คำนูณ ยก ม.16รธน.ฝรั่งเศส ชี้ระบอบปชต.ก็เปิดให้มี’อำนาจเด็ดขาดหยุดวิกฤต’ได้
http://www.matichon.co.th/news/47070
อ่านนี่เลยครับ อ.ปิยบุตรเขียนดักไว้ก่อนแล้ว
มาตรา ๑๗ ของจอมพลสฤษดิ์ มาตรา ๔๔ ของ พล.อ.ประยุทธ เหมือนกับมาตรา ๑๖ ของนายพลเดอโกลล์ จริงหรือ?
http://blogazine.pub/blogs/piyabutr-saengkanokkul/post/4932…
เหตุมันเกิดจากเยอรมันรุกรานฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเรื่องร้ายแรงขั้นเสียเอกราช เดอโกลด์จึงเสนอให้มี ม.16 ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเผด็จการชั่วคราว (แต่รัฐสภายังอยู่ และฉีกรัฐธรรมนูญไม่ได้) แต่พอมีแล้ว เดอโกลด์ใช้กับกรณีแอลจีเรีย ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จนต้องแก้ไขให้ตุลาการรัฐธรรมนูญ (ที่ยึดโยงประชาชน) วินิจฉัยได้ แล้วหลังจากนั้นก็ไม่เคยมีการใช้ ม.16 อีกเลย
ooo
24 กรกฎาคม, 2014 - 15:44 |
โดย Piyabutr Saengk...
ประชาไท Blogazine
ตามบันทึกของนายสมภพ โหตระกิตย์ เนติบริกรรุ่นแรก กล่าวไว้ว่า พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ คือ ผู้ยกร่างธรรมนูญการปกครอง ๒๕๐๒ และมาตรา ๑๗ สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยนำตัวแบบมาจากมาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ๑๙๕๘ สมัยสาธารณรัฐที่ ๕
ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ มาตรา ๔๔ ไปเชื่อมโยงกับมาตรา ๑๗ ของจอมพลสฤษดิ์ และโยงไปถึงรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มาตรา ๑๖ อีกครั้ง
ที่จำๆท่องๆพูดๆต่อกันมาว่า มาตรา ๑๗ ของสฤษดิ์ ไปลอกมาจากมาตรา ๑๖ ของนายพลเดอโกลล์ นั้น อาจจะ "ลอก" จริงก็ได้ แต่ "ลอก" มาไม่หมด และไม่เหมือนกันเลย
ความคิดพื้นฐานอาจคล้ายกันเรื่อง "อำนาจเผด็จการ" ในการแก้ไขวิกฤติ แต่ในรายละเอียดแล้ว ต่างกันมาก
ผมขออธิบาย มาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ดังนี้
ระว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในเดือนมิถุนายน ๑๙๔๐ ฝรั่งเศสประกาศยอมแพ้เยอรมนี และอนุญาตให้กองทัพนาซีเข้ามายึดครองแผ่นดินฝรั่งเศสได้ จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น นายพลชาร์ลส์ เดอโกลล์เห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความอ่อนแอและไร้เสถียรภาพของรัฐบาล ในยามวิกฤต รัฐบาลกลับปราศจากอำนาจที่เด็ดขาดและเข้มแข็งเพียงพอที่จะรักษาเอกราชของประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และประกาศเริ่มต้นสาธารณรัฐที่ ๕ นายพลเดอโกลล์ในฐานะผู้นำการปฏิรูปการเมือง จึงเสนอให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจพิเศษของผู้นำประเทศในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็กลายเป็นเขาเองที่เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่นำบทบัญญัตินี้มาใช้
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ ๕ มาตรา ๑๖ กำหนดให้ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษในวิกฤตการณ์พิเศษ โดยมีเงื่อนไขการใช้อำนาจซึ่งแบ่งได้ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ เงื่อนไขทางเนื้อหา และเงื่อนไขทางรูปแบบ
ในส่วนเงื่อนไขทางเนื้อหา ข้อหนึ่ง ต้องเกิดสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด ข้อสอง สถานการณ์ตามข้อหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง และข้อสาม มาตรการที่ประธานาธิบดีใช้จะต้องดำเนินไปในระยะเวลาจำกัดที่สุดและเป็นไปเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นไปตามปกติ
ในส่วนเงื่อนไขทางรูปแบบ ข้อหนึ่ง ประธานาธิบดีต้องปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อนการประกาศใช้อำนาจ เงื่อนไขข้อนี้มีข้อสังเกตว่าความเห็นของนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีผลผูกมัดประธานาธิบดี ข้อสอง ประธานาธิบดีจะต้องแถลงการณ์การใช้มาตรการดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
เมื่อประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือ อำนาจทุกประการรวมศูนย์อยู่ที่ตัวประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใดๆก็ได้เพื่อแก้วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่ง คือ เป็น “เผด็จการชั่วคราว” นั่นเอง อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นอยู่สองประการที่ประธานาธิบดีไม่อาจทำได้ หนึ่ง ประธานาธิบดีไม่อาจยุบสภาได้ นั่นก็หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติทั้งการออกกฎหมายและการควบคุมฝ่ายบริหาร แต่สภาไม่อาจควบคุมมาตรการที่เป็นผลจาการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ สอง ประธานาธิบดีไม่อาจอ้างมาตรา ๑๖ เพื่อใช้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ มาตรา ๑๖ อนุญาตให้ประธานาธิบดีออกมาตรการใดๆก็ได้เพื่อแก้ไขให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญกลับมาดำเนินการตามปกติ ซึ่งเราตีความได้โดยปริยายว่าต้องแก้ไของค์กรตามรัฐธรรมนูญและอำนาจในระดับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญในขณะนั้นเท่านั้น จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้
จนถึงปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ เพียงครั้งเดียวในสมัยประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลล์ เมื่อปี ๑๙๖๑ ต่อกรณีวิกฤตแอลจีเรียซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส การใช้มาตรา ๑๖ ในครั้งนั้น เดอโกลล์ได้ออกมาตรการที่ขัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากการออกคำสั่งจัดตั้งศาลพิเศษในแอลจีเรีย ซึ่งโดยหลักแล้วการจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายระดับรัฐบัญญัติ และการจัดตั้งศาลเพื่อกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงย่อมไม่อาจทำได้ นอกจากจะออกมาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพเป็นจำนวนมาก การใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ในกรณีแอลจีเรียยังกินเวลายาวนานถึง ๕ เดือนอีกด้วย
แม้บทบัญญัติในมาตรา ๑๖ จะมีไว้เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดโดยไม่คาดหมาย แต่หลังจากผ่านการใช้ในกรณีแอลจีเรีย ก็มีเสียงวิจารณ์อยู่มากต่อประเด็นที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดีมากจนเกินไปถึงขนาดไม่มีองค์กรใดตรวจสอบถ่วงดุล เช่นนี้ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ประธานาธิบดีจะประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ได้ตามอำเภอใจ จริงอยู่ แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องหารือกับองค์กรอื่นๆอยู่ แต่ความเห็นขององค์กรอื่นก็ไม่มีผลผูกมัดประธานาธิบดี นอกจากนี้ระยะเวลาการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา ๑๖ ก็ไม่มีกำหนดไว้ จึงเป็นไปได้ว่าประธานาธิบดีอาจไม่ยกเลิกการประกาศใช้อำนาจพิเศษ ดังที่ประธานาธิบดีเดอโกลล์ได้รับการวิจารณ์จากการใช้มาตรา ๑๖ ในกรณีแอลจีเรียยาวนานถึง ๕ เดือน ทั้งๆที่วิกฤตการณ์เริ่มคลี่คลายลงแล้ว
ข้อวิจารณ์ดังกล่าว นำมาซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖ เสียใหม่ โดยกำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทตรวจสอบ ในฐานะเป็นองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในกรณีมีการประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ไป ๓๐ วัน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๖๐ คนขึ้นไป หรือสมาชิกวุฒิสภา ๖๐ คนขึ้นไป อาจร้องขอต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า ณ เวลานั้น เงื่อนไขที่ว่าต้องเป็นสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด อันเป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง ยังคงดำรงอยู่หรือไม่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาโดยเร่งด่วน
ในกรณีมีการประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ เป็นเวลา ๖๐ วันขึ้นไป คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีสิทธิหยิบยกขึ้นพิจารณาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ เพื่อตรวจสอบว่า ณ เวลานั้น ยังคงเป็นสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด อันเป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง อยู่หรือไม่
นอกจากนี้ ศาลยังเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อีกด้วย ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาในคดี Rubin de servens เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๖๒ รวมสองประเด็น ดังนี้
๑.) การตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ของประธานาธิบดี เป็นการกระทำทางรัฐบาล ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ๒.) มาตรการต่างๆที่ใช้ในช่วงเวลาที่ประกาศการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ทั้งนี้แล้วแต่กรณี เช่น มาตรการที่มีสถานะเทียบเท่ากับคำสั่งทางปกครองหรือกฎก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลปกครอง ในคดีนี้ มาตรการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองเพิกถอน คือ คำสั่งของประธานาธิบดีที่ให้จัดตั้งศาลทหารพิเศษในแอลจีเรีย ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๓๔ กำหนดว่าการจัดตั้งศาลต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น คำสั่งที่ให้จัดตั้งศาลในกรณีนี้จึงมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ
กล่าวให้ถึงที่สุด ศาลปกครองบอกว่าการประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ศาลปกครองเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ แต่มาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างสถานการณ์พิเศษ ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบ หากมาตรการนั้นมีสถานะเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง อนึ่ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนชาวฝรั่งเศส แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดจากการใช้กองทัพเข้ายึดอำนาจ เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มาตรา ๑๖ แล้ว ท่านสามารถพิจารณาได้เองว่าเหมือนกับมาตรา ๑๗ ของจอมพลสฤษดิ์ เหมือนกับมาตรา ๔๔ ของจอมพล เอ้ย พล.อ.ประยุทธ์ จริงหรือ???
บล็อกของ Piyabutr Saengkanokkul
ประชาไท Blogazine
ตามบันทึกของนายสมภพ โหตระกิตย์ เนติบริกรรุ่นแรก กล่าวไว้ว่า พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ คือ ผู้ยกร่างธรรมนูญการปกครอง ๒๕๐๒ และมาตรา ๑๗ สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยนำตัวแบบมาจากมาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ๑๙๕๘ สมัยสาธารณรัฐที่ ๕
ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวเรื่องรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๕๗ มาตรา ๔๔ ไปเชื่อมโยงกับมาตรา ๑๗ ของจอมพลสฤษดิ์ และโยงไปถึงรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มาตรา ๑๖ อีกครั้ง
ที่จำๆท่องๆพูดๆต่อกันมาว่า มาตรา ๑๗ ของสฤษดิ์ ไปลอกมาจากมาตรา ๑๖ ของนายพลเดอโกลล์ นั้น อาจจะ "ลอก" จริงก็ได้ แต่ "ลอก" มาไม่หมด และไม่เหมือนกันเลย
ความคิดพื้นฐานอาจคล้ายกันเรื่อง "อำนาจเผด็จการ" ในการแก้ไขวิกฤติ แต่ในรายละเอียดแล้ว ต่างกันมาก
ผมขออธิบาย มาตรา ๑๖ ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส ดังนี้
ระว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในเดือนมิถุนายน ๑๙๔๐ ฝรั่งเศสประกาศยอมแพ้เยอรมนี และอนุญาตให้กองทัพนาซีเข้ามายึดครองแผ่นดินฝรั่งเศสได้ จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น นายพลชาร์ลส์ เดอโกลล์เห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความอ่อนแอและไร้เสถียรภาพของรัฐบาล ในยามวิกฤต รัฐบาลกลับปราศจากอำนาจที่เด็ดขาดและเข้มแข็งเพียงพอที่จะรักษาเอกราชของประเทศได้ ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่และประกาศเริ่มต้นสาธารณรัฐที่ ๕ นายพลเดอโกลล์ในฐานะผู้นำการปฏิรูปการเมือง จึงเสนอให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจพิเศษของผู้นำประเทศในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ร้ายแรง และในท้ายที่สุดก็กลายเป็นเขาเองที่เป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวที่นำบทบัญญัตินี้มาใช้
รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ ๕ มาตรา ๑๖ กำหนดให้ประธานาธิบดีมีอำนาจพิเศษในวิกฤตการณ์พิเศษ โดยมีเงื่อนไขการใช้อำนาจซึ่งแบ่งได้ ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ เงื่อนไขทางเนื้อหา และเงื่อนไขทางรูปแบบ
ในส่วนเงื่อนไขทางเนื้อหา ข้อหนึ่ง ต้องเกิดสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด ข้อสอง สถานการณ์ตามข้อหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง และข้อสาม มาตรการที่ประธานาธิบดีใช้จะต้องดำเนินไปในระยะเวลาจำกัดที่สุดและเป็นไปเฉพาะเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อให้การดำเนินการขององค์กรตามรัฐธรรมนูญเป็นไปตามปกติ
ในส่วนเงื่อนไขทางรูปแบบ ข้อหนึ่ง ประธานาธิบดีต้องปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ก่อนการประกาศใช้อำนาจ เงื่อนไขข้อนี้มีข้อสังเกตว่าความเห็นของนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีผลผูกมัดประธานาธิบดี ข้อสอง ประธานาธิบดีจะต้องแถลงการณ์การใช้มาตรการดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
เมื่อประธานาธิบดีตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ดังกล่าวแล้ว ผลก็คือ อำนาจทุกประการรวมศูนย์อยู่ที่ตัวประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจกระทำการใดๆก็ได้เพื่อแก้วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่ง คือ เป็น “เผด็จการชั่วคราว” นั่นเอง อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นอยู่สองประการที่ประธานาธิบดีไม่อาจทำได้ หนึ่ง ประธานาธิบดีไม่อาจยุบสภาได้ นั่นก็หมายความว่า สภาผู้แทนราษฎรยังคงทำหน้าที่ได้ตามปกติทั้งการออกกฎหมายและการควบคุมฝ่ายบริหาร แต่สภาไม่อาจควบคุมมาตรการที่เป็นผลจาการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ สอง ประธานาธิบดีไม่อาจอ้างมาตรา ๑๖ เพื่อใช้แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ มาตรา ๑๖ อนุญาตให้ประธานาธิบดีออกมาตรการใดๆก็ได้เพื่อแก้ไขให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญกลับมาดำเนินการตามปกติ ซึ่งเราตีความได้โดยปริยายว่าต้องแก้ไของค์กรตามรัฐธรรมนูญและอำนาจในระดับรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้อยู่ในรัฐธรรมนูญในขณะนั้นเท่านั้น จะไปแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้
จนถึงปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ เพียงครั้งเดียวในสมัยประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอโกลล์ เมื่อปี ๑๙๖๑ ต่อกรณีวิกฤตแอลจีเรียซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส การใช้มาตรา ๑๖ ในครั้งนั้น เดอโกลล์ได้ออกมาตรการที่ขัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากการออกคำสั่งจัดตั้งศาลพิเศษในแอลจีเรีย ซึ่งโดยหลักแล้วการจัดตั้งศาลต้องทำโดยกฎหมายระดับรัฐบัญญัติ และการจัดตั้งศาลเพื่อกรณีใดกรณีหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงย่อมไม่อาจทำได้ นอกจากจะออกมาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพเป็นจำนวนมาก การใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ในกรณีแอลจีเรียยังกินเวลายาวนานถึง ๕ เดือนอีกด้วย
แม้บทบัญญัติในมาตรา ๑๖ จะมีไว้เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดโดยไม่คาดหมาย แต่หลังจากผ่านการใช้ในกรณีแอลจีเรีย ก็มีเสียงวิจารณ์อยู่มากต่อประเด็นที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดีมากจนเกินไปถึงขนาดไม่มีองค์กรใดตรวจสอบถ่วงดุล เช่นนี้ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ประธานาธิบดีจะประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ได้ตามอำเภอใจ จริงอยู่ แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องหารือกับองค์กรอื่นๆอยู่ แต่ความเห็นขององค์กรอื่นก็ไม่มีผลผูกมัดประธานาธิบดี นอกจากนี้ระยะเวลาการใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา ๑๖ ก็ไม่มีกำหนดไว้ จึงเป็นไปได้ว่าประธานาธิบดีอาจไม่ยกเลิกการประกาศใช้อำนาจพิเศษ ดังที่ประธานาธิบดีเดอโกลล์ได้รับการวิจารณ์จากการใช้มาตรา ๑๖ ในกรณีแอลจีเรียยาวนานถึง ๕ เดือน ทั้งๆที่วิกฤตการณ์เริ่มคลี่คลายลงแล้ว
ข้อวิจารณ์ดังกล่าว นำมาซึ่งการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖ เสียใหม่ โดยกำหนดให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทตรวจสอบ ในฐานะเป็นองค์กรพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ในกรณีมีการประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ไป ๓๐ วัน ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๖๐ คนขึ้นไป หรือสมาชิกวุฒิสภา ๖๐ คนขึ้นไป อาจร้องขอต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า ณ เวลานั้น เงื่อนไขที่ว่าต้องเป็นสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด อันเป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง ยังคงดำรงอยู่หรือไม่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาโดยเร่งด่วน
ในกรณีมีการประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ เป็นเวลา ๖๐ วันขึ้นไป คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีสิทธิหยิบยกขึ้นพิจารณาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องมีผู้ใดร้องขอ เพื่อตรวจสอบว่า ณ เวลานั้น ยังคงเป็นสถานการณ์ที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ เอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งอาณาเขตของสาธารณรัฐ หรือการบังคับการตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและทันทีทันใด อันเป็นเหตุให้การดำเนินการตามปกติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงักลง อยู่หรือไม่
นอกจากนี้ ศาลยังเข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อีกด้วย ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาในคดี Rubin de servens เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๑๙๖๒ รวมสองประเด็น ดังนี้
๑.) การตัดสินใจประกาศใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ ของประธานาธิบดี เป็นการกระทำทางรัฐบาล ซึ่งไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ๒.) มาตรการต่างๆที่ใช้ในช่วงเวลาที่ประกาศการใช้อำนาจตามมาตรา ๑๖ อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรตุลาการ ทั้งนี้แล้วแต่กรณี เช่น มาตรการที่มีสถานะเทียบเท่ากับคำสั่งทางปกครองหรือกฎก็อยู่ภายใต้การควบคุมของศาลปกครอง ในคดีนี้ มาตรการที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลปกครองเพิกถอน คือ คำสั่งของประธานาธิบดีที่ให้จัดตั้งศาลทหารพิเศษในแอลจีเรีย ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญมาตรา ๓๔ กำหนดว่าการจัดตั้งศาลต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ ดังนั้น คำสั่งที่ให้จัดตั้งศาลในกรณีนี้จึงมีสถานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ ซึ่งศาลปกครองไม่มีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติ
กล่าวให้ถึงที่สุด ศาลปกครองบอกว่าการประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี ศาลปกครองเข้าไปตรวจสอบไม่ได้ แต่มาตรการต่างๆที่ใช้ในระหว่างสถานการณ์พิเศษ ศาลปกครองย่อมมีอำนาจตรวจสอบ หากมาตรการนั้นมีสถานะเป็นกฎหรือคำสั่งทางปกครอง อนึ่ง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนชาวฝรั่งเศส แต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดจากการใช้กองทัพเข้ายึดอำนาจ เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญฝรั่งเศส มาตรา ๑๖ แล้ว ท่านสามารถพิจารณาได้เองว่าเหมือนกับมาตรา ๑๗ ของจอมพลสฤษดิ์ เหมือนกับมาตรา ๔๔ ของจอมพล เอ้ย พล.อ.ประยุทธ์ จริงหรือ???
บล็อกของ Piyabutr Saengkanokkul