เพลงเพลงเพลงหนึ่งที่โอภาสแต่งเนื้อเพลงและคอร์ด จากในเรือนจำส่งออกมาเพื่อให้คนใกล้ชิดได้ร้อง และเขาคาดหวังให้สาธารณะได้ฟังเพลงนี้ด้วยเช่นกัน ชื่อเพลง Status quo
Children say whatever they see
Unlike me who couldn't be such free
* I'm not saying any words of wisdom
Neither singing any verses of freedom
Some folks say no news is good news
I don't care cos it's only a few
(*)
** Keep silent you'll be distant from jail
Keep saying you'll be threatened like hell
Keep silent you'll be distant from jail
Keep saying you'll be threatened like hell
Like hell, like hell, like hell
The so called tyrant's slying it's game
Without a word, I know it's the same
(*,**,**)
ฟังได้ที่
https://soundcloud.com/bravery-jam/status-quo-written-by-opas-cover-by-jammy
หรือ YouTube
Credit ประชาไท
STATUS QUO - ไฟเย็น [Official Audio]
https://www.youtube.com/watch?v=5Y5vWhfPKH0
(16 ต.ค.) ศาลทหารมีนัดพิพากษา คดี 112 ที่นายโอภาส วัย 68 ปีตกเป็นจำเลย คดีนี้นับเป็นคดีที่สองของเขา เกิดขึ้นในระหว่างที่เขายังถูกคุมขังในเรือนจำ อันเป็นผลจากคดีแรก
ในคดีแรก โอภาส ผู้มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเสื้อ เข็มกลัด ตามตลาด ถูกนำตัวมาแถลงข่าวใหญ่โตที่กองปราบฯ โดย พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารรัฐธรรมนูญผู้เป็นมือปราบคดี 112 ข้อหาของเขาคือการเขียนผนังห้องน้ำด้วยข้อความหมิ่นสถาบัน
ตั้งแต่วันแถลงข่าวเป็นต้นมา เขาก็ไม่ได้เจอกับอากาศบริสุทธิ์นอกเรือนจำอีกเลย
เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 ต.ค.2557 ที่ห้างซีคอนสแควร์ เขาถูกรปภ.เข้าชาร์จ หลังไปขีดเขียนผนังห้องน้ำห้างวิจารณ์การเมือง พนักงาน รปภ. และผู้จัดการห้างเข้ามาเจรจา เขายอมรับแต่โดยดีและจ่ายค่าปรับ 2,000 บาทสำหรับค่าทำความสะอาดรอยปากกาเมจิกที่ขีดเขียนไว้ แต่เรื่องไม่จบลงเพียงเท่านั้นเพราะผู้จัดการตัดสินใจโทรแจ้งทหาร เขาจึงถูกนำตัวมาสอบสวนและแถลงข่าวดังกล่าว
ข้อความที่โอภาสเขียนถูกแจกจ่ายให้กองทัพนักข่าวที่มาในวันแถลงข่าว เนื้อหาแบ่งเป็น 7 บรรทัดสั้นๆ ทั้งหมดเป็นการวิพากษ์วิจารณ์คณะรัฐประหารที่ทำการรัฐประหาร โดยเฉพาะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีอยู่ 1 ประโยคที่พาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ โดยเป็นการระบุว่าคณะรัฐประหารมีการ “โหน” สถาบันกษัตริย์
โอภาสถูกขังในชั้นสอบสวน มีความพยายามยื่นประกันหลายครั้ง โดยอ้างเรื่องการรวบรวมพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้วและผู้ต้องหามีปัญหาสุขภาพ เป็นโรคเส้นเลือดในจอรับภาพบวมซึ่งอาจแตกและทำให้ตาบอด โดยปกติผู้ต้องหาต้องพบแพทย์ทุก 2-3 เดือน แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยระบุว่าเป็นคดีร้ายแรง
เขาติดคุกอยู่นาน 5 เดือนเศษ ศาลทหารจึงนัดฟังคำพิพากษา ต้องกล่าวไว้ด้วยว่าคดีของโอภาสนับเป็นคดี 112 คดีแรกที่ศาลทหารอนุญาตให้คนนอกเข้าฟังคำพิพากษาซึ่งมีผู้สังเกตการณ์คดีทั้งจากองค์กรในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งที่ปกติจะพิจารณาคดีและอ่านคำพิพากษาเป็นการลับ นอกจากนี้ยังเป็นคดีแรกเช่นกันที่ศาลทหารลงโทษจำคุก 3 ปี เมื่อรับสารภาพจึงลดโทษเหลือ 1 ปีครึ่ง
แม้แต่ในศาลอาญาเองคดี 112 ที่โดนลงโทษจำคุกเพียง 3 ปีก็ถือว่ามีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กรรมละ 5 ปี ขณะที่ศาลทหาร การพิจารณาคดีที่ผ่านมาการลงโทษจำคุกอยู่ที่ กรรมละ 10 ปี 9 ปี และ 5 ปี ไม่แน่นอน
ข้อมูลจากผู้ติดตามคดีใกล้ชิดระบุว่า หลังฟังคำพิพากษา ครอบครัวของโอภาสอันหมายถึงเพียง ภรรยาและลูกสาว ดีใจและมีกำลังใจดีขึ้นมาก เมื่อรู้ว่าอีกราว 1 ปี ชายแก่ผู้เงียบขรึมก็จะได้ออกจากเรือนจำ โอภาสเองก็สดใสขึ้นมากเมื่อเขาได้รับทราบวันกำหนดปล่อยตัวในวันที่ 2 ม.ค.2559 ความเครียดและโศกเศร้าดูบรรเทาเบาบางลงสำหรับครอบครัวพ่อค้าแม่ค้ารายนี้ พวกเขานัดแนะกันจะเลี้ยงฉลองใหญ่ให้กับอิสรภาพที่ยังมาไม่ถึง
ขณะเดียวกันโอภาสก็ปรับตัวได้มากขึ้นแล้วสำหรับความเป็นอยู่ในเรือนจำ หลายเดือนก่อนเขาบอกว่าถูกมอบหมายให้ดูแลมุมห้องสมุดมุมเล็กๆ ในแดนที่เขาอยู่ เขากล่าวว่า ภาระนี้ค่อนข้างหนัก เพราะเขาต้องคอยซ่อมแซมหนังสือที่ผู้ต้องขังหนุ่มมักฉีกรูปดาราสาวๆ ออกไปเสมอ และเขาเห็นว่าหนังสือที่มีก็ยังไม่มีความหลากหลายน่าอ่านเพียงพอนัก
ในระหว่างนี้เอง ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งรับดูแลคดีแรกของโอภาสก็ได้รับแจ้งข่าวคดีที่สอง ณ ผนังห้องน้ำของห้างสรรพสินค้าเดิม แต่ต่างชั้นออกไป คราวนี้เจอที่ชั้น 1 ตำรวจแจ้งว่ามีพนักงานไปพบเห็นแล้วแจ้งทหาร ทหารจึงมาแจ้งความไว้ จากนั้นปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้เข้าไปสอบปากคำจำเลยในเรือนจำ และจำเลยได้ให้การรับสารภาพไปทั้งหมด ทั้งที่ทนายจำเลยได้บอกกับจำเลยไว้ว่าหากจะมีการสอบปากคำให้แจ้งทนายเพื่อให้มาอยู่ฟังด้วย
“ตอนนั้นผมกลัว ช็อค ผมทำอะไรไม่ถูก” ชายแก่บอกกับทนาย
คดีที่สอง ยื่นฟ้องต่อศาลทหารในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ข้อความที่ปรากฏในคำฟ้องรุนแรงกว่าครั้งแรกเพราะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์บทบาททางการเมืองของสถาบันกษัติย์
ในคดีที่สองนี้ ศาลทหารนัดพิพากษาวันที่ 16 ต.ค.เวลา 9.00 น. ก่อนหน้านี้ไม่กี่วัน ทนายความได้ยื่นคำร้องประกอบคำรับสารภาพเพื่อให้ศาลพิจารณาและมีจดหมายเขียนด้วยลายมือภรรยาของโอภาสแนบไปด้วย ในคำร้องประกอบดังกล่าวระบุว่าจำเลยสูงวัยรายนี้มีความสำนึกผิดและเข็ดหลาบแล้ว คดีที่ 2 นี้พฤติการณ์แห่งคดีนั้นเกิดเหตุในวันเดียวกับคดีแรกจึงขอให้ศาลเมตตารอการลงโทษหรือ “นับโทษไปพร้อมกับคดีแรก” ซึ่งหมายถึง หากศาลลงโทษจำคุก 3 ปีลดเหลือ 1 ปีครึ่งเท่าคดีแรก เขาจะได้ออกตามกำหนดเดิมคือ 2 ม.ค.59 แต่หากศาลลงโทษจำคุกในคดีที่สองนี้มากกว่าเดิม เช่น 5 ปีลดเหลือ 2 ปีครึ่ง เขาจะต้องติดคุกต่อจากวันที่ 2 ม.ค.ปีหน้าต่อไปอีก 1 ปี ในขณะเดียวกัน ฝั่งอัยการก็ได้ขอให้ศาล “นับโทษต่อจากคดีแรก” หมายความว่าต้องถูกคุมขังจนเสร็จสิ้นคดีแรกแล้วจึงนับ 1 ใหม่ในคดีที่สอง
โอภาส ไม่เคยบอกเล่าแก่ใครโดยละเอียดว่าทำไมเขาจึงทำเช่นนั้น แต่จากการพูดคุยกับเขาและผู้ใกล้ชิด เราพบว่าเขาเริ่มหันมาสนใจการเมืองอย่างจริงจังด้วยการฟังวิทยุชุมชนเมื่อปี 2552 โดยระบุว่า “ฟังทั้งเหลืองทั้งแดง” ในตอนเริ่มแรก ต่อมามีเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก แม้เขาไม่เคยไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มไหนเลย แต่ความเครียดต่อสถานการณ์ทางการเมืองนั้นมีสะสมเรื่อยมา นอกจากนี้ในช่วงหลังเขาเริ่มหัดเล่นอินเทอร์เน็ตและทำให้ค้นหาข้อมูลข่าวสารได้มาก โดยเฉพาะสื่อภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ชายผู้จบเพียง ปวส.ฝึกฝนด้วยตนเองจนเชี่ยวชาญตั้งแต่วัยหนุ่ม
การรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้เขาโกรธแค้นและเครียดมากกับสถานการณ์การเมือง ขณะเดียวกันเขาเป็นคนโลกส่วนตัวสูง มีบุคลิกเงียบขรึม มีเพื่อนนักดนตรีไม่กี่คนและเกือบทั้งหมดมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ตรงกันข้ามกับเขา เขาจึงไม่สามารถพูดคุยเรื่องการเมืองได้ ประกอบกับโอภาสไม่เล่นโซเชียลมีเดียใดๆ ทำให้เขาไม่มีช่องทางสนทนาหรือแสดงออกถึงความขับข้องหรือแนวคิดทางการเมืองของตน
เมื่อสอบถามจากผู้ติดตามคดีใกล้ชิดและเคยเข้าเยี่ยมโอกาสที่เรือนจำหลายครั้ง ได้ความเพิ่มเติมอีกว่า
“เท่าที่แกอธิบายก็คือ แกมองว่าทหารหรือคณะรัฐประหารใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือในการทำรัฐประหาร แกไม่ได้ต้องการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์...แกไม่พูดด้วยว่าแกรักทักษิณหรือไม่ แต่แกพูดว่าแกไม่เอารัฐประหาร ตั้งแต่ 49 แล้ว แต่แกก็ไม่เคยชุมนุมการเมือง”
“ไปกี่ครั้งแกก็มักชวนคุยเรื่องเพลงเป็นหลัก การคุยเรื่องเพลงทำให้แกสดชื่นขึ้น ชวนคุยเรื่องเดอะวอยซ์บ้าง แนะนำให้ฟังเพลงนั้นเพลงนี้บ้าง”
“ครอบครัวของแกเครียดมาก โดยเฉพาะลูกสาวที่สนิทกับพ่อมาก แรกๆ มีอาการซึมเศร้า รับเหตุการณ์ที่เกิดไม่ได้ ขณะที่เมียแกก็ต้องขายของคนเดียว หลังจากรู้ข่าวคดีที่สอง เมียแกร้องไห้อยู่หลายวัน เครียดมาก แล้วก็เริ่มทรุดเพราะทำงานหนักด้วย ถึงกับเป็นลมล้มจนฟกช้ำดำเขียว”
ในเรื่องดนตรี โอภาสมีความสามารถในการเล่นดนตรีเกือบทุกชนิด เป็นความหลงใหลดนตรีส่วนตัวและมานะฝึกหัดด้วยตัวเอง เขาเป็นมือกีตาร์โซโลให้วงดนตรีวงหนึ่ง เคยเล่นกันจริงจังอยู่บ้างและสุดท้ายทำเป็นงานอดิเรก คนที่เข้าเยี่ยมเขาเล่าว่า โอภาสฟังดนตรีหลากหลายนับตั้งแต่ยุค 60s เรื่อยมาจนถึงเพลงใหม่ๆ ในปัจจุบัน
“ดนตรีที่เราคุยกันมันเยอะมาก จนงงว่าแกชอบแนวไหน แต่เพลง A whiter shade of pale ของ Procol Harum เป็นเพลงแรกที่เราเริ่มต้นสนทนาเรื่องเพลงกัน เข้าใจว่าหลักๆ แกชอบ The Beatles แกเคยบอกว่าการแต่งทุกชุดของบีเทิลเป็นเพลงดี 95% ขณะที่วงอื่นจะมีเพลงเด่นไม่กี่เพลงในอัลบั้ม แล้วแนวดนตรีของบีเทิลก็เปลี่ยนไปเรื่อย พัฒนาไปเรื่อย ไม่มีมากินบุญเก่า” คนใกล้ชิดกล่าว
นอกเหนือจากบทสนทนาเรื่องเพลง ยังมีเพลงเพลงเพลงหนึ่งที่โอภาสแต่งเนื้อเพลงและคอร์ด จากในเรือนจำส่งออกมาเพื่อให้คนใกล้ชิดได้ร้อง และเขาคาดหวังให้สาธารณะได้ฟังเพลงนี้ด้วยเช่นกัน ชื่อเพลง Status quo
ที่มา
http://www.prachatai.org/journal/2015/10/61953
...
ล่าสุด "โอภาส" ถูกสั่งจำคุกเพิ่มอีก 1 ปี 6 เดือน แต่จะเริ่มนับโทษคดีนี้ หลังครบกำหนดโทษคดีเก่า
ล่าสุด "โอภาส" ถูกสั่งจำคุกเพิ่มอีก 1 ปี 6 เดือน แต่จะเริ่มนับโทษคดีนี้ หลังครบกำหนดโทษคดีเก่า