อาจารย์สุเนตร กล่าวต่อว่า เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองในหนังสือ ยังส่งผลให้การปรองดองเกิดขึ้นตามเป้าประสงค์ได้ยาก เพราะมีความตอนหนึ่งระบุว่า พรรคไทยรักไทยดำเนินนโยบายแบบประชานิยม และนายทักษิณ ชินวัตร มีปัญหาทุจริตการเลือกตั้ง รวมถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการดำเนินนโยบายเน้นความโปร่งใส แต่ก็ยังมีการใช้นโยบายประชานิยม แต่กลับพูดถึงการเข้ามาของพล.อ.ประยุทธ์ ว่าทำการรัฐประหาร เพื่อขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่หนังสือเล่มนี้ทำโดยหน่วยงานของรัฐ จึงทำให้หนังสือมีความลำเอียงและแท้จริงแล้วหนังสือประวัติศาสตร์ ไม่มีความจำเป็นที่จะโจมตีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และชื่นชมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้ขัดกับเป้าประสงค์ที่ต้องการให้เกิดการปรองดอง
“ผมว่าไม่ต้องรีบร้อนที่จะต้องเขียน รอให้เหตุการณ์ตกผลึกก่อนจะดีกว่า การนำข้อมูลเหล่านี้มาใส่ตอนที่สถานการณ์ยังมีความระหองระแหง จะเป็นชนวนให้เกิดความแตกแยก และนำไปสู่การต่อต้านซึ่งกันและกันได้ อีกทั้งในทางวิชาการที่ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีความทันสมัย สอดคล้องกับยุคสมัย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่ในขณะที่บรรณานุกรมของหนังสือเล่มนี้ กลับไม่มีหนังสือต่างประเทศที่พูดถึงประวัติศาสตร์ไทยแม้แต่เล่มเดียว อ่านแล้วไม่สามารถเชื่อถือว่าเป็นบรรทัดฐานทางประวัติศาสตร์ได้” อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
อ่านรายละเอียดในข่าว