วันจันทร์, กันยายน 12, 2559

ตำนานเรื่องนักศึกษา "ไปยุโรป" ปีละคนสองคน





พูดถึงตำนานเมืองของมหาลัยแล้ว

คณะผมมันมีตำนานเรื่อง "ไปยุโรป" คือทุกปี จะมีนักศึกษาหายไปเงียบๆปีละคนสองคน

แล้วพอคนถามว่าหายไปไหน เพื่อนๆคนที่หายก็จะบอกกันแค่ว่า "ไปยุโรป" แล้ว

อยู่ดีๆก็มีคนหายไปเงียบๆทุกปีมันเป็นเรื่องลึกลับจริงๆนะครับ

โชคดีที่ผมมีโอกาสอยู่ใกล้กับเหตุการณ์ไปยุโรปด้วยตัวเอง ก็เลยรู้ความจริงของเรื่อง

สมัยปี 1 มันมีเพื่อนผมคนนึง เก่งแบบน่าจะ Top10 ของรุ่น เป็นคู่ถกเถียงเรื่องสิทธิ์ ประชาธิปไตย ความจริงของโลก ระบบสภา รับน้อง มหาลัย อะไรมากมาย

ทีนี้ตอนปี 1 จริงๆ เรียน TU120 คาบนั้นเดชา มาสอนมั้ง เราก็เจอคำถามพื้นๆแหละว่า "เรารู้ได้ยังไงว่าเรารู้ในสิ่งที่เราบอกว่าเรารู้"

ขยายความของคำถามคือ

เรารู้ได้ยังไงว่าบ้านเราอยู่ที่เดิม

เรารู้ได้ยังไงว่าสิ่งนี้คือเก้าอี้

เรารู้ได้ยังไงว่าเราเป็นเรา

เรารู้ได้ยังไงว่าเรามีตัวตนอยู่

เรารู้ได้ยังไงว่าเรารู้

ทีนี้เพื่อนผมมันตั้งใจไปหน่อย ก็เลยไปอ่านหนังสือเพิ่มเติม แล้วเสือกกระโดดไปอ่านพวก ฟูโก กับ ดาลิดา เลย

ผลคือมันปฏิเสธการมีอยู่ของเก้าอี้ ปฏิเสธการมีตัวตน ทำให้เส้นแบ่งระหว่างความเป็นจริงกับเหตุผลมันพัง

ผลคือก็เลยต้องลาออก ไปเข้าโรงบาล แล้วหายไปเงียบๆ

จากนั้นเวลามีคนถาม จะให้ตอบว่าไง บอกว่า "บ้าไปแล้ว" เหรอ... ไม่ได้หรอก

เราก็จะบอกกันว่า "อ๋อ มันไปยุโรปแล้ว"

ผมเสียดายอยู่ จริงๆถ้ามันขุดหลุมฝังตัวเองตายเป็นมันมี่ไปเลยในตอนนั้น มันอาจจะบรรลุธรรมแบบโซคุชินบุตซึก็ได้นะ

ผ่านด่านนี้ไปได้ ก็ยังมีด่านต่อไปจนครบ 4 ปีนะ

โชคดีที่ผมขี้เกียจ ชอบการอ่านมังงะมากกว่า เลยไม่ได้อ่านพวกงานหลังโครงสร้างนิยมก่อนเวลาอันสมควร และนิยมการขังตัวเองในห้องดูเมะมากกว่าไปเสวนาวิชาการ เลยจบออกมาในความคิดสายหลังโครงสร้างนิยมได้โดยไม่บ้าไปซะก่อน

อันนี้คือ เรียงความเรื่อง "ไวฟุช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร" ครับ

ป.ล. ใครจะอ่านปรัชญานะ ไปเริ่มจากโลกของโซฟี แล้วไปไล่มาจากโสเกรติส เพลโต ก่อนเลย แล้วเอาเอนไลเทนให้แน่นๆ ก็จะไม่ไปยุโรปครับ แต่ผมไม่แนะนำให้เน้นมาร์คซ์นะ จะกลายเป็นจูนิเบียวมาร์คซ์แทน


Starless Night - Harit Mahaton

ooo


ความเห็นมิตรสหายท่านหนึ่ง

1. เพราะเราอยู่กับอุดมการณ์ล้าหลัง มากเกินไป เราไม่ได้สอนให้คนคิด ให้เห็นว่าโลกมีหลายมุมอง
2. นักศึกษาเก่งๆเจอครูดักดาน เลยต้องไปยุโรป
3. ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ให้โอกาสเด็ก ฟังเด็กมากๆๆ มองเห็นหลายๆมุมมอง
นี่คือ สิ่งที่ต้องช่วยกัน