นาโย้กตลกอีกแล้ว เล่นมุขใหม่ใส่หมวกปิดตา ถือตุ๊กตาฟาย ทำว่าไม่เห็นไรๆ
“บิ๊กตู่แปลกใจ ควายฝรั่งต่างจากควายไทยตรงไหน ..ก่อนโยนตุ๊กตาควายใส่สื่อทำเนียบฯ คนที่บอกมันอดทนกว่าควายฝรั่ง” (via Deep Blue Sea @WassanaNanuam)
แล้วรายล้อมก็พากันครื้นเครง ขณะที่ข้างหลังภาพคณะทหารยึดอำนาจเตรียมเรียกบีบีซีไปปรับทัศนะคติ (ภาษาราชการแค่ ‘ขอคุย’)
“The government is considering requesting a sit-down with BBC Thai to discuss an online article it published…”
อันเนื่องมาแต่บทความของ ‘บีบีซีไทย’ ที่ให้ ‘outside contributor’ เขียนเรื่องทั่นผู้ณรรมไปจับมือโอบาม่าที่ยูเอ็น
กลับมาทั้งพล.ต.วีรชน สุคนธปฏิปักษ์ และพล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด สองโฆษกออกมาช่วยกันสับแหลกว่า “the report could not be true.” และ “labelled its content negative.”
ข่าวเนชั่นบอกว่าทางการของไทยพยายามที่จะให้บีบีซีเปิดตัวผู้เขียนว่าเป็นใคร แต่บีบีซียืนกรานไม่ยอม (ตามทางปฏิบัติจรรยาบรรณสื่อไม่เปิดเผยแหล่งข่าว)
(http://www.nationmultimedia.com/…/Govt-eyeing-BBC-Thai-over…)
อีกด้าน มีประกาศแต่งตั้งคระกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ๒๑ คนออกมาแล้ว ให้มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นหัวหน้าทีมตามคาด
เจ้าตัวให้สัมภาษณ์ไม่ได้อิดเอื้อน ต้องรับเพื่อ “ตอบแทนคุณแผ่นดิน” พร้อมประกาศไม่รับใบสั่งใคร นอกจากคณะรัฐประหาร ไม่งั้นคงไม่บอกว่าจะร่างตามเกณฑ์มาตรา ๓๕ รัฐธรรมนูญชั่วคราว ๕๗ และกรอบ ๕ ข้อ ของ คสช. และแน่นอนต้องมีประชามติเมื่อร่างฯ เสร็จ
จึงคาดหมายได้ตั้งแต่บัดนี้ว่าแก่นสารคงไม่ต่างกับร่างฯ ที่แล้ว ฉบับเรือแป๊ะของบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เท่าไรนัก ฉบับนี้ถ้าจะเรียกฉบับ ‘เรือปู่’ ก็พอไหว
เนื่องจากทั่นประธานกรรมการอายุเข้าไป ๗๗ ปีแล้ว จึงมีผู้คำนวณตัวเลขวัยของทั้ง ๒๑ คนเอาไว้
“วาฬไหน 明博弥 @iwhale
กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ 21 คน มีอายุเฉลี่ย 61.67 ปี อายุน้อยที่สุด 47 ปี อายุมากที่สุด 77 ปี”
นอกนั้นเป็นข้อน่าสังเกตุเกี่ยวกับกรรมการชุดนี้นิดหน่อย
คนหนึ่งชื่อสุพจน์ ไข่มุกข์ เป็นผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งใจฟันตกโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ อย่างมุ่งมั่นมากเสียจนอ้างเหตุผลให้คนหัวเราะทั้งเมืองว่า ควรที่จะกำจัดถนนลูดรังให้หมดเสียก่อนค่อยคิดเรื่องบุลเล็ตเทรน
อีกรายโดนจัดหนักจาก Thanapol Eawsakul ซึ่งบอกว่าเข้ามาตามโควต้า ม.ธรรมศาสตร์ ในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (และแน่นอนว่าอีกหลายคนมาในลักษณะนี้)
สำหรับปฏิกิริยาคร่าวๆ จากสองพรรคใหญ่ และสององค์กรการเมืองต่างขั้ว แบ่งข้างป็นสองความเห็นชัดเจน พวกยินดีมีพรรคประชาธิปัตย์ และมูลนิธิมวลมหาประชาชน (โดยองอาจ คล้ามไพบูลย์ และเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ )
พวกร้องยี้ ไม่ยินดีเท่าไหร่ ได้แก่ นปช. และพรรคเพื่อไทย (ผ่านทางนายจตุพร พรหมพันธุ์ กับนายนพดล ปัทถมะ) โดยเฉพาะจตุพรประกาศจุดยืนชัดแจ้ง
“ปัญหาที่เกิดขึ้น คือแบบไทยๆ มันไม่เป็นประชาธิปไตย และก็มีบทเรียนมาแล้ว”
(http://www.springnews.co.th/politics/243166)
ยังมีเกล็ดแหยมแตกหน่อไปนิด เมื่ออีกแขนงเสื้อแดงผ่านทางชินวัฒน์ หาบุญพาด ดันให้ ‘แรมโบ้อีสาน’ สุภรณ์ อัตถาวงศ์ และสมพงษ์ สระกวี อดีต สว. สงขลา เข้าร่วมเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูป ๒๐๐ คน ที่แปลงร่างมาจาก สปช. ร้อนถึงรักษาการหัวหน้าพรรค พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาว์อินทร์ ต้องออกมาแถลงห้ามกันอีกหน
ต่างฟู่ฟ่ากันจ้าละหวั่น ดูเหมือนจะหลงลืมเรื่องปากท้องประชาชนที่กำลังขัดสน แต่ปัญหาหลักอยู่ที่คลำหาทางแก้ยังไม่ได้ แม้จะเอา ‘ทักษิโณมิค’ มาเปลี่ยนกล่องใหม่เป็น ‘ประชารัฐ’ ก็ตามที
บัดนี้ธนาคารโลกคอนเฟิร์ม จีดีพีไทยไปไม่ถึงฝัน ๓ เปอร์เซ็นต์แน่นอน อย่างดีก็เพียง ๒.๕ พร้อมทั้งอัตราส่งออกจะถ่างไปได้แค่ ๐.๘ เปอร์เซ็นต์ เป็นผลให้เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาต่อไปอีกอย่างน้อยๆ ๒ ปี
(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444094716)
นี่ขนาดว่าก่อนหน้านี้ธนาคารแห่งประเทศไทยกัดลิ้นตัดประมาณการจีดีพีเหลือ ๒.๗ แล้วนะ โดยที่พบว่าปริมาณการค้าปลีกยังคงลดลงจากเมื่อปีที่แล้ว ๓.๕ เปอร์เซ็นต์
“นางรุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวถึงรายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินเดือนสิงหาคม 2558 พบว่า ภาคการส่งออกติดลบร้อยละ 5.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ติดลบร้อยละ 3.1 และเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน”
(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1443602230)
ทั้งหลายทั้งมวลของขวากเศรษฐกิจนี้ หนึ่งในวิธีแก้ปมโดยทีมเศรษฐกิจ คสช. ก็คือ เพิ่มจำนวนข้าราชการอีก ๑๓,๘๐๐ ตำแหน่ง ซึ่ง
นักเศรษฐศาสตร์บางท่านชี้ว่าเป็นการฝืนสภาพกับภาวะกดดันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ เนื่องเพราะข้าราชการไทยประดุจดังชนชั้น ‘กลุ่มผลประโยชน์’ ในทางเบี้ยหวัดเงินเดือนที่เป็นกอบเป็นกำ เป็นที่พึ่งกันและกันระหว่างรัฐบาลทหารและข้าราชการพลเรือน
(http://prachatai.org/journal/2015/10/61744 )
ค่าใช่จ่ายสาธารณะของรัฐไทยที่ไปลงกับข้าราชการพลเรือนจำนวนกว่าสองล้านคน เป็นเงินงบประมาณขนาดยักษ์ที่ต้องจ่ายต่อเนื่องกันไม่มีจบสิ้น เช่นเดียวกับของกองทัพ
ซ้ำยังไม่กระตุ้นการหมุนเหวียนของธุรกิจ กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้พอมีอันจะกินกันอยู่ดีแล้ว รายได้ที่เพิ่มจะผันไปเป็นเงินออมส่วนสะสม ไม่ลงไปสู่วงจรซื้อขายเท่ากับประชานิยมที่ลงไปสู่ผู้ยากไร้