Hoopla ฮาฮือกันยกใหญ่ ที่ทีมประเทศไทย กต. จัดฉากให้ทั่นผู้ณรรมกับภริยาได้พบประธานาธิบดีโอบาม่าและนางมิเชลที่ยูเอ็น
แถมประโคมผลงานอันยิ่งยวด
“The United States has sought to expand its cooperation with Thailand and is exploring the idea of holding a fifth strategic dialogue soon, Foreign Ministry spokesman Sek Wannamethee said yesterday.”
หนังสือพิมพ์ The Nation ในประเทศไทยรายงานไว้วันนี้http://www.nationmultimedia.com/…/US-wants-to-expand-ties-w…
ซ้ำขยายความจากการที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นประธานการประชุมกลุ่ม จี ๗๗ ที่นิวยอร์คปีหน้า
“We were chosen because we have made concrete achievements and significantly reduced our poverty, he said.”
(http://www.nationmultimedia.com/…/PM-hails-understanding-wi…)
แต่ว่างานนี้ผู้ที่ขยายประเด็นได้เด่นที่สุด คงไม่มีใครเท่า Somsak Jeamteerasakul เจ้าเก่า
นับแต่กระทู้ ‘สมศักดิ์ เจียม หวังดี ติงไทยอีนิวส์ ’http://thaienews.blogspot.com/2015/10/blog-post.html และการค้านว่า “ตำแหน่งประธาน G77 and China ที่ไทยเพิ่งเป็น ไม่ใช่ผลงานตั้งแต่สมัยยิ่งลักษณ์หรอกครับ” http://thaienews.blogspot.com/2015/10/g77.html
จนมาถึงกรณี “ไม่อยากขัดความสุขคนที่คัดค้านประยุทธ์” แค่ “เตือนไมให้มิตรสหายทั้งหลาย ‘หน้าหงาย’ ไป (มากกว่าที่เป็นอยู่)https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/891540060899274
ฉะนี้ เพื่อที่จะได้ไม่ต้อง ‘bending over backwards’ มากนัก เลยมา ‘ขอคืนพื้นที่’ ลำดับความตามท้องเรื่องให้มันกระชับกับประเด็น
ดังที่บทความโดย Outside contributor ของ บีบีซีไทย - BBC Thai เขียนไว้ละเอียดทีเดียวในเรื่อง ‘การประชุมยูเอ็นเริ่มจากในบ้าน’
เริ่มจาก
“ภาพของคนไทย 2 กลุ่มพากันไปประท้วงและสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ก็ไม่ต่างอะไรกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย นายกรัฐมนตรีไม่ได้พยายามจะพบกับผู้ประท้วงแต่ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ทั้งตัวนายกรัฐมนตรีเอง รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลับพบปะโอภาปราศรัยกับผู้สนับสนุนอย่างเป็นกันเอง นี่ก็สะท้อนให้ชาวโลกเห็นว่า สังคมไทยยังห่างไกลความสมานฉันท์ยิ่งนัก”
(ภาพดอน ปรมัตถ์วินัย ถ่ายเซลฟี่กับกลุ่มผู้สนับสนุนประยุทธ์ มันฟ้องอยู่แล้ว)
“เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพยายามอย่างมากที่จะทำให้ประชาชนในประเทศเห็นว่า รัฐบาลสหรัฐฯนั้นไม่ได้แสดงความรังเกียจเดียดฉันท์พลเอกประยุทธ์ซึ่งเป็นผู้นำการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว โดยการพยายามจัดการให้พลเอกประยุทธ์ได้มีโอกาสสัมผัสมือกับประธานาธิบดี บารัค โอบามาของสหรัฐฯ แม้เพียงผ่านๆ ก็ยังดี”
(https://www.facebook.com/BBCThai/posts/1701424233411943:0)
อันนี้ประยุทธ์เองก็อ้างว่า “ในการเยือนครั้งนี้ตนและคณะได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง” (เวอร์ชั่นไทยรัฐhttps://www.thairath.co.th/content/529545)
และ (เวอร์ชั่นเดอะเนชั่น) “On his meeting with US President Barack Obama, Prayut said: "He honoured me as on previous occasions.” กับ “Prayut said he had explained to high-ranking US officials that he would stick with his junta's ‘road map to democracy’.”
กลับมาที่คอมเม้นต์ของ สศจ. เรื่องว่า มิตรสหายหลายท่าน “พยายามหาทางโต้ชนิดที่ไม่เม้กเซ้นซ์เท่าไร”
รวมไปถึงกรณีรูปที่ทั่นผู้ณรรมและภริยาได้ถ่ายภาพร่วมกับประธานาธิบดีโอบาม่าและคุณนายมิเชล ซึ่ง สศจ. บอกว่า “สมชาย แสวงการ เขาเผยแพร่” นั่นก็คงไม่ต้อง “ให้ความสำคัญกับมันอย่างเกินจริง” (ดูเหมือน Sa-nguan Khumrungroj ได้บอกให้เห็นเป็นนัยด้วยภาพโพสต์ของเขาแล้ว)
ที่ ‘สำคัญ’ และไม่ ‘เกินจริง’ ซ้ำยัง ‘เม้กเซ้นซ์’ ฟังได้ และไม่ ‘ชอบกล’ อะไรนักหนา
ตรงช่วงท้ายสุดของบทความโดย Outside contributor ย้ำว่า
“แต่นั่นก็ไม่แน่ว่าได้ช่วยให้พลเอกประยุทธ์โดดเด่นหรือกลายที่ยอมรับนับถือในชุมชนนานาชาติ เพราะนโยบายแห่งการปิดกั้นเสรีภาพ ละเมิดสิทธิมนุษยชนในบ้านยังคงดำเนินอยู่ต่อไป ดังที่นานาชาติได้แสดงความเป็นห่วงและยกเป็นประเด็นขึ้นมาพูดเสมอ”
โดยเฉพาะจาก EU Reporter Correspondent เมื่อ September 30, 2015
(http://www.eureporter.co/…/thailand-junta-payruth-displays…/)
เขาบอกว่า “สหประชาชาติได้พูดไว้แล้วเรื่องการปราบปรามผู้เห็นต่างของรัฐบาลไทย นำไปสู่การหดแคบของพื้นที่ประชาธิปไตย
เลขาธิการใหญ่ บัน คี มูน ยังได้ย้ำเตือนถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องมีการเชิดชูเสรีภาพในการแสดงความเห็น และการชุมนุม”
บทความนักเขียนรับเชิญบีบีซีพูดถึงประเด็นนี้เช่นกัน
“บัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติไม่ลังเลที่จะยกปัญหาเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนขึ้นหารือกับพลเอกประยุทธ์ ระหว่างที่มีการพบกันแบบทวิภาคีที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ
โดยบอกกับพลเอกประยุทธ์ว่าเขาวิตกกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ประชาธิปไตยของไทยที่กำลังลดน้อยลงทุกที และยังขอให้รัฐบาลไทยปกป้องและรักษาสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการชุมนุมของประชาชนที่กำลังมีการจำกัดอย่างมากอยู่ในขณะนี้ด้วย”
คำปราศรัยของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่เมื่อวันจันทร์ (ที่ ๒๘ กันยายน) ถูกวิพากษ์ทันควันจากชาร์ล ซานติเอโก ประธานสมาชิสภาอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน (APHR) จากมาเลเชีย
“เรียกร้องให้ชุมชนนานาชาติ ‘ประกาศจุดยืน’ สนับสนุนประชาธิปไตยในประเทศไทย และต่อต้านการกระทำของประยุทธ์
กระตุ้นให้รัฐบาลชาติต่างๆ ทั่วโลก กดดันให้ยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และกลับคืนสู่การปกครองของพลเรือนโดยทันใด”
นายซานติเอโกยังเตือนด้วยว่าถ้าหากชุมชนนานาชาติละเลยที่จะดำเนินมาตรการอย่างจริงจัง ในการผลักดันให้ประเทศไทยกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยละก็ จะเป็นการส่ง ‘สัญญานอันตราย’ ไปสู่ส่วนอื่นๆ ในภูมิภาค
ไม่แต่เท่านั้น ทางด้านยุโรป อดีตสมาชิกรัฐสภายุโรป เดวิด มาร์ติน นักสังคมนิยมชาวอังกฤษ วิจารณ์เนื้อหาสปีชของประยุทธ์ว่า “มันน่าเศร้าที่การปาวารณาเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนของประยุทธ์ กลับตรงกันข้ามกับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกที่คนในประเทศประสพอยู่ขณะนี้”
ส่วนสมาชิกรัฐสภายุโรปจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมสหราชอาณาจักร ชาร์ล เท็นน็อค ซึ่งเป็นกรรมาธิการต่างประเทศของสภาอียูโจมตีว่า
“ประยุทธ์กับพวกนายพลของเขา ทำการเซาะทำลายวิถีทางประชาธิปไตยลงไปอย่างช้าๆ ชัดๆ”
แม้ว่าสมาชิกสภาอียูเหล่านี้จะคลาดเคลื่อนในข้อกล่าวหาที่ว่า ประยุทธ์ละเลยที่จะกำหนดเวลาให้แน่นอนในการคืนประชาธิปไตยให้ประชาชน เนื่องจากประยุทธ์แจ้งต่อเลขาธิการ บัน คี มูน ว่าจะสามารถจัดเลือกตั้งได้ในราวกลางปี ๒๕๖๐
ทว่ารายงานขององค์กร Human Rights Watch ที่ EU Reporter ใช้อ้างว่าตั้งแต่การยึดอำนาจจากรัฐบาลเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา คณะรัฐประหาร คสช. ได้เรียกผู้ที่เห็นแย้งไปควบคุมตัวแล้ว ๗๕๑ ราย
ขณะที่วรรคทองตอนท้ายรายงานข่าวไทยรัฐระบุว่าเป็นคำพูดของประยุทธ์ในการออกอากาศคืนวันศุกร์ “ผู้เห็นต่างนั้นก็อยากจะให้หันหน้ามาพูดคุยกัน เราเสียเวลาในเรื่องที่ขัดแย้งกันต่อไปไม่ได้อีกแล้ว”
‘หันหน้ามาพูดคุยกัน’ แบบปิดตา ยัดใส่ห้องมืดอึดอัด อากาศอับ ที่ทำกับประวิตร โรจนพฤกษ์ น่ะหรือ
นั่นมัน ‘ซ้ายหัน ขวาหัน’ นะทั่นหัวหน้า