วันศุกร์, กุมภาพันธ์ 26, 2559
กติกา"4 คำถาม" สื่อไทย จะสู้ หรือ จะทน? + "ผู้สื่อข่าว(ไม่ใช่)พลทหาร" หรือ สื่อไทย..ยอมสยบเผด็จการทหาร?
https://www.youtube.com/watch?v=NgsVSjvv87g&feature=youtu.be
กติกา"4 คำถาม" สื่อไทย จะสู้ หรือ จะทน?
jom voice
Published on Feb 25, 2016
นายมาณพ ทิพย์โอสถ โฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ "Thaisvoicemedia" กรณีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกกติกาใหม่ให้สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลถามได้เพียง 4 คำถามต่อวันและก่อนถามนักข่าวจะต้องแจ้งชื่อนามสกุลและสังกัดก่อนว่า สมาคมนักข่าวฯเห็นว่าเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมากเกินไป เพราะการบริหารราชการแผ่นดินในแต่ละวันย่อมมีประเด็น มีข้อสงสัย และมีปัญหาที่ประชาชนต้องการฟังคำตอบจากผู้นำประเทศมากกว่า 4 คำถาม อย่างไรก็ตามนักข่าวประจำทำเนียบเองบางคนก็ยอมรับได้เพื่อให้เกิดระเบียบ ส่วนข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ว่าอาชีพสื่อมวลชน หรือแม้แต่สมาคมนักข่าวฯในยุคปัจจุบันเป็นยุคที่ตกต่ำที่สุดหรือไม่เป็นเรื่องที่สังคมตัดสินว่าเป็นอย่างไรในฐานะที่อยู่ในองค์กรคงพูดไม่ได้ว่าสมาคมที่ตัวเองสังกัดตกต่ำที่สุดหรือไม่ หรือจะมองว่าสมาคมนักข่าวฯสยบยอม หรือเห็นดีเห็นงามกับอำนาจเผด็จการไปด้วยหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่สังคมเป็นคนมอง
https://www.youtube.com/watch?v=K0v5AVdKti8&feature=youtu.be
"ผู้สื่อข่าว(ไม่ใช่)พลทหาร" หรือ สื่อไทย..ยอมสยบเผด็จการทหาร?
jom voice
Published on Feb 25, 2016
นายมาณพ ทิพย์โอสถ โฆษกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์"Thaisvoicemedia" กรณีสำนักงานโฆษกรัฐบาล จัดระเบียบการให้สัมภาษณ์นายกรัฐมนตรีต่อนักข่าวสายทำเนียบรัฐบาลว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการไม่ให้เกียรติ การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน กับการที่ให้นักข่าวนั่งพับเพียบกับพื้น สะท้อนภาพการกดขี่ที่ผู้นำประเทศมีต่อประชาชน เพราะสถานะของนายกรัฐมนตรี กับ สถานะของผู้สื่อข่าวในการทำงานให้กับประชาชนนั้น ไม่แตกต่างกัน ส่วนข้อเสนอที่จะให้ สมาคมนักข่าว หรือ ทำความเข้าใจหรือปรับทัศนคติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ของนักข่าว แตกต่างจากการเป็น พลทหาร หรือเป็นข้าราชการในสังกัดของรัฐบาลนั้น เป็นเรื่องที่ต้องให้สังคมร่วมกดดันด้วย และคงเป็นการยากที่จะเปลี่ยนความคิด ความเชื่อของผู้นำที่มาจากทหาร และมีอายุมากแล้วแบบพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา