หนี้ครัวเรือนปี59 พุ่ง20.2% สูงสุดใน 9 ปี
หอการค้า เผย หนี้ครัวเรือนปี 59 พุ่ง 20.2% สูงสุดรอบ 9 ปี 2.98 แสนบาทต่อครัวเรือน
ที่มา INN
15 กันยายน พ.ศ.2559
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 มีหนี้สินครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าปีก่อน โดยประชาชนเป็นหนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป การซื้อสินทรัพย์ การลงทุนประกอบธุรกิจ การศึกษาการจ่ายบัตรเครดิต และการซื้อบ้าน โดยคิดเป็นมูลหนี้ 298,000 บาทต่อครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สูงสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่มีการสำรวจมา โดยร้อยละ 62.3 เป็นหนี้ในระบบ และเป็นหนี้นอกระบบร้อยละ 37.7 โดยมองว่าภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ราคาสินค้าแพงขึ้น รายได้ลดลง ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ และดอกเบี้ยสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาการชำระหนี้
โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 83-84 เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากสถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายส่งผลทำให้เศรษฐกิจซบเซา
อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาความยากจน ทำให้เกิดความยั่งยืน จัดหาแหล่งเงินทุนในระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำ ลงทุนลดขั้นตอนการจัดการในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการที่มีความต้องการกู้ยืมเงิน ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้การจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมและอบรมสร้างรายได้สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นธรรม และเพิ่มสวัสดิการให้กับคนชราและผู้พิการ รัฐบาลควรดำเนินการโดยเร็ว
ที่มา INN
15 กันยายน พ.ศ.2559
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2559 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 มีหนี้สินครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าปีก่อน โดยประชาชนเป็นหนี้จากการใช้จ่ายทั่วไป การซื้อสินทรัพย์ การลงทุนประกอบธุรกิจ การศึกษาการจ่ายบัตรเครดิต และการซื้อบ้าน โดยคิดเป็นมูลหนี้ 298,000 บาทต่อครัวเรือน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 สูงสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่มีการสำรวจมา โดยร้อยละ 62.3 เป็นหนี้ในระบบ และเป็นหนี้นอกระบบร้อยละ 37.7 โดยมองว่าภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ราคาสินค้าแพงขึ้น รายได้ลดลง ราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ และดอกเบี้ยสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาการชำระหนี้
โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ส่งผลให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพี อยู่ที่ร้อยละ 83-84 เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเนื่องจากสถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายส่งผลทำให้เศรษฐกิจซบเซา
อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ ปัญหาความยากจน ทำให้เกิดความยั่งยืน จัดหาแหล่งเงินทุนในระบบที่มีดอกเบี้ยต่ำ ลงทุนลดขั้นตอนการจัดการในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการที่มีความต้องการกู้ยืมเงิน ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้การจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน ส่งเสริมและอบรมสร้างรายได้สร้างอาชีพให้แก่ประชาชน แก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ควบคุมราคาสินค้าให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นธรรม และเพิ่มสวัสดิการให้กับคนชราและผู้พิการ รัฐบาลควรดำเนินการโดยเร็ว