ที่มา มติชนออนไลน์
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานมอบรางวัล SVN AWARD ของเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2557 เมื่อค่ำวันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2558 ณ สยามสมาคมฯ ตอนหนึ่งว่าคงไม่ต้องอธิบายว่าทำไมถึงมีการรัฐประหาร ขออย่างเดียวคือยึดมาแล้วต้องทำจริง ทำให้ประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
“จะใช้เวลาเท่าไรผมไม่รู้ แต่ถ้ามีผลงานแล้วอย่างอื่นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย แต่ก็อย่ายืดเวลาให้ตัวเองมากเกินไป”นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า ยังมีเรื่องที่รัฐบาลต้องระมัดระวังอีกหลายอย่าง เช่น ปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และยังไม่ได้แก้อย่างแท้จริงซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลขาดลงอย่างฉับพลัน ยังไม่รวมถึงการปฏิรูปที่ยังไม่ถึงไหน นายอานันท์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องใช้โอกาสนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น เรื่องการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ โดยขอบเขตการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ ได้แก่ 1.ต้องธำรงไว้ซึ่งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ 2.ต้องทำให้คนทุกกลุ่มทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ทัดเทียมกัน ให้เขามีส่วนร่วมซึ่งไม่ใช่มีส่วนร่วมที่ปลายเหตุ แต่ต้องให้มาปรึกษาหารือว่าจะทำอะไร และทำเมื่อไร 3.ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปกครองด้วยหลักนิติธรรมหรือ Rule of law ไม่ใช่ปกครองด้วยกฎหมาย หรือ Rule by law เพราะกฎหมายไทยเป็นกฎหมายที่ล้าหลังที่สุด
“ผมไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่อง โรดแมปเพราะสามารถยืดหยุ่นได้ แต่รัฐบาลต้องทำให้ประเทศเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แหกตาเหมือนที่ผ่านมาๆ มา”นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า เราต้องใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทย เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่องค์ประกอบเดียว เช่น กรณีประธานฟีฟ่าเป็นมา 3 สมัย หลายประเทศอยากจะล้มแต่ล้มไม่ได้ เพราะใช้เงินในการเอาชนะ
“รัฐบาลชุดนี้มีความตั้งใจและความพยายามที่ดี แต่หลายที่มีมาตรการออกไปทั้งด้านกฎหมายและการเมือง ทำให้คนจำนวนไม่น้อยพูดไม่ได้ และเริ่มรู้สึกอึดอัดอีกแล้ว ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องจะเสียของหรือไม่ หรือทำไมยังไม่เกิดความปรองดอง แต่ผมคิดว่าเรายังไม่พยายามค้นหาสาเหตุขอความแตกแยกที่แท้จริง” นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า การที่คนส่วนใหญ่ถูกปิดปาก พูดไม่ได้ ชุมนุมไม่ได้ ได้สร้างความอึดอัดขึ้น ขณะที่ความสงบในประเทศยังคงสงบต่อไปแต่เป็นเพียงความผิวเผิน ถ้าสังคมสงบอยู่อย่างนี้ต่อไปก็คงไม่มีอนาคต
"ขณะนี้มีความพยายามทำให้คนพูดไม่ออก พูดไม่ได้ ถือเป็นสังคมปิด เมื่อเป็นสังคมปิดความโปร่งใสก็ไม่มี ธรรมาภิบาลก็หายไป การแสดงความรับผิดก็ไม่มี และองค์ประกอบของประชาธิปไตยก็ไม่มี"นายอานันท์กล่าว
บิ๊กโปรเจ็ค “0” ต่อเนื่อง 5เดือน! สถิติ BOI ฟ้อง 5 เดือนแรก 2558 ไร้เงาต่างชาติขอลงทุนโครงการเกิน “5พันล้าน” ในไทย
นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานมอบรางวัล SVN AWARD ของเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2557 เมื่อค่ำวันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2558 ณ สยามสมาคมฯ ตอนหนึ่งว่าคงไม่ต้องอธิบายว่าทำไมถึงมีการรัฐประหาร ขออย่างเดียวคือยึดมาแล้วต้องทำจริง ทำให้ประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง
“จะใช้เวลาเท่าไรผมไม่รู้ แต่ถ้ามีผลงานแล้วอย่างอื่นเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อย แต่ก็อย่ายืดเวลาให้ตัวเองมากเกินไป”นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า ยังมีเรื่องที่รัฐบาลต้องระมัดระวังอีกหลายอย่าง เช่น ปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งทุกวันนี้ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว และยังไม่ได้แก้อย่างแท้จริงซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือของรัฐบาลขาดลงอย่างฉับพลัน ยังไม่รวมถึงการปฏิรูปที่ยังไม่ถึงไหน นายอานันท์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลต้องใช้โอกาสนี้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง เช่น เรื่องการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ โดยขอบเขตการเปลี่ยนแปลง 3 ประการ ได้แก่ 1.ต้องธำรงไว้ซึ่งความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ 2.ต้องทำให้คนทุกกลุ่มทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์ทัดเทียมกัน ให้เขามีส่วนร่วมซึ่งไม่ใช่มีส่วนร่วมที่ปลายเหตุ แต่ต้องให้มาปรึกษาหารือว่าจะทำอะไร และทำเมื่อไร 3.ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปกครองด้วยหลักนิติธรรมหรือ Rule of law ไม่ใช่ปกครองด้วยกฎหมาย หรือ Rule by law เพราะกฎหมายไทยเป็นกฎหมายที่ล้าหลังที่สุด
“ผมไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่อง โรดแมปเพราะสามารถยืดหยุ่นได้ แต่รัฐบาลต้องทำให้ประเทศเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แหกตาเหมือนที่ผ่านมาๆ มา”นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า เราต้องใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อคนไทย เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตย แต่ไม่ใช่องค์ประกอบเดียว เช่น กรณีประธานฟีฟ่าเป็นมา 3 สมัย หลายประเทศอยากจะล้มแต่ล้มไม่ได้ เพราะใช้เงินในการเอาชนะ
“รัฐบาลชุดนี้มีความตั้งใจและความพยายามที่ดี แต่หลายที่มีมาตรการออกไปทั้งด้านกฎหมายและการเมือง ทำให้คนจำนวนไม่น้อยพูดไม่ได้ และเริ่มรู้สึกอึดอัดอีกแล้ว ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องจะเสียของหรือไม่ หรือทำไมยังไม่เกิดความปรองดอง แต่ผมคิดว่าเรายังไม่พยายามค้นหาสาเหตุขอความแตกแยกที่แท้จริง” นายอานันท์ กล่าว
นายอานันท์ กล่าวว่า การที่คนส่วนใหญ่ถูกปิดปาก พูดไม่ได้ ชุมนุมไม่ได้ ได้สร้างความอึดอัดขึ้น ขณะที่ความสงบในประเทศยังคงสงบต่อไปแต่เป็นเพียงความผิวเผิน ถ้าสังคมสงบอยู่อย่างนี้ต่อไปก็คงไม่มีอนาคต
"ขณะนี้มีความพยายามทำให้คนพูดไม่ออก พูดไม่ได้ ถือเป็นสังคมปิด เมื่อเป็นสังคมปิดความโปร่งใสก็ไม่มี ธรรมาภิบาลก็หายไป การแสดงความรับผิดก็ไม่มี และองค์ประกอบของประชาธิปไตยก็ไม่มี"นายอานันท์กล่าว
ooo
บิ๊กโปรเจ็ค “0” ต่อเนื่อง 5เดือน! สถิติ BOI ฟ้อง 5 เดือนแรก 2558 ไร้เงาต่างชาติขอลงทุนโครงการเกิน “5พันล้าน” ในไทย
ที่มา เวป ที่นี่และที่นั่น
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI ทำให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประเทศชั้นนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป จีน หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน นั้น “ลด” จำนวนโครงการและจำนวนเงิน จากตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนในรอบ 4 เดือน คือ มกราคม-เมษายน 2558 ที่ปรากฏ
โดย “ตัวเลข” โครงการและจำนวนเงินลงทุน ที่ “ลดต่ำลง” นั้นไม่เพียงแสดงให้เห็นว่า เป็นการ “ลดจำนวนลง” ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ในช่วงที่ประเทศไทยประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ คือในช่วงปี 2555-2556 ปรากฏ “ตัวการการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ” สูงมากกว่าหลังรัฐประหาร 2557 อย่ามาก และอาจจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ สูงที่สุดในรอบ 6 ปี (2552-2557)
ซึ่งทำให้พูดได้ว่า แท้จริงแล้ว การกำหนดอันตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศนั้น อาจจะ “ไม่ใช่สาเหตุ” ที่ทำให้ “นักลงทุนต่างชาติ” ลดความสนใจการลงทุนในประเทศไทย
โดยล่าสุดพบว่า สถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557” ของ BOI อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดพบว่า ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 306 โครงการ จำนวนเงินลงทุนเพียง 48.25 พันล้านบาท ซึ่งถือว่า “ลดต่ำลง” มากกว่าตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีจำนวนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 471 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนมากกว่า 297.92 พันล้านบาท
โดยมีบันทึกถึงต่างชาติรายใหญ่ เอาไวว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ญี่ปุ่น” ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 5.12 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557ที่มีมากถึง 155 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 71.62 พันล้านบาท
“ยุโรป” อีกหนึ่งกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ พบข้อมูลว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 36 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.71 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีมากถึง 43 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 64.20 พันล้านบาท
รวมไปถึง “สหรัฐอเมริกา” ที่สถิติของ BOI บันทึกเอาไว้ว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 7 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.11 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีมากถึง 11 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 26.39 พันล้านบาท
ที่สำคัญคือ เอกสารสถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557″ ดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขการขอรับการลงทุนในโครงการที่มีขนาดเงินลงทุน มากกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่เคยมีทั้งสิ้น 19 โครงการ มูลค่า 203.98 พันล้านบาท นั้นปรากฏว่าในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ไม่มี” ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทเลย
โดยสถิติของ BOI ดังกล่าว แจ้งตัวเลขเป็น “0” โครงการ และจำนวนเงิน “0.00”พันล้านบาท
ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลข 0 โครงการ 0.00 พันล้านบาท เป็น “เดือนที่ 5 ติดต่อกัน” นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2558 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI ทำให้ได้เห็นอย่างชัดเจนว่า ประเทศชั้นนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป จีน หรือแม้แต่ประเทศในภูมิภาคอาเซียน นั้น “ลด” จำนวนโครงการและจำนวนเงิน จากตัวเลขการลงทุนจากต่างประเทศที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนในรอบ 4 เดือน คือ มกราคม-เมษายน 2558 ที่ปรากฏ
โดย “ตัวเลข” โครงการและจำนวนเงินลงทุน ที่ “ลดต่ำลง” นั้นไม่เพียงแสดงให้เห็นว่า เป็นการ “ลดจำนวนลง” ภายหลังการรัฐประหาร 2557 เท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ในช่วงที่ประเทศไทยประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ คือในช่วงปี 2555-2556 ปรากฏ “ตัวการการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ” สูงมากกว่าหลังรัฐประหาร 2557 อย่ามาก และอาจจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ สูงที่สุดในรอบ 6 ปี (2552-2557)
ซึ่งทำให้พูดได้ว่า แท้จริงแล้ว การกำหนดอันตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศนั้น อาจจะ “ไม่ใช่สาเหตุ” ที่ทำให้ “นักลงทุนต่างชาติ” ลดความสนใจการลงทุนในประเทศไทย
โดยล่าสุดพบว่า สถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557” ของ BOI อีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดพบว่า ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 306 โครงการ จำนวนเงินลงทุนเพียง 48.25 พันล้านบาท ซึ่งถือว่า “ลดต่ำลง” มากกว่าตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีจำนวนการขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากถึง 471 โครงการ และจำนวนเงินลงทุนมากกว่า 297.92 พันล้านบาท
โดยมีบันทึกถึงต่างชาติรายใหญ่ เอาไวว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ญี่ปุ่น” ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 40 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 5.12 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557ที่มีมากถึง 155 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 71.62 พันล้านบาท
“ยุโรป” อีกหนึ่งกลุ่มต่างชาติรายใหญ่ พบข้อมูลว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 36 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.71 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีมากถึง 43 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 64.20 พันล้านบาท
รวมไปถึง “สหรัฐอเมริกา” ที่สถิติของ BOI บันทึกเอาไว้ว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 มีตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 7 โครงการ จำนวนเงินลงทุน 0.11 พันล้านบาท แตกต่างกับในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่มีมากถึง 11 โครงการ จำนวนเงินลงทุนสูงถึง 26.39 พันล้านบาท
ที่สำคัญคือ เอกสารสถิติ “การขอรับการส่งเสริมการลงทุนสุทธิ มกราคม-พฤษภาคม 2558 เปรียบเทียบกับปี 2556 และปี 2557″ ดังกล่าว ยังได้แสดงให้เห็นว่า ตัวเลขการขอรับการลงทุนในโครงการที่มีขนาดเงินลงทุน มากกว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งในเดือน มกราคม-พฤษภาคม 2557 ที่เคยมีทั้งสิ้น 19 โครงการ มูลค่า 203.98 พันล้านบาท นั้นปรากฏว่าในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2558 “ไม่มี” ตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนาดเงินลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาทเลย
โดยสถิติของ BOI ดังกล่าว แจ้งตัวเลขเป็น “0” โครงการ และจำนวนเงิน “0.00”พันล้านบาท
ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลข 0 โครงการ 0.00 พันล้านบาท เป็น “เดือนที่ 5 ติดต่อกัน” นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2558 ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ooo