ก่อนจะเป็น "หม่อมเอ๋อ" ของ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
............
ชื่อของสุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นที่รู้จักในการเมืองไทยหลัง 6 ตุลาคม 2519 ภายหลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทางด้านสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (พ.ศ. 2521) และมารับตำแหน่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2523
พร้อม ๆ กับเสียงร่ำลือถึง "ศักดิ์" ของเขาว่า มีสิทธิ์จะขึ้นเป็นกษัตริย์ได้ถ้าไม่มี 2475 เสียก่อน
สุขุมพันธุ์ บริพัตร เริ่มชีวิตนักวิชการในสมัย เปรม ซึ่งก็คือยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ เขาคือตัวแบบนักวิชาการแบบเสรีนิยม ที่ไม่มีกลิ่นอายฝ่ายซ้ายแบบพคท. (ซึ่งตอนนั้นต้องสงบปากสงบคำ)
จุดร่วมของเสรีนิยม กับฝ่ายซ้ายคือการเอาทหารออกจาการเมืองไทย และการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ ให้มีอิสระ ไม่ยึดติดกับกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นผลผลิตของสงครามเย็น ตั้งแต่ทศวรรษ 2490
ใระหว่างนั้น สขุมพันธุ์ มีผลงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศมากมาย ซึ่งได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้น
นอกจากนั้น ได้มีผลงานทางวิชาการร่วมกับนักวิชาการระดับนานาชาติหลาย คน อาทิ Professor Robert Scalapino
งานเขียนอื่น ๆ : เคยเขียนคอลัมน์ประจำให้แก่ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ และ หนังสือพิมพ์แนวหน้า เคยเขียนคอลัมน์รับเชิญให้แก่นิตยสารต่างประเทศหลายฉบับ รวมถึง Far Eastern Economic Review, The International Herald Tribune, The Asian Wall Street
ถ้าใครอ่าน TKNS ของพอล แฮนลี่ย์ จะจำได้ว่ามีบทความชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในภาษาอังกฤษที่วิพากษ์เพื่อปฏิรูปสถาบันฯ แฮนลีย์สันนิษฐานว่าคนเขียนคือ สุขุมพันธ์
ในปี 2531 ที่มีฏีกา 99 นักวิชาการไล่เปรม ชื่อของ "หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร" เป็นชื่อแรกของแถลงการณ์ดังกล่าว
และเมื่อเปรม ไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตำแหน่งดังกล่าวจึงตกมาเป็นชาติชาย ชุณหะวัณ ในสมัยนี้เองที่ได้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจาก "ที่ปรึกษาบ้านพิษณุโลก" เป็นชื่อทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ของ ชาติชาย ชุณหะวัณ ตั้งขึ้นตาม คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 84/2531 ประกอบด้วยทีมงานหลักดังนี้
นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานคณะที่ปรึกษา
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ
ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
ดร.ชวนชัย อัชนันท์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ที่ปรึกษาด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ นักวิจัยประจำคณะที่ปรึกษา
นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า มาจากทีมที่ปรึกษาชุดนี้เอง ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้ปรับนโยบายต่างประเทศที่ดำเนินมากว่า 40 ปี เสีย ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งคือ .สุขุมพันธุ์ บริพัตร ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ นั่นเอง
นอกจากนั้นสุขุมพันธุ์ บริพัตร ยังเป็นคอลัมนิสต์ฝีปากกล้า ที่ออกมาชนกับทหาร โดยเรียกร้องให้ทหาร "กลับไปกวาดบ้านตนเองเสียก่อน" จึงเป็นที่มาของการตบเท้าของบรรดา "บุนศึก" ที่ฮี่ม ๆ จะรัฐประหาร จนชาติชายต้องถอดชื่อสุขุมพันธ์ ออกจากที่ปรกึษาเพื่อลดกระแส
เมื่อมาในสมัยชวน 1 ระหว่างปี 2535-2538 ชื่อของ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ก็ยังคงโดนเด่นในฐานะคนที่วิจารณ์รัฐบาลชวน หลีกภัย อย่างเผ็ดร้อน โดยเเฉพาะการทำงานที่อิงกับะรบบราชการ
ในปี 2538 นั้นเองที่ สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในร้อยผู้นำระดับโลกในศตวรรษที่ 21 โดยนิตยสาร TIME ในปี พ.ศ. 2538
สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคนำไทย ร่วมกับนายอำนวย วีรวรรณ เละเคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคนำไทย ซึ่งแน่นอนว่าคู่ต่ำสู้ของพรรคนำไทยคือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง
ในการเลือกตั้ง 2 กรกฎาคม 2538 สุขุมพันธ์ลงสมัครเขต 2 กทม. โดยคู่แข่งในสนามเดียวกันคือ มารุต บุนนาค จากประชาธิปัตย์ และ ทักษิณ ชินวัตร จากพรรคพลังธรรม
ผลปรากฎว่า คะแนนออกมาสุขุมพันธ์ และพรรคนำไทย แพ้หลุดลุ่ย และเป็นการยุติบทบาททางการเมืองในพรรคนำไทย ก่อนที่พรรคดังกล่าวจะยุบรวมกับพรรคความหวังหใม่ในอีกไม่นาน
สุขุมพันธ์ได้เข้าสู่สภาครั้งแรกในปี 2539 โดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และลงเลือกตั้งในปี 2539 ภายใต้การนำของชวน หลีกภัย ที่เขาเพิ่งวิพากษ์มาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
แต่ผลจากการกลับลำในครั้งนั้นทำให้ได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขตเลือกตั้งที่ 6 (บางรัก สัมพันธวงศ์ สาทร แขวงยานนาวาและแขวงทุ่งมหาเมฆ)
นี่คือเขตเลือกตั้งที่ปลอดภัยที่สุด เพราะฐานเสียงที่แน่นหนาของพรรคประชาธิปัตย์ อภิสิทธิ์ ลงเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2535/1 ก็ลงเขตนี้
เมื่อเสธ.หนั่น สร้างปรากฎการณ์ ชาวนา งูเห่า ส่งให้ชวน กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 ปลายปี 2540 สุขุมพันธ์ก็ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมปรารถนา โดยที่มีสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเจ้ากระทรวง
ผลงานในครั้งนั้นที่คนจำได้คือสุขุมพันธ์ เป็นตัวประกันของ กลุ่มนักศึกษาพม่่าที่เข้ายึดสถานทูในเดือนตุลาคม ตุลาคม พ.ศ. 2542
ในการเลือกตั้ง 2544 สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้เป็น ผู้สมัตร ส.ส. ในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 24 ของพรรคประชาธิปัตย์ และดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรค และดูแลงานทางด้านต่างประเทศและความมั่นคง ในปีนี้เองที่เขาได้เป็นฝ่ายค้านอย่างเต็มตัวในสมัยทักษิณ ชินวัตร
การเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 สุขุมพันธ์ไม่ลงสมคร เพราะพรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเบือกตั้ง เพื่อสร้างเงื่อนไขให้เกิดรัฐประหาร
เมื่อเกิดรัฐประหาร 2549 และรัฐธรรมนูญ 2550 ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550
สุขุมพันธุ์ บริพัตร ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนโซน 6 กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี ลำดับที่ 3 และชนะการเลือกตั้ง อีกเช่นกัน
แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็พ่านแพ้แก่พรรคพลังประชาชน ที่กลายพันธ์มาจาก พรรคไทยรรักไทย
ณ ห้วงเวลานั้น แทบไม่มีวี่แววเลยที่พรรคประชาธิปัตยจะกลับมาเป็นรัฐบาล
ดังนั้นเมื่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีชี้มูลความผิด นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในคดีทุจริตโครงการจัดซื้อรถ-เรือดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยของกรุงเทพมหานคร มูลค่า 6,800 ล้านบาท และนายอภิรักษ์ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง .
สุขุมพันธุ์ จึงสบโอกาส ที่จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว ลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานค ในวันที่ 5 ตุลาคม 2551 ทั้งที่ในชีวิตของสุชุมพันธ์ ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมาทำงาน "เทศบาล" ประเภท เก็บขยะ ล้างท่อ ฯลฯ เช่นงานในกทม.
แต่นั่นก็เป็นการตัดสินใตจผิดพลาดที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต เพราะหลังจากนั้นก็เกิดการยุบพรรคพลังประชาชน ในต้นเดือนธันวาคม 2551 และเปลี่ยนขั้วการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล โควตารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของพรรคประชาธิตย์จึงตกมาเป้นของ กษิต ภิรมย์ แบบบุญหล่นทับ โดยที่สุขุมพันธ์ ได้แต่มองตาปริบ ๆ
ขณะที่สุขุมพันธ์ต้องก้นหน้าก้มตาทำงาน "เทศบาล" ต่อไป
แม้จะไม่มีผลงานอย่างเป็นรูปธรรมในรอบ 4 ปี แต่ในการเลือกตั้งผุ้ว่า กทม. 3 มีนาคม 2556 สุขุมพันธุ์ยังดึงดันที่จะลงสมัครเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งมีการหักเหลี่ยนเฉือนคมกันภายในพรรค พอสมควร
ยุทธวิธีที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้หาเสียง จึงไม่ชูผลงานสุขุมพันธ์ เท่ากับการป้องกับ ปีศาจชื่อทักษิณ และจบลงด้วยชัยชนะของสุขุมพันธุ์
แต่ทว่า หลังจากนั้ คนจะจดจำชื่อสุขุมพันธ์ในฐานะ ผู้ว่ากทม. ที่ไม่ได้เรื่อง มากกว่าจะเป็นนักวิชาการเสรีนิยม ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างประเทศ ฝีปากกล้า ที่ยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย
ข้อมูลเบื้องต้นจาก