วันเสาร์, มิถุนายน 18, 2559

คุณูปการของ เช กู วารา




ภาพถ่ายที่เป็นดั่งเครื่องหมายการค้าของเช กูวารา โดย Alberto Korda
(Alberto Korda (Korda)) [Public domain] via Wikimedia Commons
เช กู วารา นักปฏิวัติ ฆาตกร คอมมิวนิสต์ และตราสินค้ายอดนิยม

ที่มา เวปพันทิป

14 มิถุนายน 1928: วันเกิด “เช กูวารา”
นักปฏิวัติ ฆาตกร คอมมิวนิสต์ และตราสินค้ายอดนิยม

เออร์เนสโต เกวารา เดอ ลา เซอร์นา (Ernesto Guevara dela Serna) หรือ “เช กูวารา"
เกิดที่โรซาริโอ (Rosario) อาร์เจนตินา ในครอบครัวชนชั้นกลางฐานะดี
เขาเป็นนักทฤษฎีและนักวางแผนในสงครามกองโจร
และเป็นคอมมิสต์ผู้โดดเด่นในการปฏิวัติคิวบา

เมื่อครั้งที่กูวารายังเป็นนักศึกษาแพทย์
เขาได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วอเมริกาใต้
พร้อมกับอัลแบร์โต กรานาโด (Alberto Granado) เพื่อนของเขา
ด้วยรถจักรยานยนต์เมื่อปี 1951
ภาพที่เขาได้เห็นระหว่างเดินทางทำให้เขาหันมาสนใจปัญหาทางสังคม







เส้นทางที่ทั้งคู่เดินทางร่วมกัน สีแดงโดยสารเครื่องบิน

กูวาราได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางครั้งนั้นเอาไว้
ก่อนมีการตีพิมพ์ภายใต้การดูแลของครอบครัว
หลังเขาเสียชีวิตไปนานหลายสิบปีในชื่อ
The Motorcycle Diaries: Notes on a Latin Amarican Journey
ในปี 2003 และได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2004




The Motorcycle Diaries Official Film Trailer





ในปี 1953 กูวาราเดินทางไปยังกัวเตมาลา
ตรงกับสมัยรัฐบาลของจาโคโบ อาร์เบนซ์ (Jacobo Arbenz)
ที่พยายามปฏิวัติโครงสร้างทางสังคม
หนึ่งในมาตรการสำคัญคือการยึดที่ดินนายทุนที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์
กระทบถึงทุนอเมริกัน นำไปสู่การรัฐประหารที่มีสหรัฐฯเป็นผู้ให้การสนับสนุน

เหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทำให้กูวาราเชื่อว่า
สหรัฐฯจะต้องเข้าแทรกแซงรัฐบาลฝ่ายซ้ายอยู่ร่ำไป
เขาจึงเชื่อว่าการได้มาซึ่งระบบสังคมนิยมจำเป็นต้องเกิดการปฏิวัติระดับโลก
และกลายมาเป็นผู้อุทิศตนให้กับอุดมการณ์มาร์กซิสต์

กูวาราเดินทางออกจากกัวเตมาลามุ่งหน้าไปยังเม็กซิโก
และได้พบกับสองพี่น้องชาวคิวบา ฟิเดลและราอูล คาสโตร
ซึ่งหลบหนีคดีการเมืองมาวางแผนยึดอำนาจจากรัฐบาลบาติสตา
และกลายมาเป็นมือขวาที่ได้รับความไว้วางใจอย่างมากของคาสโตร

หลังคาสโตรยึดอำนาจได้สำเร็จในวันที่ 2 มกราคม 1959
กูวารากลายเป็นผู้คุมเรือนจำลาคาบานา (La Cabana)
พร้อมกับหน้าที่ในการดูแลและสังหารบุคคลใด ๆ
ก็ตามที่เป็นศัตรูต่อการปฏิวัติของระบอบใหม่

“ เราจับคนมากมายมายิงเป้าโดยไม่รู้ว่าพวกเขาทำความผิดจริงรึป่าว ”

กูวารากล่าวยอมรับว่าเขาอาจสังหารผู้บริสุทธิ์

“ ในเวลานั้นฝ่ายปฏิวัติ ไม่มีเวลามาหยุด
ทำการสอบสวนอะไรมากมาย
ภาระสำคัญที่สุดคือการกุมชัยชนะ ”

พยานผู้เห็นเหตุการณ์อ้างว่า
กูวาราไม่มีความปราณีแม้แต่กับเด็กอายุ 17 ปี
ที่มาเป็นทหารเพื่อหาเงินส่งให้แม่

“ ผมไม่เคยฆ่าใครเลย ผมเพิ่งจะมาถึงที่นี่
แม่ผมเป็นม่าย แล้วผมก็เป็นลูกคนเดียว
ผมเข้ากองทัพก็เพราะต้องการเงินเดือน เพื่อส่งให้แม่ทุกเดือน
อย่าฆ่าผมเลย อย่าฆ่าผม ” ทหารหนุ่มกล่าว

ก่อนที่กูวาราจะตอบกลับไปว่า
“ ทำไมจะไม่ละว่ะ ? ” (Why not?)
และฆ่าทหารหนุ่มรายนี้อย่างไม่ลังเล

หลังฝ่ายปฏิวัติยึดอำนาจในคิวบาได้สำเร็จเพียงสองปี
มีการบันทึกว่าระบอบใหม่ได้สังหาร
นักโทษไปทั้งสิ้น 1,118 ราย (ในปี 1959 และ 1960)
ขณะที่ภายใต้ระบอบเผด็จการบาติสตาระหว่างปี 1952-1959
มีผู้เสียชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากการต่อสู้ 747 ราย
วิสามัญฆาตกรรมหรือลอบสังหาร 687 ราย
ประหารชีวิต 19 ราย และสูญหาย 22 คน
(ตัวเลขจากรายงาน Che Guevara Forgotten Victims)

นอกจากนี้ กูวารายังไม่เชื่อในเรื่องเสรีภาพของสื่อ
ในปี 1959 เขาเคยให้สัมภาษณ์กับนักข่าวคิวบา
โฆเซ ปาร์โด ยาดา (Jose Pardo Llada) ว่า

“ เราต้องกำจัดหนังสือพิมพ์ทิ้ง
เราไม่อาจปฏิวัติได้หากสื่อมีเสรีภาพ
หนังสือพิมพ์คือเครื่องมือของพวกอภิชน ”

กูวารายังได้รับหน้าที่ดูแลนโยบายทางเศรษฐกิจของคิวบา
ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรมและการเงิน
ด้วยนโยบายเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์
ที่ดินและโรงงานจึงตกมาอยู่ในมือของรัฐ
เขาเรียกร้องให้แรงงานคิวบาทุกคน
ต้องทำงานเพื่อสังคมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
และปฏิเสธสิทธิในการต่อรองของแรงงาน
กูวารากล่าวผ่านการถ่ายทอดโทรทัศน์ในประเทศ

“ แรงงานคิวบาทุกคนจะปรับตัว
ให้เข้ากับการใช้ชีวิตในระบอบเพื่อส่วนรวม
และไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ใด ๆ
พวกคุณไม่มีสิทธิที่จะนัดหยุดงาน ”

ในด้านการต่างประเทศ
กูวาราเป็นบุคคลสำคัญผู้กำหนดทิศทาง
ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและโซเวียต
ซึ่งภายหลังวิกฤติการณ์นิวเคลียร์ในปี 1962
เมื่อโซเวียตตัดสินใจถอนหัวรบนิวเคลียร์ออกจากคิวบา
ทำให้เขารู้สึกว่า โซเวียตหักหลัง
จึงทำให้เขาหันไปหาจีนมากขึ้น

ในเดือนธันวาคม 1964
กูวารา เดินทางไปยังนิวยอร์ก
เพื่อร่วมประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
ซึ่งเขาได้โจมตีสหรัฐฯต่อการแทรกแซงกิจการภายใน
และการรุกรานน่านฟ้าของประเทศคิวบา

หลังเดือนเมษายน 1965
เขาได้หายตัวไปจากกระแสข่าวเป็นเวลาราว 2 ปี
ก่อนเป็นที่ทราบภายหลังว่า
เขาเดินทางไปยังดินแดนที่ปัจจุบันคือ คองโก
เพื่อร่วมการปฏิวัติกับกองกำลังท้องถิ่น แต่ล้มเหลว
ในช่วงนี้เขาได้ลาออกจากตำแหน่งในรัฐบาลคิวบาทั้งหมด
พร้อมสละสัญชาติคิวบา

ในปี 1966 เขาเดินทางไปยังโบลิเวีย
และได้สร้างหน่วยรบกองโจรในภูมิภาคซานตาครูซ
หลังได้รับชัยชนะในการสู้รบช่วงแรก ๆ
เขาและหน่วยรบกลับต้องเป็นฝ่ายล่าถอย
จากกองทัพโบลิเวียอย่างต่อเนื่อง

ในวันที่ 8 ตุลาคม 1967
หน่วยรบของเขาเกือบถูกกำจัดจนสิ้นซาก
โดยหน่วยรบพิเศษของโบลิเวีย
ด้วยความช่วยเหลือจากซีไอเอ
ตัวเขาเองถูกจับในขณะได้รับบาดเจ็บ
ก่อนถูกยิงเสียชีวิตและฝังร่างอย่างลับ ๆ
หลังถูกตัดมือออกเพื่อเป็นเครื่องยืนยันอัตลักษณ์





ภาพถ่ายหลังวันมตะที่ 10 ตุลาคม 1967
ศพ Guevara ในห้องซักรีดเสื้อผ้าคนไข้
โรงพยาบาล Nuestra Señora de Malta เมือง Vallegrande
ได้ถูกนำเสนอไปยังสื่อมวลชนทั่วโลก
(photo by Freddy Alborta)

ทันทีที่กูวาราเสียชีวิต
เขาได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์สำคัญในฐานะนักปฏิวัติ
ผู้ได้รับความชื่นชมอย่างกว้างขวางจากกลุ่มวัยรุ่นฝ่ายซ้าย
ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ
ในยุค 60 ซึ่งเกิดกระแสปฏิวัติไปทั่ว

ภาพถ่ายโดยช่างภาพชาวคิวบา อัลแบร์โต กอร์ดา (Alberto Korda)
แสดงใบหน้าและดวงตาที่แน่วแน่ของกูวารา
พร้อมผมยาวรุงรัง สวมหมวกเบเรต์ติดดาว
กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของ
นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินาที่ถูกทำซ้ำบ่อยครั้ง
และพบเห็นได้ประจำในการชุมนุมประท้วง

ภายหลังภาพดังกล่าวของกูวารา
กลายเป็นที่แพร่หลายนอกวงฝ่ายซ้าย
และปรากฏบนสินค้าแทบทุกชนิด
ตั้งแต่เสื้อผ้า นาฬิกา พวงกุญแจ ไฟแช็ก แก้วกาแฟ
กระเป๋า ผ้าเช็ดตัว หรือแม้กระทั่งชุดบิกินี
ขณะที่ในเมืองไทยภาพของเขา
ยังเป็นที่นิยมนำมาทำเป็นสติกเกอร์ติดท้ายรถบรรทุกอีกด้วย

———————-----------------
อดิเทพ พันธ์ทอง, ศิลปวัฒนธรรม
ข้อมูลจาก
1. "Che Guevara". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica Online.
Encyclopædia Britannica Inc., 2016. Web. 13 Jun. 2016 http://goo.gl/V9nuZ6

เพิ่มเติม

https://goo.gl/UhwHcM
https://goo.gl/XhxJNe ภาษาไทย

2. “Che Guevara Forgotten Victims”. Maria C Werlau.

Download เอกสารนี้ได้ที่ http://goo.gl/4u39wV
เป็นภาษาอังกฤษจำนวน 32 หน้า (ไฟล์ PDF)

credit ที่มา : https://goo.gl/R99WTh
Facebook ศิลปวัฒนธรรม







หมายเหตุ

ต้นฉบับใช้คำว่า เช เกวารา
บางแห่งใช้คำว่า เช เกบารา
แต่เมืองไทยใช้ เช กูวารา
ตามหนังสือที่ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก

แต่คุณจันทน์อำไพ สตรีไทย
มีสามีชาวเอกวาดอร์
ไปทำไร่อยู่ที่ชิลีกว่า 20 ปี
ในต่วยตูนอ่านว่า เช้ เก้บ๊าหร่า





ที่มาของภาพ/ข้อมูลเพิ่มเติม http://goo.gl/UnNQyL




เรื่องเล่าไร้สาระ

ในเมืองไทยที่เป็นตำนานเล่าขานคล้ายกับ
เช กูวารา คือ จิตร ภูมิศักดิ์

มีเรื่องแปลกที่อ่านเจอใน ต่วย ตูน นานแล้ว
คนเขียนอยู่ในเหตุการณ์ชันสูตรพลิกศพจิตร ภูมิศักดิ์ ที่จบจากจุฬา ฯ
คนที่วิทยุแจ้งข่าวการตายจิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนายอำเภอก็จบจากจุฬา ฯ
ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาร่วมชันสูตรพลิกศพก็จบจากจุฬา ฯ
นายแพทย์ที่มาร่วมชันสูตรพลิกศพ/รับรองการตายก็จบจากจุฬา ฯ
และนายทหารที่มาร่วมชันสูตรพลิกศพก็จบจากจุฬา ฯ เช่นกัน

ส่วนผู้ใหญ่บ้านที่ยิง จิตร ภูมิศักดิ์ เสียชีวิต
ช่วงแรกได้รับการยกย่องอย่างมากจากทางการ
หนังสือพิมพ์ต่างลงข่าวกันอย่างเอิกเกริก
และแกได้รับเชิญจากหน่วยงานทหารอเมริกา
ให้เดินทางไปท่องเที่ยวฟรีเป็นเดือน

บั้นปลายชีวิตแกกลับต้องอยู่อย่างอดสู/ละอายใจ
เมื่อสถานการณ์โลกพลิกกลับ
เพราะคนที่ไปเยี่ยมเยือนอนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์
ที่หมู่บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ
อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ต่างอยากไปดูบ้านดูหน้าคนยิงจิตร ภูมิศักดิ์
จนลูกสาวแกต้องขอร้องให้จบเรื่องนี้ซะทีได้ไหม
ถ้าจำไม่ผิดครอบครัวนี้รื้อบ้านหลังนี้ทิ้งแล้ว
พร้อมกับย้ายไปอยู่ที่ไกลจากบ้านเดิมมาก

.....

ความเห็น

1 เคยอ่านเจอว่าเชเคยเดินทางมาไทยอยู่ครั้งหนึ่ง แต่อยู่แค่ไม่กี่วัน

2 ถ้าเชมีชีวิตอยู่มาจนทุกวันนี้ถึงไม่โดนอเมริกาสังหารก็คงโดนมาเฟียในอเมริกาใต้เก็บแทน

3 เคยอ่านเจอบทสัมภาษณ์ของทหารที่บุกไปสังหารเช เขาบอกว่าเชกลัวตายมากพยายามต่อรองต่างๆไม่ให้ฆ่าตรงข้ามกับที่บอกเล่ากันมาลิบ (แต่ไม่รู้จริงแค่ไหน)

4 ภาพเชที่ติดรถบรรทุกในไทยเต็มไปหมดนี่ 99.99% คนติดไม่รู้หรอกว่าใครและมีประวัติยังไง แต่ติดเพราะติดตามๆกันและเห็นว่าภาพมันดูเท่ดูเซอร์ดี
.....

ตอนนี้ลูกสาวของเช ซึ่งไม่ค่อยสวยกลับเป็นคนที่มาช่วยโลกแทน
เพราะเธอทำให้คิวบากลายเป็นผู้นำทางด้านไบโอเทคโนโลยี
เมื่อไม่นานนี้ก็เพิ่งมาช่วยไทยในเรื่องวัคซีน
....

สาเหตุที่รูปนี้ดังเป็นตำนานก็เพราะเชตายตั้งแต่ยังหนุ่ม และหล่อ จะเอาทรอสกี้ หรือเมา เซ ตุง ก็ใช่ที่
เหมือนๆ กับรูปบ็อบ มาเล่ย์ มาริรีน เจมส์ดีน เอลวิส เลนนอน
มันเป็นสัญลักษณ์ของลิเบอร์รัลอเมริกัน, นักปฏิวัติสังคม, กบฏรัฐบาล, คอมมิวนิสแบบแอบๆ
จะมาติดดาวแดง หรือค้อนเคียว มันก็จะโดนจับง่ายๆ

เช เป็นนักปฏิวัติในอุดมคติ พูดน้อยกว่าทำ พอปฏิวัติสำเร็จเขาก็ไม่ก้าวสู่อำนาจ
ก็ออกไปปฏิวัติต่อเพื่อเปลี่ยนโลกไปสู่สังคมในอุดมคติของเขา
ไปรบก็ไปอยู่ในแนวหน้า ต่างจากนักการเมืองในยุคนั้น

เป็นแรงบันดาลใจให้คนจนในละตินอเมริกาที่ถูกบริษัทอเมริกันขูดรีดลุกขึ้นมาสู้สิทธิของตน
เป็นแรงบันดาลใจให้คนอาฟริกัน ลุกขึ้นสู้เพื่อสิทธิเท่าเทียมกันกับคนผิวขาว
จากการก้มหน้าก้มตาพลเมืองชั้นสอง ทรัพยากรในประเทศถูกแบ่งให้ผิวขาวก่อน





แม้แต่เนลสัน แมนเดลว่ายังกล่าวว่า เชสอนให้เรารู้จักคำว่า เสรีภาพ
เป็นแรงบันดาลใจให้คนทั้งโลกลุกขึ้นสู้เพื่อความอยุติธรรมของสังคม และผู้ปกครอง
แม้แต่โอบามายังติดรูปไว้ที่สำนักงาน เพราะเขาเป็นสัญลักษณ์แห่งคนตัวเล็กที่กล้าเปลี่ยนโลก




.....

เชยางม่ายตาย เชอยู่ท้ายรถสิบล้อ
.....




ป่านนี้คุณเชแกจะรู้มั้ยว่า..
..รูปที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง..
..มีคนเอามาทำมาหากินเลี้ยงลูกเมียกันทั่วโลก...

....ตายแล้วยังสร้างประโยชน์ให้คนอื่นมีไม่กี่คนครับ

.....

ขอแจมอีกนิด ลูกสาวเช
ซึ่งตอนเด็กๆ เชเลี้ยงแบบอดอยาก
แม้ในขณะที่เป็นรัฐมนตรี เพราะไม่อยากใช้อภิสิทธ์
ตอนนี้เป็นหมอเด็กและผู้เชี่ยวชาญทางไบโอเทคและภูมิคุ้มกัน