ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559: จะรับหรือไม่ จะได้ทำประชามติไหม?
Sat, 2016-01-30
ที่มา ประชาไท
สิริพรรณ นกสวน
สิริพรรณ นกสวน
หากร่างนี้ประกาศใช้ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญ 3 ประการ คือ
1. เกิดสภาวะกฏหมายสูงสุดคู่ขนาน (The Duality of Supreme Laws) กล่าวคือ แม้ ร่าง รธน จะผ่านประชามติ คสช. และอำนาจบังคับใช้ มาตรา 44 ก็จะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกถึง 15 เดือน เนื่องจาก กรรมการยกร่างได้ประกาศสูตร 8-2-5--- 8 เดือน สำหรับยกร่าง พรบ.ประกอบ รธน. 2 เดือน เพื่อให้ สนช.เห็นชอบ และ 5 เดือน เพื่อจัดการเลือกตั้ง ในช่วง 15 เดือนดังกล่าว ประเทศไทยจะมีทั้งรัฐธรรมนูญ และมาตรา 44 ของ คสช. ควบคู่กันไป
ความล่าช้าในการจัดการเลือกตั้งหลังการประกาศใช้ รธน. โดยไม่จำเป็นนี้ จะทำให้การทำประชามติร่าง รธน. ลดความสำคัญลงอย่างถึงที่สุด
2. เกิดการเลือกตั้งกำมะลอ ที่คะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนไม่ส่งผลอย่างแท้จริงในการจัดตั้งรัฐบาล เปิดให้เจตนารมณ์ของประชาชนถูกนำไปกล่าวอ้างบิดเบือน ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง (Political Efficacy หมายถึงความไว้ใจ ความศรัทธา และตระหนักว่าเสียงของตนมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางการเมือง) ของประชาชนจะต่ำลง จนอาจทำให้ลดความสนใจและความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง
2a. การซื้อเสียงจะสูงขึ้น เพราะประชาชนมีบัตรเดียวเพื่อเลือก ส.ส.เขต ผลที่จะตามมาคือ จะกลับไปเป็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคล ยุทธศาสตร์ของพรรคจะกลับไปหาผู้สมัครซึ่งเป็นที่รู้จัก มากกว่าการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่สำคัญ ชัยชนะของผู้สมัคร กับของพรรคการเมือง อาจขัดแย้งกันเอง จนทำให้พรรคการเมืองอาจตั้งพรรคอะไหล่ขึ้นมาช่วงชิงความได้เปรียบ
2b. ระบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่กรรมการยกร่างคิดเองนี้ เป็นระบบที่มุ่งลดความได้เปรียบของพรรคใหญ่จนก่อให้เกิดการจัดสรรคะแนนอย่างไม่เป็นธรรม จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อถูกกำหนดโดยจำนวนคะแนนที่คนเลือก ส.ส. เขต ที่ถูกลบด้วยจำนวน ส.ส. เขตแล้ว ตัวอย่างเช่น พรรค ก. ได้คะแนนรวมจากการเลือก ส.ส. เขตทั้งประเทศ 14 ล้านเสียง คิดเป็น 45% ดังนั้น พรรค ก. สมควรมีที่นั่งในสภา 225 ที่นั่งจาก 500 หากได้รับ ส.ส. เขตไปแล้ว 204 ที่นั่ง ก็จะได้รับการจัดสรรบัญชีรายชื่ออีก 21 ที่นั่ง (225-204= 21) ขณะที่พรรคอันดับสองและพรรคขนาดกลางจะได้เปรียบอย่างมาก เช่น พรรค B ได้ 3 ล้านเสียง คิดเป็น 11% พรรค ข. จะได้ที่นั่ง 55 จาก 500 ที่นั่งในสภา หากพรรค ข. มี ส.ส. เขตไปแล้ว 29 คน ก็จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก 26 คน
2c. “เทคนิคการเลือกตั้ง” เช่นนี้ จะทำให้พรรคขนาดกลางที่ไม่ชนะการเลือกตั้ง มีอำนาจต่อรองสูง ว่าจะเลือกร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคใด นี่คือคำอธิบายสำคัญว่าผลเลือกตั้งจะไม่สะท้อน เจตนารมณ์ของประชาชน และอาจถูกบิดเบือนได้โดยง่าย
2d. การให้พรรคเสนอรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี 3 คน เท่ากับเปิดโอกาสให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก ซึ่งคนที่พรรคเสนอชื่อ อาจไม่ใช่คนที่ประชาชนชอบ ส่งผลให้เสียงของประชาชนไร้ความหมาย
3. สร้างมาตรการคัดง้างเสียงข้างมาก (Counter-Majoritarian Measures) กล่าวคือให้อำนาจองค์กรอิสระ ศาล และเสียงข้างน้อย ไม่เพียงแต่เหนี่ยวรั้ง แต่ถึงกับบดบังเสียงข้างมาก จนถึงขั้นที่อาจทำให้ระบบการเมืองเสียดุลยภาพ และขาดการตรวจสอบ-ถ่วงดุลย์ทั้งแนวตั้งและแนวระนาบมาตรการดังกล่าวปรากฏให้เห็นในหลายหมวด และมาตรา เช่น
3a. มาตรา 207 ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 207 คือ มาตรา 7 เดิม) อำนาจนี้จะส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และเหนือรัฐธรรมนูญเอง
3b. การแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ต้องมีวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และ วาระสามต้องมี ส.ส.ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 10 คน เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นอกจากนั้น ส.ส.ของแต่ละพรรคที่มีเสียงน้อยกว่าสิบ หากรวมกัน 10 คนขึ้นไป ต้องเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จึงเป็นการเพิ่ม blackmail potential ให้พรรคขนาดเล็ก (หากต้องการแก้ประเด็นคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ หรืออำนาจหน้าที่ของศาลขององค์กรอิสระ ต้องทำประชามติ)
รัฐธรรมนูญที่ดี ควรเป็นรัฐธรรมนูญแห่งภูมิปัญญา มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างเสถียรภาพ ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดผู้รับผิดชอบในการกระทำ เปิดให้มีส่วนร่วม และ สะท้อนเจตนารมณ์จากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
1. เกิดสภาวะกฏหมายสูงสุดคู่ขนาน (The Duality of Supreme Laws) กล่าวคือ แม้ ร่าง รธน จะผ่านประชามติ คสช. และอำนาจบังคับใช้ มาตรา 44 ก็จะยังดำรงอยู่ต่อไปอีกถึง 15 เดือน เนื่องจาก กรรมการยกร่างได้ประกาศสูตร 8-2-5--- 8 เดือน สำหรับยกร่าง พรบ.ประกอบ รธน. 2 เดือน เพื่อให้ สนช.เห็นชอบ และ 5 เดือน เพื่อจัดการเลือกตั้ง ในช่วง 15 เดือนดังกล่าว ประเทศไทยจะมีทั้งรัฐธรรมนูญ และมาตรา 44 ของ คสช. ควบคู่กันไป
ความล่าช้าในการจัดการเลือกตั้งหลังการประกาศใช้ รธน. โดยไม่จำเป็นนี้ จะทำให้การทำประชามติร่าง รธน. ลดความสำคัญลงอย่างถึงที่สุด
2. เกิดการเลือกตั้งกำมะลอ ที่คะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนไม่ส่งผลอย่างแท้จริงในการจัดตั้งรัฐบาล เปิดให้เจตนารมณ์ของประชาชนถูกนำไปกล่าวอ้างบิดเบือน ความรู้สึกมีประสิทธิภาพทางการเมือง (Political Efficacy หมายถึงความไว้ใจ ความศรัทธา และตระหนักว่าเสียงของตนมีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางการเมือง) ของประชาชนจะต่ำลง จนอาจทำให้ลดความสนใจและความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมือง
2a. การซื้อเสียงจะสูงขึ้น เพราะประชาชนมีบัตรเดียวเพื่อเลือก ส.ส.เขต ผลที่จะตามมาคือ จะกลับไปเป็นการเลือกตั้งที่เน้นตัวบุคคล ยุทธศาสตร์ของพรรคจะกลับไปหาผู้สมัครซึ่งเป็นที่รู้จัก มากกว่าการเสนอนโยบายที่เป็นรูปธรรม ที่สำคัญ ชัยชนะของผู้สมัคร กับของพรรคการเมือง อาจขัดแย้งกันเอง จนทำให้พรรคการเมืองอาจตั้งพรรคอะไหล่ขึ้นมาช่วงชิงความได้เปรียบ
2b. ระบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” ที่กรรมการยกร่างคิดเองนี้ เป็นระบบที่มุ่งลดความได้เปรียบของพรรคใหญ่จนก่อให้เกิดการจัดสรรคะแนนอย่างไม่เป็นธรรม จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อถูกกำหนดโดยจำนวนคะแนนที่คนเลือก ส.ส. เขต ที่ถูกลบด้วยจำนวน ส.ส. เขตแล้ว ตัวอย่างเช่น พรรค ก. ได้คะแนนรวมจากการเลือก ส.ส. เขตทั้งประเทศ 14 ล้านเสียง คิดเป็น 45% ดังนั้น พรรค ก. สมควรมีที่นั่งในสภา 225 ที่นั่งจาก 500 หากได้รับ ส.ส. เขตไปแล้ว 204 ที่นั่ง ก็จะได้รับการจัดสรรบัญชีรายชื่ออีก 21 ที่นั่ง (225-204= 21) ขณะที่พรรคอันดับสองและพรรคขนาดกลางจะได้เปรียบอย่างมาก เช่น พรรค B ได้ 3 ล้านเสียง คิดเป็น 11% พรรค ข. จะได้ที่นั่ง 55 จาก 500 ที่นั่งในสภา หากพรรค ข. มี ส.ส. เขตไปแล้ว 29 คน ก็จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก 26 คน
2c. “เทคนิคการเลือกตั้ง” เช่นนี้ จะทำให้พรรคขนาดกลางที่ไม่ชนะการเลือกตั้ง มีอำนาจต่อรองสูง ว่าจะเลือกร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคใด นี่คือคำอธิบายสำคัญว่าผลเลือกตั้งจะไม่สะท้อน เจตนารมณ์ของประชาชน และอาจถูกบิดเบือนได้โดยง่าย
2d. การให้พรรคเสนอรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี 3 คน เท่ากับเปิดโอกาสให้มีนายกรัฐมนตรีคนนอก ซึ่งคนที่พรรคเสนอชื่อ อาจไม่ใช่คนที่ประชาชนชอบ ส่งผลให้เสียงของประชาชนไร้ความหมาย
3. สร้างมาตรการคัดง้างเสียงข้างมาก (Counter-Majoritarian Measures) กล่าวคือให้อำนาจองค์กรอิสระ ศาล และเสียงข้างน้อย ไม่เพียงแต่เหนี่ยวรั้ง แต่ถึงกับบดบังเสียงข้างมาก จนถึงขั้นที่อาจทำให้ระบบการเมืองเสียดุลยภาพ และขาดการตรวจสอบ-ถ่วงดุลย์ทั้งแนวตั้งและแนวระนาบมาตรการดังกล่าวปรากฏให้เห็นในหลายหมวด และมาตรา เช่น
3a. มาตรา 207 ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 207 คือ มาตรา 7 เดิม) อำนาจนี้จะส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และเหนือรัฐธรรมนูญเอง
3b. การแก้ไขเพิ่มเติม รธน. ต้องมีวุฒิสภาเห็นชอบไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 และ วาระสามต้องมี ส.ส.ทุกพรรคการเมืองที่มี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 10 คน เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 นอกจากนั้น ส.ส.ของแต่ละพรรคที่มีเสียงน้อยกว่าสิบ หากรวมกัน 10 คนขึ้นไป ต้องเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จึงเป็นการเพิ่ม blackmail potential ให้พรรคขนาดเล็ก (หากต้องการแก้ประเด็นคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ หรืออำนาจหน้าที่ของศาลขององค์กรอิสระ ต้องทำประชามติ)
รัฐธรรมนูญที่ดี ควรเป็นรัฐธรรมนูญแห่งภูมิปัญญา มีเจตนารมณ์เพื่อสร้างเสถียรภาพ ปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง ให้เกิดผู้รับผิดชอบในการกระทำ เปิดให้มีส่วนร่วม และ สะท้อนเจตนารมณ์จากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย