วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 29, 2559

ขอแสดงความยินดีกับ ขวัญข้าว ตั้งประเสริฐ นักเรียนชั้นป.6 ที่เดินทางมาจากมุกดาหาร เพื่อนำเสนอ PetchaKucha 20x20 ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญที่เด็กต้องการ"




ที่มา เวป
Prachamati - ประชามติ

ขวัญข้าว ตั้งประเสริฐ 

ผู้ชนะรางวัล PetchaKucha ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อายุ 12 ปี เสนอเรื่องรัฐธรรมนูญในแง่มุมของเด็กบ้าง

ระหว่างที่ผู้ใหญ่ก็ยังเถียงกันเอาเป็นเอาตาย
"รัฐธรรมนูญที่เด็กต้องการ" คือชื่อที่ตั้งมาเองในกิจกรรมนี้
ข้อเสนอหลากหลายถ้าได้ใช้จริงก็ดีกับเด็กและก็ดีกับผู้ใหญ่ด้วยเหมือนกัน

...

'Prachamati - ประชามติ' กล่าวขอบคุณ

"ขอบคุณผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน/ทีม กรรมการ แขกรับเชิญ และผู้เข้าร่วมงานทุกท่านที่มาสนุกด้วยกันในวันนี้ พร้อมกับรฟังแลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในแง่มุมที่หลากหลายอย่างไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะหาฟังได้ที่ไหน

แม้จะมีอุปสรรคบ้างเล็กน้อยก่อนหน้านี้ 2-3 วัน แต่สุดท้ายงานก็ผ่านไปได้ด้วยดี ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในช่วงเวลาเร่งด่วน

สำหรับผู้ที่พลาดไปงานสามารถติดตามรับชมคลิปการนำเสนอ PetchaKucha 20x20 ของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน/ทีม และแขกพิเศษ อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ และชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ได้เร็วๆ นี้

เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติจะเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อสร้างพื้นที่การแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องรัฐธรรมนูญต่อไป โปรดติดตามกิจกรรมต่อๆ ไปของเราได้ทั้งทางเพจเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์prachamati.org"



...
กิจกรรม Pechakucha รัฐธรรมนูญ เริ่มแล้ว




.....
เรื่องเกี่ยวเนื่อง...


28 ก.พ. | ข่าว 19.00 น.หลังยุติกิจกรรมเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานค...
Posted by Thai PBS News on Sunday, February 28, 2016
https://www.facebook.com/ThaiPBSNews/videos/966352456773814/


ooo

เรื่องเกี่ยวข้องที่ เวป 'Prachamati - ประชามติ' นำเสนอ


ยุทธพร อิสระชัย
อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช




ปัญหาของร่างรัฐธรรมนูญก็คือ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้สร้างความรู้สึกร่วมกับการร่างรัฐธรรมนูญ แม้ในบางประเด็นจะมีบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้น ดีขึ้น แต่ทิศทางความ รู้สึกของประชาชนก็ไม่มองว่า จะเห็นอนาคตของประเทศจะดีขึ้นได้
.
ปัญหาในเชิงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยกตัวอย่างก็เช่น ส่วนบทบัญญัติในเรื่องหน้าที่ของรัฐมันจะยิ่งทำให้เกิดการขยายตัวของรัฐ โดยเป็นมุมมองที่เห็นว่ารัฐเป็นใหญ่ เป็นการขยายฐานระบบราชการ ไม่ได้มองว่าสังคมเป็นใหญ่ ทั้งที่ ระบบเหล่านี้ควรจะต้องเอาสังคมเป็นตัวตั้ง
.
และที่เป็นข้อวิจารณ์อย่าง เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ หรืออย่างระบบเลือกตั้งก็น่าสนใจว่าจะเอา
บัตรใบเดียวหรือสองใบ
.
และที่สำคัญก็คือ การเขียนข้อความว่า "ทั้งนี้ให้เป็นตามกฎหมายบัญญัติ" ในหลายประเด็นสำคัญ เช่น ระบบตรวจสอบอำนาจ ที่มา ส.ส. และ ส.ว. ดูเหมือนเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสุดท้ายกลายเป็นว่าผู้กำหนดโครงสร้างโดยละเอียดแล้วยังอยู่ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้ามองจากฐานคิดเรื่องสัญญาประชาคมจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ได้ทำลายหลักการการควบคุมอำนาจรัฐโดยประชาชนไป
.
ประเด็นสุดท้ายก็คือ หากไม่อยากให้การประชามติครั้งนี้เป็นการลงประชามติบนความว่างเปล่า ต้องสร้างการมีส่วนร่วม คือต้องให้ประชาชนคิด เข้าใจในหลักการของรัฐธรรมนูญ และมีการรับฟังของแก้ไขเนื้อหา มีพื้นที่ในการพูดคุย และสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเพิ่มแนวโน้มให้การลงประชามตินี้มีโอกาสจะผ่านได้มากขึ้น
.
นอกจากนี้ ในส่วนของบทเฉพาะกาลที่ยืดอำนาจมาตรา 44 ออกไป ก็จะเกิดอำนาจคู่ขนาน ถ้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับรัฐบาลที่มาจากอำนาจปกติเห็นไม่ตรงกันถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก

......
กรรณิการ์ กิตติเวชกุล
นักเคลื่อนไหวกลุ่ม FTA Watch





รู้สึกวิตกกับร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมา อย่างเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตนเป็นผู้เกี่ยวข้อง เช่น การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศในมาตรา 173 ของร่างรัฐธรรมนูญ เพราะ กำหนดให้การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่กระทบต่อเศรษฐกิจ-สังคม ให้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบภายในหกสิบวัน แต่ขาดการมีส่วนร่วมที่ต้อง "การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน" อย่างที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 50
.
ส่วนตัวไม่ค่อยมีความหวังกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าไร เพราะไม่ว่าจะทำหนังสือไปก็ไปถึงแต่ไม่ได้ยิน อย่างในมาตรา 173 ที่ได้กล่าวไป แม้ผู้ร่างจะออกมาบอกว่า เมื่อขึ้นในกฎหมายลูกก็จะดีขึ้น แต่ก็มีปัญหาเรื่องความไว้วางใจจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไงก็ต้องเคลื่อนไหวต่อไปอยู่ดี
.
กระบวนการหลังจากนี้ ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องมีพื้นที่ในการถกเถียงกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างการทำเวทีสาธารณะที่หอศิลปฯก็ไม่สามารถที่จะทำได้ซึ่งเป็นปัญหา เพราะถ้าไปดูในหลายๆ ประเทศ จะเห็นว่า กระบวนการประชามติต้องมีการถกเถียงได้อย่างเสรี
.
ไม่เช่นนั้น การลงประชามติจะอยู่บนความสูญเปล่า ดังนั้น มันต้องมีความชัดเจนว่า ถ้า Yes คืออะไร No คืออะไร สำหรับร่างประชามติมันต้องมีทิศทางที่ชัดเจนว่า หากเลือกแล้วจะได้อะไร ไม่ใช่อย่างที่ออกมาพูดว่า จะขออยู่ต่อไปอีก 5 ปี ทั้งที่ จริงๆ ต้องให้ประชาชนทั้งสองฟากเป็นคนตัดสินว่า ถ้าเอาแล้วจะได้อะไร ถ้าไม่เอาแล้วจะได้อะไร

......
บุญยืน สิริธรรม
อดีตสมาชิกวุฒิสภาและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้บริโภค




รู้สึกตกใจที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาในลักษณะนี้อย่างเรื่องสิทธิผู้บริโภคตอนนี้ไม่อยู่หมวดสิทธิเสรีภาพแต่ไปอยู่หมวดหน้าที่รัฐ ซึ่งต่อไปนี้การเคลื่อนไหวก็จะทำได้ลำบากเพราะรัฐก็จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของรัฐและรัฐดูแลแล้ว จากประสบการณ์ที่ผ่านมารัฐไม่เคยยืนเคียงข้างประชาชน ครั้งนี้ในการร่างรัฐธรรมนูญรัฐก็ปิดกั้นการเคลื่อนไหวให้ข้อมูลของอีกฝ่าย ทำให้การประชามติครั้งนี้แม้จะมีก็จะพิกลพิกาลและจะเป็นปัญหาต่อไปไม่รู้จบ

มนุษญ์ต้องอยู่ด้วยความหวัง การร่างครั้งนี้ต้องการให้รัฐใหญ่รัฐจัดการทั้งหมด แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมารัฐไม่เคยยืนข้างประชาชน ครั้งนี้เลวร้ายมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ต้องยื่นเรื่องคัดค้านตามเขาบอก เสนอไปม่รู้จะรับไหมแต่ก็หวังว่าจะฟังกันบ้าง ถ้าร่างมีการริดรอนสิทธิจะไม่ได้นำไปสู่การกติรูปแต่จะเป็นการสร้างปัญหาไม่รู้จบ ตนอายุห้าสิบกว่าแล้วหวังว่าจะไม่ต้องมาพูดเรื่องร่างรธนฉบับอื่นอีก ตอนนี้ดูเหมือนมีฝายเดียวที่ให้ความรู้ได้แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ การลงประชาติพิกาลแต่เบื้องต้น พิกลพิกาล

.....
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์












....
...





ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ อย่างในเชิงกระบวนการจะเห็นได้ว่า ที่มาของรัฐธรรรมนูญฉบับนี้มาจากคนกลุ่มน้อย ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน 

ส่วนในเชิงเนื้อหานั้น ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างหน้าที่ของรัฐทำให้รัฐมีขนาดใหญ่และย้อนแย้งกับการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นใหญ่

นอกจากนี้ ในการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยทางการเงินการคลังก็มีปัญหา เพราะไม่แน่ว่าจะตีความได้แบบไหน เช่น ห้ามทำงบขาดดุลหรือไม่ ในเมื่อรัฐต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคมและมีโอกาส จะขาดดุลได้ แล้วการสร้างมาตรการเหล่านี้จะผูกมัดไม่ให้รัฐจัดสวัสดิการได้อย่างเต็มที่หรือไม่

และส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือการผลิตซ้ำคำว่า ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีในร่างรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาของการกำหนดคำดังกล่าวเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญก็คือ เปิดช่องให้รตีความข้อความดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เพราะขอบเขตของคำว่าศีลธรรมไม่รู้อยู่ตรงไหน

** หมายเหตุ: หลังเวทีเสวนา "รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?" ไม่ได้จัดที่หอศิลป์ตามกำหนดเดิม เพราะถูกทหารตำรวจส่งจดหมายไปจนหอศิลป์ยกเลิกการใช้สถานที่ แต่วิทยากรทุกคนยังได้นำประเด็นมาออกรายการเวทีสาธารณะ ที่สถานีโทรทัศน์ThaiPBS ตามกำหนดวันและเวลาเดิม
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ อย่างในเชิงกระบวนการจะเห็นได้ว่า ที่มาของรัฐธรรรมนูญฉบับนี้มาจากคนกลุ่มน้อย ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน 

ส่วนในเชิงเนื้อหานั้น ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างหน้าที่ของรัฐทำให้รัฐมีขนาดใหญ่และย้อนแย้งกับการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นใหญ่

นอกจากนี้ ในการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยทางการเงินการคลังก็มีปัญหา เพราะไม่แน่ว่าจะตีความได้แบบไหน เช่น ห้ามทำงบขาดดุลหรือไม่ ในเมื่อรัฐต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคมและมีโอกาส จะขาดดุลได้ แล้วการสร้างมาตรการเหล่านี้จะผูกมัดไม่ให้รัฐจัดสวัสดิการได้อย่างเต็มที่หรือไม่

และส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือการผลิตซ้ำคำว่า ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีในร่างรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาของการกำหนดคำดังกล่าวเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญก็คือ เปิดช่องให้รตีความข้อความดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เพราะขอบเขตของคำว่าศีลธรรมไม่รู้อยู่ตรงไหน