พูดถึงประเทศไทย นาทีที่ 2.07
https://www.youtube.com/watch?v=KFOXsXMPn1A
Amnesty International Thailand
Published on Feb 23, 2016
Amnesty International Annual Report 2015/2016 "The State of The World's Human Rights"
รายงานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลประจำปี 2558-2559 เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2558 สำหรับประเทศไทยมีหลายประเด็นที่ยังน่าห่วงใย ตั้งแต่การต่อสู้ด้วยอาวุธ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณโดยเจ้าหน้าที่รัฐ การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง และโทษประหารชีวิต
ooo
'แอมเนสตี้ฯ' เปิดรายงานสถานการณ์สิทธิทั่วโลก-ไทย บัวแก้วเสียใจ ไม่พูดด้านบวกบ้าง
Wed, 2016-02-24 22:32
ประชาไท
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิทั่วโลก ประจำปี 58-59 ชี้สถานการณ์สิทธิไทยถูกไฮไลท์ ด้านกระทรวงการต่างประเทศออกใบแถลงข่าวระบุ เสียใจที่เรื่องพัฒนาการเชิงบวกไม่ถูกพูดถึง
24 ก.พ. 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2558-2559 (อ่านฉบับเต็มที่นี่) ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ โดยการเปิดตัวรายงานนี้จัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในวันนี้
ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเตือนว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากลกำลังถูกคุกคาม จากการที่แต่ละประเทศใช้อำนาจปราบปรามอย่างกว้างขวางในนามของความมั่นคงและแสวงประโยชน์ในระยะสั้น นำไปสู่การลิดรอนเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
จากการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2558 แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในหลายประเทศละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในปี 2558 ระหว่างการดำเนินงานในประเทศ รัฐกว่า 112 ประเทศได้ทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายกับประชาชนของตนเอง และรัฐ 30 แห่งหรือมากกว่านั้นบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมายไปยังประเทศที่พวกเขาอาจได้รับอันตราย ในอย่างน้อย 19 ประเทศ รัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธได้ก่ออาชญากรรมสงครามหรือการละเมิดอื่นๆ ต่อ “กฎหมายสงคราม”
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเตือนถึงแนวโน้มที่น่ากังวล เนื่องจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มุ่งโจมตีและคุกคามนักกิจกรรม นักกฎหมาย และบุคคลอื่นที่ทำงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
ชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติ การรายงานสถานการณ์ของไทย จะรายงานหลังจากสถานการณ์ในเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกแล้ว แต่ครั้งนี้ เรื่องของประเทศไทย มีรายงานอยู่ทั้งในรายงานเอเชียแปซิฟิก, ภาพรวมทั่วโลก รวมถึงในวิดีโอความยาว 4 นาที ที่ฉายพร้อมกันทั่วโลกด้วย
ชำนาญ ระบุว่า สถานการณ์สิทธิในประเทศไทย มีหลายประเด็นที่น่าห่วงใย ได้แก่ การขัดแย้งกันด้วยอาวุธในประเทศในจังหวัดชายแดนใต้ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยพบรายงานเรื่องการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การคุมตัวโดยพลการ และการเสียชีวิตในที่คุมตัวในค่ายทหาร ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกปฏิเสธการเข้าเยี่ยม สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นักกิจกรรมทางการเมืองซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีระเบิดที่มีรายงานว่าถูกซ้อมทรมาน การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ มีการละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยพลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร มีการเซ็นเซอร์ความเห็นเชิงลบ มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 และ 116 ของประมวลกฎหมายอาญา มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิที่ดินถูกยิงเสียชีวิต ขณะที่ผู้ที่เรียกร้องให้ตรวจสอบการทำเหมืองแร่ที่เลยถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาท ด้านผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง มีกรณีส่งกลับ รวมถึงจับกุมและควบคุมตัวผู้แสวงหาที่พักพิงตลอดทั้งปี และโทษประหารชีวิต ที่ยังคงมีการตัดสินในชั้นศาล แม้ว่าไม่มีรายงานการประหารชีวิต
ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้
ความขัดแย้งกันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้ดำเนินการสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ลำเอียง รับรองว่าผู้ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆ และค่ายทหารสามารถเข้าถึงทนายความและญาติ รวมถึงดำเนินการสืบหาและเปิดเผยที่อยู่ของทนายสมชาย นีละไพจิตร และบุคคลอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้สูญหาย
การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ขอให้ดำเนินการสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเป็นอิสระและรอบด้าน และขอให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยเนื้อหาต้องสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ ขอให้ปฏิรูปหรือยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้องต่อพันธกรณีประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่กำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ยุติการจับกุมโดยพลการ ยุติใช้ศาลทหารเพื่อไต่สวนคดีของพลเรือน
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยุติการโจมตีการทำงานของนักปกป้องสิทธิฯ และให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย
ผู้ลี้ภัยและโยกย้ายถิ่นฐาน เคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ สอบกรณีการบังคับชาวโรฮิงญาให้เดินทางกลับ เคารพต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่อนุญาตให้ผู้แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึงกระบวนการของ UNHCR และให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
กฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ขอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยยกเลิกบทบัญญัติที่บุคคลใดๆ สามารถฟ้องร้องบุคคลอื่นในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ตลอดจนกำหนดอัตราโทษให้ได้สัดส่วนต่อฐานความผิด โดยระหว่างรอแก้ไขให้ชะลอการใช้กฎหมายดังกล่าว และถอนข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และปล่อยผู้ที่ถูกคุมขังภายใต้ข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
ตอนหนึ่งในการบรรยายหัวข้อ "ภารกิจกระทรวงยุติธรรมในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน" นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีโทษประหารชีวิตว่า ได้มอบให้สำนักงานกิจการยุติธรรมดูเรื่องนี้ โดยแบ่งเป็น 3 เฟส เริ่มจาก เฟสแรก คือการศึกษาว่าโทษประหารชีวิตแบบใดที่ลดหย่อนไม่ได้เลย เฟสสองก็จะขอเปลี่ยนโทษประหารชีวิตในกรณีนั้นๆ ให้เป็นเรื่องดุลพินิจของศาล และเฟสสาม คือดำเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต พร้อมชี้แจงว่า กรณีประเทศไทยต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ขอเรียนว่าตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ไทยไม่มีการประหารชีวิตเลย
ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน ซึ่งถูกกองทัพเรือฟ้องดำเนินคดีด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการนำเสนอข่าวอ้างอิงรายงานเรื่องการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาของสำนักข่าวรอยเตอร์ ก่อนศาลภูเก็ตจะยกฟ้องในเวลาต่อมาและตามมาด้วยการต้องปิดตัวลงของเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน กล่าวในหัวข้อ "เสรีภาพสื่อในการนำเสนอข่าวด้านสิทธิมนุษยชน" โดยระบุว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นการถูกใช้กฎหมายเพื่อคุกคามเสรีภาพในการทำงานสื่อ มากกว่าจะใช้จัดการกับกลุ่มที่ทำผิดหรือทุจริต พร้อมชี้ว่า เมื่อถูกฟ้องดำเนินคดี ทำให้ต้องตั้งคำถามกลับมาที่ตัวเองว่าจะเสนอข่าวอย่างไร อะไรที่พูดได้พูดไม่ได้ แต่ก็ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในการทำข่าว ซึ่งสุดท้ายส่งผลต่อผู้รับข่าวสารในไทย
ชุติมา กล่าวว่า การฟ้องดำเนินคดีดังกล่าวยังมีผลเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู โดยสื่อในพื้นที่หลายคนเลือกที่จะเงียบและไม่เสนอข่าว แม้จะมีการสนับสนุนตนเองในทางส่วนตัว อย่างไรก็ตาม เธอย้ำว่า เจ้าหน้าที่รัฐควรตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่าจริงหรือไม่ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่ดูแลพวกเขาอย่างไร ส่งกลับอย่างไร แต่กลับเลือกใช้กฎหมายระงับ ปกปิด สิทธิเสรีภาพ
นอกจากนี้ ชุติมา เล่าถึงประสบการณ์ที่ถูกกองทุนยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือในการประกันตัวจำนวน 200,00 บาทว่า ขณะนั้น กองทุนยุติธรรมทำหนังสือตอบเรื่องการไม่อนุมัติเงินว่า เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่ผู้ที่ขอรับการสนับสนุน นำเสนอเผยแพร่ต่อสาธารณะ เป็นข้อมูลที่เป็นความเท็จ โดยผู้ขอการสนับสนุนประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสื่อข่าวสื่อสาร จะต้องตระหนักและตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนนำเสนอทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้กองทัพเรือได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง จึงมีมูลน่าเชื่อว่า ผู้ขอรับการสนับสนุนกระทำผิด
"ดิฉันไม่รู้จะบรรยายอย่างไรกับคำตอบที่ได้จากกองทุนยุติธรรมซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนปกป้องสิทธิเสรีภาพตรงนี้ กลับเป็นว่าทำให้เรารู้สึกประหม่า กลัว เราจะพึ่งใครได้ เราถูกตัดสินตั้งแต่ก่อนเรื่องจะขึ้นศาล ยังไม่มีการสืบพยาน ตรงนี้เหมือนกับว่าเป็นการซ้ำเติมเข้าไปทำให้เรารู้สึกแย่ ไม่มีกำลังใจในการทำงาน" ชุติมา กล่าว
นอกจากนี้ ชุติมาตอบคำถามกรณีความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาว่า ปัจจุบัน เรื่องเงียบไป ไม่มีใครกล้าแตะ หรือซักถามความคืบหน้าจากเจ้าหน้าที่ หลัง พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนหัวหน้าชุดดำเนินคดีค้ามนุษย์ลี้ภัยไปต่างประเทศ เหมือนเป็นการส่งสัญญาณที่แรงมากว่า แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐยังต้องระหกระเหินออกนอกประเทศ แม้มีผลงานจับกุมข้าราชการพลเรือนและต่างด้าว เรื่องนี้ท้าทายรัฐบาลว่าจริงใจแค่ไหนในการทำคดีนี้ รัฐบาลจะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่และเอ็นจีโอที่เข้าไปตรวจสอบการค้ามนุษย์ไม่ถูกคุกคาม
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวในหัวข้อ "กฎหมายไซเบอร์ vs สิทธิมนุษยชน" ถึงความพยายามของรัฐในการสอดแนมการสื่อสารทางออนไลน์ของประชาชนตลอดปีที่ผ่านมา รวมถึงกรณีที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีใดๆ อย่างกรณีการขอค้นรถทนายความกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งในที่สุด เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโทรศัพท์มือถือที่อยู่ในรถคันดังกล่าวไปจากจุดที่ยึดได้โดยที่ยังไม่ได้ทำการผนึกซอง ก่อนจะนำโทรศัพท์เหล่านั้นกลับมาอีกครั้งเพื่อปิดผนึก ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าหลักฐานพยานอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะรับฟังได้เพียงใดในศาล หรือกรณีที่มีนักกิจกรรมรายหนึ่งในเชียงใหม่ถูกเรียกรายงานตัว พร้อมขอรหัสผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยหลังปล่อยตัว คนที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่โทรศัพท์มาถามว่าทำไมจึงเปลี่ยนรหัสผ่าน
อย่างไรก็ตาม อาทิตย์ระบุว่า ไม่ปฏิเสธว่ารัฐต้องมีเครื่องมือบางอย่างเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย หรืออาชญากรรมต่างๆ แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การใช้เทคโนโลยีและกฎหมายต้องมีการใช้กลไกในการคานอำนาจ
อาทิตย์ กล่าวต่อว่า แต่ที่น่าผิดหวัง คือ องค์กรที่คิดว่าจะคานอำนาจได้อย่างคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น ก็พบว่า ในร่างกฎหมายปัจจุบัน ยังไม่น่าจะเป็นอิสระ หรือคุ้มครองได้จริง เพราะกำหนดให้สำนักงานเลขาฯ มาจากฝ่ายความมั่นคง นั่นคือ สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ทั้งที่การทำหน้าที่ของสองฝ่ายมีความขัดแย้งกันเอง โดยร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้อำนาจสำนักเลขาฯ ในการประสานงาน ทำให้การดำเนินกิจกรรมดำเนินไปได้ เท่ากับต้องพึ่งสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สูง อาจทำให้การทำงานไม่เป็นอิสระได้
ต่อมา ชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มอบรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558-2559 แก่ อภิรักษ์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาล เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
โดย อภิรักษ์ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศจะรีบทำรายงานเสนอรายงานและข้อกังวลของภาคประชาสังคมต่อรัฐบาล และเชื่อว่า รัฐบาลจะปฏิบัติตามที่ได้เคยพูดไว้หลายครั้งว่าให้ความสำคัญกับการปกป้องพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชน แม้ยังอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติก็ต้องแก้ไขต่อไป
เขาแสดงความเห็นส่วนตัวว่า เคยแย้งกับทางรัฐบาลว่า การที่ทางทำเนียบรัฐบาลเคยมองว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องต่างประเทศนั้น อาจไม่ใช่ภาพที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะรู้สึกตลอดมาว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของเรา ที่รัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ของคนไทยในประเทศ มันไม่ใช่มาตรฐาน "ฝรั่ง" ที่เอามาบังคับใช้ในสังคมไทย แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในเนื้อในของสังคมไทยเอง แต่ในฐานะที่กระทรวงการต่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เมื่อรัฐบาลสั่งมา ก็ยินดีมาเป็นตัวแทนในวันนี้
บัวแก้วเสียใจ ไม่พูดด้านบวกบ้าง
วันเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของไทย ออกใบแถลงข่าว แสดงความเห็นต่อรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยระบุว่า เสียใจที่รายงานนำเสนอเพียงประเด็นที่เป็นความกังวลในปัจจุบัน แต่ไม่พูดถึงพัฒนาการเชิงบวกของประเทศไทย รายงานยังละเลยที่จะพูดถึงความท้าทายเรื่องความจำเป็นในการรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงออก กับความจำเป็นในการป้องกันความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นอีก
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศระบุด้วยว่า รายงานยังไม่สะท้อนเรื่องการพัฒนาในเชิงบวกที่หลากหลายซึ่งเกิดจากความพยายามของรัฐบาลไทยในการปรับปรุงมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น บทบาทนำของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับนานาชาติเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดีย การทยายเครือข่ายค้ามนุษย์และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย การแก้ไขและผ่านกฎหมาย 164 ฉบับ โดยตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล มีการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ การแก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม โดยรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปกป้องกลุ่มเสี่ยงและแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิทั่วโลก ประจำปี 58-59 ชี้สถานการณ์สิทธิไทยถูกไฮไลท์ ด้านกระทรวงการต่างประเทศออกใบแถลงข่าวระบุ เสียใจที่เรื่องพัฒนาการเชิงบวกไม่ถูกพูดถึง
24 ก.พ. 2559 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนประจำปี 2558-2559 (อ่านฉบับเต็มที่นี่) ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ โดยการเปิดตัวรายงานนี้จัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกในวันนี้
ซาลิล เช็ตตี้ (Salil Shetty) เลขาธิการใหญ่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวเตือนว่า การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากลกำลังถูกคุกคาม จากการที่แต่ละประเทศใช้อำนาจปราบปรามอย่างกว้างขวางในนามของความมั่นคงและแสวงประโยชน์ในระยะสั้น นำไปสู่การลิดรอนเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน
จากการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในปี 2558 แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลในหลายประเทศละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างชัดเจนในปี 2558 ระหว่างการดำเนินงานในประเทศ รัฐกว่า 112 ประเทศได้ทรมานหรือการปฏิบัติที่โหดร้ายกับประชาชนของตนเอง และรัฐ 30 แห่งหรือมากกว่านั้นบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมายไปยังประเทศที่พวกเขาอาจได้รับอันตราย ในอย่างน้อย 19 ประเทศ รัฐบาลและกลุ่มติดอาวุธได้ก่ออาชญากรรมสงครามหรือการละเมิดอื่นๆ ต่อ “กฎหมายสงคราม”
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเตือนถึงแนวโน้มที่น่ากังวล เนื่องจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มุ่งโจมตีและคุกคามนักกิจกรรม นักกฎหมาย และบุคคลอื่นที่ทำงานคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
ชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติ การรายงานสถานการณ์ของไทย จะรายงานหลังจากสถานการณ์ในเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกแล้ว แต่ครั้งนี้ เรื่องของประเทศไทย มีรายงานอยู่ทั้งในรายงานเอเชียแปซิฟิก, ภาพรวมทั่วโลก รวมถึงในวิดีโอความยาว 4 นาที ที่ฉายพร้อมกันทั่วโลกด้วย
ชำนาญ ระบุว่า สถานการณ์สิทธิในประเทศไทย มีหลายประเด็นที่น่าห่วงใย ได้แก่ การขัดแย้งกันด้วยอาวุธในประเทศในจังหวัดชายแดนใต้ การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย โดยพบรายงานเรื่องการซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การคุมตัวโดยพลการ และการเสียชีวิตในที่คุมตัวในค่ายทหาร ขณะที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติถูกปฏิเสธการเข้าเยี่ยม สรรเสริญ ศรีอุ่นเรือน นักกิจกรรมทางการเมืองซึ่งเป็นผู้ต้องหาคดีระเบิดที่มีรายงานว่าถูกซ้อมทรมาน การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ มีการละเมิดสิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยพลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร มีการเซ็นเซอร์ความเห็นเชิงลบ มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 และ 116 ของประมวลกฎหมายอาญา มีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกคุกคาม นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิที่ดินถูกยิงเสียชีวิต ขณะที่ผู้ที่เรียกร้องให้ตรวจสอบการทำเหมืองแร่ที่เลยถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาท ด้านผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง มีกรณีส่งกลับ รวมถึงจับกุมและควบคุมตัวผู้แสวงหาที่พักพิงตลอดทั้งปี และโทษประหารชีวิต ที่ยังคงมีการตัดสินในชั้นศาล แม้ว่าไม่มีรายงานการประหารชีวิต
ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้
ความขัดแย้งกันในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้ดำเนินการสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ลำเอียง รับรองว่าผู้ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆ และค่ายทหารสามารถเข้าถึงทนายความและญาติ รวมถึงดำเนินการสืบหาและเปิดเผยที่อยู่ของทนายสมชาย นีละไพจิตร และบุคคลอื่นๆ ที่ถูกบังคับให้สูญหาย
การทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย ขอให้ดำเนินการสอบสวนข้อกล่าวหาเรื่องการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้ายอื่นๆ ซึ่งกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเป็นอิสระและรอบด้าน และขอให้ผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดยเนื้อหาต้องสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
การปราบปรามผู้เห็นต่างจากรัฐ ขอให้ปฏิรูปหรือยกเลิกกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้องต่อพันธกรณีประเทศไทยตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่กำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง ยุติการจับกุมโดยพลการ ยุติใช้ศาลทหารเพื่อไต่สวนคดีของพลเรือน
นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยุติการโจมตีการทำงานของนักปกป้องสิทธิฯ และให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการบังคับให้สูญหาย
ผู้ลี้ภัยและโยกย้ายถิ่นฐาน เคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ สอบกรณีการบังคับชาวโรฮิงญาให้เดินทางกลับ เคารพต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่อนุญาตให้ผู้แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึงกระบวนการของ UNHCR และให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย
กฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ขอให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยยกเลิกบทบัญญัติที่บุคคลใดๆ สามารถฟ้องร้องบุคคลอื่นในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพได้ ตลอดจนกำหนดอัตราโทษให้ได้สัดส่วนต่อฐานความผิด โดยระหว่างรอแก้ไขให้ชะลอการใช้กฎหมายดังกล่าว และถอนข้อกล่าวหาบุคคลที่ถูกดำเนินคดีเพียงเพราะใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และปล่อยผู้ที่ถูกคุมขังภายใต้ข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข
ตอนหนึ่งในการบรรยายหัวข้อ "ภารกิจกระทรวงยุติธรรมในการส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชน" นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีโทษประหารชีวิตว่า ได้มอบให้สำนักงานกิจการยุติธรรมดูเรื่องนี้ โดยแบ่งเป็น 3 เฟส เริ่มจาก เฟสแรก คือการศึกษาว่าโทษประหารชีวิตแบบใดที่ลดหย่อนไม่ได้เลย เฟสสองก็จะขอเปลี่ยนโทษประหารชีวิตในกรณีนั้นๆ ให้เป็นเรื่องดุลพินิจของศาล และเฟสสาม คือดำเนินการยกเลิกโทษประหารชีวิต พร้อมชี้แจงว่า กรณีประเทศไทยต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ขอเรียนว่าตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ไทยไม่มีการประหารชีวิตเลย
ชุติมา สีดาเสถียร ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน ซึ่งถูกกองทัพเรือฟ้องดำเนินคดีด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาและ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากการนำเสนอข่าวอ้างอิงรายงานเรื่องการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาของสำนักข่าวรอยเตอร์ ก่อนศาลภูเก็ตจะยกฟ้องในเวลาต่อมาและตามมาด้วยการต้องปิดตัวลงของเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน กล่าวในหัวข้อ "เสรีภาพสื่อในการนำเสนอข่าวด้านสิทธิมนุษยชน" โดยระบุว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นการถูกใช้กฎหมายเพื่อคุกคามเสรีภาพในการทำงานสื่อ มากกว่าจะใช้จัดการกับกลุ่มที่ทำผิดหรือทุจริต พร้อมชี้ว่า เมื่อถูกฟ้องดำเนินคดี ทำให้ต้องตั้งคำถามกลับมาที่ตัวเองว่าจะเสนอข่าวอย่างไร อะไรที่พูดได้พูดไม่ได้ แต่ก็ไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในการทำข่าว ซึ่งสุดท้ายส่งผลต่อผู้รับข่าวสารในไทย
ชุติมา กล่าวว่า การฟ้องดำเนินคดีดังกล่าวยังมีผลเป็นการเชือดไก่ให้ลิงดู โดยสื่อในพื้นที่หลายคนเลือกที่จะเงียบและไม่เสนอข่าว แม้จะมีการสนับสนุนตนเองในทางส่วนตัว อย่างไรก็ตาม เธอย้ำว่า เจ้าหน้าที่รัฐควรตั้งโต๊ะแถลงข่าวว่าจริงหรือไม่ที่เจ้าหน้าที่รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษยชาวโรฮิงญา เจ้าหน้าที่ดูแลพวกเขาอย่างไร ส่งกลับอย่างไร แต่กลับเลือกใช้กฎหมายระงับ ปกปิด สิทธิเสรีภาพ
นอกจากนี้ ชุติมา เล่าถึงประสบการณ์ที่ถูกกองทุนยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรมปฏิเสธการให้เงินช่วยเหลือในการประกันตัวจำนวน 200,00 บาทว่า ขณะนั้น กองทุนยุติธรรมทำหนังสือตอบเรื่องการไม่อนุมัติเงินว่า เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่ผู้ที่ขอรับการสนับสนุน นำเสนอเผยแพร่ต่อสาธารณะ เป็นข้อมูลที่เป็นความเท็จ โดยผู้ขอการสนับสนุนประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสื่อข่าวสื่อสาร จะต้องตระหนักและตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนนำเสนอทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การกระทำดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้กองทัพเรือได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง จึงมีมูลน่าเชื่อว่า ผู้ขอรับการสนับสนุนกระทำผิด
"ดิฉันไม่รู้จะบรรยายอย่างไรกับคำตอบที่ได้จากกองทุนยุติธรรมซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนปกป้องสิทธิเสรีภาพตรงนี้ กลับเป็นว่าทำให้เรารู้สึกประหม่า กลัว เราจะพึ่งใครได้ เราถูกตัดสินตั้งแต่ก่อนเรื่องจะขึ้นศาล ยังไม่มีการสืบพยาน ตรงนี้เหมือนกับว่าเป็นการซ้ำเติมเข้าไปทำให้เรารู้สึกแย่ ไม่มีกำลังใจในการทำงาน" ชุติมา กล่าว
นอกจากนี้ ชุติมาตอบคำถามกรณีความคืบหน้าคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญาว่า ปัจจุบัน เรื่องเงียบไป ไม่มีใครกล้าแตะ หรือซักถามความคืบหน้าจากเจ้าหน้าที่ หลัง พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนหัวหน้าชุดดำเนินคดีค้ามนุษย์ลี้ภัยไปต่างประเทศ เหมือนเป็นการส่งสัญญาณที่แรงมากว่า แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐยังต้องระหกระเหินออกนอกประเทศ แม้มีผลงานจับกุมข้าราชการพลเรือนและต่างด้าว เรื่องนี้ท้าทายรัฐบาลว่าจริงใจแค่ไหนในการทำคดีนี้ รัฐบาลจะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่และเอ็นจีโอที่เข้าไปตรวจสอบการค้ามนุษย์ไม่ถูกคุกคาม
อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวในหัวข้อ "กฎหมายไซเบอร์ vs สิทธิมนุษยชน" ถึงความพยายามของรัฐในการสอดแนมการสื่อสารทางออนไลน์ของประชาชนตลอดปีที่ผ่านมา รวมถึงกรณีที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีใดๆ อย่างกรณีการขอค้นรถทนายความกลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งในที่สุด เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโทรศัพท์มือถือที่อยู่ในรถคันดังกล่าวไปจากจุดที่ยึดได้โดยที่ยังไม่ได้ทำการผนึกซอง ก่อนจะนำโทรศัพท์เหล่านั้นกลับมาอีกครั้งเพื่อปิดผนึก ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่าหลักฐานพยานอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะรับฟังได้เพียงใดในศาล หรือกรณีที่มีนักกิจกรรมรายหนึ่งในเชียงใหม่ถูกเรียกรายงานตัว พร้อมขอรหัสผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดยหลังปล่อยตัว คนที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่โทรศัพท์มาถามว่าทำไมจึงเปลี่ยนรหัสผ่าน
อย่างไรก็ตาม อาทิตย์ระบุว่า ไม่ปฏิเสธว่ารัฐต้องมีเครื่องมือบางอย่างเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย หรืออาชญากรรมต่างๆ แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่การใช้เทคโนโลยีและกฎหมายต้องมีการใช้กลไกในการคานอำนาจ
อาทิตย์ กล่าวต่อว่า แต่ที่น่าผิดหวัง คือ องค์กรที่คิดว่าจะคานอำนาจได้อย่างคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งกำลังจะเกิดขึ้น ก็พบว่า ในร่างกฎหมายปัจจุบัน ยังไม่น่าจะเป็นอิสระ หรือคุ้มครองได้จริง เพราะกำหนดให้สำนักงานเลขาฯ มาจากฝ่ายความมั่นคง นั่นคือ สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ทั้งที่การทำหน้าที่ของสองฝ่ายมีความขัดแย้งกันเอง โดยร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้อำนาจสำนักเลขาฯ ในการประสานงาน ทำให้การดำเนินกิจกรรมดำเนินไปได้ เท่ากับต้องพึ่งสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สูง อาจทำให้การทำงานไม่เป็นอิสระได้
ต่อมา ชำนาญ จันทร์เรือง ประธานกรรมการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มอบรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชน ประจำปี 2558-2559 แก่ อภิรักษ์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ผู้อำนวยการกองการสังคม กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนรัฐบาล เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี
โดย อภิรักษ์ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศจะรีบทำรายงานเสนอรายงานและข้อกังวลของภาคประชาสังคมต่อรัฐบาล และเชื่อว่า รัฐบาลจะปฏิบัติตามที่ได้เคยพูดไว้หลายครั้งว่าให้ความสำคัญกับการปกป้องพิทักษ์คุ้มครองสิทธิมนุษยชน แม้ยังอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติก็ต้องแก้ไขต่อไป
เขาแสดงความเห็นส่วนตัวว่า เคยแย้งกับทางรัฐบาลว่า การที่ทางทำเนียบรัฐบาลเคยมองว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องต่างประเทศนั้น อาจไม่ใช่ภาพที่ถูกต้องทั้งหมด เพราะรู้สึกตลอดมาว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของเรา ที่รัฐและเอกชนต้องทำงานร่วมกัน เพื่อผลประโยชน์ของคนไทยในประเทศ มันไม่ใช่มาตรฐาน "ฝรั่ง" ที่เอามาบังคับใช้ในสังคมไทย แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในเนื้อในของสังคมไทยเอง แต่ในฐานะที่กระทรวงการต่างประเทศก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย เมื่อรัฐบาลสั่งมา ก็ยินดีมาเป็นตัวแทนในวันนี้
บัวแก้วเสียใจ ไม่พูดด้านบวกบ้าง
วันเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศของไทย ออกใบแถลงข่าว แสดงความเห็นต่อรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยระบุว่า เสียใจที่รายงานนำเสนอเพียงประเด็นที่เป็นความกังวลในปัจจุบัน แต่ไม่พูดถึงพัฒนาการเชิงบวกของประเทศไทย รายงานยังละเลยที่จะพูดถึงความท้าทายเรื่องความจำเป็นในการรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการชุมนุมและเสรีภาพในการแสดงออก กับความจำเป็นในการป้องกันความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้นอีก
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศระบุด้วยว่า รายงานยังไม่สะท้อนเรื่องการพัฒนาในเชิงบวกที่หลากหลายซึ่งเกิดจากความพยายามของรัฐบาลไทยในการปรับปรุงมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชน เช่น บทบาทนำของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับนานาชาติเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในมหาสมุทรอินเดีย การทยายเครือข่ายค้ามนุษย์และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย การแก้ไขและผ่านกฎหมาย 164 ฉบับ โดยตั้งแต่เข้ามาเป็นรัฐบาล มีการผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ การแก้ไข พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม โดยรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ปกป้องกลุ่มเสี่ยงและแรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย