ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ "ทีมข่าวอิศรา" ถึงปัญหาที่รัฐบาลไทยตัดสินใจส่งชายมุสลิมอุยกูร์หลบหนีเข้าเมืองราว 90 คนไปยังประเทศจีน จนเกิดกระแสความไม่พอใจในประเทศตุรกี กระทั่งมีกลุ่มบุคคลบุกเข้าไปทำลายข้าวของในสถานกงสุลไทย ณ นครอิสตันบูล
John Kirby
Department Spokesperson
Washington, DC
July 9, 2015
We condemn Thailand’s forced deportation on July 9 of over 100 ethnic Uighurs to China, where they could face harsh treatment and a lack of due process. This action runs counter to Thailand’s international obligations as well as its long-standing practice of providing safe haven to vulnerable persons. We remain deeply concerned about the protection of all asylum seekers and vulnerable migrants in Thailand, and we strongly urge the Government of Thailand, and other governments in countries where Uighurs have taken refuge, not to carry out further forced deportations of ethnic Uighurs.
We further urge Chinese authorities to uphold international norms and to ensure transparency, due process, and proper treatment of these individuals. We will continue to stress to all parties concerned the importance of respecting human rights and honoring their obligations under international law.
We have consistently urged Thai authorities at all levels to adhere to Thailand’s international obligations under the Convention Against Torture, which mandates that countries refrain from refoulement. International humanitarian organizations should also have unfettered access to them to ensure that their humanitarian and protection needs are met. We urge Thailand to allow those remaining ethnic Uighurs to depart voluntarily to a country of their choice.
บานปลาย! รบ.สหรัฐ-ตุรกี รุมแถลงประณามไทย กรณีผลักชาวอุยกูร์กว่าร้อยชีวิตกลับจีน
ที่มา สำนักข่าวอิศรา
วันพฤหัสบดี ที่ 09 กรกฎาคม 2558
ดร.ศราวุฒิ ประเมินว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาจาก 3 ปัจจัย คือ
1.รัฐบาลของตุรกีในระยะหลังซึ่งครองอำนาจต่อเนื่องกันมานับสิบปี เป็นรัฐบาลนิยมแนวทางอิสลาม จึงมีนโยบายช่วยเหลือมุสลิมตกยากในทุกประเทศ รวมทั้งอุยกูร์ด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลตุรกีก็ให้ความช่วยเหลือมุสลิมในซีเรียที่เกิดสงครามกลางเมือง มีการไปตั้งแคมป์ให้พักอาศัย ขณะที่ชาวอุยกูร์เอง รัฐบาลตุรกีก็มีนโยบายให้สัญชาติเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
2.สืบเนื่องจากข้อ 1 จึงกลายเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างประเทศ คือ รัฐบาลตุรกีไม่พอใจรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ถึงขั้นเรียกทูตจีนเข้าพบ และออกแถลงการณ์ตำหนิ ขณะที่ฝ่ายจีนก็ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้
3.การเมืองภายในของตุรกีเอง คือ หลังการเลือกตั้ง รัฐบาลเดิมสูญเสียที่นั่งไปในสภาพอสมควร ทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จึงมีการต่อสู้แย่งชิงเสียงสนับสนุนกับพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งฝ่ายค้านมีแนวทางชาตินิยม ได้ปลุกกระแสต่อต้านนโยบายการช่วยเหลือมุสลิมเชื้อสายอื่นที่ไม่ใช่เติร์กของรัฐบาล
ขณะเดียวกันก็มีการประท้วงต่อต้านจีนขึ้นมา เพราะไม่พอใจที่จีนปฏิบัติละเมิดสิทธิมนุษยชนกับชาวอุยกูร์ในจีน โดยเฉพาะในมณฑลซินเจียง ซึ่งชาวอุยกูร์ก็เป็นเชื้อสายหนึ่งของชนเผ่าเติร์ก ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกี
ดร.ศราวุฒิ สรุปว่าปัญหาอุยกูร์เป็นประเด็นทั้งศาสนา การเมืองภายในของตุรกีกับขบวนการชาตินิยมเติร์ก และการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกำลังหวั่นเกรงว่าปัญหาอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงจะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างจีนกับตุรกี
ส่วนการที่รัฐบาลไทยตัดสินใจส่งชายมุสลิมอุยกูร์ราว 90 คนให้จีน หลังจากส่งผู้หญิงและเด็กราว 170 คนให้ตุรกีไปก่อนหน้านี้นั้น ดร.ศราวุฒิ มองว่า การที่ไทยส่งผู้หญิงและเด็กชาวอุยกูร์ไปยังประเทศตุรกีในครั้งแรก ไม่น่ามีปัญหา เพราะตุรกีเป็นพันธมิตรที่ดีกับสหรัฐอเมริกาเหมือนไทย แต่การส่งชายชาวอุยกูร์ 90 คนไปให้จีนล่าสุด จะทำให้ไทยต้องเผชิญแรงกดดันใน 3 ด้าน คือ
1.ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพราะมั่นใจได้อย่างไรว่าชายชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งไปจีน จะไม่ถูกทรมาน ถูกทำร้าย หรือถูกสังหาร หรือแม้แต่ถูกบีบเค้นข้อมูล เพราะปัญหาความขัดแย้งในมณฑลซินเจียง เป็นปัญหาความมั่นคงของจีน
2.ไทยจะถูกสหรัฐกดดันมากขึ้น เพราะสหรัฐเป็นพันธมิตรกับตุรกี และกำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้แข่งกับจีน
3.โลกมุสลิมไม่พอใจรัฐบาลไทย
ดร.ศราวุฒิ ยังให้ข้อมูลในมิติประวัติศาสตร์ว่า อุยกูร์เป็นเชื้อสายหนึ่งของชาติพันธุ์เติร์ก ซึ่งแผ่นอิทธิพลในดินแดนเอเชียกลางมานานนับพันปี โดยชนเผ่าเติร์กเคยสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของโลกมุสลิม ชนเผ่านี้เป็นชนเผ่านักรบ และเร่ร่อนไปยังพื้นที่ต่างๆ ส่วนหนึ่งก็ไปตั้งถิ่นฐานในมณฑลซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในปัจจุบัน ทว่าเมื่อก่อนไม่มีพรมแดน ไม่มีเส้นเขตแดน
ต่อมาจีนควบรวมซินเจียงเข้ามาอยู่ใต้อธิปไตยของตน แล้วก็มีความขัดแย้งภายในคุกรุ่นตลอดมา โดยอุยกูร์บางส่วนพยายามต่อสู้เพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก กระทั่งระยะหลัง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 911 (ขับเครื่องบินชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในมหานครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) มีการปั่นกระแสสร้างวาทกรรมว่าอุยกูร์ที่พยายามแยกตัวจากจีนนั้น เป็นมุสลิมหัวรุนแรง ได้รับการสนับสนุนจากอัลกออิดะห์
สถานการณ์มาปะทุเมื่อปี 2552 เมื่อมีการชุมนุมของชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม และเกิดจลาจลจนรัฐบาลจีนตัดสินใจสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 150 คน
หมายเหตุ : ภาพ ศราวุฒิ อารีย์ จากแฟ้มภาพอิศรา
Press Statementวันพฤหัสบดี ที่ 09 กรกฎาคม 2558
ดร.ศราวุฒิ ประเมินว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาจาก 3 ปัจจัย คือ
1.รัฐบาลของตุรกีในระยะหลังซึ่งครองอำนาจต่อเนื่องกันมานับสิบปี เป็นรัฐบาลนิยมแนวทางอิสลาม จึงมีนโยบายช่วยเหลือมุสลิมตกยากในทุกประเทศ รวมทั้งอุยกูร์ด้วย ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลตุรกีก็ให้ความช่วยเหลือมุสลิมในซีเรียที่เกิดสงครามกลางเมือง มีการไปตั้งแคมป์ให้พักอาศัย ขณะที่ชาวอุยกูร์เอง รัฐบาลตุรกีก็มีนโยบายให้สัญชาติเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
2.สืบเนื่องจากข้อ 1 จึงกลายเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่างประเทศ คือ รัฐบาลตุรกีไม่พอใจรัฐบาลจีนเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ถึงขั้นเรียกทูตจีนเข้าพบ และออกแถลงการณ์ตำหนิ ขณะที่ฝ่ายจีนก็ออกมาแสดงท่าทีตอบโต้
3.การเมืองภายในของตุรกีเอง คือ หลังการเลือกตั้ง รัฐบาลเดิมสูญเสียที่นั่งไปในสภาพอสมควร ทำให้ไม่สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ จึงมีการต่อสู้แย่งชิงเสียงสนับสนุนกับพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งฝ่ายค้านมีแนวทางชาตินิยม ได้ปลุกกระแสต่อต้านนโยบายการช่วยเหลือมุสลิมเชื้อสายอื่นที่ไม่ใช่เติร์กของรัฐบาล
ขณะเดียวกันก็มีการประท้วงต่อต้านจีนขึ้นมา เพราะไม่พอใจที่จีนปฏิบัติละเมิดสิทธิมนุษยชนกับชาวอุยกูร์ในจีน โดยเฉพาะในมณฑลซินเจียง ซึ่งชาวอุยกูร์ก็เป็นเชื้อสายหนึ่งของชนเผ่าเติร์ก ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกี
ดร.ศราวุฒิ สรุปว่าปัญหาอุยกูร์เป็นประเด็นทั้งศาสนา การเมืองภายในของตุรกีกับขบวนการชาตินิยมเติร์ก และการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งขณะนี้หลายฝ่ายกำลังหวั่นเกรงว่าปัญหาอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงจะทำให้เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างจีนกับตุรกี
ส่วนการที่รัฐบาลไทยตัดสินใจส่งชายมุสลิมอุยกูร์ราว 90 คนให้จีน หลังจากส่งผู้หญิงและเด็กราว 170 คนให้ตุรกีไปก่อนหน้านี้นั้น ดร.ศราวุฒิ มองว่า การที่ไทยส่งผู้หญิงและเด็กชาวอุยกูร์ไปยังประเทศตุรกีในครั้งแรก ไม่น่ามีปัญหา เพราะตุรกีเป็นพันธมิตรที่ดีกับสหรัฐอเมริกาเหมือนไทย แต่การส่งชายชาวอุยกูร์ 90 คนไปให้จีนล่าสุด จะทำให้ไทยต้องเผชิญแรงกดดันใน 3 ด้าน คือ
1.ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน เพราะมั่นใจได้อย่างไรว่าชายชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งไปจีน จะไม่ถูกทรมาน ถูกทำร้าย หรือถูกสังหาร หรือแม้แต่ถูกบีบเค้นข้อมูล เพราะปัญหาความขัดแย้งในมณฑลซินเจียง เป็นปัญหาความมั่นคงของจีน
2.ไทยจะถูกสหรัฐกดดันมากขึ้น เพราะสหรัฐเป็นพันธมิตรกับตุรกี และกำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้แข่งกับจีน
3.โลกมุสลิมไม่พอใจรัฐบาลไทย
ดร.ศราวุฒิ ยังให้ข้อมูลในมิติประวัติศาสตร์ว่า อุยกูร์เป็นเชื้อสายหนึ่งของชาติพันธุ์เติร์ก ซึ่งแผ่นอิทธิพลในดินแดนเอเชียกลางมานานนับพันปี โดยชนเผ่าเติร์กเคยสถาปนาอาณาจักรออตโตมาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของโลกมุสลิม ชนเผ่านี้เป็นชนเผ่านักรบ และเร่ร่อนไปยังพื้นที่ต่างๆ ส่วนหนึ่งก็ไปตั้งถิ่นฐานในมณฑลซินเจียง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในปัจจุบัน ทว่าเมื่อก่อนไม่มีพรมแดน ไม่มีเส้นเขตแดน
ต่อมาจีนควบรวมซินเจียงเข้ามาอยู่ใต้อธิปไตยของตน แล้วก็มีความขัดแย้งภายในคุกรุ่นตลอดมา โดยอุยกูร์บางส่วนพยายามต่อสู้เพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐเตอร์กิสถานตะวันออก กระทั่งระยะหลัง โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 911 (ขับเครื่องบินชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในมหานครนิวยอร์ค เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544) มีการปั่นกระแสสร้างวาทกรรมว่าอุยกูร์ที่พยายามแยกตัวจากจีนนั้น เป็นมุสลิมหัวรุนแรง ได้รับการสนับสนุนจากอัลกออิดะห์
สถานการณ์มาปะทุเมื่อปี 2552 เมื่อมีการชุมนุมของชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม และเกิดจลาจลจนรัฐบาลจีนตัดสินใจสลายการชุมนุม ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 150 คน
หมายเหตุ : ภาพ ศราวุฒิ อารีย์ จากแฟ้มภาพอิศรา
John Kirby
Department Spokesperson
Washington, DC
July 9, 2015
We condemn Thailand’s forced deportation on July 9 of over 100 ethnic Uighurs to China, where they could face harsh treatment and a lack of due process. This action runs counter to Thailand’s international obligations as well as its long-standing practice of providing safe haven to vulnerable persons. We remain deeply concerned about the protection of all asylum seekers and vulnerable migrants in Thailand, and we strongly urge the Government of Thailand, and other governments in countries where Uighurs have taken refuge, not to carry out further forced deportations of ethnic Uighurs.
We further urge Chinese authorities to uphold international norms and to ensure transparency, due process, and proper treatment of these individuals. We will continue to stress to all parties concerned the importance of respecting human rights and honoring their obligations under international law.
We have consistently urged Thai authorities at all levels to adhere to Thailand’s international obligations under the Convention Against Torture, which mandates that countries refrain from refoulement. International humanitarian organizations should also have unfettered access to them to ensure that their humanitarian and protection needs are met. We urge Thailand to allow those remaining ethnic Uighurs to depart voluntarily to a country of their choice.
ooo
ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เราได้ทราบถึงเรื่องราวน่าเศร้าใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับชาวอุยกูร์เติร์คจำนวน 115 ราย ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในประเทศไทย ซึ่งถูกส่งต่อไปยังประเทศที่สามอย่างขัดแย้งกับเจตจำนงเสรีของพวกเขา
หลักการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตรายถือเป็นหลักการพื้นฐานในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งไม่เพียงจะควรนำไปปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยและบุคคลที่อยู่ในสถานะคล้ายคลึงกัน เท่านั้น แต่ยังควรนำไปปฏิบัติต่อมนุษย์ทุกคนที่สิทธิในการดำรงชีวิตของพวกเขาอาจถูกล่วงละเมิดหรือทรมาน ในกรณีที่พวกเขาถูกบังคับผลักไสกลับไปยังที่ที่เขาจากมา ไม่ว่าจะในรูปของการเนรเทศหรือส่งตัวกลับ หลักการดังกล่าวถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัยในปี 1951 และอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการทารุณกรรมอื่นๆ, การปฏิบัติหรือลงโทษผู้ใดอย่างลดทอนหรือปฎิเสธความเป็นมนุษย์ ในปี 1984
เราจึงรู้สึกสังเวชใจต่อการกระทำของรัฐบาลไทย ซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ แม้ว่าก่อนหน้านี้ รัฐบาลตุรกีจะเคยมีความริเริ่มที่จะหาทางออกให้แก่ปัญหาดังกล่าวหลายครั้ง ผ่านการเจรจาหารือกับรัฐบาลไทย และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
สุดท้าย ตุรกีและประชาคมนานาชาติจะยังคงติดตามปัญหาที่เกี่ยวพันกับชะตากรรมของ "ญาติพี่น้องของเรา" อย่างใกล้ชิดและเอาใจใส่ต่อไป
ขณะเดียวกัน นายจอห์น เคอร์บี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐ ได้แถลงการณ์ประณามรัฐบาลไทยในกรณีดังกล่าวเช่นกัน
โดยสหรัฐ ชี้ว่าการเนรเทศชาวอุยกูร์กว่า 100 คน กลับจีน โดยรัฐบาลไทย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ผู้ถูกเนรเทศเหล่านั้นอาจจะถูกปฏิบัติด้วยอย่างรุนแรง โดยปราศจากการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมนั้น เป็นการกระทำที่สวนทางกับพันธะผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อประชาคมนานาชาติ รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการจัดหาที่หลบภัยให้แก่บุคคลผู้อ่อนแอขาดที่พึ่ง ซึ่งได้รับการยึดถือมาอย่างยาวนาน
รัฐบาลสหรัฐยังมีความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อมาตรการการดูแลคุ้มครองบุคคลที่ต้องการสถานะผู้ลี้ภัยตลอดจนผู้อพยพที่ทุกข์ยากรายอื่นๆซึ่งเดินทางเข้ามายังประเทศไทย นอกจากนี้ ทางการสหรัฐขอชี้แนะอย่างจริงจังว่า รัฐบาลไทยและรัฐบาลของประเทศอื่นๆ ซึ่งชาวอุยกูร์เดินทางเข้าไปลี้ภัยนั้น จะต้องไม่เนรเทศเชิงบังคับผลักไสชาวอุยกูร์เหล่านั้นออกนอกประเทศอีก
รัฐบาลสหรัฐยังได้กระตุ้นให้ทางการจีนยึดถือบรรทัดฐานของประชาคมนานาชาติรวมทั้งต้องยืนยันถึงความโปร่งใส, กระบวนการทางกฎหมายที่เป็นธรรม และการปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อชาวอุยกูร์ที่ถูกส่งกลับประเทศจีน สหรัฐยังคงเน้นย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ ตระหนักถึงความสำคัญในการให้ความเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนและพันธะผูกพันที่ตนเองมีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
รัฐบาลสหรัฐยังกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับของทางการไทยยึดมั่นในพันธะผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อประชาคมนานาชาติ ภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน ซึ่งบัญญัติให้ทุกประเทศที่ร่วมลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวงดเว้นที่จะผลักดันผู้ขอลี้ภัยกลับไปเผชิญอันตราย
นอกจากนี้ ทางการสหรัฐยังเสนอให้องค์กรด้านมนุษยธรรมระหว่างประเทศ สามารถเข้าไปตรวจสอบชะตากรรมของชาวอุยกูร์ที่ถูกผลักดันกลับประเทศได้อย่างอิสระ เพื่อจะเป็นหลักประกันว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้รับความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมและการปกป้องคุ้มครองอย่างที่พวกเขาควรจะได้รับ
ท้ายสุด รัฐบาลสหรัฐได้แนะนำให้รัฐบาลไทยอนุญาตให้ผู้อพยพชาวอุยกูร์ที่ยังเหลืออยู่ในประเทศ สามารถเดินทางต่อไปยังประเทศที่สามตามความสมัครใจและการตัดสินใจเลือกของพวกเขาเอง