม่ต้องไปทำงาน เด็กก็ถูกปล่อย อยากให้พ่อแม่เอาใจใส่กับลูกให้มากๆ ใกล้ชิดลูกให้มากๆ เป็นห่วงเรื่องนี้”
พูนศุขจากโลกนี้ไปในคืนวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของปรีดีพอดี (อนึ่ง ถ้านับอย่างเคร่งครัดก็ต้องว่าเธอถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 12 เพราะเลยเที่ยงคืนของวันที่ 11 มาแล้ว) เขาและเธอคงได้พบกันแล้ว ณ ที่ใดที่หนึ่ง และ 10 ปีที่พูนศุขจากไป เป็น 10 ปีที่เรายังคงคิดถึงชีวิตรักของสามีภรรยาคู่หนึ่งที่ประเสริฐอย่างยากจะหาคู่ใดเปรียบได้
ปรีดี–พูนศุข เมื่อแต่งงานครบ 50 ปี 16 พฤศจิกายน 2521
เธอคือคนดีคนนั้น … ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ผู้อยู่เบื้องหลังชีวิตของมหาบุรุษ ปรีดี พนมยงค์ ทั้งในยามสำเร็จและล้มเหลว และเป็นสตรีผู้เขียนประวัติศาสตร์ด้วยชีวิตของเธอ !
Posted on July 28, 2010
by anekaud
(https://anekaud.wordpress.com/2010/07/28/คำสั่งท่านผู้หญิงพูนศุ/)
“คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน”
เมื่อแม่สิ้นชีวิต ขอให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1)นำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทันที เมื่อหมอตรวจว่าหมดลมหายใจแล้ว
2)ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น
3)ประกาศทางวิทยุ และลงหนังสือพิมพ์เพื่อแจ้งข่าวให้ญาติมิตรทราบ
4)ไม่มีการสวดอภิธรรม ทั้งนี้ไม่รบกวนญาติมิตรที่ต้องมาร่วมงาน
5)มีพิธีไว้อาลัยที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ โดยนิมนต์พระที่แม่นับถือแสดงธรรมกถา (เช่นเดียวกับที่จัดให้ปาล) และทำบัตรรับหนังสือที่ระลึก
6)ไม่รบกวนญาติมิตร ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ หรือเงินช่วยทำบุญ
7)เมื่อโรงพยาบาลคืนศพมาก็ทำการฌาปนกิจอย่างเรียบง่าย
8)ให้นำอัฐิและอังคารไปลอยที่ปากน้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นสถานที่ๆ แม่เกิด
9)หากมีเงินบ้าง ก็ขอให้บริจาคเป็นทาน แก่มูลนิธิต่างๆ ที่ทำสาธารณกุศล
10)ขอให้ลูกทุกคนปฏิบัติตามที่แม่สั่งไว้อย่างเคร่งครัด ไม่ต้องฟังความเห็นผู้หวังดีทั้งหลาย ลูกๆ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของแม่จงมีความสุข ความเจริญ
พูนศุข พนมยงค์
เขียนไว้ที่บ้านเลขที่ 172 สาธร 3 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2541
แม่มีอายุครบ 86 ปี 9 เดือน”