วันพฤหัสบดี, กรกฎาคม 02, 2558

คสช.จะ"อำมหิต"กับ 14 นศ.หรือไม่? เมื่อถูกต้อนให้จนตรอก + แถลงการณ์ จากกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปที่ไม่เอารัฐประหาร + 281 อาจารย์มหาวิทยาลัยลงชื่อเรียกร้องปล่อย 14 น.ศ-ยุติดำเนินคดี





https://www.youtube.com/watch?v=X5jxBs4YZvg&app=desktop

jom voice

Published on Jun 30, 2015
ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1 ใน อาจารย์และนักวิชาการ จำนวน 281 คน ที่ร่วมลงชื่อรณรงค์ให้ คสช.ยกเลิกข้อหาและปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คน อย่างไม่มีเงื่อนไข ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ภายหลังเข้้าเยี่ยมให้กำลังใจนักศึกษาว่า นักศึกษาทั้ง 14 คนไม่ได้ทำความผิดกฎหมายอะไร เพราะกฎหมายที่ คสช.บังคับใช้มาจากรัฐประหารซึ่งไม่ชอบธรร­มอยู่แล้ว กลุ่มอาจารย์ไม่ได้เห็นด้วยที่จะให้นักศึก­ษาต้องมาติดคุก แต่เป็นเจตนารมย์ของนักศึกษาเอง ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการเรียกร้องคว­ามยุติธรรม และประชาธิปไตยให้เกิดขึ้น และเห็นว่า คสช.ไม่มีทางออกอื่นเหลืออยู่เลยนอกจากปล่­อยตัวนักศึกษาอย่างไม่มีเงื่อนไข และไม่เชื่อว่า คสช.หรือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะอำมหิตกับนักศึกษา หรือใช้มาตรการที่เด็ดขาดรุนแรงกับกลุ่มนั­กศึกษา และประชาชนที่ออกมาต่อต้าน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในเหตุการณ์เดื­อนตุลา เพราะสังคมไทยและสังคมโลกไม่เหมือนเดิม ความพยายามที่จะป้ายสีให้นักศึกษาเป็นปีศา­จ หรือการระดมมวลชนมาปะทะกับนักศึกษาทำไม่ได­้แล้ว แต่ก็เดาใจ พล.อ.ประยุทธ์ ยาก พยายามจะเชื่อว่าบุคลิกที่ดุดัน ก้าวร้าว ข่มขู่ เป็นเพียงบุคลิกส่วนตัว ไม่เชื่อว่าจะนำไปสู่การใช้ความอำมหิต รุนแรงกับนักศึกษา หรือประชาชนที่ออกมาต่อต้าน

ooo

นักเรียนไทยในยุโรปลงชื่อแถลงการณ์ อย่าปล่อยให้การเรียกร้อง ปชต.เป็นสิ่งผิด

Thu, 2015-07-02 00:06
ที่มา ประชาไท

1 ก.ค.2558 นักเรียนนักศึกษาไทยในหลายประเทศของยุโรปรวม 57 คน ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ ‘เพื่อเพื่อนเรา’ เรียกร้อง 4 ข้อ คือ 1.ขอให้ปล่อยตัวทั้ง 14 คนโดยไม่มีเงื่อนไข 2. สนับสนุนแนวทางของขบวนประชาธิปไตยใหม่ซึ่งมีหลักการ 5 ข้อ 3.เรียกร้องให้องค์กรนานาชาติจับตาสถานการณ์ใกล้ชิดเพราะเป็นการคุกคามทางความคิดที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคมประชาธิปไตย 4.ขอให้ประชาชนสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเท่าที่เป็นไปได้ อย่าปล่อยให้การเรียกร้องประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งผิด



แถลงการณ์ “เพื่อเพื่อนเรา”
จากกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปที่ไม่เอารัฐประหาร

ตั้งแต่มีการรัฐประหารขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ปฏิเสธไม่ได้ว่ากลุ่มที่ต่อต้านการรัฐประหารครั้งนี้อย่างแข็งขันที่สุดกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักศึกษา พวกเขามาจากหลายสถาบัน หลายสาขาวิชา หลายภูมิภาค หลายพื้นเพทางสังคม จนกระทั่งอาจมีความคิดความเชื่อทางการเมืองที่หลากหลาย แต่พวกเขาก็ได้รวมตัวกันภายใต้อุดมการณ์ที่ว่า การรัฐประหารเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม สิ่งที่คณะรัฐประหารนำโดยพลเอกประยุทธ จันทร์ โอชาได้ทำ คือการใช้กำลังเข้ายึดอำนาจอธิปไตยอันเป็นของปวงชน รวมทั้งละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานนานัปการ

นักศึกษาที่ต่อต้านรัฐประหารได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและด้วยสันติวิธี เป็นการเคลื่อนแบบใหม่ที่สร้างสรรค์ โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในวัฒนธรรมกระแสหลักและในชีวิตประจำวัน เป็นต้นว่าการกินแซนด์วิช การอ่านหนังสือ 1984 จนกระทั่งการชูสามนิ้ว ซึ่งเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อยืนยันถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และคัดค้านการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้รับการรับรองจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียกร้องสิทธิในการเลือกตั้งอันเป็นหมุดหลักของการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยที่ถูกทำลายด้วยระบอบความกลัวและเผด็จการทหาร อย่างไรก็ตาม นักศึกษาเหล่านี้กลับโดนคุกคามโดยตลอดจากทหารและตำรวจ หลายคนถูก “เชิญตัว” ไปโรงพักหลายครั้งจนคุ้นหน้าคุ้นตาดีกับเจ้าหน้าที่ ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 นักศึกษาส่วนหนึ่งได้รวมตัวกันอีกครั้งหน้าหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ เพื่อทำกิจกรรม “ดูนาฬิกา” อย่างสันติ แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ซึ่งมีจำนวนมากกว่านักศึกษาหลายเท่า ใช้กำลังเกินกว่าเหตุควบคุมตัวนักศึกษาราวกับว่าพวกเขาได้ก่อเหตุร้ายแรง ในวันเดียวกันนั้น นักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่งได้จัดกิจกรรมชูป้ายต่อต้านรัฐประหารอย่างสันติที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จังหวัดขอนแก่น แต่ก็ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวเช่นกัน นักศึกษาเหล่านี้ ได้รับการปล่อยตัว แต่ 16 คนกลับถูกหมายเรียกรายงานตัวตามมาภายหลัง ในวันที่ 24 มิถุนายน 2558 นักศึกษาและนักกิจกรรมที่รวมตัวกันอย่างสันติหน้าหอศิลป์พร้อมนักศึกษากลุ่มดาวดินเดินทางไปที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มิใช่เพื่อมอบตัว แต่เพื่อยืนยันว่าพวกเขาไม่มีความผิดและแจ้งความการใช้กำลังเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ซึ่งเป็นเหตุให้นักศึกษาส่วนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะรับฟ้องคดี แต่ศาลทหารยังดำเนินการออกหมายจับและจับกุมนักศึกษาจำนวน 14 รายในวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ขณะนี้พวกเขายังอยู่ในการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่รัฐในการฝากขังผลัดแรกจนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 เป็นเวลา 12 วัน และอาจถูกดำเนินคดีในศาลทหาร

ในฐานะส่วนหนึ่งของนักศึกษาในประเทศต่าง ๆ ของยุโรป ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ผ่านประสบการณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาอย่างโชกโชน พวกเราขอแสดงความนับถือในความกล้าหาญของนักศึกษาทั้ง 14 คน พวกเขาไม่เพียงเป็นตัวแทนของปัญญาชน ที่มีหน้าที่คิด เขียน วิพากษ์วิจารณ์ แต่ยังเป็นตัวแทนของประชาชนคนธรรมดาที่ออกมาแสดงออกเพื่อยืนยันในสิทธิที่ตนพึงมี โดยยอมแลกกับเสรีภาพอันน้อยนิดที่มีอยู่ภายใต้รัฐเผด็จการ ในวันนี้ พวกเขาถูกกักขังเพียงเพราะพวกเขาคิดและแสดงออกอย่างสันติ แต่ไม่ตรงกับสิ่งที่รัฐต้องการ พวกเขาถูกปฏิบัติราวกับอาชญากร ตำรวจเคลื่อนพลมาเป็นกองร้อยในขณะที่พวกเขารวมตัวกันเพียงสิบ ๆ คนในแต่ละครั้ง ยังไม่นับเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่คอยสะกดรอย และกดดันทางจิตวิทยาอยู่ตลอดเวลา พวกเขาได้แสดงให้เห็นแล้วว่า รัฐเผด็จการนั้นกลัวความแตกต่างและพร้อมจะกระทำเกินกว่าเหตุได้ทุกเมื่อ

ในฐานะส่วนหนึ่งของนักศึกษาในประเทศต่าง ๆ ของยุโรป พวกเราเชื่อว่าบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาทุกที่ในโลก คือการส่งเสริมให้นักศึกษาได้คิด พูด และแสดงออกในสิ่งที่เชื่ออย่างเป็นเหตุเป็นผล เราเชื่อว่าความแตกต่างในทางความคิด เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นสิ่งจำเป็น หากไม่มีการถกเถียง ความรู้ก็ไม่มีทางจะก้าวหน้าได้ไม่ว่าในสาขาใด ๆ และสังคมก็จะไม่มีวันพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตย และเราเชื่อว่าความรู้ ความคิด และความจริงที่เรายึดถือ ไม่ควรเป็นเหตุให้ใครต้องถูกข้อหาร้ายแรงอย่างที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาในประเทศไทยทุกวันนี้ เราจึงมีข้อเรียกร้องดังนี้

1. ขอให้ปล่อยตัวนักศึกษาทั้ง 14 คนทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข พวกเขาเป็นผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ เคลื่อนไหวโดยสันติด้วยตนเอง ไม่มีเบื้องหลังชั่วร้ายอย่างที่หลายคนพยายามกล่าวหาโดยไม่มีมูล

2. ขอสนับสนุนกลุ่ม “ประชาธิปไตยใหม่” อันเป็นกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนนักศึกษา โดยมีหลักการ 5 ข้อ คือ หลักประชาธิปไตย หลักความยุติธรรม หลักการมีส่วนร่วมของประชาชน หลักสิทธิมนุษยชน และหลักสันติวิธี

3. ขอให้องค์กรนานาชาติ เช่นสหภาพยุโรป สหประชาชาติ และองค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ ร่วมกันจับตามองสถานการณ์ประเทศไทยอย่างใกล้ชิด การคุกคามนักศึกษา เป็นการคุกคามในเชิงความคิด ซึ่งเป็นภัยที่ร้ายแรงต่อสังคมประชาธิปไตย

4. ขอเรียกร้องให้นักศึกษา อาจารย์ และประชาชนในสังคมผู้รักประชาธิปไตย ช่วยกันให้การสนับสนุนการเคลื่อนไหวของนักศึกษาเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อย่าปล่อยให้การเรียกร้องประชาธิปไตยกลายเป็นสิ่งที่ผิด

เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ!


ลงชื่อ

ณัฐพล สุขประสงค์ KULeuven, Belgium
สรวิชญ์ โตวิวิชญ์ University of Jyväskylä, Finland
คีตนาฏ วรรณบวร Sciences Po Paris, France
ชิสา อธิพรวัฒนา Sciences Po Paris, France
ดิน บัวแดง Université Paris-Diderot, France
ประกายดาว พฤกษาเกษมสุข Sciences Po Paris, France
มัธวรรณศ์ สุจริตธนารักษ์ Sciences Po Paris, France
รตา สุวรรณทอง École Supérieure d'Électricité et Université Paris 11, France
วิจิตร ประพงษ์ Université Paris Descartes, France
วิภาวี ศิลป์พิทักษ์สกุล Sciences Po Paris, France
ภาคภูมิ แสงกนกกุล INALCO, France
กัณฐณัฏฐ์ ปภพปัญจพัช Freie Universität Berlin, Germany
กอทอง ทองแถม ณ อยุธยา Hochschule Wismar, Germany
ลลิตตา สุริยาอรุณโรจน์ Georg-August-Universitaet, Goettingen, Germany
ปรีชา เกียรติกิระขจร Georg-August-Universität Göttingen, Germany
วีรเดช โขนสันเทียะ Georg-August-Universität Göttingen, Germany
พรพจน์ ดวงมาลา Universität Heidelberg, Germany
พีรจุฬา จุฬานนท์ Humboldt-Universität zu Berlin, Germany
พรเทพ สุคนธ์วิมลมาลย์ Technische Universität Dresden, Germany
พวงสร้อย อักษรสว่าง The university of the Arts, Bremen, Germany
สุทธิลักษณ์ โอทาตะวงศ์ Physik Institut, Germany
สุนิสา อิทธิชัยโย University of Augsburg, Germany
สริตา ปิยะวงศ์รุ่งเรือง Humboldt Universität zu Berlin, Germany
สุขปวีณ์ เวชบุญชู Ëotvös Lórand University, Hungary
สุลักษณ์ หลำอุบล Central European University, Hungary
จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ University of Amsterdam, The Netherlands
ธนัท ปรียานนท์ Leiden University, the Netherlands
นวลขนิษฐ์ พรหมจรรยา Amsterdam, The Netherlands
บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล University of Amsterdam, The Netherlands
ประชาธิป กะทา University of Amsterdam, The Netherlands
กุลธิดา เลื่องยศลือชากุล Ивановский государственный университет, Russian Federation
เบญจมาศ บุญฤทธิ์ University of Aberdeen, Scotland
อสมา มังกรชัย University of Aberdeen, Scotland
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ Universitat de Barcelona, Spain
เนาวรัตน์ ปริ่นปรีชา University of Bern, Switzerland
ศิวัตม์ ชื่นเจริญ University of Bern, Switzerland
กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร SOAS University of London, UK
กฤตภัค งามวาสีนนท์ King's College London, UK
กิตติมา จารีประสิทธิ์ University of Arts London, UK
กุลญาณี จงใจรักษ์ SOAS University of London, UK
จิรธร สกุลวัฒนะ SOAS, University of London, UK
ชนกพร ชูติกมลธรรม SOAS University of London, UK
ชาญ นิลเจียรสกุล London Business School, UK
ธนกาญจน์ ว่องลีลาเศรษฐ์ University of Kent, UK
ธนวัฒน์ ศิลาพร SOAS, University of London, UK
ธีรดา ณ จัตุรัส University of Westminster, London, U.K.
พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง University of Sussex, UK
พิมพ์ชนก มีศรี University of Kent, UK
โม จิรชัยสกุล Royal College of Art, London, UK
วันรัก สุวรรณวัฒนา University of Oxford, UK
วิรุจ ภูริชานนท์ Kingston University , UK
วิภาช ภูริชานนท์ University of London, UK
ศิรดา เขมานิฏฐาไท London School of Economics and Political Science, UK
สุธิดา วิมุตติโกศล King’s College London, UK
สายใจ ตันติวิท The London School of Economics and Political Sciences, UK
อรพิณ ยิ่งยงพัฒนา Goldsmiths, University of London, UK
เอกสุดา สิงห์ลำพอง University of Sussex, UK

ooo

281 อาจารย์มหาวิทยาลัยลงชื่อเรียกร้องปล่อย 14 น.ศ-ยุติดำเนินคดี





Tue, 2015-06-30
ที่มา ประชาไท

30 มิ.ย. 2558 หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ อนุสรณ์ อุณโณ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ่านแถลงการณ์ในนามเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง เรียกร้องให้ปล่อยตัว 14 น.ศ. ทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่ให้มีการตั้งข้อหา หรือดำเนินคดี ระบุการจับกุมคุมขังนักศึกษาจำนวน 14 คนด้วยข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมเพราะรัฐประหารไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น ยืนยันจะส่งเสริมและให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยนอกห้องเรียนของนักศึกษาเหล่านี้ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ต่อไปจนกว่าจะสังคมไทยจะกลายเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

รายละเอียดมีดังนี้

แถลงการณ์จากเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
ฉบับที่ 1

สังคมไทยสร้างขึ้นจากความสัมพันธ์หลายด้านและหนึ่งในนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ เพราะพ้นจากครอบครัวและผู้ให้กำเนิดแล้ว สถานศึกษาและครูบาอาจารย์คือสถานที่และบุคคลที่มีส่วนในการบ่มเพาะขัดเกลาสมาชิกของสังคม สังคมจะเป็นอย่างไรส่วนหนึ่งขึ้นกับรูปแบบและวิธีการเรียนรู้และความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการค้นคว้าตำราหรือว่ากิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน หากแต่หมายรวมถึงกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและสิ่งที่อยู่พ้นห้องเรียนออกไป

การเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของนักเรียน นิสิต นักศึกษาโดยเฉพาะในช่วงเดือนเศษที่ผ่านมานับเป็นกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงนอกห้องเรียนที่สำคัญประการหนึ่ง ขณะเดียวกันก็เป็นการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตยที่เคารพในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล นักเรียน นิสิต นักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้ละเลยหน้าที่ในการเรียนรู้ของตนตามที่บางฝ่ายกล่าวหา และขณะเดียวกันพวกเขาได้แสดงบทบาทในครรลองของสังคมประชาธิปไตยอย่างกล้าหาญ เป็นการใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เพียงแต่จะสอดรับกับหลักการและทฤษฎีอันเป็นสากล หากแต่ยังสอดคล้องกับหลักกฎหมายที่นานาอารยะประเทศให้การรับรอง จะมีก็แต่เผด็จการที่หวาดกลัวเสรีภาพในการเรียนรู้และการแสดงความเห็นต่างของพลเมืองเท่านั้นที่เห็นการเคลื่อนไหวของพวกเขาเป็นสิ่งผิดหรือเป็นอันตรายจนกระทั่งต้องใช้อำนาจดิบหยาบและกฎหมายป่าเถื่อนเข้ายับยั้งปราบปราม

ในฐานะครูบาอาจารย์ผู้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่มีต่อศิษย์และสังคม พวกเราเห็นว่าการจับกุมคุมขังนักศึกษาจำนวน 14 คนด้วยข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรัฐประหารเป็นสิ่งไม่ชอบธรรมเพราะรัฐประหารไม่มีความชอบธรรมตั้งแต่ต้น จึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวพวกเขาทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่ให้มีการตั้งข้อหาหรือว่าดำเนินคดีกับพวกเขาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวดังกล่าว

ประการสำคัญ พวกเราจะส่งเสริมและให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยนอกห้องเรียนของนักศึกษาเหล่านี้ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ต่อไปจนกว่าจะสังคมไทยจะกลายเป็นสังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ด้วยความเชื่อมั่นในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค
เครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง
30 มิถุนายน 2558

รายชื่อผู้ร่วมลงนาม
แถลงการณ์จากเครือข่ายคณาจารย์ผู้ห่วงใยศิษย์ที่ถูกคุมขัง ฉบับที่ 1
1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
2. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
3. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล ม.ธรรมศาสตร์
4. กฤษฎา บุญชัย คณะรัฐศาสตร์ ม.ราชภัฎมหาสารคาม
5. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
6. กิตติ วิสารกาญจน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี
7. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
8. เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
9. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
10. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ ม.เชียงใหม่
11. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
12. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
13. กฤษณ์พชร โสมณวัตร ม.เชียงใหม่
14. ขนิษฐา กีรติภัทรกาญจน์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
15. ขวัญชีวัน บัวแดง ม.เชียงใหม่
16. ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
17. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
18. เคท ครั้งพิบูลย์
19. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
20. คงกฤช ไตรยวงค์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
21. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
22. คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง ม.บูรพา
23. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
24. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
25. จิรธร สกุลวัฒนะ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
26. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
27. จิราภรณ์ สมิธ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
28. จิรสิริ เกษมสินธุ์ วิเวกเมธากร คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล
29. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
30. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
31. จันทนี เจริญศรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
32. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
33. จันทรา ธนะวัฒนวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
34. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
35. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ ม. มหิดล
36. ชานนท์ ไชยทองดี คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏศรีสะเกษ
37. ชานันท์ ยอดหงส์
38. ชาญชัย ชัยสุขโกศล ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ม.มหิดล
39. ชาญณรงค์ บุญหนุน ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
40. ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
41. ชินทาโร ฮารา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
42. ชัชวาล ปุญปัน อดีตอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
43. ชัยพงษ์ สำเนียง สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่
44. ชัยวัฒน์ มีสันฐาน คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
45. เชษฐา ทรัพย์เย็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ธนบุรี
46. เชษฐา พวงหัตถ์ นักวิชาการอิสระ
47. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
48. ชำนาญ จันทร์เรือง
49. ไชยันต์ รัชชกูล
50. ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
51. ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
52. ณภัค เสรีรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
53. ณัฐกานต์ อัครพงษ์พิศักดิ์ ม.มหาสารคาม
54. ณัฐกร วิทิตานนท์
55. ณัฐนันท์ คุณมาศ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
56. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
57. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
58. ฐิติรัตน์ สุวรรณสม ม.นเรศวร
59. ฐิติพงษ์ ด้วงคง คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
60. ฐิติชญาน์ ศรแก้ว คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร
62. ฐานิดา บุญวรรโณ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
63. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวร
64. ดารารัตน์ คำเป็ง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.พะเยา
65. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
66. เดชา ตั้งสีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
67. เดโชพล เหมนาไลย ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
68. ดำรงพล อินทร์จันทร์ ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
69. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
70. ตฤณ ไอยะรา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
71. ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
72. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
73. ทิพสุดา ญาณาภิรัต ม.มหาสารคาม
74. ทับทิม ทับทิม
75. ทัศนัย เศรษฐเสรี สาขาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ ม.เชียงใหม่
76. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ นิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่
77. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
78. ธนาวิ โชติประดิษฐ
79. ธนรรถวร จตุรงควาณิช คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
80. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ขอนแก่น
81. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
82. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
83. ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ
84. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
85. ธิติญา เหล่าอัน คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏเลย
86. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
87. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
88. ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล
89. ธัญญธร สายปัญญา คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
90. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
91. นวัต เลิศแสวงกิจ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
92. นภิสา ไวฑูรเกียรติ ม.นเรศวร
93. นลินี ตันธุวนิตย์ คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
94. นภาพร อติวนิชยพงศ์ ม.ธรรมศาสตร์
95. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
96. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
97. นาตยา อยู่คง ภาควิชาสังคมศาสตร์ ม.ศิลปากร
98. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
99. นิธิ เนื่องจำนง ม.นเรศวร
100. นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์
101. เนตรดาว เถาถวิล สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
102. นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ ม.เชียงใหม่
103. นพพร ขุนค้า รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ราชภัฎราชนครินทร์
104. เนาวรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
105. นันทนุช อุดมละมุล คณะมนุษยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
106. บาหยัน อิ่มสำราญ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
107. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
108. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
109. บูรณจิตร แก้วศรีมล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
110. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
111. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
112. บัณฑูร ราชมณี คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
113. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
114. แบ๊งค์ งามอรุณโชติ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์การศึกษาราชบุรี
115. ปฐม ตาคะนานันท์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง
116. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
117. ปฐมพงศ์ มโนหาญ นวัตกรรมสังคม ม.แม่ฟ้าหลวง
118. ปิยชาติ สึงตี ม.วลัยลักษณ์
119. ปิยะมาศ ทัพมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
120. ปิง วิชัยดิษฐ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
121. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ม.เชียงใหม่
122. ประกาศ สว่างโชติ คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
123. ประทับจิต นีละไพจิตร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
124. ประภาส ปิ่นตบแต่ง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
125. ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
126. ประยุทธ สายต่อเนื่อง
127. ปราโมทย์ ระวิน สาชาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
128. ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
129. ปรีดี หงษ์สต้น คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
130. ปุรินทร์ นาคสิงห์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
131. ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
132. ปฤณ เทพนรินทร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
133. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล
134. ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
135. พกุล แองเกอร์
136. พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ Weatherhead East Asia Institute ม.โคลัมเบีย
137. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
138. พจนก กาญจนจันทร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
139. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
140. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
141. พิชญา พรรคทองสุข คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
142. พิชามญชุ์ ทิพยพัฒนกุล ม.วลัยลักษณ์
143. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
144. พิรงรอง รามสูตร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
145. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
146. พิสิษฏ์ นาสี ม.เชียงใหม่
147. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
148. พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
149. พรณี เจริญสมจิตร์ เกษียณจากภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
150. พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
151. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
152. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
153. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
154. ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง ม.บูรพา
155. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
156. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
157. เพียงกมล มานะรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
158. ภาสกร อินทุมาร คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล
159. ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏลำปาง
160. ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักวิชาการอิสระ
161. มิกด๊าด วงศ์เสนาอารี คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
162. มิเชล ตัน คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
163. มูนีเราะฮ์ ยีดำ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
164. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
165. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
166. มนวัธน์ พรหมรัตน์ ม. วลัยลักษณ์
167. มรกตวงศ์ ภูมิพลับ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
168. ยอดพล เทพสิทธา คณธนิติศาสตร์ ม.นเรศวร
169. รชฏ นุเสน ม.ราชภัฏเชียงใหม่
170. รชฎ สาตราวุธ ภาควิชาปรัชญา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
171. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
172. รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
173. ลลิตา หาญวงษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
174. วราภรณ์ เรืองศรี ม.เชียงใหม่
175. วศิน โกมุท คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
176. วศินรัฐ นวลศิริ คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร
177. วัชรพล พุทธรักษา คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
178. วัชรพล ศุภจักรวัฒนา ม.นเรศวร
179. วันรัก สุวรรณวัฒนา คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
180. วาสนา ละอองปลิว ม.ธรรมศาสตร์
181. วิจักขณ์ พานิช
182. วิเชียร อินทะสี ม.นเรศวร
183. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
184. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
185. วิริยะ สว่างโชติ
186. วิภา ดาวมณี อดีตอาจารย์ วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์
187. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและสังคมวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
188. วิมลสิริ เหมทานนท์ วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล
189. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
190. วิลลา วิลัยทอง คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
191. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏจันทรเกษม
192. วิศรุต พึ่งสุนทร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
193. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล ม.ธรรมศาสตร์
194. เวลา กัลหโสภา บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่
195. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
196. วรรณวิภางคฺ์ มานะโชติพงษ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
197. วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เชียงใหม่
198. วรยุทธ ศรีวรกุล
199. เวฬุรีย์ เมธาวีวินิจ วิทยาลัยนวัตกรรม ม.ธรรมศาสตร์
200. เวียงรัฐ เนติโพธิ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
201. ศักรินทร์ ณ น่าน
202. ศาสวัต บุญศรี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.ศิลปากร
203. ศรีประภา เพชรมีศรี สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
204. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาควิชาสื่อ ศิลปะ และการออกแบบ คณะวิจิตศิลป์ ม.เชียงใหม่
205. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
206. ศศิธร จันทโรทัย ม.นเรศวร
207. ศศิประภา จันทะวงศ์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคาม
209. ศุทธิกานต์ มีจั่น วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
210. ศุภวิทย์ ถาวรบุตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
211. โศภิต ชีวะพานิชย์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
212. สักรินทร์ แซ่ภู่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ ม.มหาสารคาม
213. สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
214. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
215. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ม.ธรรมศาสตร์
216. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
217. สายัณห์ แดงกลม คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
218. สิริจิต สุนันต๊ะ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม. มหิดล
219. สิเรมอร อัศวพรหมธาดา รัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
220. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร
221. สิทธารถ ศรีโคตร ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
222. สุชาติ เศรษฐมาลินี สาขาวิชาสันติศึกษา ม.พายัพ
223. สุธาทิพย์ โมราลาย
224. สุภัทรา น.วรรณพิณ อดีตอาจารย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
225. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
226. สุธิดา วิมุตติโกศล คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
227. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
228. สุปรียา หวังพัชรพล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
229. สุรพศ ทวีศักดิ์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาหัวหิน
230. สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ
231. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
232. สุรัช คมพจน์ หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
233. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
234. สุวนันทน์ อินมณี ม.นเรศวร
235. สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
236. สร้อยมาศ รุ่งมณี ม.ธรรมศาสตร์
237. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
238. โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
239. เสนาะ เจริญพร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
240. เสาวณิต จุลวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
241. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
242. อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
243. อนุสรณ์ ติปยานนท์ ม.เชียงใหม่
244. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
245. อมต จันทรังษี ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์
246. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
247. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
248. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
249. อภิญญา เวชยชัย คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
250. อภัยชนม์ สัจจะพัฒนกุล สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
251. อภิราดี จันทร์แสง ม.มหาสารคาม
252. อรัญญา ศิริผล ม.เชียงใหม่
253. อลิสา หะสาเมาะ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
254. อาจิณ โจนาธาน อาจิณกิจ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฎราชนครินทร์
255. อาทิตย์ ทองอินทร์ ม.รังสิต
256. อาทิตย์ พงษ์พานิช ม.นเรศวร
257. อาทิตย์ ศรีจันทร์
258. อานันท์ กาญจนพันธุ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
259. อิทธิพล จึงวัฒนาวงค์ คณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี
260. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล
261. อิสราภรณ์ พิศสะอาด ม.เชียงใหม่
262. อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ม.สุโขทัยธรรมาธิราช
263. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
264. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร
265. เอกรินทร์ ต่วนศิริ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
266. เอกสุดา สิงห์ลำพอง คณะโบราณคดี ม.ศิลปากร
267. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์
268. อุเชนทร์ เชียงเสน หลักสูตรรัฐศาสตร์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
269. อุบลวรรณ มูลกัณฑา คณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ
270. อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
271. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ ม.นเรศวร
272. อรภัคค รัฐผาไท อดีตอาจารย์คณะมนุษย์ศาสตร์ ม.เชียงใหม่
273. อรอนงค์ ทิพย์พิมล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
274. อัจฉราวรรณ บุรีภักดี สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม ม.เทคโนโลยีสุรนารี
275. อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ ม.นเรศวร
276. อันธิฌา แสงชัย ภาควิชาปรัชญาและศาสนา ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
277. อัมพร หมาดเด็น สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์
278. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
279. อรรถพล อนันตวรสกุล ครุศาสตร์ จุฬาฯ
280. อนรรฆ สมพงษ์ ครุศาสตร์ ม.ราชภัฏสกลนคร
281. Philip Hirsch, Department of Human Geography, U. of Sydney

...