https://www.youtube.com/watch?v=0BLBo4f7nqc
นักวิชาการศาสนาชี้"พุทธะอิสระ"อ้างปฎิรูปคณะสงฆ์เพื่อกำจัดธรรมกาย ตามใบสั่ง คสช.
jom voice
Published on Feb 19, 2016
นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนาและปรัชญา ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia เกี่ยวกับแนวคิดปฎิรูปคณะสงฆ์ของพุทธะอิสระและกลุ่มปฎิรูปกิจการศาสนาของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ว่า เป็นข้ออ้างที่จะกำจัดพระธัมมะชโย วัดธรรมกาย และเชื่อว่ารัฐบาล คสช.คงไม่เอาด้วย แต่จะให้พุทธะอิสระเดินเกมทางการเมืองมากกว่า ซึ่งการปฎิรูปคณะสงฆ์นั้นควรจะทำเมื่อสังคมอยู่ในบรรยากาศประชาธิปไตย หากปฎิรูปตอนนี้ตามแนวคิดของพุทธะอิสระก็ยิ่งจะทำให้คณะสงฆ์เป็นเผด็จการมากขึ้น ตนยืนยันว่าการปฎิรูปคณะสงฆ์ต้องให้คณะสงฆ์ออกมาจากอำนาจรัฐ ไม่ควรเป็นเครื่องมือของรัฐอีกต่อไป ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าคณะสงฆไทยอย่างสำคัญและจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย แต่ต้องอาศัยเวลา
...
https://www.youtube.com/watch?v=bRsDGiPV1j0&feature=share
เส้นทางสู่สังฆราช ของ"สมเด็จช่วง"เมื่อการเมืองแทรกศาสนาจักร
jom voice
Published on Feb 19, 2016
นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านศาสนาและปรัชญา ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษเตรียมเอาผิด สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือสมเด็จช่วง กรณีถือครองรถหรูที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งการเคลื่อนไหวของกลุ่มวัดป่าบ้านตาด และพุทธะอิสระที่จะไม่ให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชว่า การตรวจสอบพระเถระชั้นผู้ใหญ่สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ในการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย องค์กรของรัฐต้องตั้งอยู่ในกระบวนการยุติธรรมที่เป็นมาตรฐาน แต่กรณีนี้เป็นความพยายามกลั่นแกล้งกล่าวหาทางการเมือง หากจะกล่าวหาสมเด็จพระสังฆราชที่ผ่าน ๆ มาว่าผิดพระธรรมวินัยก็สามารถทำได้ แต่คำว่า ผิดพระธรรมวินัย ที่พุทธะอิสระนำมาอ้างนั้นเป็นมาตรฐานของพุทธะอิสระที่มีเจตนาที่จะกลั่นแกล้งมากกว่า อย่างไรก็ตามด้วยอิทธิพลของพุทธะอิสระในตอนนี้ อาจจะดำเนินการกับ สมเด็จช่วงจนถึงขั้นปาราชิก จนไม่สามารถเป็นสมเด็จพระสังฆราชก็สามารถทำได้ แต่จะทำให้กลุ่มพระในคณะสงฆ์ออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างแน่นอน
ooo
09.00 INDEX กรณี สมเด็จพระพิมลธรรม กับ กรณีของ ‘สมเด็จช่วง’
ที่มา มติชนออนไลน์
19 ก.พ. 59 การออกมาแถลง ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ “ดีเอสไอ” ต่อกรณี “รถหรู” ในความครอบครองของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
เหมือนกับเรื่องจะ “จบ”
เพราะไม่เพียงแต่อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษเท่านั้น หากอธิบดีกรมศุลกากร และอธิบดีกรมสรรพสามิต
ก็ “สำทับ” ตามมาด้วยน้ำเสียง “ขึงขัง”
ก่อให้เกิด “ความเชื่อมั่น” เป็นอย่างสูงว่า การเสนอชื่อ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปัญโญ) น่าจะมาถึง “ทางตัน”
แม้จะเป็น “มติ” อันมาจาก “มหาเถรสมาคม”
แม้จะเป็นกระบวนการดำเนินการตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535
ฟังจาก “น้ำเสียง” ของบางคน “บางท่าน”
สถานเบาก็คือ พระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปัญโญ) ยังสามารถดำรงอยู่ในฐานะ “ผู้ปฏิบัติการแทน” สมเด็จพระสังฆราช
แต่ไม่มีโอกาสได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จพระสังฆราช”
สถานหนักก็คือ หากการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษคืบหน้าไปถึงที่สุดอาจต้อง “ปาราชิก”
เสื่อมเสีย ชื่อเสียง เสื่อมเสียเกียรติภูมิ
กระนั้น หากพิจารณาจาก “รายละเอียด” ของ “คำแถลง” จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ไม่มีตรงไหนยืนยันว่า สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปัญโญ)-ผิด
เท่าที่ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ “รถหรู” คันนั้นนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมายแน่นอน
ขณะเดียวกัน การจดประกอบก็ผิดกฎหมาย
ถามว่าเป็นเรื่องของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปัญโญ)-หรือ
ท่านมีส่วนในการ “นำเข้า” รถหรูคันนั้นด้วยหรือ ท่านมีส่วนในการ”จดประกอบ”รถหรูคันนั้นด้วยหรือ
ตรงนี้เองที่ “กรมสอบสวนคดีพิเศษ”จะต้อง “พิสูจน์”
ตรงนี้เองที่อธิบดี “กรมสอบสวนคดีพิเศษ” ยืนยันว่า อาจต้องใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน
จึงเป็น 2-3 เดือนอันทรงความหมายเป็นอย่างสูง
ทรงความหมายไม่เพียงแต่ 1 ต่อตัวของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปัญโญ) ในฐานะที่ถูกดึงเข้ามาพัวพัน
1 ต่อการสถาปนา”สมเด็จพระสังฆราช”
บทบาทของ “คสช.” บทบาทของ”รัฐบาล”และโดยเฉพาะบทบาทของ “กรมสอบสวน คดีพิเศษ”
จึงนำไปสู่ “บทเรียน” ใน “อดีต”
เป็นบทเรียนในกรณีอันเกี่ยวกับ สมเด็จพระพิมลธรรม แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
เกี่ยวกับ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
มีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของ “รัฐบาล” ในห้วงภายหลังรัฐประหารเมื่อเดือนตุลาคม 2501
เป้าหมาย คือ สมเด็จพระพิมลธรรม
หน่วยงานของรัฐที่แสดงบทบาทเป็นอย่างสูงในการนำเอา “เรื่องราว” ออกมาเปิดเป็น”ข่าว”อย่างอึกทึก ครึกโครม
1 เป็นบทบาทของ “พระ” ผู้ใหญ่ “บางรูป”
1 เป็นบทบาทของ “นายตำรวจ” ในสังกัดของกองบังคับการตำรวจสันติบาล
มีการปล่อยข่าวกล่าวหา สมเด็จพระพิมลธรรม ว่ากระทำความผิดธรรมวินัยโดยการเสพเมถุน
มีการเผยแพร่ภาพท่านไปปรากฏตัวในสถานที่ “อโคจร”
เป้าหมายสำคัญก็คือ สะท้อนให้”สังคม”รับรู้ว่าท่านมีวัตรปฏิบัติอันไม่เหมาะสม ไม่สมควร
กระทั่งลงความเป็นว่า “ปาราชิก”ต้องพ้นจาก “ภิกขุภาวะ”
บทเรียนอันมาจาก สมเด็จพระพิมลธรรม มีจุดจบอย่างไรรู้กันอยู่แล้ว แต่กรณีของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เพิ่งจะเริ่ม