คมชัดลึกเลือกรูปได้ดีนะครับ 555 หน้าตาแม่-
....................................................................
เผยสูตร‘มีชัย’วิธีคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ พท.ลดเกินครึ่งปชป.-ชท.ได้ส.ส.เพิ่ม
http://www.komchadluek.net/detail/20151027/215917.html
สูตรเอาคะแนนปาร์ตี้ลิสต์เฉพาะ ส.ส.สอบตก เมื่อเอาไปคำนวณจากปี 48
ปชป.ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มจาก 26 เป็น 37 คน
ไทยรักไทยได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ลดจาก 67 เหลือ 20 คน
ชาติไทยเพิ่มจาก 7 เป็น 21
พรรคมหาชนของไอ้หนุ่มซินตึ๊งจาก 0 เป็น 19
Credit
Wanchalearm Satsaksit
....
เผยสูตร‘มีชัย’วิธีคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ พท.ลดเกินครึ่งปชป.-ชท.ได้ส.ส.เพิ่ม ‘วิษณุ’หนุนไอเดียกรธ.หนุนคะแนนโหวตโน
27ต.ค.58 รายงานข่าวแจ้งว่า ระบบการเลือกตั้งรูปแบบใหม่ตามแนวคิดของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นั้น เบื้องต้นยังคงจะให้มีส.ส. 500 คนแต่เป็นส.ส.เขต 400 คน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งรูปแบบการเลือกตั้งส.ส.ในประเทศจะให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกส.ส.เขตเพียงอย่างเดียว ขณะที่คนไทยในต่างประเทศ ที่ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งจะมีสิทธิลงคะแนนเลือกพรรคเท่านั้น ไม่ได้เลือกส.ส.เขต ซึ่งในการคำนวนจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคจะได้ ก็จะเป็นการนำคะแนนของผู้สมัคร ส.ส.เขตที่ไม่ได้รับเลือกตั้งของทั้งประเทศ มารวมกับคะแนนพรรคที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศได้ลงคะแนนไว้ แล้วคิดคำนวนออกมา
และจากข้อมูลที่ กรธ.ได้รับจากสำนักงานกกต. ที่เสนอตารางเปรียบเทียบการคำนวนจำนวนส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จากคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 48 ที่กฎหมายเวลานั้น กำหนดให้มีส.ส.เขต 400 คน และส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยที่มีการตัดคะแนนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งออกแล้ว พบว่า จะทำให้จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ได้คะแนนมาเป็นที่หนึ่งในระบบการคิดคำนวนบัญชีรายชื่อแบบเดิม ได้ส.ส. ลดลงเกินครึ่ง กล่าวคือ ผลคะแนนรวมที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกพรรคเพื่อนำมาคำนวนคะแนนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม 25 พรรคในปี 48 มีคะแนนทั้งสิ้น 31,048,223 คะแนน ขณะที่ผลคะแนนรวมของผู้สมัครที่ไม่ได้รับเลือกตั้งในทุกเขตเลือกตั้งของทั้งประเทศเมื่อปี 48 มีทั้งสิ้น 25 พรรค รวม 11,081,047 คะแนน แล เมื่อนำมาคำนวนกับจำนวนส.ส.บัญชีฯที่เพิ่งมี 100 คน ส.ส.บัญชีฯ 1 คน จะต้องมีคะแนนเฉลี่ย 100,810 คน ผลคะแนนแบ่งเขตที่ไม่รวมผู้ได้รับเลือกตั้ง
พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนน 4,065,059 คะแนน จะได้ส.ส. 37 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนน 7,210,742 คะแนน ได้ส.ส.เพียง 26 คน พรรคชาติไทย ได้คะแนน 2,326,043 คะแนน จะได้ส.ส. 21 คน เพิ่มขึ้นจากการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคชาติไทยได้คะแนน 2,061,559 คน ได้ส.ส.เพียง 7 คน พรรคไทยรักไทย หรือพรรคเพื่อไทยปัจจุบัน ได้คะแนน 2,151,634 คะแนน จะได้ส.ส. 20 คน เป็นพรรคเดียวที่จำนวนส.ส.ที่จะได้ลดลงเมื่อเทียบกับการคิดคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค ซึ่งพรรคไทยรักไทย ได้ 18,993,073 คะแนน ได้ส.ส. 67 คน เท่ากับลดลงถึง 47 คน และพรรคมหาชน ได้คะแนน 2,148,442 คะแนน จะได้ส.ส. 19 คน จากที่การคิดคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อแบบเดิม ที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนให้กับพรรค พรรคมหาชนไม่มีส.ส.บัญชีรายชื่อเลย เช่นเดียวกับ พรรคคนขอปลดหนี้ผลคะแนนแบ่งเขตได้ 166,651 คะแนน จะได้ส.ส. 2 คน พรรคความหวังใหม่ ผลคะแนนแบ่งเขตได้คะแนน 133,935คะแนน จะได้ส.ส. 1 คน จากที่การคิดคำนวณแบบเดิมไม่เคยได้ส.ส.บัญชีรายชื่อเลย
วิษณุหนุนไอเดียกรธ.หนุนคะแนนโหวตโน
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้พิจารณาระบบเลือกตั้งในประเด็นที่ระบุว่า บุคคลที่จะได้เลือกตั้งเป็น ส.ส. ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่าคะแนนโหวตโนว่า ตนเห็นจากหนังสือพิมพ์ เรื่องนี้มีความคิดกันมานาน ตั้งแต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ก็เคยพูดถึงว่า เรายอมให้มีคนไปโหวตโนคือไม่เลือกใครก็ได้ ดังนั้นจึงมีคำถามมาตลอดการที่ไม่เลือกพรรคใดเลยมีความหมายอะไร ซึ่งคำตอบในครั้งนั้นคือ ไม่เอาใคร แต่ถามต่อว่า หากคะแนนเหล่านี้มีจำนวนมากในบางเขตเลือกตั้งจนชนะคะแนนผู้ได้รับเลือกเสียอีก เช่น มีพรรคหนึ่งได้คะแนน 200 อีกพรรคได้คะแนน 100 ซึ่งผู้ได้คะแนนสูงสุดคือผู้ชนะ แต่ถ้ามีเสียงโหวตโนถึง 300 แล้วจะเกิดอะไรขึ้น คำตอบในอดีตคือไม่เกิดอะไร แต่จะทำอย่างไรถึงจะเคารพเสียงของประชาชนที่โหวตโน วันนี้เกิดจะมีการคิดออก ในเรื่องนี้ว่า คนที่ชนะหรือแพ้ไม่สำคัญ แต่ต้องชนะคะแนนโหวตโน ไม่เช่นนั้นก็ต้องเลือกตั้งใหม่ อย่างนั้นอาจจะเป็นธรรม เพราะเป็นการเคารพเสียงของประชาชน ซึ่งต้องถือว่า มีความสำคัญ แล้วทีนี้จะทำอย่างไรที่จะเป็นการเคารพเสียงคนอื่น ปัญหานี้ถกเถียงกันทั่วโลก
“ฝรั่งถึงคิดกันว่า จะทำอย่างไรให้พรรคที่ได้คะแนนเสียงน้อยสามารถมีเสียงหรือที่นั่งในสภาฯ เพื่อไม่ให้คะแนนเหล่านั้นถูกทิ้งไป เช่นเดียวกับในไทยจะทำอย่างไรให้คะแนนโหวตโน ที่หากเกิดขึ้นเยอะแล้วต้องมีความหมาย แม้ในหลายประเทศจะไม่ได้มีเรื่องโหวตโน แต่ถ้าประเทศไทยยอมรับให้มีเรื่องโหวตโน คนก็ไม่ต้องเข้าใจอะไร คุณชอบอะไรก็กาไป แล้วจะมีกรรมการมานับคะแนน” นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า ส่วนตัวเห็นด้วยหรือไม่ที่จะให้มีเรื่องโหวตโนเพื่อให้คะแนนส่วนนี้มีความหมาย นายวิษณุ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับการให้คะแนนโหวตมีความหมาย แต่ยังคิดไม่ออกว่า ความหมายนั้นจะนำมาใช้ประโยชน์อะไร แต่ในไทยไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะที่ผ่านมายังเคยเจอคะแนนโหวตโนที่มากกว่าผู้ชนะได้รับเลือก
นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่จะไปตัดสิทธิเลือกตั้งครั้งต่อไปสำหรับผู้ที่ได้คะแนนน้อยกว่าโหวตโนนั้น ตนยังนึกไม่ออก คิดว่า ไม่มีและยังคิดไม่ออกว่า จะนำมาคิดอย่างไรถือเป็นสูตรพิสดาร แต่จะทำอย่างไรให้มีการเคารพเสียงโหวตโน เรื่องนี้ตนเห็นด้วย อย่างไรก็ตามการที่บางฝ่ายเสนอว่า ให้ตัดสิทธิผู้ที่แพ้คะแนนโหวตโนไม่ให้ลงเลือกตั้งไปตลอดชีวิตแบบนั้นคงทำไม่ได้ หากเป็นแบบนี้ ตนก็ไม่เห็นด้วย เพราะการที่เขาเขาพลาดหนนี้ก็ไม่ได้แปลว่า ชั่วร้ายอะไร