ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
องค์กรการบินพลเรือนระหว่งประเทศ ประกาศชื่อไทยมีสัญลักษณ์ธงแดงวันนี้ หลังไม่เห็นชอบแผนแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ หรือ SSC แม้ก่อนหน้านี้ ไทยได้เข้าพบประธาน ICAO ก็ตาม ด้านรัฐมนตรีคมนาคม ยอมรับ เหมือนไทยเป็นนักเรียนสอบตก
นายเสรี จิตต์โสภา รองอธิบดีกรมการบินพลเรือน ระบุว่า องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ไอเคโอ้ ประกาศชื่อประเทศไทยมีสัญลักษณ์ธงแดงในวันนี้ (18 มิ.ย.) ผ่านเว็บไซต์ หลังแผนแก้ไขข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญ หรือ SSC ของไทย ยังไม่ผ่านการรับรอง และ ICAO มีความเห็นว่า แผนของไทยยังเป็นไปไม่ได้
ทั้งนี้ การขึ้นสัญลักษณ์ดังกล่าว ไม่ได้กำหนดระยะเวลาใดๆ ในการแก้ไข โดยอาจจะพิจารณาการแก้ไขเป็นขั้นตอน หลังจาก ICAO พบข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญเมื่อ กุมภาพันธ์ 2558
ด้านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า การเผยแพร่ข้อมูลของ ICAO ไม่ทราบว่ามาจากการสื่อสารที่ผิดพลาดของฝ่ายใด และยอมรับว่า "เปรียบเสมือนนักเรียนสอบตกจากปัญหาดังกล่าว" โดยต้องติดตามท่าที โดยเฉพาะองค์กรการบินพลเรือนของยุโรป ที่จะประกาศในวันที่ 25 มิถุนายนนี้ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไร พร้อมยืนยันเดินหน้าแก้ไขปัญหาความปลอดภัยการบินต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้เดินทางไปพบกับประธาน ICAO ที่สำนักงานใหญ่ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา และได้รายงานกลับมาว่า ทาง ICAO พอใจแผนของไทย และจะไม่มีการประกาศมาตรการใดๆเพิ่มเติม โดยคณะจะเดินทางกลับมาในวันพรุ่งนี้เช้า (19 มิ.ย.)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“การบินไทย”ยืนยันมีมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสูง
ooo
ICAO ต่อเวลาถึงพ.ย.’58 “สหรัฐอเมริกา – อียู” จ่อคิวตรวจสอบมาตรฐานการบินไทยกลางปีนี้
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) |
ที่มา Thai Publica
Date: 17 มิถุนายน 2015
ไทยเดินหน้าเจรจา ICAO ประสบผล ต่อลมหายใจให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 ‘ประจิน’ เล็งรวมคณะกรรมการแก้ปม ICAO เป็นคณะกรรมการบูรณาการ ด้านสายการบินเตรียมรับมือต่างชาติออกมาตรการคุมเข้ม อเมริกา อียู จอคิวเช็คมาตรฐานการบินไทย
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่าขณะนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปพบ ประธานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (The International Civil Aviation Organization- ICAO) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนนาดา
โดยรมว.คมนาคม คาดว่าจากการเตรียมพร้อมในการชี้แจงจากไทยจะสามารถทำให้ ICAO เข้าใจได้ถึงความพยายามในการแก้ปัญหาของไทย และจากการคาดการณ์ในเบื้องต้นผลของการเจรจาเป็นไปได้ 3 แนวทางคือ ICAO จะยังคงสถานะให้การบินพลเรือนไทยโดยการไม่ประกาศใดๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน แนวทางที่ 2 คือให้โอกาสไทยอีก 2-3 สัปดาห์ในการดำเนินการแก้ไข พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม และแนวทางที่ 3 คือ ICAO อาจทำการประการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะในการลดมาตรฐานของไทย
“หากผลออกมาเป็นแนวทางที่ 3 เราได้เตรียมแผนสำรองโดยการให้สายการบินปรับแผนธุรกิจเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ต่างประเทศจะทำการระงับเที่ยวบินของไทย ซึ่งจะมีการเรียกกลุ่มผู้ประกอบการสายการบินอีกครั้งหนึ่ง”
พล.อ.อ.ประจินกล่าวต่อว่าขณะดียวกันจะมีการปรับคณะทำงานที่เข้ามาร่วมทำงานใหม่ทั้งหมดในการแก้ไขปัญหา เป็นคณะกรรมการบูรณาการเพียงชุดเดียวสำหรับการติดตามแก้ปัญหาต่อไป เนื่องจากการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns: SSC) ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งการทำกฎหมายได้จัดทำไปบางส่วน ส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรอยู่ระหว่างดำเนินการ ถือว่าทุกอย่างคืบหน้าไปหมดแล้วจึงเห็นว่าควรควบรวมการทำงานทั้งหมดมาอยู่ที่คณะกรรมการชุดเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติงาน
ล่าสุด นายอาคมรายงานว่าการหารือเป็นไปด้วยดี ประธาน ICAO มีความพึงพอใจที่คณะทำงานไทยให้ความสำคัญ และเข้ามาชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ปัญหา จึงจะไม่ประกาศมาตรการใดๆ เพิ่มบนเว็บไซต์ของ ICAO ตามเส้นตายวันที่ 18 มิถุนายนนี้ โดยจะให้โอกาสไทยแก้ไขปัญหาถึงเดือนพฤศจิกายน 2558
พร้อมกันนี้ ICAO ยังยินดีที่จะทำงานร่วมกับไทย เพื่อปลดล็อค SSC และช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยอาจใช้ไทยเป็นกรณีเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหามาตรฐานการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ด้านแหล่งข่าวจากคณะทำงาน กรมการบินพลเรือนให้ความเห็นว่าจากนี้ไปไทยต้องเร่งดำเนินการตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงกระบวนการออกใบรับรองผู้ดําเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate : AOC) เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้เข้มงวดตามมาตรฐานสากล ซึ่งประเทศต่างๆ อาจยังคงมาตรการคุมเข้มไทยในการให้สายการบินไทยเข้า-ออก เช่นเดิม
“แต่ไม่ว่าผลของ ICAO จะออกมาในแนวทางไหน สิ่งที่ไทย ‘ควร’ ทำคือ การดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตรวจสอบและออกในบรับรองให้สายการบินใหม่โดยเร็ว”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าข่าวดีในครั้งนี้อาจช่วยให้หลายฝ่ายผ่อนคลายได้บ้าง แต่ไม่ควรลืมว่าไทยยังเหลืออีก 2 องค์กรสำคัญที่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติ คือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(Federal Aviation Administration : FAA) และองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA) ที่รอจ่อคิวเข้าตรวจมาตรฐานไทย โดยผลการตรวจจะออกมาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานหลังจากนี้ว่าไทยมีความกระตือรือร้น และสามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากเท่าใด
แหล่งข่าวกล่าวถึงกระบวนการของสหรัฐอเมริกาว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาคือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(Federal Aviation Administration : FAA) โดยจะทำการตรวจแบบที่ ICAO ตรวจสอบ ซึ่งไทยได้ลงนามไว้เมื่อปี 2548 ว่ายินยอมให้เขาเข้ามาตรวจสอบ ตามกำหนด FAA จะมาเดือนมิถุนายน 2558 แต่ขอเขาเลื่อนไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2558
ทั้งนี้ทาง FAA มีการจัดประเภทเป็น 1-2 เช่นกัน หากตรวจพบข้อบกพร่องกรณี SSC จำนวนมาก FAA จะประกาศให้ไทยอยู่ในประเภทที่ 2 คือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งประเทศที่ให้ความเชื่อมั่น FAA อาจมีปฏิกิริยาดังเช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ได้ดำนินการไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนกลุ่มสหภาพยุโรป คือองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA) โดยเยอรมันเป็นผู้ประกาศว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายงานหรือการประกาศ(Announcements) ของ ICAO แต่เขามีกระบวนการพิจารณาของเขาเอง
“อันนี้ฟังดูเหมือนดี ว่าไม่เป็นไรที่ถูก ICAO จัดอันดับในประเภทที่ 2 เขาก็ยังให้ทุกอย่างเป็นปกติ เราก็วางใจ ปรากฏว่าในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเขาก็ส่งหนังสือมาเชิญ บพ.ไปชี้แจงที่เยอรมัน ซึ่งได้เดินทางไปแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 เพื่อจะชี้แจงว่าได้ลงมือแก้ปัญหาอะไรแล้วบ้าง และมีแผนปฏิบัติการอะไรอย่างไรต่อไป”
หลังจากนั้น EASA จะทำเรื่องส่งให้ หน่วยงานที่เรียกว่า D.G. Move : Directorate General Mobility and Transportations มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวงคมนาคมของ EU หากไทยมีรายงานความคืบหน้าที่ไม่น่าพอใจ EASA จะส่งเรื่องไปให้ D.G. Move พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนส่งเรื่องเข้าที่ประชุมสภาของสหภาพยุโรป เพื่อแบนการบินของประเทศไทย ส่วนกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือเสนอเข้าที่การประชุมวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ซึ่งจะเป็นรอบที่ EASA ประกาศผล โดยสามารถประกาศได้หลายแบบ อาจจะเป็นการแบนทั้งประเทศ หรือทำการแบนแต่ให้การยกเว้นบางสายการบินก็ได้
“ทั้งนี้อยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เดินทางไปคุยที่มอนทรีโอได้เรื่องว่าอย่างไร และอีกประการหนึ่งคือ หากผลออกมาในการตรวจของ EASA และ FAA ผลออกมาดีก็อาจจะช่วยได้ ทาง ICAO อาจจะถูกกดดันแทน ซึ่งหน่วยงานตรวจสอบใหญ่ๆ ในโลกที่ได้รับการยอมรับ ก็มี 3 หน่วยงานนี้ หาก EASA และ FAA ประกาศแล้วประเทศไทยผ่าน ผลของ ICAO อาจจะไม่มีใครฟัง”
ล่าสุดแหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมถึงผลการประชุม EASA กับ D.G. Move เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 ว่า จะยังไม่นำเรื่องการดำเนินมาตรการกับสายการบินของไทยเข้าสู่การประชุมของรัฐสภายุโรปเพื่อพิจารณาในเดือนมิถุนายน 2558 นี้ โดย D.G. Move มีความเห็นว่าจะต้องมีการเดินทางมาตรวจสอบประเทศไทยก่อน
“เป็นผลดีที่จะให้เขาเข้ามาตรวจสอบก่อน โดยคาดว่าในอีก 2-3 เดือน ทาง EASA จะเข้ามาทำการตรวจประเมินไทย ต่อจาก FAA ของอเมริกา ทั้งนี้หากประเทศไทยต้องถูกกลุ่มสหภาพยุโรปแบน แต่การแบนยังคงมีทางเลือก คือเขาอาจไม่แบนทุกสายการบิน เนื่องจากเขาให้โอกาสสายการบินต่างๆ ได้ทำการชี้แจงด้วย” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระบุว่า ความเคลื่อนไหวของ 3 องค์กร ได้แก่ ICAO, FAA และ EASA จะมีปฏิกริยาเชื่อมโยงกันในระดับหนึ่ง ซึ่งหากผล ICAO ออกมาเป็นคุณ EASA อาจมีการพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับการเดินทางมาตรวจประเมินไทย
อ่านเพิ่มเติมวิเคราะห์ผลกระทบอุตสาหกรรมการบินไทย
ไทยเดินหน้าเจรจา ICAO ประสบผล ต่อลมหายใจให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 ‘ประจิน’ เล็งรวมคณะกรรมการแก้ปม ICAO เป็นคณะกรรมการบูรณาการ ด้านสายการบินเตรียมรับมือต่างชาติออกมาตรการคุมเข้ม อเมริกา อียู จอคิวเช็คมาตรฐานการบินไทย
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558 พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่าขณะนี้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปพบ ประธานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (The International Civil Aviation Organization- ICAO) ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนนาดา
โดยรมว.คมนาคม คาดว่าจากการเตรียมพร้อมในการชี้แจงจากไทยจะสามารถทำให้ ICAO เข้าใจได้ถึงความพยายามในการแก้ปัญหาของไทย และจากการคาดการณ์ในเบื้องต้นผลของการเจรจาเป็นไปได้ 3 แนวทางคือ ICAO จะยังคงสถานะให้การบินพลเรือนไทยโดยการไม่ประกาศใดๆ จนกว่าจะมีการพิจารณาแก้ไขปัญหาได้ชัดเจน แนวทางที่ 2 คือให้โอกาสไทยอีก 2-3 สัปดาห์ในการดำเนินการแก้ไข พร้อมให้คำแนะนำเพิ่มเติม และแนวทางที่ 3 คือ ICAO อาจทำการประการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะในการลดมาตรฐานของไทย
“หากผลออกมาเป็นแนวทางที่ 3 เราได้เตรียมแผนสำรองโดยการให้สายการบินปรับแผนธุรกิจเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่ต่างประเทศจะทำการระงับเที่ยวบินของไทย ซึ่งจะมีการเรียกกลุ่มผู้ประกอบการสายการบินอีกครั้งหนึ่ง”
พล.อ.อ.ประจินกล่าวต่อว่าขณะดียวกันจะมีการปรับคณะทำงานที่เข้ามาร่วมทำงานใหม่ทั้งหมดในการแก้ไขปัญหา เป็นคณะกรรมการบูรณาการเพียงชุดเดียวสำหรับการติดตามแก้ปัญหาต่อไป เนื่องจากการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns: SSC) ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งการทำกฎหมายได้จัดทำไปบางส่วน ส่วนการปรับโครงสร้างองค์กรอยู่ระหว่างดำเนินการ ถือว่าทุกอย่างคืบหน้าไปหมดแล้วจึงเห็นว่าควรควบรวมการทำงานทั้งหมดมาอยู่ที่คณะกรรมการชุดเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติงาน
ล่าสุด นายอาคมรายงานว่าการหารือเป็นไปด้วยดี ประธาน ICAO มีความพึงพอใจที่คณะทำงานไทยให้ความสำคัญ และเข้ามาชี้แจงความคืบหน้าในการแก้ปัญหา จึงจะไม่ประกาศมาตรการใดๆ เพิ่มบนเว็บไซต์ของ ICAO ตามเส้นตายวันที่ 18 มิถุนายนนี้ โดยจะให้โอกาสไทยแก้ไขปัญหาถึงเดือนพฤศจิกายน 2558
พร้อมกันนี้ ICAO ยังยินดีที่จะทำงานร่วมกับไทย เพื่อปลดล็อค SSC และช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยอาจใช้ไทยเป็นกรณีเป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหามาตรฐานการบินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ด้านแหล่งข่าวจากคณะทำงาน กรมการบินพลเรือนให้ความเห็นว่าจากนี้ไปไทยต้องเร่งดำเนินการตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยเฉพาะเรื่องการปรับปรุงกระบวนการออกใบรับรองผู้ดําเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate : AOC) เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้เข้มงวดตามมาตรฐานสากล ซึ่งประเทศต่างๆ อาจยังคงมาตรการคุมเข้มไทยในการให้สายการบินไทยเข้า-ออก เช่นเดิม
“แต่ไม่ว่าผลของ ICAO จะออกมาในแนวทางไหน สิ่งที่ไทย ‘ควร’ ทำคือ การดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตรวจสอบและออกในบรับรองให้สายการบินใหม่โดยเร็ว”แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่าข่าวดีในครั้งนี้อาจช่วยให้หลายฝ่ายผ่อนคลายได้บ้าง แต่ไม่ควรลืมว่าไทยยังเหลืออีก 2 องค์กรสำคัญที่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติ คือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(Federal Aviation Administration : FAA) และองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA) ที่รอจ่อคิวเข้าตรวจมาตรฐานไทย โดยผลการตรวจจะออกมาอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการดำเนินงานหลังจากนี้ว่าไทยมีความกระตือรือร้น และสามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมมากเท่าใด
แหล่งข่าวกล่าวถึงกระบวนการของสหรัฐอเมริกาว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาคือ องค์กรบริหารการบินแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(Federal Aviation Administration : FAA) โดยจะทำการตรวจแบบที่ ICAO ตรวจสอบ ซึ่งไทยได้ลงนามไว้เมื่อปี 2548 ว่ายินยอมให้เขาเข้ามาตรวจสอบ ตามกำหนด FAA จะมาเดือนมิถุนายน 2558 แต่ขอเขาเลื่อนไปเป็นเดือนกรกฎาคม 2558
ทั้งนี้ทาง FAA มีการจัดประเภทเป็น 1-2 เช่นกัน หากตรวจพบข้อบกพร่องกรณี SSC จำนวนมาก FAA จะประกาศให้ไทยอยู่ในประเภทที่ 2 คือไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งประเทศที่ให้ความเชื่อมั่น FAA อาจมีปฏิกิริยาดังเช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ได้ดำนินการไปแล้วในช่วงที่ผ่านมา
ส่วนกลุ่มสหภาพยุโรป คือองค์กรความร่วมมือด้านการบินในกลุ่มสหภาพยุโรป (European Aviation Safety Agency : EASA) โดยเยอรมันเป็นผู้ประกาศว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับรายงานหรือการประกาศ(Announcements) ของ ICAO แต่เขามีกระบวนการพิจารณาของเขาเอง
“อันนี้ฟังดูเหมือนดี ว่าไม่เป็นไรที่ถูก ICAO จัดอันดับในประเภทที่ 2 เขาก็ยังให้ทุกอย่างเป็นปกติ เราก็วางใจ ปรากฏว่าในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาเขาก็ส่งหนังสือมาเชิญ บพ.ไปชี้แจงที่เยอรมัน ซึ่งได้เดินทางไปแล้วเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 เพื่อจะชี้แจงว่าได้ลงมือแก้ปัญหาอะไรแล้วบ้าง และมีแผนปฏิบัติการอะไรอย่างไรต่อไป”
หลังจากนั้น EASA จะทำเรื่องส่งให้ หน่วยงานที่เรียกว่า D.G. Move : Directorate General Mobility and Transportations มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวงคมนาคมของ EU หากไทยมีรายงานความคืบหน้าที่ไม่น่าพอใจ EASA จะส่งเรื่องไปให้ D.G. Move พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนส่งเรื่องเข้าที่ประชุมสภาของสหภาพยุโรป เพื่อแบนการบินของประเทศไทย ส่วนกรณีที่เลวร้ายที่สุด คือเสนอเข้าที่การประชุมวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ซึ่งจะเป็นรอบที่ EASA ประกาศผล โดยสามารถประกาศได้หลายแบบ อาจจะเป็นการแบนทั้งประเทศ หรือทำการแบนแต่ให้การยกเว้นบางสายการบินก็ได้
“ทั้งนี้อยู่ที่ว่ารัฐมนตรีที่เดินทางไปคุยที่มอนทรีโอได้เรื่องว่าอย่างไร และอีกประการหนึ่งคือ หากผลออกมาในการตรวจของ EASA และ FAA ผลออกมาดีก็อาจจะช่วยได้ ทาง ICAO อาจจะถูกกดดันแทน ซึ่งหน่วยงานตรวจสอบใหญ่ๆ ในโลกที่ได้รับการยอมรับ ก็มี 3 หน่วยงานนี้ หาก EASA และ FAA ประกาศแล้วประเทศไทยผ่าน ผลของ ICAO อาจจะไม่มีใครฟัง”
ล่าสุดแหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมถึงผลการประชุม EASA กับ D.G. Move เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 ว่า จะยังไม่นำเรื่องการดำเนินมาตรการกับสายการบินของไทยเข้าสู่การประชุมของรัฐสภายุโรปเพื่อพิจารณาในเดือนมิถุนายน 2558 นี้ โดย D.G. Move มีความเห็นว่าจะต้องมีการเดินทางมาตรวจสอบประเทศไทยก่อน
“เป็นผลดีที่จะให้เขาเข้ามาตรวจสอบก่อน โดยคาดว่าในอีก 2-3 เดือน ทาง EASA จะเข้ามาทำการตรวจประเมินไทย ต่อจาก FAA ของอเมริกา ทั้งนี้หากประเทศไทยต้องถูกกลุ่มสหภาพยุโรปแบน แต่การแบนยังคงมีทางเลือก คือเขาอาจไม่แบนทุกสายการบิน เนื่องจากเขาให้โอกาสสายการบินต่างๆ ได้ทำการชี้แจงด้วย” แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวระบุว่า ความเคลื่อนไหวของ 3 องค์กร ได้แก่ ICAO, FAA และ EASA จะมีปฏิกริยาเชื่อมโยงกันในระดับหนึ่ง ซึ่งหากผล ICAO ออกมาเป็นคุณ EASA อาจมีการพิจารณาอีกครั้งเกี่ยวกับการเดินทางมาตรวจประเมินไทย
อ่านเพิ่มเติมวิเคราะห์ผลกระทบอุตสาหกรรมการบินไทย
ooo
Thai aviation sector 'red flagged' for safety
Source: BBC
The International Civil Aviation Organization (ICAO) has downgraded Thailand's aviation standards, "red flagging" the country for failing to address safety concerns.
In March, the ICAO issued an alert on Thailand's aviation body after a safety audit revealed that it failed to adequately oversee its airlines.
The move led to a ban on new flights to China, Japan and South Korea.
Thai officials had then submitted plans to deal with the concerns in March.
But, the ICAO "red flagged" the country's body on Thursday for failing to solve the issues within 90 days.
Thailand's aviation sector joins 12 other developing countries, including Nepal and Sierra Leone, that have been downgraded to Category 2 from Category 1 by the organisation for its safety standards.
An audit in January by the United Nations body had found that Thailand's aviation authority had a shortage of technical officers and issues with certifying the transportation of hazardous goods.
The warning meant the country's airlines had to cancel flights and refund or alter thousands of air tickets.
The country's flag carrier, Thai Airways, said in a statement that it followed the "highest safety standards" in all operational areas, despite the red flag from the international regulator.
The International Civil Aviation Organization (ICAO) has downgraded Thailand's aviation standards, "red flagging" the country for failing to address safety concerns.
In March, the ICAO issued an alert on Thailand's aviation body after a safety audit revealed that it failed to adequately oversee its airlines.
The move led to a ban on new flights to China, Japan and South Korea.
Thai officials had then submitted plans to deal with the concerns in March.
But, the ICAO "red flagged" the country's body on Thursday for failing to solve the issues within 90 days.
Thailand's aviation sector joins 12 other developing countries, including Nepal and Sierra Leone, that have been downgraded to Category 2 from Category 1 by the organisation for its safety standards.
An audit in January by the United Nations body had found that Thailand's aviation authority had a shortage of technical officers and issues with certifying the transportation of hazardous goods.
The warning meant the country's airlines had to cancel flights and refund or alter thousands of air tickets.
The country's flag carrier, Thai Airways, said in a statement that it followed the "highest safety standards" in all operational areas, despite the red flag from the international regulator.